ASTV ผู้จัดการรายวัน – เปิดโผรายชื่อ 6 ผู้ลงทุนใหม่ในปิคนิค “วิชัย ทองแตง” ซื้อมากสุด 600 ล้านหุ้น ขณะผู้เดินเรื่อง “พิมล ศรีวิกรม์”ซื้อแค่ 80 ล้านหุ้น เตรียมนำเงิน1.7พันล้านให้บริษัทเคีลยร์หนี้ 29 ส.ค.นี้ ล่าสุดบอร์ดแต่งตั้ง “พลวัต ชยานุวัชร” และ “อรธันยา จำเนียรสวัสดิ์”นั่งคณะกรรมการตรวจสอบปัญหาต่างๆของบริษัท
บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PICNI แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ว่า ล่าสุด นายพิมล ศรีวิกรม์ ได้มีจดหมายถึงบริษัทฯ ฉบับลงวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา เรื่องขอแจ้งรายชื่อนักลงทุนของบริษัทที่จะเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 1,700,000,000 หุ้น และนักลงทุนรายใหม่จะนำเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนทั้งหมด1,700,000,000 บาท มาชำระให้แก่ปิคนิคภายในวันที่ 29 สิงหาคม 2554
โดยกลุ่มนักลงทุนใหม่ของนายพิมล ได้แก่ นายวิชัย ทองแตง จำนวน600,000,000 หุ้น ,นายสุรพล ซีประเสริฐ 320,000,000 หุ้น ,นายมนตรี เล็กวิจิตรธาดา จำนวน300,000,000 หุ้น ,นายกัมพล ตติยกวี จำนวน200,000,000 หุ้น , นางสาว กนานุช เล็กวิจิตรจำนวน200,000,000 หุ้น และ นายพิมล ศรีวิกรม์ จำนวน 80,000,000 หุ้น
ขณะเดัยวกัน ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 12/2554 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม มีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายพลวัต ชยานุวัชร ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการตรวจสอบ และ นางอรธันยา จำเนียรสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจสอบโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2554 เป็นต้นไป
สำหรับความคืบหน้าในการฟื้นฟูกิจการของ PICNI นายสงวน ตรีเจริญวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กล่าวว่า ได้วางแผนฟื้นฟูธุรกิจด้วยวิธีทำตลาดการขายให้ดีขึ้น โดยแต่ละเดือนต้องพลิกสถานการณ์จากขาดทุนมากำไร ควบคู่กับการทำระบบบัญชีที่เคยมีปัญหาให้สะอาด เป็นธุรกิจที่มีธรรมาภิบาลตรวจสอบได้ ซึ่งจะทำให้บริษัทแข็งแรงและกลับเข้าไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯอีกครั้ง
ทั้งนี้ ตามแผนแล้ว ส่วนที่ 1 ต้องรอผลสรุปผู้ร่วมทุนกลุ่มใหม่จะนำเงินเข้ามาใส่เพิ่ม 1,700 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้เคลียร์หนี้ และปฏิบัติตามคำสั่งศาลล้มละลายทุกเรื่องทุกขั้นตอน ส่วนที่ 2 คือหาเงินลงทุนก้อนใหม่มาลงทุนขยายคลังก๊าซเพื่อเพิ่มยอดขายและรายได้ปี 2554 อีกทั้งยังจะต้องเตรียมเพิ่มเงินสำรองสต๊อกก๊าซตามระเบียบของกรมธุรกิจพลังงาน ที่จะเริ่มตั้งแต่ 5 กันยายน 2554 เป็นต้นไป ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการค้าก๊าซทั่วประเทศเพิ่มเปอร์เซ็นต์สำรองปริมาณก๊าซจาก 0.5%เป็น 1% ของยอดประมาณการขายที่แจ้งไว้
ส่วนการแก้ปัญหาภายในของบริษัท ยังต้องเดินหน้าต่อไป ประกอบด้วยการจัดการกับลูกหนี้การค้าประมาณ 400-500 ล้านบาท การติดตามถังก๊าซที่กระจายอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อสรุปจำนวนให้ชัดเจน รวมถึงเรื่องคณะกรรมการชุดใหม่อนุมัติและการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการใหม่เพิ่ม 2 ชุด คือคณะกรรมการที่ปรึกษาทางกฎหมาย กับคณะกรรมการการเงิน เพื่อประมวลผลดำเนินคดีกับลูกหนี้และผู้ที่สร้างความเสียหายแก่บริษัท และการติดตามทวงหนี้พร้อมชำระหนี้ทุกฝ่ายให้ถูกต้อง
ก่อนหน้านี้ นายทนงศักดิ์ ศรีทองคำ กรรมการ บริษัท แอสเซ็ท มิลเลียน จำกัด (มหาชน) หรือ AMC ผู้ถือหุ้น บริษัท เวิลด์แก๊ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า คณะกรรมการบริษัท เวิลด์แก๊สฯ ได้พิจารณาข้อมูลต่าง ๆ ของคณะทำงานและมีมติไม่เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ PICNI ตามแผนฟื้นฟูกิจการ เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ เพราะมองว่าวงเงิน 1,700 ล้านบาทที่จะต้องเพิ่มทุนเข้าไปไม่เพียงพอต่อการฟื้นฟูกิจการ
เพราะมองว่าปิคนิคต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนอีกอย่างน้อย 400-500 ล้านบาทต่อเดือน เพื่อนำไปใช้ซื้อแก๊สในแต่ละเดือน นอกจากนี้ยอดขายลดลงส่งผลให้ส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) เหลือเพียง 4% ขณะที่การแข่งขันธุรกิจแก๊สมีสูง เนื่องจากมีผู้ค้ารายเล็กเข้ามาตลาดเพิ่มขึ้นหลายราย อีกทั้งการฟื้นฟูภาพลักษณ์เป็นไปได้ค่อนข้างยาก นอกจากนี้บริษัทไม่มีข้อมูลอย่างเพียงพอ เพราะไม่มีการนำส่งงบการเงินมาตั้งแต่ปี 2553
บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PICNI แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ว่า ล่าสุด นายพิมล ศรีวิกรม์ ได้มีจดหมายถึงบริษัทฯ ฉบับลงวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา เรื่องขอแจ้งรายชื่อนักลงทุนของบริษัทที่จะเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 1,700,000,000 หุ้น และนักลงทุนรายใหม่จะนำเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนทั้งหมด1,700,000,000 บาท มาชำระให้แก่ปิคนิคภายในวันที่ 29 สิงหาคม 2554
โดยกลุ่มนักลงทุนใหม่ของนายพิมล ได้แก่ นายวิชัย ทองแตง จำนวน600,000,000 หุ้น ,นายสุรพล ซีประเสริฐ 320,000,000 หุ้น ,นายมนตรี เล็กวิจิตรธาดา จำนวน300,000,000 หุ้น ,นายกัมพล ตติยกวี จำนวน200,000,000 หุ้น , นางสาว กนานุช เล็กวิจิตรจำนวน200,000,000 หุ้น และ นายพิมล ศรีวิกรม์ จำนวน 80,000,000 หุ้น
ขณะเดัยวกัน ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 12/2554 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม มีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายพลวัต ชยานุวัชร ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการตรวจสอบ และ นางอรธันยา จำเนียรสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจสอบโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2554 เป็นต้นไป
สำหรับความคืบหน้าในการฟื้นฟูกิจการของ PICNI นายสงวน ตรีเจริญวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กล่าวว่า ได้วางแผนฟื้นฟูธุรกิจด้วยวิธีทำตลาดการขายให้ดีขึ้น โดยแต่ละเดือนต้องพลิกสถานการณ์จากขาดทุนมากำไร ควบคู่กับการทำระบบบัญชีที่เคยมีปัญหาให้สะอาด เป็นธุรกิจที่มีธรรมาภิบาลตรวจสอบได้ ซึ่งจะทำให้บริษัทแข็งแรงและกลับเข้าไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯอีกครั้ง
ทั้งนี้ ตามแผนแล้ว ส่วนที่ 1 ต้องรอผลสรุปผู้ร่วมทุนกลุ่มใหม่จะนำเงินเข้ามาใส่เพิ่ม 1,700 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้เคลียร์หนี้ และปฏิบัติตามคำสั่งศาลล้มละลายทุกเรื่องทุกขั้นตอน ส่วนที่ 2 คือหาเงินลงทุนก้อนใหม่มาลงทุนขยายคลังก๊าซเพื่อเพิ่มยอดขายและรายได้ปี 2554 อีกทั้งยังจะต้องเตรียมเพิ่มเงินสำรองสต๊อกก๊าซตามระเบียบของกรมธุรกิจพลังงาน ที่จะเริ่มตั้งแต่ 5 กันยายน 2554 เป็นต้นไป ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการค้าก๊าซทั่วประเทศเพิ่มเปอร์เซ็นต์สำรองปริมาณก๊าซจาก 0.5%เป็น 1% ของยอดประมาณการขายที่แจ้งไว้
ส่วนการแก้ปัญหาภายในของบริษัท ยังต้องเดินหน้าต่อไป ประกอบด้วยการจัดการกับลูกหนี้การค้าประมาณ 400-500 ล้านบาท การติดตามถังก๊าซที่กระจายอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อสรุปจำนวนให้ชัดเจน รวมถึงเรื่องคณะกรรมการชุดใหม่อนุมัติและการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการใหม่เพิ่ม 2 ชุด คือคณะกรรมการที่ปรึกษาทางกฎหมาย กับคณะกรรมการการเงิน เพื่อประมวลผลดำเนินคดีกับลูกหนี้และผู้ที่สร้างความเสียหายแก่บริษัท และการติดตามทวงหนี้พร้อมชำระหนี้ทุกฝ่ายให้ถูกต้อง
ก่อนหน้านี้ นายทนงศักดิ์ ศรีทองคำ กรรมการ บริษัท แอสเซ็ท มิลเลียน จำกัด (มหาชน) หรือ AMC ผู้ถือหุ้น บริษัท เวิลด์แก๊ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า คณะกรรมการบริษัท เวิลด์แก๊สฯ ได้พิจารณาข้อมูลต่าง ๆ ของคณะทำงานและมีมติไม่เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ PICNI ตามแผนฟื้นฟูกิจการ เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ เพราะมองว่าวงเงิน 1,700 ล้านบาทที่จะต้องเพิ่มทุนเข้าไปไม่เพียงพอต่อการฟื้นฟูกิจการ
เพราะมองว่าปิคนิคต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนอีกอย่างน้อย 400-500 ล้านบาทต่อเดือน เพื่อนำไปใช้ซื้อแก๊สในแต่ละเดือน นอกจากนี้ยอดขายลดลงส่งผลให้ส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) เหลือเพียง 4% ขณะที่การแข่งขันธุรกิจแก๊สมีสูง เนื่องจากมีผู้ค้ารายเล็กเข้ามาตลาดเพิ่มขึ้นหลายราย อีกทั้งการฟื้นฟูภาพลักษณ์เป็นไปได้ค่อนข้างยาก นอกจากนี้บริษัทไม่มีข้อมูลอย่างเพียงพอ เพราะไม่มีการนำส่งงบการเงินมาตั้งแต่ปี 2553