ฝนตกน้ำท่วมเกิดภัยแล้งในลุ่มน้ำยมครั้งใดเวรกรรมก็ไปตกกับคนสะเอียบ เพราะจะมีเสียงเรียกร้องให้ปลุกผีเขื่อนแก่งเสือเต้นขึ้นมาทุกครั้ง หมอผีที่ ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ก็ต้องลุกขึ้นมาปราบผี กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และพี่น้องประชาชนที่นั่นก็อยู่อย่างไม่เป็นสุข ต้องเคลื่อนไหวทำกิจกรรมคัดค้านมานานนับสิบปี ผมเป็นคนหนึ่งที่รับรู้ถึงความทุกข์ยากของคนสะเอียบมานานไม่น้อยกว่า 16 ปี เห็นเด็กๆ กลุ่มตะกอนยมร่วมทำกิจกรรมกับผู้ใหญ่ตั้งแต่ยังเป็นเยาวชน จนปัจจุบันกลายป็นแม่คนพ่อคนไปแล้ว ผู้ใหญ่บางคนก็ล้มหายตายจากไปก่อน
คนที่อยู่ต่างถิ่นไม่เคยเข้าไปสัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ของคนสะเอียบจะไม่มีวันเข้าใจถึงความรักที่มีต่อชุมชนของเขา ความหวงแหนต่อป่าสักทองผืนใหญ่ที่สุดมากกว่า 40,000 ไร่ ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ยม ผมเคยไปเดินชมด้วยความตื่นตะลึงในความสมบูรณ์ของป่าสักทองผืนสุดท้ายของประเทศ เคยร่วมพิธีสืบชะตาแม่น้ำยม เคยร่วมกิจกรรมในการคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนแห่งนี้ ตลอดจนเป็นผู้ร่วมเจรจากับรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมาหลายรัฐบาล หลายครั้งที่มีมติคณะรัฐมนตรีให้ระงับการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นไว้ก่อน โดยให้ทำการศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างรอบด้าน ผลการศึกษาจากสถาบันต่างๆ ไม่น้อยกว่า 8 แห่ง มีผลดังตัวอย่างต่อไปนี้
ผลการศึกษาของ FAO (องค์การอาหารและการเกษตรโลก) สรุปว่าเรื่องการป้องกันน้ำท่วมนั้นเขื่อนแก่งเสือเต้นสามารถเยียวยาปัญหาได้เพียง 8 เปอร์เซ็นต์
ผลการศึกษาของ TDRI (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย) ด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐศาสตร์ การก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นจะไม่คุ้มต่อการลงทุน (โครงการนี้ประมาณการค่าก่อสร้างไว้กว่า 12,000 ล้านบาท)
ผลการศึกษาของ สกว. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) สรุปเหตุผลทางด้านนิเวศวิทยา จะพบว่าหากก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นจะกระทบต่อระบบนิเวศน์ในอุทยานแห่งชาติแม่ยมเป็นอย่างมาก หากเก็บผืนป่าแห่งนี้ไว้จะมีมูลค่าต่อระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ และคุณค่าต่อมนุษย์มากกว่า
ผลการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ข้อสรุปว่าพื้นที่ที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งป่าสักทองธรรมชาติผืนใหญ่ที่สุดผืนเดียวที่คงเหลืออยู่ ควรเก็บรักษาไว้เป็นมรดกของลูกหลานไทยทั้งประเทศในอนาคต
ผลการศึกษาของกรมทรัพยากรธรณีชี้ว่า บริเวณที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นตั้งอยู่บนแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก ซึ่งยังไม่ตายมีการเคลื่อนไหวขยับตัวอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า “รอยเลื่อนแพร่” จะเป็นการเสี่ยงอย่างมากหากมีการสร้างเขื่อน ณ บริเวณนี้ กลับอาจเป็นอันตรายต่อคนแพร่และสุโขทัยอย่างประเมินค่ามิได้
ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร เสนอ 19 แผนงานการจัดการน้ำแบบบูรณาการโดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
ผลการศึกษาของโครงการพัฒนายุทธศาสตร์ทางเลือกนโยบายการจัดการลุ่มน้ำยม (SEA) และของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ให้เหตุผลสอดคล้องกันว่ามีทางเลือกมากมายในการจัดการน้ำในลุ่มน้ำยม เช่น การทำทางเบี่ยงน้ำเลี่ยงเมือง การทำแก้มลิง การพัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ การขุดลอกตะกอนในแม่น้ำ และยังมีทางเลือกอื่นๆ อีกมากมายโดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
มีเหตุผลมากกว่า 108 พันประการประกอบการคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น แต่ก็ยังไม่วายที่จะมีนักการเมืองทั้งในท้องถิ่นและนักการเมืองระดับชาติ รวมทั้งพระสงฆ์องคเจ้านักเทศน์ชื่อดังพาชาวบ้านมาเดินขบวนเรียกร้องและสนับสนุนกรมชลประทานให้ก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น โดยสร้างภาพกับประชาชนทั่วไปว่าเขื่อนแก่งเสือเต้นจะช่วยบรรเทาอุทกภัยและแก้ปัญหาภัยแล้งได้
ผมไปอยู่เชียงใหม่เกือบ 30 ปี พบเหตุผลข้ออ้างในการสร้างเขื่อนแม่งัด และเขื่อนแม่กวงซึ่งก่อสร้างกั้นแม่น้ำปิงและน้ำแม่กวงในลักษณะเดียวกันนี้และเหตุผลเดียวกัน คือ เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ป้องกันภัยแล้งและป้องกันน้ำท่วม แต่ความจริงก็ได้ประจักษ์แล้วว่าน้ำกลับท่วมตัวเมืองเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูนมากกว่าที่เคยเกิดขึ้นมาเสียอีกในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา ความเสียหายที่เกิดจากความเชื่อว่ามีเขื่อนแล้วน้ำจะไม่ท่วม ทำความสูญเสียอย่างมหาศาลต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
เมื่อใดที่ฝนตกปริมาณมากและครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง เขื่อนก็ไร้ประโยชน์เมื่อน้ำเต็มเขื่อน ฝนที่ตกหนักเขื่อนก็ยังคงทำหน้าที่ของมันทำให้เขื่อนหมดสภาพการควบคุมน้ำได้ แต่กลับกลายเป็นการซ้ำเติมอีกเมื่อน้ำล้นปริงเวย์ ต้องเร่งระบายน้ำกลัวเขื่อนแตก ปริมาณน้ำจึงเพิ่มเป็นทวีคูณ ยามหน้าแล้งน้ำในเขื่อนแม่กวงก็แห้งเกือบไม่พอใช้สำหรับเกษตรกร แต่มีพอสำหรับนิคมอุตสาหกรรมลำพูน เกษตรกรต้องงดปลูกพืชในฤดูแล้ง แต่อุตสาหกรรมไม่เคยลดการใช้น้ำลงเลย รัฐบาลกลับตอบสนองต่อการขาดแคลนน้ำด้วยโครงการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำด้วยระบบอุโมงค์จากแม่น้ำปิง (เขื่อนแม่งัด) มาสู่น้ำแม่กวง (เขื่อนแม่กวง) หากน้ำยังคงท่วมก็ยังมีการเสนอให้สร้างเขื่อนเพิ่มโดยข้ออ้างเดิมๆ ว่าน้ำแม่แตงยังไม่มีเขื่อน
ผมได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับ สกว. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) ในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยชุมชน ได้เห็นศักยภาพของชุมชนในการแก้ปัญหาจัดการลดความขัดแย้งในการแย่งชิงน้ำ โดยชุมชนเป็นคนศึกษารวบรวมและค้นหาคำตอบได้ด้วยตัวเอง โดยนำหลักการว่าด้วยเรื่อง “สิทธิชุมชน” ที่มีมานานแล้วก่อนที่จะบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ
บ้านเมืองเราไม่ยอมใช้ปัญญาและเหตุผลในแก้ไขปัญหา เราเอาแต่ความอยากมีอยากได้ของนักการเมือง และข้าราชการที่สอพลอพร้อมที่จะตอบสนองต่อฝ่ายการเมืองโดยยอมเก็บเหตุผลและความไม่เหมาะสมในการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น นักการเมืองก็กระทำเพื่อการหาเสียงมากกว่าการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เมืองไทยจึงอยู่ในวังวนเดิมๆ ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ทุกข์ของประชาชนจึงยังคงไม่ได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง
ผมได้มีส่วนร่วมในการแกะสลักพระพุทธรูปด้วยตอไม้สักทองใหญ่ที่สุดเท่าที่มีอยู่ใน ต.สะเอียบ ชาวบ้านเกือบทุกครัวเรือนได้มาร่วมกันตั้งแต่เริ่มต้นเลื่อยไม้แกะสลักตอไม้จนเป็นพระพุทธรูปที่งดงามและตั้งไว้ในวัดกลางหมู่บ้าน หนทางเดียวที่จะคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นคงต้องจุดธูปไหว้พระ และขอให้ท่านดลใจให้นักเมืองและข้าราชการหยุดร่วมมือกันหากินกับการสร้างเขื่อนเสียทีเถิด
คนที่อยู่ต่างถิ่นไม่เคยเข้าไปสัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ของคนสะเอียบจะไม่มีวันเข้าใจถึงความรักที่มีต่อชุมชนของเขา ความหวงแหนต่อป่าสักทองผืนใหญ่ที่สุดมากกว่า 40,000 ไร่ ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ยม ผมเคยไปเดินชมด้วยความตื่นตะลึงในความสมบูรณ์ของป่าสักทองผืนสุดท้ายของประเทศ เคยร่วมพิธีสืบชะตาแม่น้ำยม เคยร่วมกิจกรรมในการคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนแห่งนี้ ตลอดจนเป็นผู้ร่วมเจรจากับรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมาหลายรัฐบาล หลายครั้งที่มีมติคณะรัฐมนตรีให้ระงับการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นไว้ก่อน โดยให้ทำการศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างรอบด้าน ผลการศึกษาจากสถาบันต่างๆ ไม่น้อยกว่า 8 แห่ง มีผลดังตัวอย่างต่อไปนี้
ผลการศึกษาของ FAO (องค์การอาหารและการเกษตรโลก) สรุปว่าเรื่องการป้องกันน้ำท่วมนั้นเขื่อนแก่งเสือเต้นสามารถเยียวยาปัญหาได้เพียง 8 เปอร์เซ็นต์
ผลการศึกษาของ TDRI (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย) ด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐศาสตร์ การก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นจะไม่คุ้มต่อการลงทุน (โครงการนี้ประมาณการค่าก่อสร้างไว้กว่า 12,000 ล้านบาท)
ผลการศึกษาของ สกว. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) สรุปเหตุผลทางด้านนิเวศวิทยา จะพบว่าหากก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นจะกระทบต่อระบบนิเวศน์ในอุทยานแห่งชาติแม่ยมเป็นอย่างมาก หากเก็บผืนป่าแห่งนี้ไว้จะมีมูลค่าต่อระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ และคุณค่าต่อมนุษย์มากกว่า
ผลการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ข้อสรุปว่าพื้นที่ที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งป่าสักทองธรรมชาติผืนใหญ่ที่สุดผืนเดียวที่คงเหลืออยู่ ควรเก็บรักษาไว้เป็นมรดกของลูกหลานไทยทั้งประเทศในอนาคต
ผลการศึกษาของกรมทรัพยากรธรณีชี้ว่า บริเวณที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นตั้งอยู่บนแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก ซึ่งยังไม่ตายมีการเคลื่อนไหวขยับตัวอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า “รอยเลื่อนแพร่” จะเป็นการเสี่ยงอย่างมากหากมีการสร้างเขื่อน ณ บริเวณนี้ กลับอาจเป็นอันตรายต่อคนแพร่และสุโขทัยอย่างประเมินค่ามิได้
ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร เสนอ 19 แผนงานการจัดการน้ำแบบบูรณาการโดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
ผลการศึกษาของโครงการพัฒนายุทธศาสตร์ทางเลือกนโยบายการจัดการลุ่มน้ำยม (SEA) และของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ให้เหตุผลสอดคล้องกันว่ามีทางเลือกมากมายในการจัดการน้ำในลุ่มน้ำยม เช่น การทำทางเบี่ยงน้ำเลี่ยงเมือง การทำแก้มลิง การพัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ การขุดลอกตะกอนในแม่น้ำ และยังมีทางเลือกอื่นๆ อีกมากมายโดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
มีเหตุผลมากกว่า 108 พันประการประกอบการคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น แต่ก็ยังไม่วายที่จะมีนักการเมืองทั้งในท้องถิ่นและนักการเมืองระดับชาติ รวมทั้งพระสงฆ์องคเจ้านักเทศน์ชื่อดังพาชาวบ้านมาเดินขบวนเรียกร้องและสนับสนุนกรมชลประทานให้ก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น โดยสร้างภาพกับประชาชนทั่วไปว่าเขื่อนแก่งเสือเต้นจะช่วยบรรเทาอุทกภัยและแก้ปัญหาภัยแล้งได้
ผมไปอยู่เชียงใหม่เกือบ 30 ปี พบเหตุผลข้ออ้างในการสร้างเขื่อนแม่งัด และเขื่อนแม่กวงซึ่งก่อสร้างกั้นแม่น้ำปิงและน้ำแม่กวงในลักษณะเดียวกันนี้และเหตุผลเดียวกัน คือ เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ป้องกันภัยแล้งและป้องกันน้ำท่วม แต่ความจริงก็ได้ประจักษ์แล้วว่าน้ำกลับท่วมตัวเมืองเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูนมากกว่าที่เคยเกิดขึ้นมาเสียอีกในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา ความเสียหายที่เกิดจากความเชื่อว่ามีเขื่อนแล้วน้ำจะไม่ท่วม ทำความสูญเสียอย่างมหาศาลต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
เมื่อใดที่ฝนตกปริมาณมากและครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง เขื่อนก็ไร้ประโยชน์เมื่อน้ำเต็มเขื่อน ฝนที่ตกหนักเขื่อนก็ยังคงทำหน้าที่ของมันทำให้เขื่อนหมดสภาพการควบคุมน้ำได้ แต่กลับกลายเป็นการซ้ำเติมอีกเมื่อน้ำล้นปริงเวย์ ต้องเร่งระบายน้ำกลัวเขื่อนแตก ปริมาณน้ำจึงเพิ่มเป็นทวีคูณ ยามหน้าแล้งน้ำในเขื่อนแม่กวงก็แห้งเกือบไม่พอใช้สำหรับเกษตรกร แต่มีพอสำหรับนิคมอุตสาหกรรมลำพูน เกษตรกรต้องงดปลูกพืชในฤดูแล้ง แต่อุตสาหกรรมไม่เคยลดการใช้น้ำลงเลย รัฐบาลกลับตอบสนองต่อการขาดแคลนน้ำด้วยโครงการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำด้วยระบบอุโมงค์จากแม่น้ำปิง (เขื่อนแม่งัด) มาสู่น้ำแม่กวง (เขื่อนแม่กวง) หากน้ำยังคงท่วมก็ยังมีการเสนอให้สร้างเขื่อนเพิ่มโดยข้ออ้างเดิมๆ ว่าน้ำแม่แตงยังไม่มีเขื่อน
ผมได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับ สกว. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) ในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยชุมชน ได้เห็นศักยภาพของชุมชนในการแก้ปัญหาจัดการลดความขัดแย้งในการแย่งชิงน้ำ โดยชุมชนเป็นคนศึกษารวบรวมและค้นหาคำตอบได้ด้วยตัวเอง โดยนำหลักการว่าด้วยเรื่อง “สิทธิชุมชน” ที่มีมานานแล้วก่อนที่จะบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ
บ้านเมืองเราไม่ยอมใช้ปัญญาและเหตุผลในแก้ไขปัญหา เราเอาแต่ความอยากมีอยากได้ของนักการเมือง และข้าราชการที่สอพลอพร้อมที่จะตอบสนองต่อฝ่ายการเมืองโดยยอมเก็บเหตุผลและความไม่เหมาะสมในการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น นักการเมืองก็กระทำเพื่อการหาเสียงมากกว่าการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เมืองไทยจึงอยู่ในวังวนเดิมๆ ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ทุกข์ของประชาชนจึงยังคงไม่ได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง
ผมได้มีส่วนร่วมในการแกะสลักพระพุทธรูปด้วยตอไม้สักทองใหญ่ที่สุดเท่าที่มีอยู่ใน ต.สะเอียบ ชาวบ้านเกือบทุกครัวเรือนได้มาร่วมกันตั้งแต่เริ่มต้นเลื่อยไม้แกะสลักตอไม้จนเป็นพระพุทธรูปที่งดงามและตั้งไว้ในวัดกลางหมู่บ้าน หนทางเดียวที่จะคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นคงต้องจุดธูปไหว้พระ และขอให้ท่านดลใจให้นักเมืองและข้าราชการหยุดร่วมมือกันหากินกับการสร้างเขื่อนเสียทีเถิด