ASTVผู้จัดการรายวัน - กนง.ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ขยับไปอยู่ที่ 3.50% เหตุแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐเป็นสำคัญ เผยมติไม่เอกฉันท์ ส่งสัญญาณประชุมนัดหน้าวันที่ 19 ต.ค.อาจจะหยุดขึ้นดอกเบี้ย ย้ำ กนง.มีหน้าที่กำหนดนโยบายการเงิน
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (24 ส.ค.) การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ 5 ต่อ 2 ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จากระดับ 3.25% ขยับมาอยู่ที่ 3.50%ต่อปี เนื่องจากน้ำหนักความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นในทุกเดือนและสูงกว่าการประชุมครั้งก่อน โดยเฉพาะแรงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อยังสูงขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในระยะต่อไป ทำให้เศรษฐกิจเติบโตดีอยู่แล้วยิ่งขยายตัวมากขึ้นและหากโตมากกว่าศักยภาพของเศรษฐกิจก็ย่อมมีผลต่อแรงกดดันเงินเฟ้อตามมา
อย่างไรก็ตาม กนง.มองว่าอัตราดอกเบี้ยเข้าใกล้ระดับปกติมากขึ้นแล้ว โดยหลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบนี้แล้ว ทำให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงติดลบ 0.35% ถือว่าติดลบน้อยลง จากก่อนที่จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย อัตราดอกเบี้ยแท้จริงติดลบถึง 0.6% ดังนั้น การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไป ขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจในขณะนั้น
“ขณะนี้อัตราดอกเบี้ยเข้าใกล้สมดุลมากขึ้น หลังจากที่กนง.ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาประมาณ 1 ปีแล้ว หากเป็นการเดินทางก็เหมือนกับการใกล้ถึงฝั่งแล้ว แต่บางทีอาจจะมีน้ำเชี่ยวไหลมา ทำให้ต้องพายเรือเร็วขึ้นหรือหากน้ำผลักให้เราใกล้ฝั่งเร็วขึ้นก็ไม่ต้องพายเองมากนักก็ได้ ดังนั้น การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยในรอบหน้า
ซึ่งขึ้นอยู่กับกระแสน้ำจะเป็นอย่างไร”ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท.กล่าว
สำหรับประเด็นคำถามที่ว่า ก่อนหน้านี้ทางรัฐบาลพยายามย้ำเสมอว่าต้องการให้หยุดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และในอนาคตเตรียมจะนัดหารือมายังธปท. แต่การปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นการมองสวนทางกับรัฐบาลหรือไม่นั้น ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ตามกฎหมาย กนง.เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายการเงินของประเทศ และมีการกำหนดเวลาการประชุมไว้ล่วงหน้าตามปกติ
ส่วนความสัมพันธ์ระหว่าง ธปท.กับรัฐบาลได้กำหนดไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่าปลายปีจะมีการตกลงกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินของปีถัดไปร่วมกัน ซึ่งต้องผ่านคณะรัฐมนตรีด้วย แต่กระบวนการเหล่านี้ยังมาไม่ถึงเวลา ฉะนั้นการพิจารณาครั้งนี้ดูทั้งเหตุและผล ความสมดุลความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจทั้งการขยายตัว แรงกดดันด้านราคา และเสถียรภาพของภาวะเศรษฐกิจในระยะยาวด้วย ซึ่งทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเห็นตรงกันในเรื่องนี้
การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 6 ของปีนี้หรือในครั้งนี้ กรรมการ กนง. 5 คน ตัดสินใจให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่วนอีก 2 คน มีความเห็นให้ชะลอการปรับขึ้นไปก่อน โดยกรรมการ กนง.เห็นพ้องต้องกันในทิศทางนโยบายการเงินที่ต้องปรับดอกเบี้ยให้เข้าสู่ระดับสมดุลและให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในระยะต่อไป แต่ต่างกันออกไป คือน้ำหนักความเสี่ยงเรื่องภาวะเศรษฐกิจโลกและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ทำให้เมื่อชั่งน้ำหนักแล้ว พบว่า กรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าความเสี่ยงอัตราเงินเฟ้อสูงกว่า จึงเหมาะสมที่จะปรับดอกเบี้ยเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้นตามที่กนง.ได้ดำเนินการต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา
ส่วนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่ได้มีผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายมากนัก ซึ่งสถานการณ์การเคลื่อนย้ายของเงินทุนมีทั้งแรงผลักมาจากเศรษฐกิจประเทศอุตสาหกรรมหลักใกล้ 0% ขณะเดียวกันก็มีแรงดึงเกิดจากการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจไทย ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในหลายปัจจัยในการพิจารณาเท่านั้น และการเคลื่อนย้ายเงินทุนใช้ประกอบในการดูสภาพคล่องในระบบ อัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงราคาสินทรัพย์ภายในประเทศมากกว่าตัดสินนโยบายจะขึ้นหรือไม่ขึ้นดอกเบี้ย เพราะกลัวเงินทุนไหลเข้าออก
นายไพบูลย์ กล่าวว่า มุมมองเศรษฐกิจโลกในขณะนี้เปลี่ยนแปลงไป โดยเศรษฐกิจประเทศอุตสาหกรรมหลักชะลอตัวกว่าที่คาดการณ์ไว้ เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวต่อเนื่องและต่ำกว่าที่คาด เศรษฐกิจของประเทศหลักในยุโรปเริ่มขยายตัวชะลอลงบ้าง แต่เศรษฐกิจในเอเชียยังรองรับผลกระทบจากการชะลอตัวดังกล่าวได้ในระดับหนึ่งจากแรงขับเคลื่อนที่ดีทั้งอุปสงค์ในประเทศและภาคการส่งออก แม้ตัวเลขการส่งออกชะลอบ้างจากเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว ขณะที่ฐานะการคลังยังสามารถใช้กระตุ้นเศรษฐกิจได้หากมีความจำเป็น
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทรงตัวในระดับสูง โดยความต้องการเริ่มชะลอลง ทำให้แรงกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์และน้ำมันลดลง ขณะที่เศรษฐกิจเอเชีย โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่อย่างจีนมีความต้องการสินค้าดังกล่าว ทำให้ดีมานด์สินค้าเหล่านี้อยู่ในระดับสมดุล แต่ในระยะต่อไป กนง.จะติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจโลกและแรงกดดันอัตราเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บอร์ด กนง.ได้มีการขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมา 7 ครั้งต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการขยับครั้งละ 0.25% นับตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.53 จากระดับ 1.75%ต่อปี มาอยู่ที่ระดับ 3.50%ต่อปีในปัจจุบัน จึงมีผลให้กนง.มีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยรวมไปแล้ว 1.75% และในช่วงที่เหลือปีนี้จะมีการประชุมอีก 2 ครั้ง คือ วันที่ 19 ต.ค.และวันที่ 30 พ.ย.นี้
สำหรับบอร์ด กนง.ประกอบด้วย 7 คน ได้แก่ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธปท.ในฐานะประธานกรรมการ นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ในฐานะรองประธาน นางสุชาดา กิระกุล รองผู้ว่าการ ด้านบริหาร ในฐานะกรรมการ และกรรมการที่เหลืออีก 4 คน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก คือ นายอำพน กิตติอำพน นายพรายพล คุ้มทรัพย์ นายศิริ การเจริญดี และนายเกริกไกร จีระแพทย์.
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (24 ส.ค.) การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ 5 ต่อ 2 ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จากระดับ 3.25% ขยับมาอยู่ที่ 3.50%ต่อปี เนื่องจากน้ำหนักความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นในทุกเดือนและสูงกว่าการประชุมครั้งก่อน โดยเฉพาะแรงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อยังสูงขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในระยะต่อไป ทำให้เศรษฐกิจเติบโตดีอยู่แล้วยิ่งขยายตัวมากขึ้นและหากโตมากกว่าศักยภาพของเศรษฐกิจก็ย่อมมีผลต่อแรงกดดันเงินเฟ้อตามมา
อย่างไรก็ตาม กนง.มองว่าอัตราดอกเบี้ยเข้าใกล้ระดับปกติมากขึ้นแล้ว โดยหลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบนี้แล้ว ทำให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงติดลบ 0.35% ถือว่าติดลบน้อยลง จากก่อนที่จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย อัตราดอกเบี้ยแท้จริงติดลบถึง 0.6% ดังนั้น การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไป ขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจในขณะนั้น
“ขณะนี้อัตราดอกเบี้ยเข้าใกล้สมดุลมากขึ้น หลังจากที่กนง.ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาประมาณ 1 ปีแล้ว หากเป็นการเดินทางก็เหมือนกับการใกล้ถึงฝั่งแล้ว แต่บางทีอาจจะมีน้ำเชี่ยวไหลมา ทำให้ต้องพายเรือเร็วขึ้นหรือหากน้ำผลักให้เราใกล้ฝั่งเร็วขึ้นก็ไม่ต้องพายเองมากนักก็ได้ ดังนั้น การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยในรอบหน้า
ซึ่งขึ้นอยู่กับกระแสน้ำจะเป็นอย่างไร”ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท.กล่าว
สำหรับประเด็นคำถามที่ว่า ก่อนหน้านี้ทางรัฐบาลพยายามย้ำเสมอว่าต้องการให้หยุดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และในอนาคตเตรียมจะนัดหารือมายังธปท. แต่การปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นการมองสวนทางกับรัฐบาลหรือไม่นั้น ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ตามกฎหมาย กนง.เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายการเงินของประเทศ และมีการกำหนดเวลาการประชุมไว้ล่วงหน้าตามปกติ
ส่วนความสัมพันธ์ระหว่าง ธปท.กับรัฐบาลได้กำหนดไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่าปลายปีจะมีการตกลงกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินของปีถัดไปร่วมกัน ซึ่งต้องผ่านคณะรัฐมนตรีด้วย แต่กระบวนการเหล่านี้ยังมาไม่ถึงเวลา ฉะนั้นการพิจารณาครั้งนี้ดูทั้งเหตุและผล ความสมดุลความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจทั้งการขยายตัว แรงกดดันด้านราคา และเสถียรภาพของภาวะเศรษฐกิจในระยะยาวด้วย ซึ่งทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเห็นตรงกันในเรื่องนี้
การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 6 ของปีนี้หรือในครั้งนี้ กรรมการ กนง. 5 คน ตัดสินใจให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่วนอีก 2 คน มีความเห็นให้ชะลอการปรับขึ้นไปก่อน โดยกรรมการ กนง.เห็นพ้องต้องกันในทิศทางนโยบายการเงินที่ต้องปรับดอกเบี้ยให้เข้าสู่ระดับสมดุลและให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในระยะต่อไป แต่ต่างกันออกไป คือน้ำหนักความเสี่ยงเรื่องภาวะเศรษฐกิจโลกและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ทำให้เมื่อชั่งน้ำหนักแล้ว พบว่า กรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าความเสี่ยงอัตราเงินเฟ้อสูงกว่า จึงเหมาะสมที่จะปรับดอกเบี้ยเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้นตามที่กนง.ได้ดำเนินการต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา
ส่วนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่ได้มีผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายมากนัก ซึ่งสถานการณ์การเคลื่อนย้ายของเงินทุนมีทั้งแรงผลักมาจากเศรษฐกิจประเทศอุตสาหกรรมหลักใกล้ 0% ขณะเดียวกันก็มีแรงดึงเกิดจากการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจไทย ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในหลายปัจจัยในการพิจารณาเท่านั้น และการเคลื่อนย้ายเงินทุนใช้ประกอบในการดูสภาพคล่องในระบบ อัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงราคาสินทรัพย์ภายในประเทศมากกว่าตัดสินนโยบายจะขึ้นหรือไม่ขึ้นดอกเบี้ย เพราะกลัวเงินทุนไหลเข้าออก
นายไพบูลย์ กล่าวว่า มุมมองเศรษฐกิจโลกในขณะนี้เปลี่ยนแปลงไป โดยเศรษฐกิจประเทศอุตสาหกรรมหลักชะลอตัวกว่าที่คาดการณ์ไว้ เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวต่อเนื่องและต่ำกว่าที่คาด เศรษฐกิจของประเทศหลักในยุโรปเริ่มขยายตัวชะลอลงบ้าง แต่เศรษฐกิจในเอเชียยังรองรับผลกระทบจากการชะลอตัวดังกล่าวได้ในระดับหนึ่งจากแรงขับเคลื่อนที่ดีทั้งอุปสงค์ในประเทศและภาคการส่งออก แม้ตัวเลขการส่งออกชะลอบ้างจากเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว ขณะที่ฐานะการคลังยังสามารถใช้กระตุ้นเศรษฐกิจได้หากมีความจำเป็น
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทรงตัวในระดับสูง โดยความต้องการเริ่มชะลอลง ทำให้แรงกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์และน้ำมันลดลง ขณะที่เศรษฐกิจเอเชีย โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่อย่างจีนมีความต้องการสินค้าดังกล่าว ทำให้ดีมานด์สินค้าเหล่านี้อยู่ในระดับสมดุล แต่ในระยะต่อไป กนง.จะติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจโลกและแรงกดดันอัตราเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บอร์ด กนง.ได้มีการขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมา 7 ครั้งต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการขยับครั้งละ 0.25% นับตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.53 จากระดับ 1.75%ต่อปี มาอยู่ที่ระดับ 3.50%ต่อปีในปัจจุบัน จึงมีผลให้กนง.มีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยรวมไปแล้ว 1.75% และในช่วงที่เหลือปีนี้จะมีการประชุมอีก 2 ครั้ง คือ วันที่ 19 ต.ค.และวันที่ 30 พ.ย.นี้
สำหรับบอร์ด กนง.ประกอบด้วย 7 คน ได้แก่ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธปท.ในฐานะประธานกรรมการ นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ในฐานะรองประธาน นางสุชาดา กิระกุล รองผู้ว่าการ ด้านบริหาร ในฐานะกรรมการ และกรรมการที่เหลืออีก 4 คน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก คือ นายอำพน กิตติอำพน นายพรายพล คุ้มทรัพย์ นายศิริ การเจริญดี และนายเกริกไกร จีระแพทย์.