ASTVผู้จัดการรายวัน - สรรพสามิตขัดใจรัฐมนตรีพลังงาน! ชง 2 ทางเลือกให้รัฐบาล เพิ่มอัตราจัดเก็บภาษีภาษีเบนซิน–ลดโซฮอล์เพื่อรักษาส่วนต่างราคาขายปลีกในระดับ 10-15% ย้ำหลักการสร้างแรงจูงใจให้คนใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น ขณะที่ กพช.ถกวันนี้ลดเงินกองทุนน้ำมันฯ "พิชัย" ฝันลุยเจรจาก๊าซฯ เขมร ปั้นจีดีพีไทย
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตน้ำมันกรมสรรพสามิตได้หารือร่วมกับกระทรวงพลังงานแล้วและเห็นตรงกันว่า ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ควรจะต่างกันที่ 10-15% จากปัจจุบันที่ราคาขายปลีกแตกต่างกันอยู่ที่ 15-30% เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้แก๊สโซฮอล์ที่เป็นพลังงานทดแทน ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หากกระทรวงพลังงานจะชะลอการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนของเบนซินออกเทน 95 เบนซินออกเทน 91 และดีเซลตามนโยบายรัฐบาล
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน โครงสร้างภาษีสรรพสามิตน้ำมันจะมีส่วนต่างราคาระหว่างเบนซินกับแก๊สโซฮอล์ที่ 10% และเมื่อรวมการนำส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยจะมีส่วนต่างราคา 15-30% โดยแนวทางที่เสนอไปแล้วจะมีทั้งการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินจากปัจจุบันที่เก็บในอัตราลิตรละ 7 บาท หรือการปรับลดภาษีสรรพสามิตแก๊สโซฮอล์ จากปัจจุบันที่เก็บ E 10 ในอัตรา 6.30บาทต่อลิตรและ E 20 ในอัตรา 5.260 บาท เพื่อรักษาส่วนต่างของราคาขายปลีกไว้ โดยขึ้นกับการตัดสินใจของรัฐบาลว่าจะเลือกดำเนินการในทางใด
“กรมสรรพสามิตพร้อมที่จะปฏิบัติตามเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งแนวคิดที่เสนอไปก็คือ การปรับโครงสร้างภาษีที่ไม่ควรบิดเบือนกลไกตลาด และราคาน้ำมันก็ควรจะเปลี่ยนตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งตอนนี้ราคาน้ำมันปรับลดลงบ้างแล้ว จากปัญหาลิเบียและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ถือว่าสถานการณ์ขณะนี้เอื้อต่อการปรับโครงสร้างภาษี" นายพงษ์ภาณุ กล่าว
สำหรับภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่ปัจจุบันยกเว้นการจัดเก็บไปจนถึงวันที่ 30 กันยายนนี้ ได้เสนอแนวคิดไปให้รัฐบาลเช่นกัน แต่ก็ขึ้นกับว่ารัฐบาลจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เพราะการปรับลดภาษีน้ำมันดีเซลในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมานั้นได้ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ 4.5 หมื่นล้านบาทหรือรายได้หายไปเฉลี่ยเดือนละ 9 พันล้านบาท ทำให้การจัดเก็บรายได้ช่วง 11 เดือนแรกของปีอยู่ที่ 3.5-3.6 แสนล้านบาท และคาดว่าทั้งปีจะจัดเก็บได้ที่ 3.9-4 แสนล้านบาทลดลงจากปีงบประมาณ 2553 ที่สามารถจัดเก็บรายได้รวมทั้งสิ้น 4.05 แสนล้านบาท
“ปีที่ผ่านมารายได้จากการจัดเก็บภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันจะอยู่ที่ 1.5 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็น รายได้จากน้ำมันดีเซล 1 แสนล้านบาท ที่เหลือ 5 หมื่นล้านบาทเป็นรายได้จากเบนซินและแก๊สโซฮอล์ แต่ปีนี้ทั้งปีคาดว่าจะจัดเก็บรายได้จากภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันเพียง 1.1-1.2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากรายได้ที่หายไปจากการยกเว้นภาษีน้ำมันดีเซล 4.5 หมื่นล้านบาท ดังนั้นจึงขึ้นกับการตัดสินใจของรัฐบาลว่าจะต่ออายุมาตรการหรือไม่ ซึ่งหากต่ออายุมาตรการดังกล่าวอีก ก็จะกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2555 ด้วยเช่นกัน” นายพงษ์ภาณุกล่าว
***กพช.ถกวันนี้ลดเงินกองทุนน้ำมันฯ
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน เปิดเผยหลังการปาฐกถาพิเศษเรื่อง”นโยบายและยุทธศาสตร์พลังงานเพื่อลดโลกร้อน”ที่จัดโดยสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท)วานนี้ (25 ส.ค.) ว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวันที่ 26 ส.ค.นี้วาระหลักจะพิจารณาการลดอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 3 ชนิดได้แก่ เบนซิน 91 เบนซิน 95 และดีเซล ที่ขณะนี้เก็บอยู่ 6.70 บาทต่อลิตร 7.54 บาทต่อลิตรและดีเซล 2.80 บาทต่อลิตรตามลำดับซึ่งถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่เคยหาเสียงไว้กับประชาชน
“การลดลงก็จะทำให้ราคาลดลงทันทีได้เมื่อใดนั้นขอดูรายละเอียดก่อนรวมถึงจะใช้เวลานานเท่าใดซึ่งการกู้เงินมาดูแลนั้นคิดว่าคงต้องทำแต่ระยะสั้น 2-3 เดือนนี้คงใช้เงินที่มีอยู่บริหารไปก่อนได้ ส่วนแก๊สโซฮอล์คงต้องมาดูว่าจะมีผลกระทบอย่างไร”นายพิชัยกล่าว
สำหรับนโยบายระยะยาวนั้นรัฐบาลต้องการส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนในภูมิภาค โดยจะผลักดันให้ไทยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพีโต 9% ในปี 2563 จากระดับ 3แสนล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาเป็น 8 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการที่ไทยจะก้าวสู่จุดดังกล่าวได้จะต้องมีพลังงานเพียงพอต่อความต้องการใช้ที่จะเพิ่มสูงขึ้นแต่ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะทยอยหมดลงภายใน 15-20 ปีดังนั้นรัฐบาลจึงมุ่งหวังที่จะพัฒนาแหล่งก๊าซในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-กัมพูชา
“ยืนยันว่ามีความจำเป็นและการเจรจาก็อยู่บนผลประโยชน์ชาติไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนเพราะสามารถทำในรูปแบบเดียวกับการพัฒนาพื้นที่ไทย-มาเลเซียหรือเจดีเอ ที่ไม่ได้จะทำเฉพาะหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งแต่จะรวมทุกส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งวันนี้เราจะต้องพูดความจริงกันถ้าเราไม่ทำอะไรเลยประเทศจะก้าวหน้าไปได้อย่างไร”นายพิชัยกล่าว
นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บมจ.ปตท.กล่าวว่า หากสามารถหาข้อยุติและพัฒนาก๊าซฯในกัมพูชา ซึ่งคาดว่าจะมีสำรองก๊าซฯไม่น้อยกว่า 11 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตซึ่งจะทำให้ไทยมีก๊าซฯใช้เพิ่มไปอีก 10 ปี.
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตน้ำมันกรมสรรพสามิตได้หารือร่วมกับกระทรวงพลังงานแล้วและเห็นตรงกันว่า ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ควรจะต่างกันที่ 10-15% จากปัจจุบันที่ราคาขายปลีกแตกต่างกันอยู่ที่ 15-30% เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้แก๊สโซฮอล์ที่เป็นพลังงานทดแทน ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หากกระทรวงพลังงานจะชะลอการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนของเบนซินออกเทน 95 เบนซินออกเทน 91 และดีเซลตามนโยบายรัฐบาล
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน โครงสร้างภาษีสรรพสามิตน้ำมันจะมีส่วนต่างราคาระหว่างเบนซินกับแก๊สโซฮอล์ที่ 10% และเมื่อรวมการนำส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยจะมีส่วนต่างราคา 15-30% โดยแนวทางที่เสนอไปแล้วจะมีทั้งการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินจากปัจจุบันที่เก็บในอัตราลิตรละ 7 บาท หรือการปรับลดภาษีสรรพสามิตแก๊สโซฮอล์ จากปัจจุบันที่เก็บ E 10 ในอัตรา 6.30บาทต่อลิตรและ E 20 ในอัตรา 5.260 บาท เพื่อรักษาส่วนต่างของราคาขายปลีกไว้ โดยขึ้นกับการตัดสินใจของรัฐบาลว่าจะเลือกดำเนินการในทางใด
“กรมสรรพสามิตพร้อมที่จะปฏิบัติตามเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งแนวคิดที่เสนอไปก็คือ การปรับโครงสร้างภาษีที่ไม่ควรบิดเบือนกลไกตลาด และราคาน้ำมันก็ควรจะเปลี่ยนตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งตอนนี้ราคาน้ำมันปรับลดลงบ้างแล้ว จากปัญหาลิเบียและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ถือว่าสถานการณ์ขณะนี้เอื้อต่อการปรับโครงสร้างภาษี" นายพงษ์ภาณุ กล่าว
สำหรับภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่ปัจจุบันยกเว้นการจัดเก็บไปจนถึงวันที่ 30 กันยายนนี้ ได้เสนอแนวคิดไปให้รัฐบาลเช่นกัน แต่ก็ขึ้นกับว่ารัฐบาลจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เพราะการปรับลดภาษีน้ำมันดีเซลในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมานั้นได้ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ 4.5 หมื่นล้านบาทหรือรายได้หายไปเฉลี่ยเดือนละ 9 พันล้านบาท ทำให้การจัดเก็บรายได้ช่วง 11 เดือนแรกของปีอยู่ที่ 3.5-3.6 แสนล้านบาท และคาดว่าทั้งปีจะจัดเก็บได้ที่ 3.9-4 แสนล้านบาทลดลงจากปีงบประมาณ 2553 ที่สามารถจัดเก็บรายได้รวมทั้งสิ้น 4.05 แสนล้านบาท
“ปีที่ผ่านมารายได้จากการจัดเก็บภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันจะอยู่ที่ 1.5 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็น รายได้จากน้ำมันดีเซล 1 แสนล้านบาท ที่เหลือ 5 หมื่นล้านบาทเป็นรายได้จากเบนซินและแก๊สโซฮอล์ แต่ปีนี้ทั้งปีคาดว่าจะจัดเก็บรายได้จากภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันเพียง 1.1-1.2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากรายได้ที่หายไปจากการยกเว้นภาษีน้ำมันดีเซล 4.5 หมื่นล้านบาท ดังนั้นจึงขึ้นกับการตัดสินใจของรัฐบาลว่าจะต่ออายุมาตรการหรือไม่ ซึ่งหากต่ออายุมาตรการดังกล่าวอีก ก็จะกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2555 ด้วยเช่นกัน” นายพงษ์ภาณุกล่าว
***กพช.ถกวันนี้ลดเงินกองทุนน้ำมันฯ
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน เปิดเผยหลังการปาฐกถาพิเศษเรื่อง”นโยบายและยุทธศาสตร์พลังงานเพื่อลดโลกร้อน”ที่จัดโดยสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท)วานนี้ (25 ส.ค.) ว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวันที่ 26 ส.ค.นี้วาระหลักจะพิจารณาการลดอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 3 ชนิดได้แก่ เบนซิน 91 เบนซิน 95 และดีเซล ที่ขณะนี้เก็บอยู่ 6.70 บาทต่อลิตร 7.54 บาทต่อลิตรและดีเซล 2.80 บาทต่อลิตรตามลำดับซึ่งถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่เคยหาเสียงไว้กับประชาชน
“การลดลงก็จะทำให้ราคาลดลงทันทีได้เมื่อใดนั้นขอดูรายละเอียดก่อนรวมถึงจะใช้เวลานานเท่าใดซึ่งการกู้เงินมาดูแลนั้นคิดว่าคงต้องทำแต่ระยะสั้น 2-3 เดือนนี้คงใช้เงินที่มีอยู่บริหารไปก่อนได้ ส่วนแก๊สโซฮอล์คงต้องมาดูว่าจะมีผลกระทบอย่างไร”นายพิชัยกล่าว
สำหรับนโยบายระยะยาวนั้นรัฐบาลต้องการส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนในภูมิภาค โดยจะผลักดันให้ไทยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพีโต 9% ในปี 2563 จากระดับ 3แสนล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาเป็น 8 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการที่ไทยจะก้าวสู่จุดดังกล่าวได้จะต้องมีพลังงานเพียงพอต่อความต้องการใช้ที่จะเพิ่มสูงขึ้นแต่ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะทยอยหมดลงภายใน 15-20 ปีดังนั้นรัฐบาลจึงมุ่งหวังที่จะพัฒนาแหล่งก๊าซในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-กัมพูชา
“ยืนยันว่ามีความจำเป็นและการเจรจาก็อยู่บนผลประโยชน์ชาติไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนเพราะสามารถทำในรูปแบบเดียวกับการพัฒนาพื้นที่ไทย-มาเลเซียหรือเจดีเอ ที่ไม่ได้จะทำเฉพาะหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งแต่จะรวมทุกส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งวันนี้เราจะต้องพูดความจริงกันถ้าเราไม่ทำอะไรเลยประเทศจะก้าวหน้าไปได้อย่างไร”นายพิชัยกล่าว
นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บมจ.ปตท.กล่าวว่า หากสามารถหาข้อยุติและพัฒนาก๊าซฯในกัมพูชา ซึ่งคาดว่าจะมีสำรองก๊าซฯไม่น้อยกว่า 11 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตซึ่งจะทำให้ไทยมีก๊าซฯใช้เพิ่มไปอีก 10 ปี.