ASTVผู้จัดการรายวัน - รัฐมนตรี "แมว"ประกาศพักหนี้ กยศ. และยกเลิกกองทุน หยุดดำเนินคดีทันที ให้ลูกหนี้ไม่มีงานทำมาอบรมเพิ่มเติมกับ กศน.ก่อนปล่อยตัวไปหางานทำ มีรายได้เมื่อไหร่ค่อยชำระหนี้คืน พร้อมฟื้น กรอ. นโยบายแม้ว ขึ้นใหม่ “วรวัจน์ “ ชี้ กรอ.หลักการดีกว่า ที่กำหนดให้ใช้หนี้คืนเมื่อมีรายได้ขั้นต่ำ 1.6 หมื่นบาท มอบ สกอ.หารือ กระทรวงการคลัง ด้าน “สมพงษ์” ติงพักหนี้เพิ่มปัญหามากกว่า ส่วนยอดหนี้เสีย กยศ.ภายหลังปล่อยกู้มาเป็นระยะเวลา 14 ปีพุ่งเกือบ 2 หมื่นล้านบาท
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เรียกประชุมผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และตัวแทนกระทรวงการคลังที่ดูแลกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ทั้งนี้ เพราะรัฐบาลเตรียมที่จะปรับกองทุน กยศ. เป็นกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) สาเหตุเพราะหลักการของกองทุน กยศ.นั้นมีปัญหาโดยเฉพาะในเรื่องของการปล่อยกู้ กองทุน กยศ.ไม่ยอมเน้นปล่อยกู้ในสาขาที่มีงานทำ ทำให้เมื่อผู้กู้เรียนจบมาแล้วบางส่วนไม่มีงานทำ จึงไม่สามารถชำระหนี้คืนได้และนำมาสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีกับลูกหนี้ในที่สุด ทั้งที่จริงแล้ว การที่บัณฑิตหางานทำไม่ได้นั้น ความผิดไมได้อยู่ที่เด็กแต่อยู่ที่หน่วยงาน
ดังนั้น จึงเห็นว่า ควรปรับกองทุน กยศ. มาเป็นกองทุน กรอ. ที่ยึดหลักการชำระหนี้คืนเมื่อลูกหนี้มีรายได้ต่อเดือนตามเกณฑ์ขั้นต่ำ 16,000 บาท ขณะเดียวกัน กองทุน กรอ.ใหม่ ก็จะเน้นปล่อยกู้ในสาขาที่มีงานทำ เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาเดิมซ้ำรอยอีก อย่างไรก็ตาม นอกจากรัฐบาลเตรียมจะยุติกองทุน กยศ.แล้ว จะมีการ ประกาศพักหนี้ กยศ.ด้วย ให้ กยศ.ชะลอการดำเนินคดีฟ้องร้องกับลูกหนี้ แล้วให้ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) รับตัวลูกหนี้ที่ยังไม่มีงานทำ มาอบรมเพิ่มพูนความรู้อีกครั้งเพื่อให้สามารถทำงานได้ โดยได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ไปหารือกับกระทรวงการคลังในเรื่องของการพักหนี้ รวมทั้ง วางแนวทาง กำหนดหลักเกณฑ์ของกองทุน กรอ.ใหม่ด้วย
“ได้มอบนโยบายไปว่า หลักการของ กรอ.ใหม่ ต้องเน้นกู้ในสาขาที่มีงานทำซึ่งจะเป็นการจูงใจให้เด็กกล้ากู้เงิน ด้วยเพราะรู้ว่าจบแล้วมีงานทำไม่โดนฟ้องชำระหนี้ และวงเงินให้กู้ของ กรอ.ใหม่จะเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายจริง โดยได้ให้แต่ละสังกัดไปคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการศึกษาที่เพียงพอสำหรับการศึกษาในแต่ละระดับชั้น นอกจากนั้น จะไม่มีการคิดดอกเบี้ยกับผู้กู้หรือไม่มีการปรับเงินต้นตามอัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 3 เหมือนในอดีต และจะมีการดูแลผู้ด้อยโอกาสเป็นพิเศษด้วย”นายวรวัจน์ กล่าว
ด้านนายอภิชาติ จีระวุฒิ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) กล่าวว่า กองทุน กยศ. และ กรอ.นั้นต่างกันตรงที่ กยศ.จะเน้นการปล่อยกู้ให้กับผู้ด้อยโอกาสขาดแคลนทุนทรัพย์ รายได้ครอบครัวต่ำกว่า 2 แสนบาทต่อปีมีโอกาสเรียนต่อโดยปล่อยกู้ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายถึงระดับอุดมศึกษา คิดดอกเบี้ย ร้อยละ 1 และเมื่อครบกำหนด 2 ปีต้องใช้หนี้คืนทันที
ส่วนหลักการของ กรอ.นั้นยึดหลักการให้เด็กทุกฐานะที่ประสงค์จะกู้เงินมีสิทธิ์กู้เงินเรียนได้ และการผ่อนชำระหนี้คืนจะสัมพันธ์กับการมีงานทำ เมื่อใดก็ตามที่ผู้กู้มีรายได้ต่อเดือนตามเกณฑ์จึงค่อยผ่อนชำระเงิน แต่การปรับมาเป็น กรอ.จะเป็นผลดีต่อชนชั้นกลาง เช่น ครอบครัวข้าราชการ ที่บางครอบครัวที่มีรายได้รวมกันเกิน 2 แสนบาทต่อปีแต่มีลูกหลายคนก็ไม่สามารถส่งลูกเรียนไหวขณะที่ก็ ไม่สามารถกู้ กยศ. ได้ อย่างไรก็ตาม รมว.ศธ. ได้ให้นโยบายว่า กรอ.ใหม่จะต้องปล่อยกู้ในระดับม.ปลายด้วย จากเดิมปล่อยกู้เพียงระดับอุดมศึกษา
“การพักชำระหนี้ ในหลักการต้องการให้ลูกหนี้ที่กำลังจะถูกฟ้องร้องได้มีโอกาสพักหายใจ ไปอบรมกับศูนย์ กศน.เพิ่มความเข้มแข็งให้สามารถหางานทำได้จากนั้นจึงค่อยชำระหนี้ต่อ แต่หากมีการพักหนี้จริงก็คงต้องครอบคลุมลูกหนี้ที่ขาดการติดต่อด้วย อย่างไรก็ตาม ต้องรอทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องไปศึกษาก่อน จึงจะรู้ว่า การพักหนี้จะออกมารูปใดครอบ คลุมคนกลุ่มไหนบ้าง “ ปลัด ศธ. กล่าว
ด้าน รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย กล่าวว่า เห็นด้วยกับการปฏิรูป กยศ. เพราะ กยศ.มีปัญหาในการดำเนินการอย่างมากปล่อยกู้สะเปะสะปะไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์มีการเอาเงินกู้มาใช้ประโยชน์เพื่อการโฆษณาเข้าเรียนในบางสถานศึกษา อย่างไรก็ตาม ก่อนปฏิรูป กยศ. อยากให้รับฟังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้การปฏิรูปมี ความรัดกุม ไม่ใช่สักแต่คิดจะเข้ามารื้อนโยบายเก่าที่รัฐบาลเดิมทำไว้แบบเหวี่ยงแห ส่วนการพักหนี้อยากให้ดูให้รอบคอบกว่านี้มิฉะนั้นแทนที่จะแก้ปัญหาจะกลายเป็นการเพิ่มปัญหา
อนึ่ง ข้อมูลจาก กยศ.ระบุว่า กองทุน กยศ. ให้กู้ยืมครั้งแรกในปีการศึกษา 2539 ถึงปัจจุบันเป็นเวลา 14 ปี งบประมาณที่ใช้ในการกู้ยืมทั้งสิ้น 357,000 ล้านบาท รองรับผู้กู้ยืมรวม 3,700,000 ราย โดยมีผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างการชำระคืน 2,400,000 ราย มาชำระ 1,800,000 ราย คิดเป็นร้อยละ75 ส่วนผลการติดตามหนี้ของกองทุน ณ 30 มิถุนายน 2554 มีผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้ จำนวน 2,292,918 ราย กยศ. มีผู้ชำระหนี้ 1,775,300 ราย คิดเป็นร้อยละ 77.43 จำนวนเงินที่ถึงกำหนดชำระหนี้ จำนวน 38,527.21 ล้านบาท ได้รับชำระ 22,889.8 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 59.41
ปัจจุบันมีผู้ค้างชำระหนี้ กยศ. ที่ถูกบอกเลิกสัญญาและเข้าข่ายถูกฟ้องดำเนินคดีมากกว่า 1.6 แสนราย คิดเป็นมูลหนี้ที่ค้างชำระ 1.59 หมื่นล้านบาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ค้างชำระหนี้มากที่สุด5.89 หมื่นราย และยังคงมีหนี้เสียที่นักศึกษาขาดการติดต่อกับ กยศ. อีกมากกว่า 5 แสนราย คิดเป็นยอดเงินรวม 7,000 ล้านบาท.
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เรียกประชุมผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และตัวแทนกระทรวงการคลังที่ดูแลกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ทั้งนี้ เพราะรัฐบาลเตรียมที่จะปรับกองทุน กยศ. เป็นกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) สาเหตุเพราะหลักการของกองทุน กยศ.นั้นมีปัญหาโดยเฉพาะในเรื่องของการปล่อยกู้ กองทุน กยศ.ไม่ยอมเน้นปล่อยกู้ในสาขาที่มีงานทำ ทำให้เมื่อผู้กู้เรียนจบมาแล้วบางส่วนไม่มีงานทำ จึงไม่สามารถชำระหนี้คืนได้และนำมาสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีกับลูกหนี้ในที่สุด ทั้งที่จริงแล้ว การที่บัณฑิตหางานทำไม่ได้นั้น ความผิดไมได้อยู่ที่เด็กแต่อยู่ที่หน่วยงาน
ดังนั้น จึงเห็นว่า ควรปรับกองทุน กยศ. มาเป็นกองทุน กรอ. ที่ยึดหลักการชำระหนี้คืนเมื่อลูกหนี้มีรายได้ต่อเดือนตามเกณฑ์ขั้นต่ำ 16,000 บาท ขณะเดียวกัน กองทุน กรอ.ใหม่ ก็จะเน้นปล่อยกู้ในสาขาที่มีงานทำ เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาเดิมซ้ำรอยอีก อย่างไรก็ตาม นอกจากรัฐบาลเตรียมจะยุติกองทุน กยศ.แล้ว จะมีการ ประกาศพักหนี้ กยศ.ด้วย ให้ กยศ.ชะลอการดำเนินคดีฟ้องร้องกับลูกหนี้ แล้วให้ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) รับตัวลูกหนี้ที่ยังไม่มีงานทำ มาอบรมเพิ่มพูนความรู้อีกครั้งเพื่อให้สามารถทำงานได้ โดยได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ไปหารือกับกระทรวงการคลังในเรื่องของการพักหนี้ รวมทั้ง วางแนวทาง กำหนดหลักเกณฑ์ของกองทุน กรอ.ใหม่ด้วย
“ได้มอบนโยบายไปว่า หลักการของ กรอ.ใหม่ ต้องเน้นกู้ในสาขาที่มีงานทำซึ่งจะเป็นการจูงใจให้เด็กกล้ากู้เงิน ด้วยเพราะรู้ว่าจบแล้วมีงานทำไม่โดนฟ้องชำระหนี้ และวงเงินให้กู้ของ กรอ.ใหม่จะเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายจริง โดยได้ให้แต่ละสังกัดไปคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการศึกษาที่เพียงพอสำหรับการศึกษาในแต่ละระดับชั้น นอกจากนั้น จะไม่มีการคิดดอกเบี้ยกับผู้กู้หรือไม่มีการปรับเงินต้นตามอัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 3 เหมือนในอดีต และจะมีการดูแลผู้ด้อยโอกาสเป็นพิเศษด้วย”นายวรวัจน์ กล่าว
ด้านนายอภิชาติ จีระวุฒิ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) กล่าวว่า กองทุน กยศ. และ กรอ.นั้นต่างกันตรงที่ กยศ.จะเน้นการปล่อยกู้ให้กับผู้ด้อยโอกาสขาดแคลนทุนทรัพย์ รายได้ครอบครัวต่ำกว่า 2 แสนบาทต่อปีมีโอกาสเรียนต่อโดยปล่อยกู้ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายถึงระดับอุดมศึกษา คิดดอกเบี้ย ร้อยละ 1 และเมื่อครบกำหนด 2 ปีต้องใช้หนี้คืนทันที
ส่วนหลักการของ กรอ.นั้นยึดหลักการให้เด็กทุกฐานะที่ประสงค์จะกู้เงินมีสิทธิ์กู้เงินเรียนได้ และการผ่อนชำระหนี้คืนจะสัมพันธ์กับการมีงานทำ เมื่อใดก็ตามที่ผู้กู้มีรายได้ต่อเดือนตามเกณฑ์จึงค่อยผ่อนชำระเงิน แต่การปรับมาเป็น กรอ.จะเป็นผลดีต่อชนชั้นกลาง เช่น ครอบครัวข้าราชการ ที่บางครอบครัวที่มีรายได้รวมกันเกิน 2 แสนบาทต่อปีแต่มีลูกหลายคนก็ไม่สามารถส่งลูกเรียนไหวขณะที่ก็ ไม่สามารถกู้ กยศ. ได้ อย่างไรก็ตาม รมว.ศธ. ได้ให้นโยบายว่า กรอ.ใหม่จะต้องปล่อยกู้ในระดับม.ปลายด้วย จากเดิมปล่อยกู้เพียงระดับอุดมศึกษา
“การพักชำระหนี้ ในหลักการต้องการให้ลูกหนี้ที่กำลังจะถูกฟ้องร้องได้มีโอกาสพักหายใจ ไปอบรมกับศูนย์ กศน.เพิ่มความเข้มแข็งให้สามารถหางานทำได้จากนั้นจึงค่อยชำระหนี้ต่อ แต่หากมีการพักหนี้จริงก็คงต้องครอบคลุมลูกหนี้ที่ขาดการติดต่อด้วย อย่างไรก็ตาม ต้องรอทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องไปศึกษาก่อน จึงจะรู้ว่า การพักหนี้จะออกมารูปใดครอบ คลุมคนกลุ่มไหนบ้าง “ ปลัด ศธ. กล่าว
ด้าน รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย กล่าวว่า เห็นด้วยกับการปฏิรูป กยศ. เพราะ กยศ.มีปัญหาในการดำเนินการอย่างมากปล่อยกู้สะเปะสะปะไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์มีการเอาเงินกู้มาใช้ประโยชน์เพื่อการโฆษณาเข้าเรียนในบางสถานศึกษา อย่างไรก็ตาม ก่อนปฏิรูป กยศ. อยากให้รับฟังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้การปฏิรูปมี ความรัดกุม ไม่ใช่สักแต่คิดจะเข้ามารื้อนโยบายเก่าที่รัฐบาลเดิมทำไว้แบบเหวี่ยงแห ส่วนการพักหนี้อยากให้ดูให้รอบคอบกว่านี้มิฉะนั้นแทนที่จะแก้ปัญหาจะกลายเป็นการเพิ่มปัญหา
อนึ่ง ข้อมูลจาก กยศ.ระบุว่า กองทุน กยศ. ให้กู้ยืมครั้งแรกในปีการศึกษา 2539 ถึงปัจจุบันเป็นเวลา 14 ปี งบประมาณที่ใช้ในการกู้ยืมทั้งสิ้น 357,000 ล้านบาท รองรับผู้กู้ยืมรวม 3,700,000 ราย โดยมีผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างการชำระคืน 2,400,000 ราย มาชำระ 1,800,000 ราย คิดเป็นร้อยละ75 ส่วนผลการติดตามหนี้ของกองทุน ณ 30 มิถุนายน 2554 มีผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้ จำนวน 2,292,918 ราย กยศ. มีผู้ชำระหนี้ 1,775,300 ราย คิดเป็นร้อยละ 77.43 จำนวนเงินที่ถึงกำหนดชำระหนี้ จำนวน 38,527.21 ล้านบาท ได้รับชำระ 22,889.8 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 59.41
ปัจจุบันมีผู้ค้างชำระหนี้ กยศ. ที่ถูกบอกเลิกสัญญาและเข้าข่ายถูกฟ้องดำเนินคดีมากกว่า 1.6 แสนราย คิดเป็นมูลหนี้ที่ค้างชำระ 1.59 หมื่นล้านบาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ค้างชำระหนี้มากที่สุด5.89 หมื่นราย และยังคงมีหนี้เสียที่นักศึกษาขาดการติดต่อกับ กยศ. อีกมากกว่า 5 แสนราย คิดเป็นยอดเงินรวม 7,000 ล้านบาท.