ในขณะที่การขับเคี่ยวแย่งชิงเก้าอี้รัฐมนตรีในฝ่ายบริหารงวดเข้าช่วงโค้งสุดท้ายที่จะได้เห็นหน้าเห็นตาว่า “นักวิ่ง” คนไหนจะมาวิน และได้ร่วมขับเคลื่อนรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ 1” ในตำแหน่งอันทรงเกียรติ อีกด้านในส่วนของ “ฝ่ายนิติบัญญัติ” งานในสภาผู้แทนราษฎรก็เริ่มส่อเค้าจะมีการแข่งขันชิงเก้าอี้เก้าในกรรมาธิการต่างๆที่คาดว่าจะเข้มข้น และร้อนระอุไม่แพ้กัน
ทั้งนี้เป็นที่รับรู้กันดีว่างานของฝ่ายนิติบัญญัตินั้น นอกจากการตรากฎหมายอันเป็นงานหลักแล้ว ยังมีหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลคู่ขนานกันไป ผ่านกลไกของคณะกรรมาธิการต่างๆทั้ง 35 คณะ
ที่หลายคนอาจมองว่าเป็นเพียง “เสือกระดาษ” ไม่สามารถคาดหวังอะไรที่เป็นมรรคเป็นผลได้มากนัก รวมทั้งถูกมองว่าเป็นการตั้ง กมธ. “บังหน้า” เพื่อหาเรื่องไปดูงานต่างประเทศ หรือ ส.ส.บางคนที่นำตำแหน่ง กมธ.ไปใช้ข่มขู่หาผลประโยชน์จากแหล่งอบายมุขจนตกเป็นข่าวใหญ่ก็เคยมีให้เห็นมาก่อน
แต่อย่างน้อยที่สุดก็เป็นช่องทางการทำงานของฝ่ายค้านที่มีสิทธิและอำนาจตามกฎหมาย ดีกว่าการตั้ง “ครม.เงา” ที่ไร้ตัวตนเป็นไหนๆ ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลก็ใช้เป็น“เกราะ” ป้องกันการโจมตีของฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะรัฐบาลชุดใหม่ที่อยู่ภายใต้“ระบอบทักษิณ” นี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมี “เกราะ” ชนิดพิเศษ เพื่อเป็น “เครื่องมือ”ในการปกป้องพิทักษ์ในกรณีที่รัฐบาลพลาดพลั้งดำเนินนโยบายในทางสุ่มเสี่ยง รวมทั้งรักษาผลประโยชน์ของตัวเองในบางคราวด้วย
และต้องไม่ลืมว่าสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24 นี้จะเป็นชุดแรกที่มีโอกาสได้ใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ.2554 ที่ถูกขนานนามว่าเป็น “กฎหมายติดดาบ” เพิ่มอำนาจให้ ส.ส.และ ส.ว.ในการกวักมือเรียกบุคคลให้เข้ามาชี้แจงต่อที่ประชุม หากไม่ให้ความร่วมมือ ก็จะมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน แถมโทษปรับอีกครึ่งหมื่น ยิ่งหากเป็นข้าราชการจะมีโทษทางวินัยพ่วงด้วย
ต่อไปนี้ หมดสิทธิ์ที่บรรดาข้าราชการ รวมทั้งรัฐมนตรีที่จะหลบลี้หนีหน้าส่งลูกน้องมาชี้แจงแทนได้เหมือนเคยอีกต่อไป
ส่งผลให้อำนาจของคณะ กมธ.สภาฯทรงพลังมากขึ้นอีกระดับหนึ่ง
หันมาดูในส่วนของการแบ่งสัดส่วนตำแหน่งประธาน กมธ.ทั้ง 35 คณะ ตามจำนวน ส.ส.แต่ละพรรค ซึ่งเบื้องต้น “เพื่อไทย” ที่มี ส.ส. 265 คนได้ไป 19 คณะ“ประชาธิปัตย์” ที่มี ส.ส. 159 คนได้ 11 คณะ “ภูมิไทย” ที่มี ส.ส.34 คนได้ 2 คณะ ที่เหลือ “ชาติไทยพัฒนา – ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน - พลังชน” ได้ไปพรรคละ 1 คณะ
ส่วน “มาตุภูมิ - รักประเทศไทย - รักษ์สันติ - มหาชน - ประชาธิปไตยใหม่” ที่มี ส.ส.กันพรรคละ 1-2 ที่นั่งก็อดไปตามระเบียบ เพราะสัดส่วนไม่ถึงเกณฑ์
มองผิวเผินอาจเป็นหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนไม่น่าจะมีปัญหาในการจัดสรร แต่พอเอาเข้าจริงก็เริ่มเกิดปัญหาความไม่ลงตัวกันขึ้นตั้งแต่การประชุม “แบ่งเค้ก” นัดแรก ที่มี“เจริญ จรรย์โกมล” รองประธานสภาฯ คนที่ 1 นั่งเป็นประธานในที่ประชุม วานนี้ (8ส.ค.) เมื่อบรรดาพรรคเล็กในซีกฝ่ายค้าน ได้แก่ พรรครักประเทศไทยที่มี 4 เสียง พรรคมาตุภูมิที่มี 2 เสียง และ 1 เสียงของพรรครักต์สันติ รวมตัว “ก่อหวอด” ต่อรองขอเก้าอี้ประธาน กมธ. 1 คณะ เพราะรวมกันแล้วมี 7 เสียงเท่ากับอีก 2 พรรคที่ได้โควต้าคนละ 1คณะ
ทำเอาบรรดาพรรคการเมืองใหญ่ต่างทักท้วงเป็นพัลวัน เพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อโควต้าตัวเอง จนประธานในที่ประชุมต้องตัดบทขอให้ไปตกลงกันนอกรอบเสียก่อน แล้วนำมาเสนอในที่ประชุมอีกครั้ง
นอกจากเรื่องสัดส่วนที่จะเป็นปัญหาแล้ว การจัดวางตัวคนระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้านลงทำหน้าที่ “หัวโต๊ะ” ใน กมธ.ชุดต่างๆก็ยังคงเป็นปัญหาที่มีมาตลอด โดยในสภาฯชุดก่อนๆกว่าจะเรียบร้อยลงตัวก็กินเวลาล่วงเลยไปหลายเดือน อย่างในสภาฯชุดที่แล้ว กว่าจะจัดสรรเก้าอี้แล้วเสร็จก็กินเวลาปาเข้าไปนานกว่า 4 เดือนเลยทีเดียว
โดยบทบาทสำคัญของประธาน กมธ.ต่างๆคือ การเป็น “ด่านแรก” ที่จะพิจารณานำวาระเข้าประชุมแต่ละนัด ซึ่งฝ่ายรัฐบาลก็มักจะยึดตามกระทรวงที่แต่ละพรรคดูแล อาทิ กมธ.ทหาร กมธ.สาธารณสุข กมธ.คมนาคม กมธ.ต่างประเทศ หรือ กมธ.แรงงาน เป็นต้น โดยหวังว่าจะเป็นเกราะชั้นแรกในการคุ้มกันการตรวจสอบของฝ่ายตรงข้าม
ด้านพรรคฝ่ายค้านก็จับจ้องไปที่คณะที่เกี่ยวกับการตรวจสอบโดยเฉพาะ อาทิ กมธ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (ป.ป.ช.) กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ กมธ.คุ้มครองผู้บริโภค หรือ กมธ.ติดตามการบริหารงบประมาณ เป็นต้น
ที่น่าจับตามอง และเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยจะไม่ปล่อยหลุดมือไปแน่ๆก็คือกมธ.การกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เพราะมีผลงานที่พิสูจน์แล้วในรัฐบาลชุดก่อนที่ กมธ.นี้เป็นเครื่องมือที่ใช่เล่นงานรัฐบาลประชาธิปัตย์ในประเด็นของ“คนเสื้อแดง” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเชื่อว่าจะนำมาใช้งานต่อเนื่องเพื่อไล่บี้ทั้ง“อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ-สุเทพ เทือกสุบรรณ” ในข้อกล่าวหา “ผู้บงการ” ฆ่าประชาชนจากการสลายการชุมนุมเมื่อปี 52-53 ที่สำคัญในช่วงการบริหารงานของรัฐบาลชุดใหม่นี้ ก็เชื่อว่ามีประเด็นร้อนๆเกี่ยวกับการ “นิรโทษกรรม” เข้ามาอีก การยึด “หัวโต๊ะ” ของ กมธ.ชุดนี้ไว้จึงถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ด้านพรรคประชาธิปัตย์ก็คงต้องอาศัย กมธ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (ป.ป.ช.) ในการตรวจสอบการทุจริตของรัฐบาล ซึ่งก็ได้พิสูจน์แล้วเช่นกันในช่วงรัฐบาลชุดก่อน ที่มี “วิลาศ จันทร์พิทักษ์” ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธาน พร้อมคู่หู “ชาญชัย อิสระเสนารักษ์” อดีต ส.ส.นครนายก ที่แม้ว่าจะเป็นคนในรัฐบาล แต่ก็เดินหน้าไล่ตรวจสอบโครงการของฝ่ายบริหารแบบ “กัดไม่ปล่อย”จนทำให้หลายโครงการต้องยกลเกหรือชะลอโครงการไปจนเป็นผลงานชิ้น “โบว์แดง”อาทิ โครงการจัดซื้อจัดจ้างตามงบประมาณไทยเข้มแข็ง ระยะที่ 2 หรือเอสพี 2 ของกระทรวงศึกษาธิการ โครงการของกระทรวงคมนาคมทั้งรถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันที่ถูกยกเลิก หรือโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง-สีม่วงที่ต้องปรับลดงบประมาณลงมาหลายพันล้านบาท เป็นต้น
ก็ต้องรอดูความ “เขี้ยวลากดิน” ของทั้ง 2 ฝ่ายว่าจะยอมกันง่ายๆหรือไม่
ไม่เพียงแต่การแย่งชิงของฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น ความชุลมุน “แย่งชามข้าว”ภายในพรรคด้วยกันเองก็น่าสนใจ โดยเฉพาะกับพรรคเพื่อไทยกับจำนวน 19 เก้าอี้ประธาน กมธ.ที่ดูเหมือนมาก แต่ความเป็นจริงนั้นคงไม่เพียงพอต่อจำนวน ส.ส.ที่มีมากถึง 265 คนเป็นแน่ โดยเฉพาะบรรดา “คนอกหัก” จากเก้าอี้รัฐมนตรี ที่จะเปลี่ยนเป้าหมายหันมาเมียงมองเก้าอี้ประธาน กมธ. เข้าสูตร “กำขี้ดีกว่ากำตด” จนเชื่อว่าเมื่อโผ ครม. “ยิ่งลักษณ์ 1” คลอดออกมาอย่างเป็นทางการ ฝุ่นควันของ “นักวิ่ง” ในพรรคแกนนำรัฐบาลก็คงยังตลบอบอวลต่อไป และอาจจะเดือดกว่าการแย่งชิงเก้าอี้รัฐมนตรีด้วยซ้ำ
เพราะถือเป็นรถขบวนสุดท้าย ที่หากพลาดก็อาจต้องนั่งตบยุงยาว...
ทั้งนี้เป็นที่รับรู้กันดีว่างานของฝ่ายนิติบัญญัตินั้น นอกจากการตรากฎหมายอันเป็นงานหลักแล้ว ยังมีหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลคู่ขนานกันไป ผ่านกลไกของคณะกรรมาธิการต่างๆทั้ง 35 คณะ
ที่หลายคนอาจมองว่าเป็นเพียง “เสือกระดาษ” ไม่สามารถคาดหวังอะไรที่เป็นมรรคเป็นผลได้มากนัก รวมทั้งถูกมองว่าเป็นการตั้ง กมธ. “บังหน้า” เพื่อหาเรื่องไปดูงานต่างประเทศ หรือ ส.ส.บางคนที่นำตำแหน่ง กมธ.ไปใช้ข่มขู่หาผลประโยชน์จากแหล่งอบายมุขจนตกเป็นข่าวใหญ่ก็เคยมีให้เห็นมาก่อน
แต่อย่างน้อยที่สุดก็เป็นช่องทางการทำงานของฝ่ายค้านที่มีสิทธิและอำนาจตามกฎหมาย ดีกว่าการตั้ง “ครม.เงา” ที่ไร้ตัวตนเป็นไหนๆ ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลก็ใช้เป็น“เกราะ” ป้องกันการโจมตีของฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะรัฐบาลชุดใหม่ที่อยู่ภายใต้“ระบอบทักษิณ” นี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมี “เกราะ” ชนิดพิเศษ เพื่อเป็น “เครื่องมือ”ในการปกป้องพิทักษ์ในกรณีที่รัฐบาลพลาดพลั้งดำเนินนโยบายในทางสุ่มเสี่ยง รวมทั้งรักษาผลประโยชน์ของตัวเองในบางคราวด้วย
และต้องไม่ลืมว่าสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24 นี้จะเป็นชุดแรกที่มีโอกาสได้ใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ.2554 ที่ถูกขนานนามว่าเป็น “กฎหมายติดดาบ” เพิ่มอำนาจให้ ส.ส.และ ส.ว.ในการกวักมือเรียกบุคคลให้เข้ามาชี้แจงต่อที่ประชุม หากไม่ให้ความร่วมมือ ก็จะมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน แถมโทษปรับอีกครึ่งหมื่น ยิ่งหากเป็นข้าราชการจะมีโทษทางวินัยพ่วงด้วย
ต่อไปนี้ หมดสิทธิ์ที่บรรดาข้าราชการ รวมทั้งรัฐมนตรีที่จะหลบลี้หนีหน้าส่งลูกน้องมาชี้แจงแทนได้เหมือนเคยอีกต่อไป
ส่งผลให้อำนาจของคณะ กมธ.สภาฯทรงพลังมากขึ้นอีกระดับหนึ่ง
หันมาดูในส่วนของการแบ่งสัดส่วนตำแหน่งประธาน กมธ.ทั้ง 35 คณะ ตามจำนวน ส.ส.แต่ละพรรค ซึ่งเบื้องต้น “เพื่อไทย” ที่มี ส.ส. 265 คนได้ไป 19 คณะ“ประชาธิปัตย์” ที่มี ส.ส. 159 คนได้ 11 คณะ “ภูมิไทย” ที่มี ส.ส.34 คนได้ 2 คณะ ที่เหลือ “ชาติไทยพัฒนา – ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน - พลังชน” ได้ไปพรรคละ 1 คณะ
ส่วน “มาตุภูมิ - รักประเทศไทย - รักษ์สันติ - มหาชน - ประชาธิปไตยใหม่” ที่มี ส.ส.กันพรรคละ 1-2 ที่นั่งก็อดไปตามระเบียบ เพราะสัดส่วนไม่ถึงเกณฑ์
มองผิวเผินอาจเป็นหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนไม่น่าจะมีปัญหาในการจัดสรร แต่พอเอาเข้าจริงก็เริ่มเกิดปัญหาความไม่ลงตัวกันขึ้นตั้งแต่การประชุม “แบ่งเค้ก” นัดแรก ที่มี“เจริญ จรรย์โกมล” รองประธานสภาฯ คนที่ 1 นั่งเป็นประธานในที่ประชุม วานนี้ (8ส.ค.) เมื่อบรรดาพรรคเล็กในซีกฝ่ายค้าน ได้แก่ พรรครักประเทศไทยที่มี 4 เสียง พรรคมาตุภูมิที่มี 2 เสียง และ 1 เสียงของพรรครักต์สันติ รวมตัว “ก่อหวอด” ต่อรองขอเก้าอี้ประธาน กมธ. 1 คณะ เพราะรวมกันแล้วมี 7 เสียงเท่ากับอีก 2 พรรคที่ได้โควต้าคนละ 1คณะ
ทำเอาบรรดาพรรคการเมืองใหญ่ต่างทักท้วงเป็นพัลวัน เพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อโควต้าตัวเอง จนประธานในที่ประชุมต้องตัดบทขอให้ไปตกลงกันนอกรอบเสียก่อน แล้วนำมาเสนอในที่ประชุมอีกครั้ง
นอกจากเรื่องสัดส่วนที่จะเป็นปัญหาแล้ว การจัดวางตัวคนระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้านลงทำหน้าที่ “หัวโต๊ะ” ใน กมธ.ชุดต่างๆก็ยังคงเป็นปัญหาที่มีมาตลอด โดยในสภาฯชุดก่อนๆกว่าจะเรียบร้อยลงตัวก็กินเวลาล่วงเลยไปหลายเดือน อย่างในสภาฯชุดที่แล้ว กว่าจะจัดสรรเก้าอี้แล้วเสร็จก็กินเวลาปาเข้าไปนานกว่า 4 เดือนเลยทีเดียว
โดยบทบาทสำคัญของประธาน กมธ.ต่างๆคือ การเป็น “ด่านแรก” ที่จะพิจารณานำวาระเข้าประชุมแต่ละนัด ซึ่งฝ่ายรัฐบาลก็มักจะยึดตามกระทรวงที่แต่ละพรรคดูแล อาทิ กมธ.ทหาร กมธ.สาธารณสุข กมธ.คมนาคม กมธ.ต่างประเทศ หรือ กมธ.แรงงาน เป็นต้น โดยหวังว่าจะเป็นเกราะชั้นแรกในการคุ้มกันการตรวจสอบของฝ่ายตรงข้าม
ด้านพรรคฝ่ายค้านก็จับจ้องไปที่คณะที่เกี่ยวกับการตรวจสอบโดยเฉพาะ อาทิ กมธ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (ป.ป.ช.) กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ กมธ.คุ้มครองผู้บริโภค หรือ กมธ.ติดตามการบริหารงบประมาณ เป็นต้น
ที่น่าจับตามอง และเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยจะไม่ปล่อยหลุดมือไปแน่ๆก็คือกมธ.การกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เพราะมีผลงานที่พิสูจน์แล้วในรัฐบาลชุดก่อนที่ กมธ.นี้เป็นเครื่องมือที่ใช่เล่นงานรัฐบาลประชาธิปัตย์ในประเด็นของ“คนเสื้อแดง” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเชื่อว่าจะนำมาใช้งานต่อเนื่องเพื่อไล่บี้ทั้ง“อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ-สุเทพ เทือกสุบรรณ” ในข้อกล่าวหา “ผู้บงการ” ฆ่าประชาชนจากการสลายการชุมนุมเมื่อปี 52-53 ที่สำคัญในช่วงการบริหารงานของรัฐบาลชุดใหม่นี้ ก็เชื่อว่ามีประเด็นร้อนๆเกี่ยวกับการ “นิรโทษกรรม” เข้ามาอีก การยึด “หัวโต๊ะ” ของ กมธ.ชุดนี้ไว้จึงถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ด้านพรรคประชาธิปัตย์ก็คงต้องอาศัย กมธ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (ป.ป.ช.) ในการตรวจสอบการทุจริตของรัฐบาล ซึ่งก็ได้พิสูจน์แล้วเช่นกันในช่วงรัฐบาลชุดก่อน ที่มี “วิลาศ จันทร์พิทักษ์” ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธาน พร้อมคู่หู “ชาญชัย อิสระเสนารักษ์” อดีต ส.ส.นครนายก ที่แม้ว่าจะเป็นคนในรัฐบาล แต่ก็เดินหน้าไล่ตรวจสอบโครงการของฝ่ายบริหารแบบ “กัดไม่ปล่อย”จนทำให้หลายโครงการต้องยกลเกหรือชะลอโครงการไปจนเป็นผลงานชิ้น “โบว์แดง”อาทิ โครงการจัดซื้อจัดจ้างตามงบประมาณไทยเข้มแข็ง ระยะที่ 2 หรือเอสพี 2 ของกระทรวงศึกษาธิการ โครงการของกระทรวงคมนาคมทั้งรถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันที่ถูกยกเลิก หรือโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง-สีม่วงที่ต้องปรับลดงบประมาณลงมาหลายพันล้านบาท เป็นต้น
ก็ต้องรอดูความ “เขี้ยวลากดิน” ของทั้ง 2 ฝ่ายว่าจะยอมกันง่ายๆหรือไม่
ไม่เพียงแต่การแย่งชิงของฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น ความชุลมุน “แย่งชามข้าว”ภายในพรรคด้วยกันเองก็น่าสนใจ โดยเฉพาะกับพรรคเพื่อไทยกับจำนวน 19 เก้าอี้ประธาน กมธ.ที่ดูเหมือนมาก แต่ความเป็นจริงนั้นคงไม่เพียงพอต่อจำนวน ส.ส.ที่มีมากถึง 265 คนเป็นแน่ โดยเฉพาะบรรดา “คนอกหัก” จากเก้าอี้รัฐมนตรี ที่จะเปลี่ยนเป้าหมายหันมาเมียงมองเก้าอี้ประธาน กมธ. เข้าสูตร “กำขี้ดีกว่ากำตด” จนเชื่อว่าเมื่อโผ ครม. “ยิ่งลักษณ์ 1” คลอดออกมาอย่างเป็นทางการ ฝุ่นควันของ “นักวิ่ง” ในพรรคแกนนำรัฐบาลก็คงยังตลบอบอวลต่อไป และอาจจะเดือดกว่าการแย่งชิงเก้าอี้รัฐมนตรีด้วยซ้ำ
เพราะถือเป็นรถขบวนสุดท้าย ที่หากพลาดก็อาจต้องนั่งตบยุงยาว...