ASTVผู้จัดการรายวัน - ศก.ไทยแข็งแกร่ง ผู้ว่าแบงก์ชาติระบุเงินบาทไทยมีเสถียรภาพ เงินต่างไม่ไหลออกแม้หุ้นตก เชื่อ S&P ลดเครดิตสถาบันการเงินสหรัฐฯ แค่ปรับให้สอดคล้องกับเครดิตประเทศ ไม่ใช่เกิดวิกฤตสถาบันการเงินรอบใหม่ เผยขณะนี้ธนาคารกลางทั่วโลกปรับลดสัดส่วนการนำทุนสำรองฯ ไปลงทุนพันธบัตรสหรัฐลดลงจาก 70% เหลือ 50%
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า แม้ในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้จะมีการขายออกมาบ้างจากนักลงทุนต่างชาติ แต่ขณะนี้ยังไม่เห็นเงินทุนไหลออกจากไทย สังเกตได้จากค่าเงินบาทมีการเคลื่อนไหวไม่มากนักและไม่ได้เกิดจาก ธปท.เข้าไปดูแลแต่อย่างใด โดยเงินบาทมีการเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ มีทั้งอ่อนและแข็งค่าแต่เกิดจากช่วงนี้มีทั้งแรงซื้อและขายเงินดอลลาร์สหรัฐค่อนข้างสมดุล ทำให้ขณะนี้เงินบาทมีเสถียรภาพอยู่
ทั้งนี้ หลังจากสหรัฐถูกลดเครดิตลดจากปัญหาหนี้สิน ในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมาก็ยังไม่เห็นปฏิกิริยาอะไรต่อตลาดมากนัก เพราะนักลงทุนได้คาดการณ์เรื่องเหล่านี้ไว้อยู่แล้ว โดยนักลงทุนบางส่วนมีการขายหุ้นในประเทศตลาดเกิดใหม่บ้าง ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลง ขณะที่ในส่วนของสกุลเงินในภูมิภาคเอเชียอ่อนตัวลง ซึ่งประเทศต่างๆ ในเอเชียต่างก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเงินบาทของไทยก็ปรับตัวไม่มากนัก
กรณีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (S&P) ประกาศลดเครติดของสมาคมการจำนองแห่งชาติของรัฐบาลกลางสหรัฐ (แฟนนี เม) และบรรษัทจำนองสินเชื่อบ้านของรัฐบาลสหรัฐ (เฟรดดี แมค) จากระดับ AAA มาอยู่ที่ AA+นั้น นายประสาร กล่าวว่า น่าจะเป็นการปรับเครดิตให้สอดคล้องกับเครดิตของประเทศสหรัฐมากกว่า ซึ่งเป็นไปตามกรอบการทำงานของ S&P ทั่วไป จึงไม่ได้สะท้อนว่าสถาบันการเงินรัฐของสหรัฐเหล่านี้จะมีปัญหาเหมือนปี 51 ที่เกิดวิกฤตตลาดการเงินสหรัฐขึ้น
“ในช่วงปี 51 สถาบันการเงินภาคเอกชนในสหรัฐเกิดมีปัญหาเรื่องสินทรัพย์ ทำให้ในระยะสั้นๆ เกิด Shock รุนแรงในตลาดการเงิน แต่ขณะนี้ปัญหาเหล่านี้แก้ไขได้ระดับหนึ่ง และสถาบันการเงินเหล่านี้ก็มีผลการดำเนินงานที่ดีและฐานะที่ดีขึ้น แต่ตอนนี้ปัญหาเกิดจากภาครัฐ หาคนช่วยได้ยาก จึงต่างกับวิกฤตสถาบันการเงินที่ยังพอมีรัฐบาลสหรัฐช่วยเหลือได้บ้าง ทำให้ปัญหาซึมยาว หรือเรียกได้ว่าเศรษฐกิจสหัรฐเข้าขั้นถดถอย”
ส่วนการรักษามูลค่าทุนสำรองทางการระหว่างประเทศในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐมีปัญหาในขณะนี้ ช่วงระยะสั้นธนาคารกลางประเทศต่างๆ มีทางเลือกไม่มากนักและต้องใช้เวลาในการปรับตัว โดยธนาคารทั่วโลกเริ่มค่อยๆ ปรับตัวมากขึ้น เมื่อ 10 ปีก่อน ธนาคารกลางทั่วโลกมีการนำเงินทุนสำรองฯ ไปลงทุนในพันธบัตรสหรัฐอยู่ที่ 70% แต่ล่าสุดในไตรมาสแรกของปีนี้กลับลดสัดส่วนเหลือ 50% และหันไปลงทุนสกุลเงินอื่นหรือสินทรัพย์ประเทศอื่นมากขึ้น ซึ่งไทยเองก็เป็นไปในทิศทางนี้เช่นกัน
ต่อข้อซักถามที่ว่าในขณะนี้ธปท.ให้น้ำหนักความเสี่ยงระหว่างเรื่องอัตราเงินเฟ้อกับภาวะเศรษฐกิจมากกว่ากัน ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ปกติในการประเมินความเสี่ยงต่างๆ เป็นเรื่องที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว ซึ่งก็ยังคงเป็นการประชุมวาระปกติอยู่ โดยจะนำข้อมูลเศรษฐกิจด้านต่างๆ และปัจจัยเสี่ยง ซึ่งรวมถึงปัจจัยเสี่ยงด้านต่างประเทศมาร่วมพิจารณาด้วย
ส่วนประเด็นการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใกล้แล้วเสร็จ ซึ่งจะมีความชัดเจนการแต่งตั้งตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ ซึ่งจะมีการแถลงนโยบายอย่างเป็นทางการด้วยนั้น หากเรื่องเหล่านี้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยทั่วไปแล้วจะมีการนัดประชุมหารือกันกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นในเรื่องต่างๆมาใช้ในการบริหารงานประเทศ และเชื่อว่าเสถียรภาพการเมืองยังเป็นสิ่งสำคัญในช่วงนี้อยู่.
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า แม้ในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้จะมีการขายออกมาบ้างจากนักลงทุนต่างชาติ แต่ขณะนี้ยังไม่เห็นเงินทุนไหลออกจากไทย สังเกตได้จากค่าเงินบาทมีการเคลื่อนไหวไม่มากนักและไม่ได้เกิดจาก ธปท.เข้าไปดูแลแต่อย่างใด โดยเงินบาทมีการเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ มีทั้งอ่อนและแข็งค่าแต่เกิดจากช่วงนี้มีทั้งแรงซื้อและขายเงินดอลลาร์สหรัฐค่อนข้างสมดุล ทำให้ขณะนี้เงินบาทมีเสถียรภาพอยู่
ทั้งนี้ หลังจากสหรัฐถูกลดเครดิตลดจากปัญหาหนี้สิน ในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมาก็ยังไม่เห็นปฏิกิริยาอะไรต่อตลาดมากนัก เพราะนักลงทุนได้คาดการณ์เรื่องเหล่านี้ไว้อยู่แล้ว โดยนักลงทุนบางส่วนมีการขายหุ้นในประเทศตลาดเกิดใหม่บ้าง ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลง ขณะที่ในส่วนของสกุลเงินในภูมิภาคเอเชียอ่อนตัวลง ซึ่งประเทศต่างๆ ในเอเชียต่างก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเงินบาทของไทยก็ปรับตัวไม่มากนัก
กรณีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (S&P) ประกาศลดเครติดของสมาคมการจำนองแห่งชาติของรัฐบาลกลางสหรัฐ (แฟนนี เม) และบรรษัทจำนองสินเชื่อบ้านของรัฐบาลสหรัฐ (เฟรดดี แมค) จากระดับ AAA มาอยู่ที่ AA+นั้น นายประสาร กล่าวว่า น่าจะเป็นการปรับเครดิตให้สอดคล้องกับเครดิตของประเทศสหรัฐมากกว่า ซึ่งเป็นไปตามกรอบการทำงานของ S&P ทั่วไป จึงไม่ได้สะท้อนว่าสถาบันการเงินรัฐของสหรัฐเหล่านี้จะมีปัญหาเหมือนปี 51 ที่เกิดวิกฤตตลาดการเงินสหรัฐขึ้น
“ในช่วงปี 51 สถาบันการเงินภาคเอกชนในสหรัฐเกิดมีปัญหาเรื่องสินทรัพย์ ทำให้ในระยะสั้นๆ เกิด Shock รุนแรงในตลาดการเงิน แต่ขณะนี้ปัญหาเหล่านี้แก้ไขได้ระดับหนึ่ง และสถาบันการเงินเหล่านี้ก็มีผลการดำเนินงานที่ดีและฐานะที่ดีขึ้น แต่ตอนนี้ปัญหาเกิดจากภาครัฐ หาคนช่วยได้ยาก จึงต่างกับวิกฤตสถาบันการเงินที่ยังพอมีรัฐบาลสหรัฐช่วยเหลือได้บ้าง ทำให้ปัญหาซึมยาว หรือเรียกได้ว่าเศรษฐกิจสหัรฐเข้าขั้นถดถอย”
ส่วนการรักษามูลค่าทุนสำรองทางการระหว่างประเทศในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐมีปัญหาในขณะนี้ ช่วงระยะสั้นธนาคารกลางประเทศต่างๆ มีทางเลือกไม่มากนักและต้องใช้เวลาในการปรับตัว โดยธนาคารทั่วโลกเริ่มค่อยๆ ปรับตัวมากขึ้น เมื่อ 10 ปีก่อน ธนาคารกลางทั่วโลกมีการนำเงินทุนสำรองฯ ไปลงทุนในพันธบัตรสหรัฐอยู่ที่ 70% แต่ล่าสุดในไตรมาสแรกของปีนี้กลับลดสัดส่วนเหลือ 50% และหันไปลงทุนสกุลเงินอื่นหรือสินทรัพย์ประเทศอื่นมากขึ้น ซึ่งไทยเองก็เป็นไปในทิศทางนี้เช่นกัน
ต่อข้อซักถามที่ว่าในขณะนี้ธปท.ให้น้ำหนักความเสี่ยงระหว่างเรื่องอัตราเงินเฟ้อกับภาวะเศรษฐกิจมากกว่ากัน ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ปกติในการประเมินความเสี่ยงต่างๆ เป็นเรื่องที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว ซึ่งก็ยังคงเป็นการประชุมวาระปกติอยู่ โดยจะนำข้อมูลเศรษฐกิจด้านต่างๆ และปัจจัยเสี่ยง ซึ่งรวมถึงปัจจัยเสี่ยงด้านต่างประเทศมาร่วมพิจารณาด้วย
ส่วนประเด็นการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใกล้แล้วเสร็จ ซึ่งจะมีความชัดเจนการแต่งตั้งตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ ซึ่งจะมีการแถลงนโยบายอย่างเป็นทางการด้วยนั้น หากเรื่องเหล่านี้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยทั่วไปแล้วจะมีการนัดประชุมหารือกันกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นในเรื่องต่างๆมาใช้ในการบริหารงานประเทศ และเชื่อว่าเสถียรภาพการเมืองยังเป็นสิ่งสำคัญในช่วงนี้อยู่.