xs
xsm
sm
md
lg

นโยบายขายนายกฯ อย่าโกหกว่าเหมือนอังกฤษ

เผยแพร่:   โดย: ปราโมทย์ นาครทรรพ

วันนี้ ไม่รู้จะมีเวลาและหน้ากระดาษพอคุยกับท่านผู้อ่านทั้ง 2 เรื่องหรือไม่ คือ

1. เรื่องระบบรัฐบาลไทยไม่เหมือนอังกฤษ แต่ตู่เอาเองหน้าด้านๆ ทั้งนี้เพราะของเขามีนโยบาย แต่ของเราไม่มี มีแต่คำโกหก แถมผู้นำประเทศยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่านโยบายคืออะไร

2. เรื่องการคาดการณ์กับความหวังในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่ผมพูดกับเติมศักด์ จารุปราณ ASTV คืนวันพฤหัสบดี 12 สิงหาคมนี้

สักแต่ว่ามี 2 สภา มีพระมหากษัตริย์ มีพรรคการเมือง และมีการเลือกตั้ง ไม่ทำให้เหมือนกันเลย สิ่งที่จะทำให้เหมือนหรือต่างกันคือระบบพฤติกรรม มิใช่สัญลักษณ์ที่กล่าวมา การที่เราอ้างว่าพรรคนี้ชนะการเลือกตั้ง เพราะประชาชนชอบนโยบายของพรรคมากกว่า (นโยบาย) พรรคโน้น ก็ไม่ผิดแต่ความจริงไม่ถูก เพราะหลงเข้าใจไปกันเอง เลยโมเมว่าเข้าใจ เหมือนคนไทยที่สาธุในงานสวดศพโดยฟังพระเทศน์ไม่รู้เรื่องสักคำ

แม้แต่อดีตนายกรัฐมนตรีอย่าง บรรหาร ศิลปอาชา ยังไม่รู้เลยว่านโยบายคืออะไร เห็นได้จากการแนะนำยิ่งลักษณ์ว่า “เขียนนโยบายให้ดีๆ เหมือนที่หาเสียงไว้” ซึ่งอาจจะแปลอีกนัยหนึ่งว่า ตอนหาเสียงโกหกไว้อย่างไร วันแถลงนโยบายในสภาก็โกหกให้ดีกว่านั้น เรื่องนี้ผมเคยเขียนไว้บ้างแล้วในยุคนายกฯ สมัคร เรื่อง ทีโกหกเรื่องอื่นได้ นโยบายหรือจะไม่มุสา 28 ก.พ. 2551 http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000024846นานมาแล้วผมเคยเขียนไว้เหมือนกันว่า นโยบายพรรคประชาธิปัตย์สู้ของสมาคมชาวนาอังกฤษไม่ได้ ลองไปดูกันว่านโยบายของรัฐบาลอังกฤษคืออะไร มาจากที่ไหน

ตอบง่ายๆ ก่อนว่า นโยบายของพรรคการเมืองอังกฤษมาจากประชาชน ทั้งผู้มีภูมิลำเนาในหน่วยเลือกตั้งหรือเป็นกลุ่มก้อนในวิชาชีพหรือองค์กรอย่างสมาคมชาวนาที่กล่าวมา เมื่อประชาชนหรือกลุ่มมีเรื่องอึดอัดขัดข้องหรือเดือดร้อนต้องการระงับ พึ่งตนเองไม่ได้ ก็ต้องพึ่งรัฐบาล และอีกอย่างหนึ่ง มีความปรารถนาใฝ่ฝันอยากได้ดีมีความสุขอย่างไร ก็อยากให้รัฐบาลเป็นผู้สนองความต้องการนั้น

นี่คือพื้นฐานหรือที่มาแห่งอุดมการณ์หรือความคิดของประชาชน ซึ่งมักจะติดอยู่กับท้องที่ ภูมิภาค รากฐานทางสังคมหรือกลุ่มอาชีพของตน ซึ่งมีหลากหลายต่างๆ กัน พรรคการเมืองก็พัฒนาขึ้นมา (ตามธรรมชาติ) เพื่อสนองตอบ โดยอาศัยเหตุปัจจัยนี้ ต่างกับเมืองไทยที่พรรคเกิดเพราะผู้อยากเป็นใหญ่ได้ตั้งขึ้นเพื่อยังประโยชน์ของตน พรรคเกือบทั้งหมดในเมืองไทยเป็นพรรคหัวหน้าตั้ง ทุกพรรคจึงไม่ยั่งยืน ขึ้นอยู่กับวาสนาชะตากรรมของหัวหน้า

นโยบายของรัฐบาลอังกฤษจะเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยฟัง ดู หรืออ่านเอาจากเหตุการณ์และเอกสาร ตัวอย่างนโยบายรัฐบาลอนุรักษนิยมของ เดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีปัจจุบันของอังกฤษเป็นอย่างไร มองย้อนหลังจากปัจจุบันกลับไปหาอดีตตามลำดับได้จาก

1. State Opening of Parliament (http://www.parliament.uk/about/faqs/house-of-lords-faqs/lords-stateopening/) คือ รัฐพิธีเปิดสภา อันประกอบด้วย 1. กษัตริย์ (ราชินีอลิซาเบธ) เสด็จสู่รัฐสภา 2. ทรงมีพระราชดำรัสกับสภาทั้งสองเรียกว่า Queen’s Speech 3. มีการอภิปรายนโยบายของรัฐบาลทั้ง 3 อย่างในวันเดียวกัน คือ 25 พฤษภา 2010

2. Queen’s Speech (ดู http://news.bbc.co.uk/2/hi/uk_news/politics/8701376.stm และ http://www.direct.gov.uk/en/ Nl1/ Newsroom/DG_187956)

Queen’s Speech หรือพระราชดำรัสของราชินีอลิซาเบธ แท้จริงก็คือการแถลงนโยบายรัฐบาลนั่นเอง กษัตริย์ทรงอ่านร่างที่รัฐบาลเขียนมาให้ทั้งดุ้น แก้ไขไม่ได้ วิจารณ์ทั้งโดยวาจาและท่าทีว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ไม่ได้ Queen’s Speech 2010 นี้ ทั้งหมดมี 902 คำ 5,843 ตัวอักษร สอดคล้องกับ Party Manifesto ที่พรรคหาเสียงเลือกไว้ทุกประการ “เริ่มด้วย My Lords and Members of the House of Commons

My Government’s legislative programme will be based upon the principles of freedom, fairness and responsibility. ฯพณฯ สมาชิกสภาขุนนางและสภาสามัญของข้าพเจ้า รัฐบาลของข้าพเจ้าจะออกกฎหมายโดยหลักเสรีภาพ ความยุติธรรม และความรับผิดชอบ”

กฎหมายที่จะออกภายใน 18 เดือนมีดังต่อไปนี้ Academies Bill, Airport Economic Regulation Bill, Armed Forces Bill, Decentralisation and Localism Bill, Education and Children's Bill, Energy Security and Green Economy Bill เป็นต้น ทั้งหมดนี้มีหลักการเหตุผลเข้าใจได้และกลับไปค้นจากเอกสารและการหาเสียงของพรรคได้ รวมทั้งทำนายได้ล่วงหน้าว่าใครจะมาเป็นผู้นำในการรักษากฎหมาย (รัฐมนตรี) นั้นๆ ไม่ต้องมาวิ่งซื้อต่อรองหรือแลกโควตาซุ้มนั้นซุ้มนี้เหมือนประเทศด้อยพัฒนาที่ไม่เป็นทาสแต่ชื่อ

3. Kissing Hands of the Queen คือการที่หัวหน้าพรรคชนะเลือกตั้งได้เสียงข้างมากจะไปจุมพิตพระหัตถ์พระราชินี ซึ่งถือเสมือนเป็นการไปรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีและไปจัดตั้งรัฐบาลมาให้ดู ซึ่งในกรณีนี้ไม่ดูเปล่าๆ ทรงแนะนำ มีคำถาม ด้วยก็ได้ ไม่ก็ได้ การจุมพิตพระหัตถ์ตามธรรมดาจะต้องกระทำหนึ่งวันหลังรู้ผลว่าการเลือกตั้ง ปี 2010 นี้ช้า เลือกตั้งและรู้ผล 6 พฤษภาคมอีก 6 วัน 12 พฤษภาคม 2010 จึงจุมพิตพระหัตถ์เพราะเป็นสภาแขวนหรือ hung parliament เพราะไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมาก นับเป็นครั้งแรกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (โปรดดู 1. http://www.royal.gov.uk/MonarchUK/QueenandGovernment/QueenandPrimeMinister.aspx 2. http://en.wikipedia.org/wiki/Kissing_hands 3. boards.straightdope.com › ... › Main › General Questions)

4. คำมั่นสัญญาของพรรคในการเลือกตั้ง Party’s Manifesto (1. http://www.conservatives.com/Policy/Manifesto.aspx 2. http://www.labour.org.uk/manifesto-splash) แต่ละสมัยเลือกตั้ง แต่ละพรรคการเมืองอังกฤษก็จะพิมพ์หนังสือขนาด A 4 พิเศษสีสันสวยงามออกแจกผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นการหาเสียงหรือให้คำสัตย์ปฏิญญาต่อประชาชนว่า ถ้าได้รับเลือกตั้งแล้วพรรคจะทำอะไรบ้าง ส่วนใหญ่ก็คือจะออกกฎหมายอะไรบ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของพรรค ซึ่งที่ประชุมใหญ่ของพรรคลงมติหลังจากกลั่นกลองมาจากที่ประชุมในเขตเลือกตั้ง รวมทั้งการรับฟังและทำงานร่วมกับประชาชนในพื้นที่กับกลุ่มและองค์กรผลประโยชน์ต่างๆ ที่เป็นแฟนของพรรค เช่น สมาคมและสหภาพแรงงานของพรรคแรงงาน สภานายจ้างและอุตสาหกรรมของพรรคอนุรักษนิยม เป็นต้น

ทั้งหมดนี้มีที่มาที่ไป ตรวจสอบได้ทุกเมื่อ ไม่มีการ “โกหก-ปกปิด-บิดเบือน” หรือวาระซ่อนเร้น ปัญหาหนึ่ง เช่น ขนาดของชั้นเรียน การออกคูปองจ่ายอาหารหรือเสื้อผ้านักเรียน คุณภาพของครูและผู้บริหาร ฯลฯ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นของผู้แทนแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างและปัญหาปลีกย่อยไม่เหมือนกัน ก็นำมาอภิปรายต่อสู้กันในที่ประชุมใหญ่ ใครได้เสียงข้างมากเรื่องใด ก็ได้เป็นผู้นำในด้านนั้น โอกาสเป็นรัฐมนตรีเงาหรือรัฐมนตรีจริงจึงอยู่ตรงนี้ คาดกันล่วงหน้าได้ไม่ยากและมีข้อยกเว้นน้อย

5. การประชุมใหญ่ประจำปีและการประชุมใหญ่เพื่อการเลือกตั้งของพรรคการเมือง (โปรดดู www.labour.org.uk/annual_conference_2011 และ http://www.telegraph.co.uk/news/politics/labour/8029278/Labour-Party-Conference-2010-day-three-as-it-happened.html ) คือการประชุมพรรคเพื่อกลั่นกรองนโยบายของพรรคที่ได้รับมาจากท้องถิ่น (ข้อ 6) เพื่อนำเสนอต่อผู้เลือกตั้งและนำลงใน Manifesto รวมทั้งการเลือกผู้นำในนโยบายต่างๆ ถ้ายังไม่มีหรือจำเป็นต้องเลือกตั้งใหม่ให้ข่มพรรคฝ่ายตรงกันข้ามได้

6. การประชุมสาขาพรรค การทำงานและการสื่อสารกับประชาชนในเขตเลือกตั้ง (โปรดดู http://www.sunderlandlabour.com/ manifesto.Php และ http://www.mailmax.co.uk/LiberalParty/index.html) นี่คือที่มาแห่งนโยบาย ที่มาแห่งการมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุขของอังกฤษ ซึ่งตั้งแต่ราชินีอลิซาเบธลงมาถึง ประชาชนเดินถนนต่างก็มีความรับผิดชอบต้องทำหน้าที่กันทุกคน เช่น พระราชินีต้องทำการบ้านร่วมกับนายกรัฐมนตรีสัปดาห์ละหนึ่งครั้งทุกสัปดาห์ (อ่านต่อฉบับหน้า)
กำลังโหลดความคิดเห็น