เปิดโผรายชื่อ 6 ผู้ลงทุนใหม่ในปิคนิค “วิชัย ทองแตง” ซื้อมากสุด 600 ล้านหุ้น ขณะผู้เดินเรื่อง “พิมล ศรีวิกรม์” ซื้อแค่ 80 ล้านหุ้น เตรียมนำเงิน 1.7 พันล้าน ให้บริษัทเคีลยร์หนี้ 29 ส.ค.นี้ ล่าสุด บอร์ดแต่งตั้ง “พลวัต ชยานุวัชร” และ “อรธันยา จำเนียรสวัสดิ์” นั่งคณะกรรมการตรวจสอบปัญหาต่างๆ ของบริษัท
บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PICNI แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ล่าสุด นายพิมล ศรีวิกรม์ ได้มีจดหมายถึงบริษัท ฉบับลงวันที่ 10 สิงหาคม ที่ผ่านมา เรื่อง ขอแจ้งรายชื่อนักลงทุนของบริษัทที่จะเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 1,700,000,000 หุ้น และนักลงทุนรายใหม่จะนำเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนทั้งหมด 1,700,000,000 บาท มาชำระให้แก่ปิคนิคภายในวันที่ 29 สิงหาคม 2554
โดยกลุ่มนักลงทุนใหม่ของนายพิมล ได้แก่ นายวิชัย ทองแตง จำนวน 600,000,000 หุ้น, นายสุรพล ซีประเสริฐ 320,000,000 หุ้น, นายมนตรี เล็กวิจิตรธาดา จำนวน 300,000,000 หุ้น, นายกัมพล ตติยกวี จำนวน 200,000,000 หุ้น, นางสาวกนานุช เล็กวิจิตร จำนวน200,000,000 หุ้น และ นายพิมล ศรีวิกรม์ จำนวน 80,000,000 หุ้น
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 12/2554 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม มีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายพลวัต ชยานุวัชร ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการตรวจสอบ และ นางอรธันยา จำเนียรสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจสอบโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2554 เป็นต้นไป
สำหรับความคืบหน้าในการฟื้นฟูกิจการของ PICNI นายสงวน ตรีเจริญวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท กล่าวว่า ได้วางแผนฟื้นฟูธุรกิจด้วยวิธีทำตลาดการขายให้ดีขึ้น โดยแต่ละเดือนต้องพลิกสถานการณ์จากขาดทุนมากำไร ควบคู่กับการทำระบบบัญชีที่เคยมีปัญหาให้สะอาด เป็นธุรกิจที่มีธรรมาภิบาลตรวจสอบได้ ซึ่งจะทำให้บริษัทแข็งแรงและกลับเข้าไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์อีกครั้ง
ทั้งนี้ ตามแผนแล้ว ส่วนที่ 1 ต้องรอผลสรุปผู้ร่วมทุนกลุ่มใหม่จะนำเงินเข้ามาใส่เพิ่ม 1,700 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้เคลียร์หนี้ และปฏิบัติตามคำสั่งศาลล้มละลายทุกเรื่องทุกขั้นตอน ส่วนที่ 2 คือหาเงินลงทุนก้อนใหม่มาลงทุนขยายคลังก๊าซเพื่อเพิ่มยอดขายและรายได้ปี 2554 อีกทั้งยังจะต้องเตรียมเพิ่มเงินสำรองสต๊อกก๊าซตามระเบียบของกรมธุรกิจพลังงาน ที่จะเริ่มตั้งแต่ 5 กันยายน 2554 เป็นต้นไป ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการค้าก๊าซทั่วประเทศเพิ่มเปอร์เซ็นต์สำรองปริมาณก๊าซจาก 0.5%เป็น 1% ของยอดประมาณการขายที่แจ้งไว้
ส่วนการแก้ปัญหาภายในของบริษัท ยังต้องเดินหน้าต่อไป ประกอบด้วยการจัดการกับลูกหนี้การค้าประมาณ 400-500 ล้านบาท การติดตามถังก๊าซที่กระจายอยู่ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อสรุปจำนวนให้ชัดเจน รวมถึงเรื่องคณะกรรมการชุดใหม่อนุมัติและการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการใหม่เพิ่ม 2 ชุด คือคณะกรรมการที่ปรึกษาทางกฎหมาย กับคณะกรรมการการเงิน เพื่อประมวลผลดำเนินคดีกับลูกหนี้และผู้ที่สร้างความเสียหายแก่บริษัท และการติดตามทวงหนี้พร้อมชำระหนี้ทุกฝ่ายให้ถูกต้อง
ก่อนหน้านี้ นายทนงศักดิ์ ศรีทองคำ กรรมการ บริษัท แอสเซ็ท มิลเลียน จำกัด (มหาชน) หรือ AMC ผู้ถือหุ้น บริษัท เวิลด์แก๊ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า คณะกรรมการบริษัท เวิลด์แก๊สฯ ได้พิจารณาข้อมูลต่าง ๆ ของคณะทำงานและมีมติไม่เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ PICNI ตามแผนฟื้นฟูกิจการ เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ เพราะมองว่าวงเงิน 1,700 ล้านบาทที่จะต้องเพิ่มทุนเข้าไปไม่เพียงพอต่อการฟื้นฟูกิจการ
เพราะมองว่าปิคนิคต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนอีกอย่างน้อย 400-500 ล้านบาทต่อเดือน เพื่อนำไปใช้ซื้อแก๊สในแต่ละเดือน นอกจากนี้ยอดขายลดลงส่งผลให้ส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) เหลือเพียง 4% ขณะที่การแข่งขันธุรกิจแก๊สมีสูง เนื่องจากมีผู้ค้ารายเล็กเข้ามาตลาดเพิ่มขึ้นหลายราย อีกทั้งการฟื้นฟูภาพลักษณ์เป็นไปได้ค่อนข้างยาก นอกจากนี้ บริษัทไม่มีข้อมูลอย่างเพียงพอ เพราะไม่มีการนำส่งงบการเงินมาตั้งแต่ปี 2553
บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PICNI แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ล่าสุด นายพิมล ศรีวิกรม์ ได้มีจดหมายถึงบริษัท ฉบับลงวันที่ 10 สิงหาคม ที่ผ่านมา เรื่อง ขอแจ้งรายชื่อนักลงทุนของบริษัทที่จะเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 1,700,000,000 หุ้น และนักลงทุนรายใหม่จะนำเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนทั้งหมด 1,700,000,000 บาท มาชำระให้แก่ปิคนิคภายในวันที่ 29 สิงหาคม 2554
โดยกลุ่มนักลงทุนใหม่ของนายพิมล ได้แก่ นายวิชัย ทองแตง จำนวน 600,000,000 หุ้น, นายสุรพล ซีประเสริฐ 320,000,000 หุ้น, นายมนตรี เล็กวิจิตรธาดา จำนวน 300,000,000 หุ้น, นายกัมพล ตติยกวี จำนวน 200,000,000 หุ้น, นางสาวกนานุช เล็กวิจิตร จำนวน200,000,000 หุ้น และ นายพิมล ศรีวิกรม์ จำนวน 80,000,000 หุ้น
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 12/2554 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม มีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายพลวัต ชยานุวัชร ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการตรวจสอบ และ นางอรธันยา จำเนียรสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจสอบโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2554 เป็นต้นไป
สำหรับความคืบหน้าในการฟื้นฟูกิจการของ PICNI นายสงวน ตรีเจริญวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท กล่าวว่า ได้วางแผนฟื้นฟูธุรกิจด้วยวิธีทำตลาดการขายให้ดีขึ้น โดยแต่ละเดือนต้องพลิกสถานการณ์จากขาดทุนมากำไร ควบคู่กับการทำระบบบัญชีที่เคยมีปัญหาให้สะอาด เป็นธุรกิจที่มีธรรมาภิบาลตรวจสอบได้ ซึ่งจะทำให้บริษัทแข็งแรงและกลับเข้าไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์อีกครั้ง
ทั้งนี้ ตามแผนแล้ว ส่วนที่ 1 ต้องรอผลสรุปผู้ร่วมทุนกลุ่มใหม่จะนำเงินเข้ามาใส่เพิ่ม 1,700 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้เคลียร์หนี้ และปฏิบัติตามคำสั่งศาลล้มละลายทุกเรื่องทุกขั้นตอน ส่วนที่ 2 คือหาเงินลงทุนก้อนใหม่มาลงทุนขยายคลังก๊าซเพื่อเพิ่มยอดขายและรายได้ปี 2554 อีกทั้งยังจะต้องเตรียมเพิ่มเงินสำรองสต๊อกก๊าซตามระเบียบของกรมธุรกิจพลังงาน ที่จะเริ่มตั้งแต่ 5 กันยายน 2554 เป็นต้นไป ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการค้าก๊าซทั่วประเทศเพิ่มเปอร์เซ็นต์สำรองปริมาณก๊าซจาก 0.5%เป็น 1% ของยอดประมาณการขายที่แจ้งไว้
ส่วนการแก้ปัญหาภายในของบริษัท ยังต้องเดินหน้าต่อไป ประกอบด้วยการจัดการกับลูกหนี้การค้าประมาณ 400-500 ล้านบาท การติดตามถังก๊าซที่กระจายอยู่ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อสรุปจำนวนให้ชัดเจน รวมถึงเรื่องคณะกรรมการชุดใหม่อนุมัติและการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการใหม่เพิ่ม 2 ชุด คือคณะกรรมการที่ปรึกษาทางกฎหมาย กับคณะกรรมการการเงิน เพื่อประมวลผลดำเนินคดีกับลูกหนี้และผู้ที่สร้างความเสียหายแก่บริษัท และการติดตามทวงหนี้พร้อมชำระหนี้ทุกฝ่ายให้ถูกต้อง
ก่อนหน้านี้ นายทนงศักดิ์ ศรีทองคำ กรรมการ บริษัท แอสเซ็ท มิลเลียน จำกัด (มหาชน) หรือ AMC ผู้ถือหุ้น บริษัท เวิลด์แก๊ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า คณะกรรมการบริษัท เวิลด์แก๊สฯ ได้พิจารณาข้อมูลต่าง ๆ ของคณะทำงานและมีมติไม่เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ PICNI ตามแผนฟื้นฟูกิจการ เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ เพราะมองว่าวงเงิน 1,700 ล้านบาทที่จะต้องเพิ่มทุนเข้าไปไม่เพียงพอต่อการฟื้นฟูกิจการ
เพราะมองว่าปิคนิคต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนอีกอย่างน้อย 400-500 ล้านบาทต่อเดือน เพื่อนำไปใช้ซื้อแก๊สในแต่ละเดือน นอกจากนี้ยอดขายลดลงส่งผลให้ส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) เหลือเพียง 4% ขณะที่การแข่งขันธุรกิจแก๊สมีสูง เนื่องจากมีผู้ค้ารายเล็กเข้ามาตลาดเพิ่มขึ้นหลายราย อีกทั้งการฟื้นฟูภาพลักษณ์เป็นไปได้ค่อนข้างยาก นอกจากนี้ บริษัทไม่มีข้อมูลอย่างเพียงพอ เพราะไม่มีการนำส่งงบการเงินมาตั้งแต่ปี 2553