โดย...ชวินทร์ ลีนะบรรจง1
อะไรคือปัจจัยแห่งความสำเร็จในการสร้างชาติของญี่ปุ่น
คำตอบง่ายๆ ที่เข้าใจไม่ยากก็คือ “คน”
วิถีการสร้าง “คน” คือการสร้างชาติ
ญี่ปุ่นมีความไม่มั่นคงเกือบจะในทุกด้าน ไม่ว่าจะเรื่องอาหารการกิน ทรัพยากรที่มี หรือแม้แต่แผ่นดินที่อยู่อาศัยก็ไม่มั่นคงเพราะมีแผ่นดินไหวอยู่เป็นประจำ ความขาดแคลนไม่พอเพียงดูเหมือนจะเป็นธรรมชาติของประเทศนี้ไปเสียแล้ว แต่ทำไมญี่ปุ่นจึงเจริญก้าวหน้าเป็นชาติที่พัฒนาแล้วในลำดับต้นๆ ของโลกได้ทั้งที่มีปัจจัย “ลบ” อยู่รอบด้าน คำตอบน่าจะอยู่ที่วิถีการสร้าง “คน” เป็นสำคัญ
แต่ละประเทศก็มีวิถีทางในการสร้างชาติของตนเองที่แตกต่างไม่จำเป็นต้องซ้ำแบบกัน ญี่ปุ่นซึ่งเป็นเสือตัวแรกของเอเชียสร้างชาติขึ้นมาจาก “คน” และวิถีทางที่ญี่ปุ่นใช้สร้าง “คน” มี 2 ประการคือ การศึกษา และจริยธรรม
การศึกษาเป็นที่มาของความสามารถในการผลิตที่สะท้อนออกมาในรูปของรายได้ คนที่มีการศึกษาจึงสามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตนเองไปใช้ในการผลิตทั้งโดยตรงและโดยอ้อมได้ดีกว่าคนที่ไม่มีการศึกษา แต่การศึกษาจำเป็นต้องควบคู่ไปกับจริยธรรมที่นำมาซึ่งการทำให้คนดำรงตนอยู่ใน “ความดี” เพราะการศึกษาไม่สามารถทำให้คนเป็นคนดีได้แต่เพียงลำพัง หากไม่มีจริยธรรมเป็นส่วนประกอบแล้วไซร้ ยิ่งมีการศึกษามากก็อาจโกงมากหรือเป็นการสร้างคนเลวให้มีความสามารถนั่นเอง
หากจะถามคนในโลกว่ารู้จัก โคโนซูเกะ มัตซึชิตะ (幸之助 松下) หรือไม่ อาจได้คำตอบว่าไม่รู้จัก แต่ถ้าถามว่ารู้จักเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อ เนชั่นแนล ในอดีต หรือพานาโซนิค ในปัจจุบันหรือไม่ อาจมีคนกว่าค่อนโลกที่รู้จัก
โคโนซูเกะ มัตซึชิตะ เป็นผู้ก่อตั้งและทำให้บริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ามัตซึชิตะเป็นกระดูกสันหลังของการพัฒนาสร้างชาติของญี่ปุ่นในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
โคโนซูเกะ มัตซึชิตะ ไม่ได้รับการศึกษา เหตุว่าครอบครัวไม่มีเงินให้เรียนเพราะธุรกิจครอบครัวที่เคยรวยล้มละลายจากการเก็งกำไรการค้าข้าวล่วงหน้า แต่โคโนซูเกะ มัตซึชิตะมองเห็นอนาคตที่คนอื่นมองไม่เห็นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นั่นคือยุคของการใช้ไฟฟ้า ยอมออกจากการเป็นลูกจ้างงานที่ได้เงินดีมาสร้างธุรกิจผลิตเต้าเสียบไฟฟ้าของตนเองเพราะมองเห็นว่าไฟฟ้าคืออนาคต การผลิตเครื่องใช้ที่ใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานจึงเป็นการก้าวตามยุคสมัย
การสร้างธุรกิจของโคโนซูเกะ มัตซึชิตะ อาจกล่าวได้ว่านอกจากความเชื่อมั่นแล้ว โชคชะตายังเป็นสิ่งสำคัญที่เปลี่ยนชีวิตของตนเองและประเทศชาติ เพราะเต้าเสียบไฟฟ้าที่เขาผลิตแม้จะมีประสิทธิภาพดีแต่ก็มิใช่ว่าจะขายออกทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ หากไม่ได้คำสั่งซื้อฝาหลังพัดลมอย่างไม่คาดฝันจากผู้ผลิตพัดลม ธุรกิจของเขาก็อาจเป็นเช่นเอสเอ็มอีทั่วๆ ไปที่ไม่ประสบความสำเร็จในด้านรายได้จนต้องล้มหายตายจากไป
โคโนซูเกะ มัตซึชิตะจึงเรียนรู้ว่า ช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าเป็นเรื่องสำคัญเท่าๆ กับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ สินค้าที่ธุรกิจของเขาผลิตขึ้นมาจึงพยายามตอบโจทย์ของผู้ใช้(ผู้ซื้อ)ที่ต้องการสินค้าดีราคาไม่แพงเป็นสำคัญไม่ว่าจะเป็น เตารีด วิทยุ ตู้เย็น หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า โทรทัศน์ วิดีโอระบบวีเอชเอส ที่ล้วนแต่ทำเพื่อให้คนทั่วไปสามารถหาซื้อได้ เขาจึงผันตัวเองมาเป็นผู้บริหารจัดการหรืออีกนัยหนึ่งก็คือเป็น “ผู้คิดโจทย์” ให้บรรดาเหล่าวิศวกรทำในกรอบของความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ
โคโนซูเกะ มัตซึชิตะแม้จะเป็นผลผลิตของการสร้าง “คน” ที่แม้ไม่มีปริญญาแต่ก็มีจริยธรรมเพราะไม่คิดที่จะ “ลอก” แต่เพียงอย่างเดียวหากแต่มุ่ง “สร้าง” เป็นสำคัญ สิ่งหนึ่งที่เขาริเริ่มและเป็นการซื้อใจลูกน้องก็คือ การทำงานสัปดาห์ละ 5 วันซึ่งธุรกิจของเขาทำนอกเหนือไปจากระบบการจ้างงานแบบเถ้าแก่ที่ดูแลลูกน้องให้มีงานทำมีรายได้มากกว่าที่จะเอาตัวรอดด้วยการปลดคนงานเมื่อธุรกิจประสบปัญหาเหมือนเช่นธุรกิจในโลกตะวันตกนิยมทำ นี่เองจึงเป็นสาเหตุให้เขารอดพ้นจากการปลดออกจากตำแหน่งประธานเมื่อสหรัฐฯ เข้ายึดครองญี่ปุ่นหลังสงครามฯ เพราะลูกน้องกว่า 15,000 คนเข้าชื่อปกป้องเอาไว้
อีกตัวอย่างหนึ่งของการสร้าง “คน” ที่มีทั้งการศึกษาและจริยธรรม เป็นนักธุรกิจที่สำคัญอีกคนหนึ่งของโอซากะก็คือ อันโด โมโมฟุกุ (安藤 百福) ที่ท่านอาจไม่รู้จัก แต่ท่านทั้งหลายทั่วโลกกินอยู่กับปากไม่มากก็น้อยในไอเดียอันบรรเจิดของเขา นั่นคือ บะหมี่ถ้วยกึ่งสำเร็จรูป
บริษัทนิชชินผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปใส่ถ้วยหรือ cup noodle รายแรกของโลกเกิดจากไอเดียของ อันโด โมโมฟุกุ ที่มองเห็นจากความอดอยากหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ว่า เหตุใดคนญี่ปุ่นจึงต้องพยายามหัดกินแป้งสาลีที่ฝ่ายสหรัฐฯ นำมาช่วยเหลือในรูปของขนมปังทั้งๆ ที่น่าจะนำมาทำให้เข้ากับธรรมชาติของคนญี่ปุ่นคือในรูปของบะหมี่มากกว่า
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชนิดซองห่อแรกที่มีชื่อว่า ชิคกินราเมง หรือบะหมี่รสไก่ จึงเกิดขึ้นเมื่ออันโด โมโมฟุกุอายุได้ 48 ปี แต่ก็ยังมิใช่ความสำเร็จที่สำคัญที่สุดของเขาแม้จะขายดีก็ตามจนกระทั่งเขาได้สังเกตว่า คนอเมริกันกินบะหมี่ซองของเขาโดยหักครึ่งแล้วใส่ถ้วยเพื่อให้สามารถเติมน้ำร้อนและกินโดยใช้ซ่อมมิใช่ตะเกียบ
สองคนยลตามช่องคนหนึ่งเห็นดวงดาวพร่างพราย แต่อีกคนเห็นโคลนตมจึงเป็นเรื่องจริงขึ้นมา บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ขายแบบใส่ซองจึงถูกนำมาใส่ถ้วยโฟมทรงสูงที่มีก้นแคบกว่าปาก มีฝาปิดเพื่อให้ความร้อนไม่หายไปโดยเร็วและทำให้บะหมี่นุ่มเท่ากันทั้งถ้วยเมื่อใส่น้ำร้อนเข้าไป ความลงตัวที่สมบูรณ์แบบของบะหมี่ถ้วยจึงถือกำเนิดขึ้นมา เป็นก้าวสำคัญของความสำเร็จที่นิชชินมีต่ออุตสาหกรรมอาหารของญี่ปุ่นและของโลก เพราะนับจากปี ค.ศ. 1961 เป็นต้นมา บะหมี่ถ้วยของอันโด โมโมฟุกุ ก็สามารถขายไปได้หลายพันล้านถ้วยทั่วโลกและนอกโลก (ในสถานีอวกาศ) ในรสชาติที่แตกต่างกันออกไป รสต้มยำกุ้งก็มี
ความสำเร็จของธุรกิจทั้งสองคนมิได้เกิดขึ้นเพราะการเป็นนักประดิษฐ์ หรือ inventor ที่มองเห็นการณ์ไกลนำเอาสิ่งที่มีอยู่แล้วมาผสมผสานให้เกิดเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่นำสมัยในยุคของตนเองแต่เพียงลำพัง หากแต่โดยจริยธรรมที่ดำเนินธุรกิจโดยไม่ได้ลอกเลียนแบบใครหรือต้องการอำนาจผูกขาดจากรัฐแต่อย่างใด
บะหมี่ห่อแรกของอันโดนำออกขายในราคา 35 เยนแพงกว่าบะหมี่สดตามร้าน ปัจจุบันเมื่อเวลาผ่านไปกว่า 50 ปีบะหมี่ถ้วยราคา 120-150 เยนถูกกว่าบะหมี่สดตามร้านประมาณ 5 เท่า เช่นเดียวกับโทรทัศน์ของมัตซึชิตะที่ราคาเริ่มแรกประมาณ 10 เท่าของเงินเดือน ปัจจุบันราคาประมาณ 1 ใน 10 ของเงินเดือน
การศึกษาจึงมิใช่เครื่องรับประกันในความสำเร็จ หากแต่เป็นจริยธรรมต่างหากที่ช่วยทำให้การศึกษาสามารถนำมาใช้ได้อย่างถูกต้องเป็นประโยชน์ต่อสังคม แม้ว่า อันโด โมโมฟุกุ จะได้รับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยที่สูงกว่าโคโนซูเกะ มัตซึชิตะ แต่ อันโด โมโมฟุกุ ก็ต้องโทษในข้อหาหลีกเลี่ยงภาษีถูกจำคุก 2 ปี เมื่อพ้นโทษออกมาตอนมีอายุ 61 ปีก็คิดค้นบะหมี่ถ้วยได้สำเร็จ ทั้งสองคนได้รับการยกย่องเชิดชูจากสังคมและได้รับอิสริยาภรณ์หลายประเทศจากผลงานของตนเอง
ดังนั้นแม้ทั้งสองจะจากโลกนี้ไปแล้วเหลือแต่ผลงานไว้เป็นที่ประจักษ์ แต่จะมีสักกี่คนในบ้านเราที่สามารถมองเห็นการณ์ไกล ไม่ต้องอาศัยอำนาจผูกขาดจากรัฐ สามารถทำธุรกิจประสบความสำเร็จจนสังคมสามารถนำไปยกย่องให้เป็นที่ประจักษ์ในผลงานเป็นตัวอย่างเพื่อเชิดชูให้เป็นตัวอย่างกับคนรุ่นหลังได้บ้าง ไม่รู้ตัวบ้างหรือว่าสังคมไทยขาดตัวอย่างของ “คนดี” หรือ “ความดี”
สังคมไทยนับจากบัดนี้คงต้องช่วยกันเชิดชูคนดีหรือการกระทำความดีและไม่ยกย่องคนเลว สังคมไทยต้องกล้าที่จะบอกว่า ความสำเร็จจะต้องไม่ได้มาด้วยการโกง ไม่ดูคนอื่นเขาโกงและจะไม่ขอส่วนแบ่งจากการโกงด้วย สังคมไทยจึงไปรอด หาไม่แล้วเราจะสร้างชาติจากความเลวหรืออย่างไร
ข้อมูลคนเดินทาง
หากมีโอกาสมาโอซากะ อย่าลืมแวะชมพิพิธภัณฑ์ผลงานของคนทั้งสองได้ฟรี
Momofuku Ando Instant Ramen Museum รถไฟสาย Takaratsuka ลงที่สถานี Ikeda เดินอีก 10 นาที หรือนั่งแท็กซี่จากสนามบินอิตามิมาก็ได้เพราะอยู่ใกล้ และมีแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงระยะคนเดินอีกหลายที่ Konosuke Matsushita Museum รถไฟสาย Keihan ลงที่สถานี Nishi Sanso เดินอีก 5 นาที อยู่ในบริเวณเดียวกับโรงงานพานาโซนิ
*1 The Japan Foundation Fellow, บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน Japan Foundation ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยแต่อย่างใด
อะไรคือปัจจัยแห่งความสำเร็จในการสร้างชาติของญี่ปุ่น
คำตอบง่ายๆ ที่เข้าใจไม่ยากก็คือ “คน”
วิถีการสร้าง “คน” คือการสร้างชาติ
ญี่ปุ่นมีความไม่มั่นคงเกือบจะในทุกด้าน ไม่ว่าจะเรื่องอาหารการกิน ทรัพยากรที่มี หรือแม้แต่แผ่นดินที่อยู่อาศัยก็ไม่มั่นคงเพราะมีแผ่นดินไหวอยู่เป็นประจำ ความขาดแคลนไม่พอเพียงดูเหมือนจะเป็นธรรมชาติของประเทศนี้ไปเสียแล้ว แต่ทำไมญี่ปุ่นจึงเจริญก้าวหน้าเป็นชาติที่พัฒนาแล้วในลำดับต้นๆ ของโลกได้ทั้งที่มีปัจจัย “ลบ” อยู่รอบด้าน คำตอบน่าจะอยู่ที่วิถีการสร้าง “คน” เป็นสำคัญ
แต่ละประเทศก็มีวิถีทางในการสร้างชาติของตนเองที่แตกต่างไม่จำเป็นต้องซ้ำแบบกัน ญี่ปุ่นซึ่งเป็นเสือตัวแรกของเอเชียสร้างชาติขึ้นมาจาก “คน” และวิถีทางที่ญี่ปุ่นใช้สร้าง “คน” มี 2 ประการคือ การศึกษา และจริยธรรม
การศึกษาเป็นที่มาของความสามารถในการผลิตที่สะท้อนออกมาในรูปของรายได้ คนที่มีการศึกษาจึงสามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตนเองไปใช้ในการผลิตทั้งโดยตรงและโดยอ้อมได้ดีกว่าคนที่ไม่มีการศึกษา แต่การศึกษาจำเป็นต้องควบคู่ไปกับจริยธรรมที่นำมาซึ่งการทำให้คนดำรงตนอยู่ใน “ความดี” เพราะการศึกษาไม่สามารถทำให้คนเป็นคนดีได้แต่เพียงลำพัง หากไม่มีจริยธรรมเป็นส่วนประกอบแล้วไซร้ ยิ่งมีการศึกษามากก็อาจโกงมากหรือเป็นการสร้างคนเลวให้มีความสามารถนั่นเอง
หากจะถามคนในโลกว่ารู้จัก โคโนซูเกะ มัตซึชิตะ (幸之助 松下) หรือไม่ อาจได้คำตอบว่าไม่รู้จัก แต่ถ้าถามว่ารู้จักเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อ เนชั่นแนล ในอดีต หรือพานาโซนิค ในปัจจุบันหรือไม่ อาจมีคนกว่าค่อนโลกที่รู้จัก
โคโนซูเกะ มัตซึชิตะ เป็นผู้ก่อตั้งและทำให้บริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ามัตซึชิตะเป็นกระดูกสันหลังของการพัฒนาสร้างชาติของญี่ปุ่นในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
โคโนซูเกะ มัตซึชิตะ ไม่ได้รับการศึกษา เหตุว่าครอบครัวไม่มีเงินให้เรียนเพราะธุรกิจครอบครัวที่เคยรวยล้มละลายจากการเก็งกำไรการค้าข้าวล่วงหน้า แต่โคโนซูเกะ มัตซึชิตะมองเห็นอนาคตที่คนอื่นมองไม่เห็นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นั่นคือยุคของการใช้ไฟฟ้า ยอมออกจากการเป็นลูกจ้างงานที่ได้เงินดีมาสร้างธุรกิจผลิตเต้าเสียบไฟฟ้าของตนเองเพราะมองเห็นว่าไฟฟ้าคืออนาคต การผลิตเครื่องใช้ที่ใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานจึงเป็นการก้าวตามยุคสมัย
การสร้างธุรกิจของโคโนซูเกะ มัตซึชิตะ อาจกล่าวได้ว่านอกจากความเชื่อมั่นแล้ว โชคชะตายังเป็นสิ่งสำคัญที่เปลี่ยนชีวิตของตนเองและประเทศชาติ เพราะเต้าเสียบไฟฟ้าที่เขาผลิตแม้จะมีประสิทธิภาพดีแต่ก็มิใช่ว่าจะขายออกทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ หากไม่ได้คำสั่งซื้อฝาหลังพัดลมอย่างไม่คาดฝันจากผู้ผลิตพัดลม ธุรกิจของเขาก็อาจเป็นเช่นเอสเอ็มอีทั่วๆ ไปที่ไม่ประสบความสำเร็จในด้านรายได้จนต้องล้มหายตายจากไป
โคโนซูเกะ มัตซึชิตะจึงเรียนรู้ว่า ช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าเป็นเรื่องสำคัญเท่าๆ กับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ สินค้าที่ธุรกิจของเขาผลิตขึ้นมาจึงพยายามตอบโจทย์ของผู้ใช้(ผู้ซื้อ)ที่ต้องการสินค้าดีราคาไม่แพงเป็นสำคัญไม่ว่าจะเป็น เตารีด วิทยุ ตู้เย็น หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า โทรทัศน์ วิดีโอระบบวีเอชเอส ที่ล้วนแต่ทำเพื่อให้คนทั่วไปสามารถหาซื้อได้ เขาจึงผันตัวเองมาเป็นผู้บริหารจัดการหรืออีกนัยหนึ่งก็คือเป็น “ผู้คิดโจทย์” ให้บรรดาเหล่าวิศวกรทำในกรอบของความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ
โคโนซูเกะ มัตซึชิตะแม้จะเป็นผลผลิตของการสร้าง “คน” ที่แม้ไม่มีปริญญาแต่ก็มีจริยธรรมเพราะไม่คิดที่จะ “ลอก” แต่เพียงอย่างเดียวหากแต่มุ่ง “สร้าง” เป็นสำคัญ สิ่งหนึ่งที่เขาริเริ่มและเป็นการซื้อใจลูกน้องก็คือ การทำงานสัปดาห์ละ 5 วันซึ่งธุรกิจของเขาทำนอกเหนือไปจากระบบการจ้างงานแบบเถ้าแก่ที่ดูแลลูกน้องให้มีงานทำมีรายได้มากกว่าที่จะเอาตัวรอดด้วยการปลดคนงานเมื่อธุรกิจประสบปัญหาเหมือนเช่นธุรกิจในโลกตะวันตกนิยมทำ นี่เองจึงเป็นสาเหตุให้เขารอดพ้นจากการปลดออกจากตำแหน่งประธานเมื่อสหรัฐฯ เข้ายึดครองญี่ปุ่นหลังสงครามฯ เพราะลูกน้องกว่า 15,000 คนเข้าชื่อปกป้องเอาไว้
อีกตัวอย่างหนึ่งของการสร้าง “คน” ที่มีทั้งการศึกษาและจริยธรรม เป็นนักธุรกิจที่สำคัญอีกคนหนึ่งของโอซากะก็คือ อันโด โมโมฟุกุ (安藤 百福) ที่ท่านอาจไม่รู้จัก แต่ท่านทั้งหลายทั่วโลกกินอยู่กับปากไม่มากก็น้อยในไอเดียอันบรรเจิดของเขา นั่นคือ บะหมี่ถ้วยกึ่งสำเร็จรูป
บริษัทนิชชินผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปใส่ถ้วยหรือ cup noodle รายแรกของโลกเกิดจากไอเดียของ อันโด โมโมฟุกุ ที่มองเห็นจากความอดอยากหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ว่า เหตุใดคนญี่ปุ่นจึงต้องพยายามหัดกินแป้งสาลีที่ฝ่ายสหรัฐฯ นำมาช่วยเหลือในรูปของขนมปังทั้งๆ ที่น่าจะนำมาทำให้เข้ากับธรรมชาติของคนญี่ปุ่นคือในรูปของบะหมี่มากกว่า
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชนิดซองห่อแรกที่มีชื่อว่า ชิคกินราเมง หรือบะหมี่รสไก่ จึงเกิดขึ้นเมื่ออันโด โมโมฟุกุอายุได้ 48 ปี แต่ก็ยังมิใช่ความสำเร็จที่สำคัญที่สุดของเขาแม้จะขายดีก็ตามจนกระทั่งเขาได้สังเกตว่า คนอเมริกันกินบะหมี่ซองของเขาโดยหักครึ่งแล้วใส่ถ้วยเพื่อให้สามารถเติมน้ำร้อนและกินโดยใช้ซ่อมมิใช่ตะเกียบ
สองคนยลตามช่องคนหนึ่งเห็นดวงดาวพร่างพราย แต่อีกคนเห็นโคลนตมจึงเป็นเรื่องจริงขึ้นมา บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ขายแบบใส่ซองจึงถูกนำมาใส่ถ้วยโฟมทรงสูงที่มีก้นแคบกว่าปาก มีฝาปิดเพื่อให้ความร้อนไม่หายไปโดยเร็วและทำให้บะหมี่นุ่มเท่ากันทั้งถ้วยเมื่อใส่น้ำร้อนเข้าไป ความลงตัวที่สมบูรณ์แบบของบะหมี่ถ้วยจึงถือกำเนิดขึ้นมา เป็นก้าวสำคัญของความสำเร็จที่นิชชินมีต่ออุตสาหกรรมอาหารของญี่ปุ่นและของโลก เพราะนับจากปี ค.ศ. 1961 เป็นต้นมา บะหมี่ถ้วยของอันโด โมโมฟุกุ ก็สามารถขายไปได้หลายพันล้านถ้วยทั่วโลกและนอกโลก (ในสถานีอวกาศ) ในรสชาติที่แตกต่างกันออกไป รสต้มยำกุ้งก็มี
ความสำเร็จของธุรกิจทั้งสองคนมิได้เกิดขึ้นเพราะการเป็นนักประดิษฐ์ หรือ inventor ที่มองเห็นการณ์ไกลนำเอาสิ่งที่มีอยู่แล้วมาผสมผสานให้เกิดเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่นำสมัยในยุคของตนเองแต่เพียงลำพัง หากแต่โดยจริยธรรมที่ดำเนินธุรกิจโดยไม่ได้ลอกเลียนแบบใครหรือต้องการอำนาจผูกขาดจากรัฐแต่อย่างใด
บะหมี่ห่อแรกของอันโดนำออกขายในราคา 35 เยนแพงกว่าบะหมี่สดตามร้าน ปัจจุบันเมื่อเวลาผ่านไปกว่า 50 ปีบะหมี่ถ้วยราคา 120-150 เยนถูกกว่าบะหมี่สดตามร้านประมาณ 5 เท่า เช่นเดียวกับโทรทัศน์ของมัตซึชิตะที่ราคาเริ่มแรกประมาณ 10 เท่าของเงินเดือน ปัจจุบันราคาประมาณ 1 ใน 10 ของเงินเดือน
การศึกษาจึงมิใช่เครื่องรับประกันในความสำเร็จ หากแต่เป็นจริยธรรมต่างหากที่ช่วยทำให้การศึกษาสามารถนำมาใช้ได้อย่างถูกต้องเป็นประโยชน์ต่อสังคม แม้ว่า อันโด โมโมฟุกุ จะได้รับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยที่สูงกว่าโคโนซูเกะ มัตซึชิตะ แต่ อันโด โมโมฟุกุ ก็ต้องโทษในข้อหาหลีกเลี่ยงภาษีถูกจำคุก 2 ปี เมื่อพ้นโทษออกมาตอนมีอายุ 61 ปีก็คิดค้นบะหมี่ถ้วยได้สำเร็จ ทั้งสองคนได้รับการยกย่องเชิดชูจากสังคมและได้รับอิสริยาภรณ์หลายประเทศจากผลงานของตนเอง
ดังนั้นแม้ทั้งสองจะจากโลกนี้ไปแล้วเหลือแต่ผลงานไว้เป็นที่ประจักษ์ แต่จะมีสักกี่คนในบ้านเราที่สามารถมองเห็นการณ์ไกล ไม่ต้องอาศัยอำนาจผูกขาดจากรัฐ สามารถทำธุรกิจประสบความสำเร็จจนสังคมสามารถนำไปยกย่องให้เป็นที่ประจักษ์ในผลงานเป็นตัวอย่างเพื่อเชิดชูให้เป็นตัวอย่างกับคนรุ่นหลังได้บ้าง ไม่รู้ตัวบ้างหรือว่าสังคมไทยขาดตัวอย่างของ “คนดี” หรือ “ความดี”
สังคมไทยนับจากบัดนี้คงต้องช่วยกันเชิดชูคนดีหรือการกระทำความดีและไม่ยกย่องคนเลว สังคมไทยต้องกล้าที่จะบอกว่า ความสำเร็จจะต้องไม่ได้มาด้วยการโกง ไม่ดูคนอื่นเขาโกงและจะไม่ขอส่วนแบ่งจากการโกงด้วย สังคมไทยจึงไปรอด หาไม่แล้วเราจะสร้างชาติจากความเลวหรืออย่างไร
ข้อมูลคนเดินทาง
หากมีโอกาสมาโอซากะ อย่าลืมแวะชมพิพิธภัณฑ์ผลงานของคนทั้งสองได้ฟรี
Momofuku Ando Instant Ramen Museum รถไฟสาย Takaratsuka ลงที่สถานี Ikeda เดินอีก 10 นาที หรือนั่งแท็กซี่จากสนามบินอิตามิมาก็ได้เพราะอยู่ใกล้ และมีแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงระยะคนเดินอีกหลายที่ Konosuke Matsushita Museum รถไฟสาย Keihan ลงที่สถานี Nishi Sanso เดินอีก 5 นาที อยู่ในบริเวณเดียวกับโรงงานพานาโซนิ
*1 The Japan Foundation Fellow, บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน Japan Foundation ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยแต่อย่างใด