ASTVผู้จัดการรายวัน - ทริสประเมินอสังหาฯครึ่งปีหลังยังไปได้ รับแรงหนุนนโยบายสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยปลอดดบ. แต่หากเงินเฟ้อพุ่งเกิน 6% ดบ.ขาขยับตามอาจกดดันตลาดซึมยาว ส่วน 12 บริษัทที่จัดอันดับเครดิตโดยทริสยังมีประเด็นกังวลกรณีภาระหนี้
ทริสเรทติ้ง ประเมินว่า ทิศทางอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 จะยังคงเติบโดต่อเนื่องต่อไปจากปัจจัยเอื้ออำนวยต่าง ๆ อาทิ ภาวะเศรษฐกิจที่แข็งแรง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น และการเมืองที่มีเสถียรภาพมากขึ้น ในขณะที่ตลาดทาวน์เฮ้าส์น่าจะเติบโตในระดับที่ต่ำกว่าตลาดโดยรวมเมื่อพิจารณาจากจำนวนหน่วยเหลือขายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วนยอดขายคอนโดมิเนียมในปี 2554 น่าจะอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2553 การเติบโตของตลาดคอนโดมิเนียมน่าจะได้รับแรงหนุนจากสินค้า 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มระดับราคาต่ำกว่า 2 ล้านบาทในทำเลที่เป็นย่านชุมชนหนาแน่น และกลุ่มระดับราคาสูงกว่า 5 ล้านบาทในทำเลที่ใกล้เส้นทางระบบรถไฟฟ้า ท้งนี้ ทริสเรทติ้งมองว่าตลาดที่อยู่อาศัยน่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงในตลาดแนวราบ และการลดลงของกลุ่มผู้ซื้อเพื่อเก็งกำไรในตลาดคอนโดมิเนียม
นอกจากนี้ ในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า รัฐบาลใหม่อาจประกาศใช้นโยบาย 2 ประการที่มีผลเกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยตรง นโยบายประการแรกที่เกี่ยวกับ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยปลอดดอกเบี้ยนั้น ทริสเรทติ้งมีความเห็นว่าน่าจะเป็นปัจจัยกระตุ้นความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยได้เพียงในระยะสั้น ส่วนนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะเพิ่มแรงกดดันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อต้นทุนค่าก่อสร้าง โดยคาดว่าต้นทุนก่อสร้างจะปรับสูงขึ้นประมาณ 2-5% อย่างไรก็ตาม ในระยะปานกลาง ผู้ประกอบการน่าจะสามารถปรับรูปแบบสินค้าและราคาให้สอดคล้องกับค่าแรงที่สูงขึ้นได้ โดยที่ผ่านมา ผู้ประกอบการก็สามารถรักษาระดับอัตรากำไรให้มีความสม่ำเสมอได้ท่ามกลางราคาที่ดินและวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งจะไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย แต่หากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นเกินกว่า 6% ประกอบกับนโยบายการเงินที่มีความเข้มงวดมากขึ้น ทริสเรทติ้งเชื่อว่าโอกาสที่อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์จะเผชิญกับภาวะถดถอยน่าจะมีความเป็นไปได้สูง โดยเฉพาะในกลุ่มที่อยู่อาศัยราคาต่ำ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์หลายรายมีต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งผู้ประกอบการเหล่านี้อาจต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างมากหากสภาวะตลาดถดถอยอย่างรุนแรง
สำหรับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตจากทริสเรทติ้งนั้นยังมีประเด็นกังวลในเรื่องของภาระหนี้ โดยภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการแข่งขันซื้อที่ดินและการเพิ่มขึ้นของสินค้าที่อยู่อาศัยคงเหลือที่มีมาตั้งแต่ปี 2553 ทริสเรทติ้งคาดว่าภาระหนี้ของผู้ประกอบการเหล่านี้จะยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องไปจนถึงปี 2555 เป็นอย่างน้อยเมื่อพิจารณาจากระดับการขายในปัจจุบัน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการน่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 2.7 ปีในการระบายสินค้าคงเหลือที่มีอยู่ทั้งหมด ในช่วงไตรมาสข้างหน้า ทริสเรทติ้งคาดหวังว่าผู้ประกอบการดังกล่าวจะให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างงบดุลให้แข็งแรงยิ่งขึ้นเพื่อเสริมสถานะอันดับเครดิตของตนให้กลับมาดีขึ้น
ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับการจัดอันดีบเครดิตโดยทริสเรทติ้ง ได้แก่ บริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (QH) A-/Stable, บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (Noble) BBB+/Stable, บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) (PRIN) BBB-/Stable, บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) (PF) BBB-/Stable, บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) (PS)
A/Stable, บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) (MK) BBB+/Stable, บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) (UV) BBB/Stable, บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) (LALIN) BBB/Positive ,บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (LH) A/Stable ,บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) (SPALI) A-/Stable , บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) (SIRI) BBB+/Stable ,บริษัท เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (AP) A-/Stable และบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SC) BBB+/Stable
ทริสเรทติ้ง ประเมินว่า ทิศทางอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 จะยังคงเติบโดต่อเนื่องต่อไปจากปัจจัยเอื้ออำนวยต่าง ๆ อาทิ ภาวะเศรษฐกิจที่แข็งแรง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น และการเมืองที่มีเสถียรภาพมากขึ้น ในขณะที่ตลาดทาวน์เฮ้าส์น่าจะเติบโตในระดับที่ต่ำกว่าตลาดโดยรวมเมื่อพิจารณาจากจำนวนหน่วยเหลือขายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วนยอดขายคอนโดมิเนียมในปี 2554 น่าจะอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2553 การเติบโตของตลาดคอนโดมิเนียมน่าจะได้รับแรงหนุนจากสินค้า 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มระดับราคาต่ำกว่า 2 ล้านบาทในทำเลที่เป็นย่านชุมชนหนาแน่น และกลุ่มระดับราคาสูงกว่า 5 ล้านบาทในทำเลที่ใกล้เส้นทางระบบรถไฟฟ้า ท้งนี้ ทริสเรทติ้งมองว่าตลาดที่อยู่อาศัยน่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงในตลาดแนวราบ และการลดลงของกลุ่มผู้ซื้อเพื่อเก็งกำไรในตลาดคอนโดมิเนียม
นอกจากนี้ ในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า รัฐบาลใหม่อาจประกาศใช้นโยบาย 2 ประการที่มีผลเกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยตรง นโยบายประการแรกที่เกี่ยวกับ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยปลอดดอกเบี้ยนั้น ทริสเรทติ้งมีความเห็นว่าน่าจะเป็นปัจจัยกระตุ้นความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยได้เพียงในระยะสั้น ส่วนนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะเพิ่มแรงกดดันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อต้นทุนค่าก่อสร้าง โดยคาดว่าต้นทุนก่อสร้างจะปรับสูงขึ้นประมาณ 2-5% อย่างไรก็ตาม ในระยะปานกลาง ผู้ประกอบการน่าจะสามารถปรับรูปแบบสินค้าและราคาให้สอดคล้องกับค่าแรงที่สูงขึ้นได้ โดยที่ผ่านมา ผู้ประกอบการก็สามารถรักษาระดับอัตรากำไรให้มีความสม่ำเสมอได้ท่ามกลางราคาที่ดินและวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งจะไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย แต่หากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นเกินกว่า 6% ประกอบกับนโยบายการเงินที่มีความเข้มงวดมากขึ้น ทริสเรทติ้งเชื่อว่าโอกาสที่อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์จะเผชิญกับภาวะถดถอยน่าจะมีความเป็นไปได้สูง โดยเฉพาะในกลุ่มที่อยู่อาศัยราคาต่ำ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์หลายรายมีต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งผู้ประกอบการเหล่านี้อาจต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างมากหากสภาวะตลาดถดถอยอย่างรุนแรง
สำหรับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตจากทริสเรทติ้งนั้นยังมีประเด็นกังวลในเรื่องของภาระหนี้ โดยภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการแข่งขันซื้อที่ดินและการเพิ่มขึ้นของสินค้าที่อยู่อาศัยคงเหลือที่มีมาตั้งแต่ปี 2553 ทริสเรทติ้งคาดว่าภาระหนี้ของผู้ประกอบการเหล่านี้จะยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องไปจนถึงปี 2555 เป็นอย่างน้อยเมื่อพิจารณาจากระดับการขายในปัจจุบัน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการน่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 2.7 ปีในการระบายสินค้าคงเหลือที่มีอยู่ทั้งหมด ในช่วงไตรมาสข้างหน้า ทริสเรทติ้งคาดหวังว่าผู้ประกอบการดังกล่าวจะให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างงบดุลให้แข็งแรงยิ่งขึ้นเพื่อเสริมสถานะอันดับเครดิตของตนให้กลับมาดีขึ้น
ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับการจัดอันดีบเครดิตโดยทริสเรทติ้ง ได้แก่ บริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (QH) A-/Stable, บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (Noble) BBB+/Stable, บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) (PRIN) BBB-/Stable, บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) (PF) BBB-/Stable, บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) (PS)
A/Stable, บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) (MK) BBB+/Stable, บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) (UV) BBB/Stable, บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) (LALIN) BBB/Positive ,บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (LH) A/Stable ,บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) (SPALI) A-/Stable , บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) (SIRI) BBB+/Stable ,บริษัท เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (AP) A-/Stable และบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SC) BBB+/Stable