ศูนย์ข่าวนครราชสีมา-ผู้ช่วย ผบ.ตร.สั่งตำรวจภาค 3 และกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา เร่งตรวจสอบข้อมูลหลังมีข่าวนายทุนลงขันเด็ดหัว "หน.อุทยานทับลาน" พร้อมเรียกร้องให้แจ้งความตำรวจไว้เพื่อจะได้จัดส่งกำลังเข้าไปอารักขา ด้านเจ้าของรีสอร์ตวังน้ำเขียวโอดสร้างรีสอร์ตมาหลายปีก็ไม่น่าผิด
เมื่อเวลา 11.00 น.วานนี้ (7 ส.ค.54) ที่ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 3 ต.จอหอ อ.เมือง จ.นครราชสีมา พล.ต.ท.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ปป.21) กล่าวภายหลังเป็นประธานปิดโครงการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรในการบริหารจัดการติดตามกับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับ (CCOC) ในฐานะกำกับดูแล ตร.ภาค 3 และภาค 4 ถึงเรื่องกระแสข่าวแพร่สะพัดอย่างกว้างขวางในตลาดวังน้ำเขียวว่า บรรดากลุ่มนายทุนเจ้าของรีสอร์ตที่สูญเสียผลประโยชน์เกิดความโกรธแค้นถึงขั้นลงขันกันรายละ 30,000-35,000 บาท เพื่อวางแผนปองร้ายนายเทวินทร์ มีทรัพย์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลานว่า ถ้ามีลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในการปฏิบัติของตำรวจเราต้องพยายามหาแนวทางในการป้องกัน คือทำอย่างไรจะไม่ให้คนที่คิดจะทำอย่างนั้นทำได้สำเร็จ
"การป้องกันถือว่าดีที่สุด เพราะไม่เสียชีวิต ไม่เสียเลือดเนื้อ เราไม่ต้องการว่าให้เขาลงมือแล้วค่อยไปจับตัวคนร้าย แล้วเอามาเป็นผลงาน เอามาโชว์ เราไม่ประสงค์จะทำอย่างนั้น เพราะว่าการจับคนร้ายได้ แต่คนตายไม่ฟื้น ญาติพี่น้องก็ต้องทุกข์ระทม ฉะนั้นตำรวจเราต้องหาวิธีในการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น หากผู้ที่ถูกป้องร้ายมาแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็จะมีระบบ มีวิธี มีระเบียบว่า ถ้าจำเป็นต้องใช้ตำรวจไปป้องกันอารักขาดูแล เราก็สามารถที่จะจัดกำลังไปดูแลให้ได้" พล.ต.ท.ชัชวาลย์ กล่าว
พล.ต.ท.ชัชวาลย์ กล่าวอีกว่า ผู้เสียหายจะต้องเขามาให้ข้อมูลกับตำรวจ ถ้าไม่ให้ข้อมูลบางทีเราก็ไม่รู้ได้ แต่ถ้าเรารู้ก่อนเราก็สามารถที่จะเข้าไปจัดการหรือว่าเข้าไปแก้ปัญหาในเบื้องต้นก่อนได้ แต่บางครั้งมันก็ไม่ทันก็มี
ต่อข้อถามที่ว่าเมื่อเป็นข่าวขึ้นมาแล้วและคนทั่วประเทศรับรู้เรื่องการป้องร้ายดังกล่าวซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่อย่างนี้แล้ว ในฐานะดูแลพื้นที่ ตร.ภาค 3 ได้มีการสั่งการลงไปอย่างไรบ้าง พล.ต.ท.ชัชวาลย์ ตอบว่า เรื่องนี้โดยภาคปฏิบัติ ตำรวจที่อยู่ในพื้นที่ ไม่ว่าตำรวจท้องที่ สภ.วังน้ำเขียว ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา หรือตำรวจภูธรภาค 3 ก็จะต้องดูแล ถ้ามีข่าวออกไปทำนองนี้ก็จะมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์ และมีเจ้าหน้าที่ติดตามดูอยู่แล้ว ยิ่งมีเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นไปบวกกับคนที่ถูกปองร้ายอยู่ในประเด็นที่ประชาชนกำลังสนใจเป็นอย่างมากนั้น ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา ก็ต้องดำเนินการในการจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจลงไปในพื้นที่ ไปดูแลหรือให้ความปลอดภัย แต่ตัวเป้าหมายเองคงต้องระมัดระวังตัวเหมือนกัน
“เรื่องแบบนี้มันต้องช่วยกันด้วย เพราะไม่มีใครจะไปดูได้ตลอดทุกฝีก้าว คนจ้องกับคนระวังตัวไม่เหมือนกันแน่นอน คนจ้องมันต้องพยายามว่าเมื่อไหร่คนระวังจะหลุดหรือพลาด ฉะนั้นก็ต้องช่วยกัน ตัวเขาเองก็ต้องช่วยด้วย ฝ่ายตำรวจเองก็ต้องช่วยด้วย” พล.ต.ท.ชัชวาลย์ กล่าว
**เจ้าของรีสอร์ตวังน้ำเขียวโอดไม่น่าผิด
ด้านความคืบหน้ากรณีกรมป่าไม้ระบุจะเข้าตรวจสอบรีสอร์ต 22 แห่ง ที่บุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาภูหลวง อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา และจะดำเนินการบังคับใช้กฎหมายนั้น ล่าสุดวานนี้ (7 ส.ค.)นายสุเทพ ปวเรศวิทยาฬาร ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 8 (นครราชสีมา) กล่าวว่า เจ้าหน้าที่นำข้อมูลหลักฐานซึ่งเป็นพระราชกฤษฎีกาประกาศเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2528 พร้อมแผนที่ระบุพิกัด ที่ตั้งของรีสอร์ตและที่พัก ที่เชื่อได้ว่าบุกรุกที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาภูหลวงทั้ง 22 แห่ง เข้ายื่นต่อศาลจังหวัดนครราชสีมาเพื่อขอออกหมายตรวจสอบแล้ว หากได้หมายศาลกรมป่าไม้ก็จะร่วมกับตำรวจ และอาสาสมัครรักษาดินแดนนำป้ายประกาศพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาภูหลวง ไปปักไว้ยังสถานที่ทั้ง 22 แห่ง คาดว่าน่าจะดำเนินการได้ภายในวันที่ 8-9 ส.ค.นี้ เพื่อให้เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้ง 22 แห่ง มาแสดงตัวพร้อมกับแสดงเอกสารสิทธิ์ความเป็นเจ้าของภายใน 45 วัน หากไม่มีจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
นายเทวินทร์ มีทรัพย์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน กล่าวว่า ทางอุทยานแห่งชาติทับลานจำเป็นต้องดำเนินการตามกฏหมาย ที่ได้ฟ้องร้องเอาผิดกับทางกลุ่มผู้ประกอบการที่มาใช้พื้นที่อุทยานในการประกอบกิจการรีสอร์ตที่พักในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ซึ่งได้ดำเนินคดีไปแล้วตั้งแต่ปี 2543 รวม 111 แห่ง และจากการตรวจสอบพบว่า มีรีสอร์ตยังใช้ประโยชน์อยู่จำนวน 53 จุด ในพื้นที่ 4 อำเภอ 2 จังหวัด คือ นครราชสีมา และปราจีนบุรี จึงได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ไปติดป้ายประกาศอุทยานฯ สั่งให้รีสอร์ต 25 แห่ง รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างภายในวันที่ 30 ส.ค.นี้ ส่วนอีก 28 แห่งอยู่ระหว่างดำเนินการติดป้าย
เจ้าของรีสอร์ตรายหนึ่งที่ถูกระบุว่าบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาภูหลวง ซึ่งอยู่ในพื้นที่บ้านเขาแผงม้า หมู่ที่ 4 ต.วังน้ำเขียว อ.วังน้ำเขียว กล่าวว่า ข่าวที่ออกมาเหมือนกลุ่มผู้ประกอบการรีสอร์ตเป็นผุ้มีอิทธิพลเข้ามาบุกรุกพื้นที่ แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น อย่างเช่นรีสอร์ตตนไม่เคยคิดมาก่อนว่าบุกรุกพื้นที่ป่า เพราะอยู่นอกแนวเขตแนวกันไฟของป่าสงวนแห่งชาติไปอีกไกล ทั้งนี้หากดูตามภาพถ่ายทางอากาศจะเห็นว่ามีรีสอร์ตหลายแห่งเข้าไปอยู่ในเขตป่าโซนซีจำนวนมาก รวมไปถึงชาวบ้านเขาแผงม้าหมู่ 4 ด้วยก็เช่นเดียวกัน อีกทั้งยังมีการพัฒนาพื้นที่ในด้านสาธารณูปโภคขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งไฟฟ้า น้ำประปา และถนน
"หากเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ เมื่อเห็นว่ามีการตั้งหมู่บ้านชัดเจน มีสาธารณูปโภคพร้อม ก็เข้าไปทำธุรกิจโดยไม่รู้มาก่อนว่าเป็นพื้นที่ป่า ส่วนเรื่องเอกสารสิทธิ์ทุกคนรู้ดีว่าในพื้นที่ อ.วังน้ำเขียวไม่มีเอกสารสิทธิ์ทั้งนั้น ไม่ว่าจะวัดหรือโรงเรียน เป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นการซื้อขาย ภบท.5 ที่เปลี่ยนมือได้ ไม่เหมือน สปก.และการซื้อขายใบ ภบท.5 ก็มีผู้นำท้องถิ่นลงลายมือชื่อรับรอง และมีการเปลี่ยนมือกันมาแล้วหลายทอด "ผู้ประกอบการกล่าว
เมื่อเวลา 11.00 น.วานนี้ (7 ส.ค.54) ที่ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 3 ต.จอหอ อ.เมือง จ.นครราชสีมา พล.ต.ท.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ปป.21) กล่าวภายหลังเป็นประธานปิดโครงการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรในการบริหารจัดการติดตามกับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับ (CCOC) ในฐานะกำกับดูแล ตร.ภาค 3 และภาค 4 ถึงเรื่องกระแสข่าวแพร่สะพัดอย่างกว้างขวางในตลาดวังน้ำเขียวว่า บรรดากลุ่มนายทุนเจ้าของรีสอร์ตที่สูญเสียผลประโยชน์เกิดความโกรธแค้นถึงขั้นลงขันกันรายละ 30,000-35,000 บาท เพื่อวางแผนปองร้ายนายเทวินทร์ มีทรัพย์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลานว่า ถ้ามีลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในการปฏิบัติของตำรวจเราต้องพยายามหาแนวทางในการป้องกัน คือทำอย่างไรจะไม่ให้คนที่คิดจะทำอย่างนั้นทำได้สำเร็จ
"การป้องกันถือว่าดีที่สุด เพราะไม่เสียชีวิต ไม่เสียเลือดเนื้อ เราไม่ต้องการว่าให้เขาลงมือแล้วค่อยไปจับตัวคนร้าย แล้วเอามาเป็นผลงาน เอามาโชว์ เราไม่ประสงค์จะทำอย่างนั้น เพราะว่าการจับคนร้ายได้ แต่คนตายไม่ฟื้น ญาติพี่น้องก็ต้องทุกข์ระทม ฉะนั้นตำรวจเราต้องหาวิธีในการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น หากผู้ที่ถูกป้องร้ายมาแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็จะมีระบบ มีวิธี มีระเบียบว่า ถ้าจำเป็นต้องใช้ตำรวจไปป้องกันอารักขาดูแล เราก็สามารถที่จะจัดกำลังไปดูแลให้ได้" พล.ต.ท.ชัชวาลย์ กล่าว
พล.ต.ท.ชัชวาลย์ กล่าวอีกว่า ผู้เสียหายจะต้องเขามาให้ข้อมูลกับตำรวจ ถ้าไม่ให้ข้อมูลบางทีเราก็ไม่รู้ได้ แต่ถ้าเรารู้ก่อนเราก็สามารถที่จะเข้าไปจัดการหรือว่าเข้าไปแก้ปัญหาในเบื้องต้นก่อนได้ แต่บางครั้งมันก็ไม่ทันก็มี
ต่อข้อถามที่ว่าเมื่อเป็นข่าวขึ้นมาแล้วและคนทั่วประเทศรับรู้เรื่องการป้องร้ายดังกล่าวซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่อย่างนี้แล้ว ในฐานะดูแลพื้นที่ ตร.ภาค 3 ได้มีการสั่งการลงไปอย่างไรบ้าง พล.ต.ท.ชัชวาลย์ ตอบว่า เรื่องนี้โดยภาคปฏิบัติ ตำรวจที่อยู่ในพื้นที่ ไม่ว่าตำรวจท้องที่ สภ.วังน้ำเขียว ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา หรือตำรวจภูธรภาค 3 ก็จะต้องดูแล ถ้ามีข่าวออกไปทำนองนี้ก็จะมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์ และมีเจ้าหน้าที่ติดตามดูอยู่แล้ว ยิ่งมีเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นไปบวกกับคนที่ถูกปองร้ายอยู่ในประเด็นที่ประชาชนกำลังสนใจเป็นอย่างมากนั้น ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา ก็ต้องดำเนินการในการจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจลงไปในพื้นที่ ไปดูแลหรือให้ความปลอดภัย แต่ตัวเป้าหมายเองคงต้องระมัดระวังตัวเหมือนกัน
“เรื่องแบบนี้มันต้องช่วยกันด้วย เพราะไม่มีใครจะไปดูได้ตลอดทุกฝีก้าว คนจ้องกับคนระวังตัวไม่เหมือนกันแน่นอน คนจ้องมันต้องพยายามว่าเมื่อไหร่คนระวังจะหลุดหรือพลาด ฉะนั้นก็ต้องช่วยกัน ตัวเขาเองก็ต้องช่วยด้วย ฝ่ายตำรวจเองก็ต้องช่วยด้วย” พล.ต.ท.ชัชวาลย์ กล่าว
**เจ้าของรีสอร์ตวังน้ำเขียวโอดไม่น่าผิด
ด้านความคืบหน้ากรณีกรมป่าไม้ระบุจะเข้าตรวจสอบรีสอร์ต 22 แห่ง ที่บุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาภูหลวง อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา และจะดำเนินการบังคับใช้กฎหมายนั้น ล่าสุดวานนี้ (7 ส.ค.)นายสุเทพ ปวเรศวิทยาฬาร ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 8 (นครราชสีมา) กล่าวว่า เจ้าหน้าที่นำข้อมูลหลักฐานซึ่งเป็นพระราชกฤษฎีกาประกาศเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2528 พร้อมแผนที่ระบุพิกัด ที่ตั้งของรีสอร์ตและที่พัก ที่เชื่อได้ว่าบุกรุกที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาภูหลวงทั้ง 22 แห่ง เข้ายื่นต่อศาลจังหวัดนครราชสีมาเพื่อขอออกหมายตรวจสอบแล้ว หากได้หมายศาลกรมป่าไม้ก็จะร่วมกับตำรวจ และอาสาสมัครรักษาดินแดนนำป้ายประกาศพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาภูหลวง ไปปักไว้ยังสถานที่ทั้ง 22 แห่ง คาดว่าน่าจะดำเนินการได้ภายในวันที่ 8-9 ส.ค.นี้ เพื่อให้เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้ง 22 แห่ง มาแสดงตัวพร้อมกับแสดงเอกสารสิทธิ์ความเป็นเจ้าของภายใน 45 วัน หากไม่มีจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
นายเทวินทร์ มีทรัพย์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน กล่าวว่า ทางอุทยานแห่งชาติทับลานจำเป็นต้องดำเนินการตามกฏหมาย ที่ได้ฟ้องร้องเอาผิดกับทางกลุ่มผู้ประกอบการที่มาใช้พื้นที่อุทยานในการประกอบกิจการรีสอร์ตที่พักในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ซึ่งได้ดำเนินคดีไปแล้วตั้งแต่ปี 2543 รวม 111 แห่ง และจากการตรวจสอบพบว่า มีรีสอร์ตยังใช้ประโยชน์อยู่จำนวน 53 จุด ในพื้นที่ 4 อำเภอ 2 จังหวัด คือ นครราชสีมา และปราจีนบุรี จึงได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ไปติดป้ายประกาศอุทยานฯ สั่งให้รีสอร์ต 25 แห่ง รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างภายในวันที่ 30 ส.ค.นี้ ส่วนอีก 28 แห่งอยู่ระหว่างดำเนินการติดป้าย
เจ้าของรีสอร์ตรายหนึ่งที่ถูกระบุว่าบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาภูหลวง ซึ่งอยู่ในพื้นที่บ้านเขาแผงม้า หมู่ที่ 4 ต.วังน้ำเขียว อ.วังน้ำเขียว กล่าวว่า ข่าวที่ออกมาเหมือนกลุ่มผู้ประกอบการรีสอร์ตเป็นผุ้มีอิทธิพลเข้ามาบุกรุกพื้นที่ แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น อย่างเช่นรีสอร์ตตนไม่เคยคิดมาก่อนว่าบุกรุกพื้นที่ป่า เพราะอยู่นอกแนวเขตแนวกันไฟของป่าสงวนแห่งชาติไปอีกไกล ทั้งนี้หากดูตามภาพถ่ายทางอากาศจะเห็นว่ามีรีสอร์ตหลายแห่งเข้าไปอยู่ในเขตป่าโซนซีจำนวนมาก รวมไปถึงชาวบ้านเขาแผงม้าหมู่ 4 ด้วยก็เช่นเดียวกัน อีกทั้งยังมีการพัฒนาพื้นที่ในด้านสาธารณูปโภคขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งไฟฟ้า น้ำประปา และถนน
"หากเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ เมื่อเห็นว่ามีการตั้งหมู่บ้านชัดเจน มีสาธารณูปโภคพร้อม ก็เข้าไปทำธุรกิจโดยไม่รู้มาก่อนว่าเป็นพื้นที่ป่า ส่วนเรื่องเอกสารสิทธิ์ทุกคนรู้ดีว่าในพื้นที่ อ.วังน้ำเขียวไม่มีเอกสารสิทธิ์ทั้งนั้น ไม่ว่าจะวัดหรือโรงเรียน เป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นการซื้อขาย ภบท.5 ที่เปลี่ยนมือได้ ไม่เหมือน สปก.และการซื้อขายใบ ภบท.5 ก็มีผู้นำท้องถิ่นลงลายมือชื่อรับรอง และมีการเปลี่ยนมือกันมาแล้วหลายทอด "ผู้ประกอบการกล่าว