ผมใคร่ขอเชิญชวนให้ท่านผู้อ่านรวมตัวกันจัดตั้ง “ชมรมผู้บริโภคบทความสื่อ” มีวัตถุประสงค์แสวงหาสัจธรรมตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพของบทความในสื่อ เพื่อความเป็นธรรมและความสอดคล้องกับผลประโยชน์ของผู้อ่านและสังคม
วิธีทำก็ไม่ยาก ใช้เนื้อที่ความคิดเห็นนี่แหละนัดแนะกัน และผมยินดีรับใช้ หากท่านจะผันตัวเป็นชมรมคอลัมนิสต์แทนผมเหมือน “คิดถึงเมืองไทย” ได้ ผมก็ยิ่งจะดีใจ
ผมปรับสไตล์การเขียน “นโยบายขายนายกฯ” เล็กน้อย เป็น interactive column ผู้อ่าน สามารถตรวจสอบ กดหาข้อมูลเพิ่มด้วยตนเองได้ทันที
เช่น เราพูดถึงยิ่งลักษณ์กับ Tony Blair เราก็เปิด www.google.com ดูก่อน กดชื่อ Yingluck Chinawatra ลงไป ก็จะเห็นสารพัดยิ่งลักษณ์ขึ้นมา http://en.wikipedia. org/ wiki/ Yingluck_Shinawatra หรือ Tony Blair ก็เช่นเดียวกัน http://en.wikipedia.org/ wiki/ Tony_Blair
ผมเคยเขียนเรื่อง “ทักษิณ แบลร์ : ใครจะไปก่อนกัน” 16 ก.พ. 2549 http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx? NewsID =9490000021586 ผลที่สุดก็ไปก่อนครบเทอมอย่างที่ผมทำนายทั้งคู่ แต่ผมไม่เคยคิดเลยว่าจะต้องมาเปรียบแบลร์กับน้องสาวทักษิณ ท่านทราบแล้วว่าทักษิณไปอย่างไร ส่วนแบลร์ไปเพราะ 1.โกหกตามก้นบุชเข้าไปตีอิรักhttp://www.youtube.com/ watch?v=lSieUhqIR6k 2.โกหกและผิดสัญญาว่าจะผลัดให้ Gordon Brown ( http://en.wikipedia.org/wiki/ Gordon_ Brown) เป็นนายกฯ หลัง 2 สมัย Blair 'broke promise to Brown not to run a third time' http://www.bbc.co.uk/ news/ 10628363 และ 3.ลักษณะพิเศษเรื่องการเปลี่ยนถ่ายผู้นำในระบบพรรคการเมืองอังกฤษ ทั้งๆ ที่ Blair และ Margaret Thatcher ( http://en.wikipedia.org/wiki/Margaret_Thatcher) นำพรรคชนะเลือกตั้งสมัย 3 อย่างถล่มทลาย ก็มิวายถูกพรรคปลดทั้งคู่
มีผู้ฉงนปนสังเวชว่ายิ่งลักษณ์ขึ้นมาสู่ทำเนียบผู้นำสตรีของโลกได้อย่างไร น่าสงสารฮิลลารี คลินตัน ( http://en.wikipedia. org/ wiki/Hillary_Rodham_Clinton) ซึ่งต่อสู้ทุ่มเทสายตัวแทบขาด ทั้งๆ ที่ต้นทุนการเมืองสูงเป็นเมียอดีตประธานาธิบดีและเป็นวุฒิสมาชิกรัฐนิวยอร์ก ยิ่งลักษณ์ มีอะไรที่ทาบคลินตันติด
คำตอบอยู่ที่การตลาดหรือ marketing ทั้งการตลาดของ Obama( http://www. Neuroscience marketing.com/blog/ articles/clinton-vs-obama-microsoft-vs-apple.htm ) และของทักษิณกับพรรคเพื่อไทยเหนือกว่าคู่ต่อสู้
มีทฤษฎี 5 Ps in Marketing (http://www.onlinembawiki. com/5ps-marketing-theory/) ซึ่งมีหลักง่ายๆ ว่า “ของ” หรือ “สินค้า” จะขายได้ดีที่สุดขึ้นอยู่กับความเหมาะเจาะที่สุดของปัจจัย 5 คือ Price,Place,Promotion,Package and Product แปลเป็นไทยว่า ราคา สถานที่ขาย การโฆษณา การบรรจุหีบห่อ (ให้ดูว่าเป็นของดีมีคุณค่าทั้งข้างนอกข้างใน) และตัว “ของ” หรือ “สินค้า” นั้นๆ
เมื่อปัจจัยทั้ง 5 หรือหัวใจของการตลาดมีครบแล้ว ของดีที่สุดก็คือของที่ขายได้มากที่สุด ไม่จำเป็นจะต้องเป็นของที่มีคุณภาพสวยงามและทนทานเสมอไป เพราะฉะนั้นเมื่อการตลาดดีของเทียมอาจจะมีค่าหรือขายดีกว่าของแท้ก็ได้
เราต้องเปรียบเทียบหรือว่าแบลร์และพรรคแรงงานกับยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทยว่าใครเป็นของแท้และใครเป็นของเทียม
แบลร์ในฐานะหัวหน้าพรรคแรงงานนำพรรคเข้าสู่การเลือกตั้ง 1 พฤษภาคม 1997 ปราบรัฐบาลแชมป์เก่า 18 ปีอย่างถล่มทลายได้ 418 เสียงกับ 165 เสียง เข้าจุมพิตพระหัตถ์พระราชินีและเข้าสู่ทำเนียบนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร บ้านเลขที่ 10 ถนน Downing ในวันที่ 2 พฤษภาคม 1997 ( http:// en.wikipedia.org/wiki/United_Kingdom_general_ election,_1997 กับ http://www.ukelect.co.uk/May1997 Winner/ GenElect.htm และ http://www.royal.gov. uk/ MonarchUK/QueenandGovernment/QueenandPrimeMinister.aspx) ตอนนั้นแบลร์ยังหนุ่มฟ้ออายุ 43 ปี เป็นนายกฯ หนุ่มที่สุดในรอบ 200 ปี ขณะนี้ยิ่งลักษณ์อายุ 44 ปียังดู “เอ๊าะๆ” อยู่
แบลร์เขียนประโยคแรกใน memoir ของเขา ( http://www. tonyblairjourney.co.uk/extracts) ว่า “On 2 May 1997, I walked into Downing Street as prime minister for the first time. I had never held office, not even as the most junior of junior ministers. It was my first and only job in government” แปลว่า เขาเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นตำแหน่งแรกและตำแหน่งสุดท้ายในรัฐบาลโดยไม่เคยเป็นอะไรมาก่อนเลยแม้กระทั่งผู้ช่วยรัฐมนตรีตัวเล็กๆ ก็ไม่เคย
เราคงจะต้องคอยอ่านหนังสือของยิ่งลักษณ์ที่ตลอดอายุไม่เคยดำรงตำแหน่งใดๆ ทางการเมืองเลยเช่นกัน และความเหมือนก็หมดลงตรงนั้น เพราะแบลร์เป็นนักการเมืองอาชีพ ผ่านการสอบตกสอบได้มาแล้ว เล่นการเมือง เรียนรู้และต่อสู้ในพรรคมา 14 ปีจนได้เป็นหัวหน้าพรรค เป็นรัฐมนตรีเงา เป็นหัวหน้าฝ่ายค้านของพรรคการเมืองที่มีอายุเป็นศตวรรษ ดู History of Labour Party http://www.labour.org.uk/history_of_the_labour_party
ส่วนพรรคเพื่อไทยนั้นลองถาม google หา official www. of Phue Thai Party ปรากฏว่าไม่เจอ แต่มีข้อมูลจากเว็บอื่นๆ มากพอสมควร พรรคของยิ่งลักษณ์นั้นเป็นแก๊งเลือกตั้งเดิมชื่อไทยรักไทย ซื้อผู้แทน ซื้อพรรค และซื้อการเลือกตั้งเข้ามาเมื่อปี 2544 เพื่อให้หัวหน้าได้เป็นนายกฯ และคราวนี้ก็ยกเอาน้องสาวอดีตนายกฯ ขึ้นมาเชิด ทำการสร้างเหมือนสินค้าผลิตจากโรงงาน (manufactured product) และบรรจุหีบห่อ (package) ให้ดูเป็น “ของ” ดีเลิศน่าซื้อ เหมาะสมกับ brand หรือยี่ห้อพรรคซึ่งติดตลาดดีอยู่แล้วและมีลูกค้าเข้าแถวคอยซื้อ
ยิ่งลักษณ์ไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองมาก่อน จู่ๆ ก็ทะยานขึ้นเป็นนายกฯ หากมิใช่เพราะนามสกุลชินวัตรและเป็นน้องสาวทักษิณย่อมไม่มีทางเป็นไปได้ อาศัยการตลาดชั้นเซียนเหยียบโลกจึงประสบความสำเร็จอย่างง่ายดาย
ทั้งนี้ต้องให้เครดิตกับยิ่งลักษณ์ด้วย เพราะถ้าเป็นน้องสาวคนอื่น เช่น เยาวภาหรือเยาวเรศ ย่อมไม่มีทาง package ให้เป็นสินค้าขายดีได้
ความสำเร็จของพรรคเพื่อไทยขึ้นอยู่กับการโฆษณาและการขายของที่นำมาบรรจุหีบห่อรวมกันได้อย่างเหมาะเจาะ ได้แก่ ตัวยิ่งลักษณ์เอง+ทักษิณ+พรรคเพื่อไทยอันได้แก่บรรดาผู้สมัครและแฟนพันธุ์แท้ที่ยึดพื้นที่ไว้ให้พรรค ฯลฯ
ลักษณะและที่มาของนโยบายในระบบพรรคการเมืองของอังกฤษ เป็นคนละโลกกับสิ่งที่เรียกว่า “นโยบาย” ของพรรคการเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายที่เขียนขึ้นมาใหม่ในวันแถลงนโยบายซึ่งเก็บเล็กผสมน้อยมาจากแนวนโยบายแห่งรัฐ โครงการของสภาพัฒนา และการหาเสียงของพรรค
จริงอยู่ ชัยชนะของพรรคเลเบอร์อังกฤษขึ้นอยู่กับภาพลักษณ์ใหม่และความเป็นผู้นำใหม่ของแบลร์ที่เรียกรวมกันว่า “New Labour” แต่โครงสร้าง องค์ประกอบและกระบวนพฤติกรรม(เช่น การประชุมกำหนดนโยบายและหาเสียง) ทั้งหมดของพรรคที่เป็นเอกภาพและต่อเนื่องกลายเป็น package และ product ที่นำชัยชนะมาให้
ของเรานั้นขึ้นอยู่กับเงินและการตลาด ถึงแม้จะมิได้จ่ายหรือซื้อขายกันอย่างโจ่งแจ้งในวันหาเสียงหรือวันลงคะแนน องค์กรนอกแบบของพรรค รวมทั้งแนวร่วมโดยตรงและแนวร่วมมุมกลับ แม้แต่ตำรวจ ทหาร และ กกต.ก็ไม่เว้น
การตลาดของเพื่อไทยอาศัยทั้งไสยศาสตร์และวัฒนธรรมไทย เริ่มต้นด้วยการจับยิ่งลักษณ์มาเป็น “สตรีขี่ม้าขาว” ตามคำทำนายรัตนโกสินทร์และฤาษีลิงดำ กระชับด้วยยิ่งลักษณ์เป็น “โคลนนิ่งของทักษิณ” บวกกับการโฆษณาที่ไม่คำนึงถึงการละเมิดกฎหมาย เช่น “ทักษิณคิด-เพื่อไทยทำ” และการโฆษณาประชานิยมอย่างบ้าระห่ำ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็น “สัญญาจะให้” ทั้งหมดผิดกฎหมายทั้งสิ้น
อาศัยการซื้อและสยบสื่อ รวมทั้งภาวะ “หูหนวก-ตาบอด” ของ กกต.ความไม่เอาไหน และสันดานไม่เอาไหนและชนะไหนเข้าด้วยช่วยกระพือของกองทัพ ระบบราชการและนักวิชาการไทย การตลาดชั้นเซียนเหยียบโลกจึงสามารถเหยียบประเทศไทยได้แหลกคาตีน ยังเหลืออยู่แต่ศาลซึ่งคดีมาจ่ออยู่นับไม่ถ้วน ก็ขึ้นอยู่กับศาลว่าจะเข้าใจสุภาษิตกฎหมาย “ความยุติธรรมอันล่าช้า คือ มหาอยุติธรรม” ได้ดีแค่ไหน
ผมไม่แน่ใจว่าอนาคตการเมืองไทยจะเป็นอย่างไร ความชอบธรรมทางการเมืองนั้น ขึ้นกับ “การมาดี-อยู่ดี-ไปดี” การตลาดแบบประชานิยมจะทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์อยู่ดีได้อย่างลำบากยากยิ่ง
ถ้ายิ่งลักษณ์เป็นของแท้อย่างแบลร์และฮิลลารี ยิ่งลักษณ์ก็มีสิทธิไปดีได้ ถ้าไม่ใช่ คำถามต่อไปก็คือ “เมื่อไร” “อย่างไร” และ “เหมือนใคร”
บทความนี้มิใช่คำสาปแช่ง แต่เป็นการต้อนรับและเอาใจช่วย-ขอให้อยู่ดีและไปดี!
วิธีทำก็ไม่ยาก ใช้เนื้อที่ความคิดเห็นนี่แหละนัดแนะกัน และผมยินดีรับใช้ หากท่านจะผันตัวเป็นชมรมคอลัมนิสต์แทนผมเหมือน “คิดถึงเมืองไทย” ได้ ผมก็ยิ่งจะดีใจ
ผมปรับสไตล์การเขียน “นโยบายขายนายกฯ” เล็กน้อย เป็น interactive column ผู้อ่าน สามารถตรวจสอบ กดหาข้อมูลเพิ่มด้วยตนเองได้ทันที
เช่น เราพูดถึงยิ่งลักษณ์กับ Tony Blair เราก็เปิด www.google.com ดูก่อน กดชื่อ Yingluck Chinawatra ลงไป ก็จะเห็นสารพัดยิ่งลักษณ์ขึ้นมา http://en.wikipedia. org/ wiki/ Yingluck_Shinawatra หรือ Tony Blair ก็เช่นเดียวกัน http://en.wikipedia.org/ wiki/ Tony_Blair
ผมเคยเขียนเรื่อง “ทักษิณ แบลร์ : ใครจะไปก่อนกัน” 16 ก.พ. 2549 http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx? NewsID =9490000021586 ผลที่สุดก็ไปก่อนครบเทอมอย่างที่ผมทำนายทั้งคู่ แต่ผมไม่เคยคิดเลยว่าจะต้องมาเปรียบแบลร์กับน้องสาวทักษิณ ท่านทราบแล้วว่าทักษิณไปอย่างไร ส่วนแบลร์ไปเพราะ 1.โกหกตามก้นบุชเข้าไปตีอิรักhttp://www.youtube.com/ watch?v=lSieUhqIR6k 2.โกหกและผิดสัญญาว่าจะผลัดให้ Gordon Brown ( http://en.wikipedia.org/wiki/ Gordon_ Brown) เป็นนายกฯ หลัง 2 สมัย Blair 'broke promise to Brown not to run a third time' http://www.bbc.co.uk/ news/ 10628363 และ 3.ลักษณะพิเศษเรื่องการเปลี่ยนถ่ายผู้นำในระบบพรรคการเมืองอังกฤษ ทั้งๆ ที่ Blair และ Margaret Thatcher ( http://en.wikipedia.org/wiki/Margaret_Thatcher) นำพรรคชนะเลือกตั้งสมัย 3 อย่างถล่มทลาย ก็มิวายถูกพรรคปลดทั้งคู่
มีผู้ฉงนปนสังเวชว่ายิ่งลักษณ์ขึ้นมาสู่ทำเนียบผู้นำสตรีของโลกได้อย่างไร น่าสงสารฮิลลารี คลินตัน ( http://en.wikipedia. org/ wiki/Hillary_Rodham_Clinton) ซึ่งต่อสู้ทุ่มเทสายตัวแทบขาด ทั้งๆ ที่ต้นทุนการเมืองสูงเป็นเมียอดีตประธานาธิบดีและเป็นวุฒิสมาชิกรัฐนิวยอร์ก ยิ่งลักษณ์ มีอะไรที่ทาบคลินตันติด
คำตอบอยู่ที่การตลาดหรือ marketing ทั้งการตลาดของ Obama( http://www. Neuroscience marketing.com/blog/ articles/clinton-vs-obama-microsoft-vs-apple.htm ) และของทักษิณกับพรรคเพื่อไทยเหนือกว่าคู่ต่อสู้
มีทฤษฎี 5 Ps in Marketing (http://www.onlinembawiki. com/5ps-marketing-theory/) ซึ่งมีหลักง่ายๆ ว่า “ของ” หรือ “สินค้า” จะขายได้ดีที่สุดขึ้นอยู่กับความเหมาะเจาะที่สุดของปัจจัย 5 คือ Price,Place,Promotion,Package and Product แปลเป็นไทยว่า ราคา สถานที่ขาย การโฆษณา การบรรจุหีบห่อ (ให้ดูว่าเป็นของดีมีคุณค่าทั้งข้างนอกข้างใน) และตัว “ของ” หรือ “สินค้า” นั้นๆ
เมื่อปัจจัยทั้ง 5 หรือหัวใจของการตลาดมีครบแล้ว ของดีที่สุดก็คือของที่ขายได้มากที่สุด ไม่จำเป็นจะต้องเป็นของที่มีคุณภาพสวยงามและทนทานเสมอไป เพราะฉะนั้นเมื่อการตลาดดีของเทียมอาจจะมีค่าหรือขายดีกว่าของแท้ก็ได้
เราต้องเปรียบเทียบหรือว่าแบลร์และพรรคแรงงานกับยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทยว่าใครเป็นของแท้และใครเป็นของเทียม
แบลร์ในฐานะหัวหน้าพรรคแรงงานนำพรรคเข้าสู่การเลือกตั้ง 1 พฤษภาคม 1997 ปราบรัฐบาลแชมป์เก่า 18 ปีอย่างถล่มทลายได้ 418 เสียงกับ 165 เสียง เข้าจุมพิตพระหัตถ์พระราชินีและเข้าสู่ทำเนียบนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร บ้านเลขที่ 10 ถนน Downing ในวันที่ 2 พฤษภาคม 1997 ( http:// en.wikipedia.org/wiki/United_Kingdom_general_ election,_1997 กับ http://www.ukelect.co.uk/May1997 Winner/ GenElect.htm และ http://www.royal.gov. uk/ MonarchUK/QueenandGovernment/QueenandPrimeMinister.aspx) ตอนนั้นแบลร์ยังหนุ่มฟ้ออายุ 43 ปี เป็นนายกฯ หนุ่มที่สุดในรอบ 200 ปี ขณะนี้ยิ่งลักษณ์อายุ 44 ปียังดู “เอ๊าะๆ” อยู่
แบลร์เขียนประโยคแรกใน memoir ของเขา ( http://www. tonyblairjourney.co.uk/extracts) ว่า “On 2 May 1997, I walked into Downing Street as prime minister for the first time. I had never held office, not even as the most junior of junior ministers. It was my first and only job in government” แปลว่า เขาเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นตำแหน่งแรกและตำแหน่งสุดท้ายในรัฐบาลโดยไม่เคยเป็นอะไรมาก่อนเลยแม้กระทั่งผู้ช่วยรัฐมนตรีตัวเล็กๆ ก็ไม่เคย
เราคงจะต้องคอยอ่านหนังสือของยิ่งลักษณ์ที่ตลอดอายุไม่เคยดำรงตำแหน่งใดๆ ทางการเมืองเลยเช่นกัน และความเหมือนก็หมดลงตรงนั้น เพราะแบลร์เป็นนักการเมืองอาชีพ ผ่านการสอบตกสอบได้มาแล้ว เล่นการเมือง เรียนรู้และต่อสู้ในพรรคมา 14 ปีจนได้เป็นหัวหน้าพรรค เป็นรัฐมนตรีเงา เป็นหัวหน้าฝ่ายค้านของพรรคการเมืองที่มีอายุเป็นศตวรรษ ดู History of Labour Party http://www.labour.org.uk/history_of_the_labour_party
ส่วนพรรคเพื่อไทยนั้นลองถาม google หา official www. of Phue Thai Party ปรากฏว่าไม่เจอ แต่มีข้อมูลจากเว็บอื่นๆ มากพอสมควร พรรคของยิ่งลักษณ์นั้นเป็นแก๊งเลือกตั้งเดิมชื่อไทยรักไทย ซื้อผู้แทน ซื้อพรรค และซื้อการเลือกตั้งเข้ามาเมื่อปี 2544 เพื่อให้หัวหน้าได้เป็นนายกฯ และคราวนี้ก็ยกเอาน้องสาวอดีตนายกฯ ขึ้นมาเชิด ทำการสร้างเหมือนสินค้าผลิตจากโรงงาน (manufactured product) และบรรจุหีบห่อ (package) ให้ดูเป็น “ของ” ดีเลิศน่าซื้อ เหมาะสมกับ brand หรือยี่ห้อพรรคซึ่งติดตลาดดีอยู่แล้วและมีลูกค้าเข้าแถวคอยซื้อ
ยิ่งลักษณ์ไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองมาก่อน จู่ๆ ก็ทะยานขึ้นเป็นนายกฯ หากมิใช่เพราะนามสกุลชินวัตรและเป็นน้องสาวทักษิณย่อมไม่มีทางเป็นไปได้ อาศัยการตลาดชั้นเซียนเหยียบโลกจึงประสบความสำเร็จอย่างง่ายดาย
ทั้งนี้ต้องให้เครดิตกับยิ่งลักษณ์ด้วย เพราะถ้าเป็นน้องสาวคนอื่น เช่น เยาวภาหรือเยาวเรศ ย่อมไม่มีทาง package ให้เป็นสินค้าขายดีได้
ความสำเร็จของพรรคเพื่อไทยขึ้นอยู่กับการโฆษณาและการขายของที่นำมาบรรจุหีบห่อรวมกันได้อย่างเหมาะเจาะ ได้แก่ ตัวยิ่งลักษณ์เอง+ทักษิณ+พรรคเพื่อไทยอันได้แก่บรรดาผู้สมัครและแฟนพันธุ์แท้ที่ยึดพื้นที่ไว้ให้พรรค ฯลฯ
ลักษณะและที่มาของนโยบายในระบบพรรคการเมืองของอังกฤษ เป็นคนละโลกกับสิ่งที่เรียกว่า “นโยบาย” ของพรรคการเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายที่เขียนขึ้นมาใหม่ในวันแถลงนโยบายซึ่งเก็บเล็กผสมน้อยมาจากแนวนโยบายแห่งรัฐ โครงการของสภาพัฒนา และการหาเสียงของพรรค
จริงอยู่ ชัยชนะของพรรคเลเบอร์อังกฤษขึ้นอยู่กับภาพลักษณ์ใหม่และความเป็นผู้นำใหม่ของแบลร์ที่เรียกรวมกันว่า “New Labour” แต่โครงสร้าง องค์ประกอบและกระบวนพฤติกรรม(เช่น การประชุมกำหนดนโยบายและหาเสียง) ทั้งหมดของพรรคที่เป็นเอกภาพและต่อเนื่องกลายเป็น package และ product ที่นำชัยชนะมาให้
ของเรานั้นขึ้นอยู่กับเงินและการตลาด ถึงแม้จะมิได้จ่ายหรือซื้อขายกันอย่างโจ่งแจ้งในวันหาเสียงหรือวันลงคะแนน องค์กรนอกแบบของพรรค รวมทั้งแนวร่วมโดยตรงและแนวร่วมมุมกลับ แม้แต่ตำรวจ ทหาร และ กกต.ก็ไม่เว้น
การตลาดของเพื่อไทยอาศัยทั้งไสยศาสตร์และวัฒนธรรมไทย เริ่มต้นด้วยการจับยิ่งลักษณ์มาเป็น “สตรีขี่ม้าขาว” ตามคำทำนายรัตนโกสินทร์และฤาษีลิงดำ กระชับด้วยยิ่งลักษณ์เป็น “โคลนนิ่งของทักษิณ” บวกกับการโฆษณาที่ไม่คำนึงถึงการละเมิดกฎหมาย เช่น “ทักษิณคิด-เพื่อไทยทำ” และการโฆษณาประชานิยมอย่างบ้าระห่ำ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็น “สัญญาจะให้” ทั้งหมดผิดกฎหมายทั้งสิ้น
อาศัยการซื้อและสยบสื่อ รวมทั้งภาวะ “หูหนวก-ตาบอด” ของ กกต.ความไม่เอาไหน และสันดานไม่เอาไหนและชนะไหนเข้าด้วยช่วยกระพือของกองทัพ ระบบราชการและนักวิชาการไทย การตลาดชั้นเซียนเหยียบโลกจึงสามารถเหยียบประเทศไทยได้แหลกคาตีน ยังเหลืออยู่แต่ศาลซึ่งคดีมาจ่ออยู่นับไม่ถ้วน ก็ขึ้นอยู่กับศาลว่าจะเข้าใจสุภาษิตกฎหมาย “ความยุติธรรมอันล่าช้า คือ มหาอยุติธรรม” ได้ดีแค่ไหน
ผมไม่แน่ใจว่าอนาคตการเมืองไทยจะเป็นอย่างไร ความชอบธรรมทางการเมืองนั้น ขึ้นกับ “การมาดี-อยู่ดี-ไปดี” การตลาดแบบประชานิยมจะทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์อยู่ดีได้อย่างลำบากยากยิ่ง
ถ้ายิ่งลักษณ์เป็นของแท้อย่างแบลร์และฮิลลารี ยิ่งลักษณ์ก็มีสิทธิไปดีได้ ถ้าไม่ใช่ คำถามต่อไปก็คือ “เมื่อไร” “อย่างไร” และ “เหมือนใคร”
บทความนี้มิใช่คำสาปแช่ง แต่เป็นการต้อนรับและเอาใจช่วย-ขอให้อยู่ดีและไปดี!