ASTVผู้จัดการรายวัน - กกร.งัดมาตรการหนักเป็นครั้งแรก กำหนดราคาขายหมูสูงสุด ตั้งแต่หมูเป็น หมูชำแหละและเนื้อแดง หน้าเขียงไม่เกินโลละ 152 บาท เหนือและอีสานบวก 5 ใต้บวก 10 บาท ฝ่าฝืนเจอโทษปรับ 5 แสน คุก 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนการส่งออกต้องขออนุญาต พร้อมแจ้งการครอบครอบตั้งแต่ 500 ตัวขึ้นไป แจ้งการขนย้ายเกิน 10 ตัวขึ้นไป
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) เพื่อแก้ไขปัญหาเนื้อหมูมีราคาแพง วานนี้ (5 ส.ค.) ว่า ที่ประชุมได้กำหนดมาตรการในการดูแลราคาเนื้อหมูทั้งระบบ โดยได้กำหนดราคาขั้นสูงเป็นครั้งแรกเพื่อควบคุมหมูตลอดสายการตลาดทั้งหมด ตั้งแต่หมูมีชีวิตหน้าฟาร์ม หมูชำแหละ และหมูหน้าเขียง และกำหนดให้มีการปิดป้ายแสดงราคาหมูทั้งราคาขายหน้าฟาร์ม ราคาขายปลีกให้ชัดเจนด้วย ซึ่งถือเป็นมาตรการหนัก เพราะที่ผ่านมา ไม่เคยใช้กับสินค้ารายการอื่น โดยมาตรการในเรื่องราคานี้ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้ (6 ส.ค.) เป็นต้นไป
ทั้งนี้ กกร.ได้กำหนดราคาหมูมีชีวิตหน้าฟาร์ม สำหรับพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ราคาไม่เกินกิโลกรัม (กก.) ละ 81 บาท ราคาขายส่งหมูชำแหละ (หมูซีก) ไม่เกินกก.ละ 93 บาท ราคาขายส่งชิ้นส่วนหมูเนื้อแดง (ไหล่ สะโพก) ไม่เกินกก.ละ 137 บาท และราคาขายปลีกหมูเนื้อแดง (ไหล่ สะโพก) ไม่เกินกก.ละ 152 บาท
ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หมูมีชีวิตหน้าฟาร์ม กก.ละ 85 บาท ขายส่งหมูชำแหละ กก.ละ 97 บาท ขายส่งชิ้นส่วนหมูเนื้อแดง กก.ละ 142 บาท และขายปลีกหมูเนื้อแดง กก.ละ 157 บาท ส่วนภาคใต้ หมูมีชีวิตหน้าฟาร์ม กก.ละ 87 บาท ขายส่งหมูชำแหละ กก.ละ 99 บาท ขายส่งชิ้นส่วนหมูเนื้อแดง กก.ละ 147 บาท และขายปลีกหมูเนื้อแดง กก.ละ 162 บาท
“เป็นครั้งแรกที่กำหนดราคาทุกช่องการตลาด เพื่อทำให้ทุกฝ่ายอยู่ได้ ระบบหมูอยู่ได้ และให้กรมการค้าภายในติดตามราคาหมูอย่างใกล้ชิด และประกาศราคาทุก 7 วัน โดยจะใช้มาตรการนี้ไปจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด ซึ่งอาจจะ 2 เดือน 3 เดือน 4 เดือน หรือมากกว่า แต่ถ้าดีขึ้น หมูมีชีวิตเข้าสู่ระบบมากขึ้น จากที่ตอนนี้ลดลงเหลือเพียงวันละ 32,000 ตัว หรือลดลง 25-30% ก็จะรีบเรียกประชุมกกร. เพื่อพิจารณาปรับปรุงมาตรการทันที”นายยรรยงกล่าว
สำหรับผู้ที่มีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่กกร.กำหนดในเรื่องราคา เช่น การขายเกินราคาที่กำหนดไว้ จะถูกจับกุมและดำเนินคดี โดยมีโทษสูงสุดปรับไม่เกิน 5 แสนบาท จำคุก 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนการไม่ปิดป้ายแสดงราคาปรับ 1 หมื่นบาท
นายยรรยงกล่าวว่า กกร.ได้กำหนดมาตรการดูแลปริมาณหมู เพื่อไม่ให้มีปัญหาการขาดแคลน โดยได้กำหนดมาตรการให้ผู้ที่จะทำการส่งออกหมูไปยังต่างประเทศ ต้องขออนุญาตจากกรมการค้าภายใน ส่วนในต่างจังหวัดให้ขออนุญาตที่ประธานคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการในระดับจังหวัด ซึ่งก็คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด และต้องได้รับการอนุญาตก่อนถึงจะส่งออกได้ หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 5 แสนบาท จำคุก 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้ กำหนดให้ผู้ครอบครองสุกรมีชีวิตทุกประเภท ตั้งแต่ 500 ตัวขึ้นไป และเนื้อซากหมูเกิน 5 ตัน จะต้องแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บเป็นประจำทุก 15 วัน โดยให้แจ้งภายใน 7 วันถัดไป
ส่วนมาตรการดูแลการขนย้าย ได้มีการปรับปรุงให้เข้มงวดมากขึ้น จากเดิมที่กำหนดให้การขนย้ายหมูน้ำหนัก 80 กก./ตัว ครั้งละ 10 ตัวขึ้นไป จะต้องขออนุญาต เป็นการขนย้ายหมูตั้งแต่ 10 ตัวขึ้นไป โดยไม่กำหนดน้ำหนัก ไม่ว่าจะเป็นหมูเล็กหมูใหญ่ จะต้องขออนุญาตทั้งหมด เพื่อที่จะดูแลปริมาณหมูทั้งระบบ
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบเนื้อหมูมีราคาแพง กรมการค้าภายในได้ร่วมกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ จัดทำหมูธงฟ้าจำหน่ายในราคากก.ละ 120 บาท โดยจะจำหน่ายในตลาดสำคัญๆ และที่ค้าภายในจังหวัดทั่วประเทศ.
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) เพื่อแก้ไขปัญหาเนื้อหมูมีราคาแพง วานนี้ (5 ส.ค.) ว่า ที่ประชุมได้กำหนดมาตรการในการดูแลราคาเนื้อหมูทั้งระบบ โดยได้กำหนดราคาขั้นสูงเป็นครั้งแรกเพื่อควบคุมหมูตลอดสายการตลาดทั้งหมด ตั้งแต่หมูมีชีวิตหน้าฟาร์ม หมูชำแหละ และหมูหน้าเขียง และกำหนดให้มีการปิดป้ายแสดงราคาหมูทั้งราคาขายหน้าฟาร์ม ราคาขายปลีกให้ชัดเจนด้วย ซึ่งถือเป็นมาตรการหนัก เพราะที่ผ่านมา ไม่เคยใช้กับสินค้ารายการอื่น โดยมาตรการในเรื่องราคานี้ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้ (6 ส.ค.) เป็นต้นไป
ทั้งนี้ กกร.ได้กำหนดราคาหมูมีชีวิตหน้าฟาร์ม สำหรับพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ราคาไม่เกินกิโลกรัม (กก.) ละ 81 บาท ราคาขายส่งหมูชำแหละ (หมูซีก) ไม่เกินกก.ละ 93 บาท ราคาขายส่งชิ้นส่วนหมูเนื้อแดง (ไหล่ สะโพก) ไม่เกินกก.ละ 137 บาท และราคาขายปลีกหมูเนื้อแดง (ไหล่ สะโพก) ไม่เกินกก.ละ 152 บาท
ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หมูมีชีวิตหน้าฟาร์ม กก.ละ 85 บาท ขายส่งหมูชำแหละ กก.ละ 97 บาท ขายส่งชิ้นส่วนหมูเนื้อแดง กก.ละ 142 บาท และขายปลีกหมูเนื้อแดง กก.ละ 157 บาท ส่วนภาคใต้ หมูมีชีวิตหน้าฟาร์ม กก.ละ 87 บาท ขายส่งหมูชำแหละ กก.ละ 99 บาท ขายส่งชิ้นส่วนหมูเนื้อแดง กก.ละ 147 บาท และขายปลีกหมูเนื้อแดง กก.ละ 162 บาท
“เป็นครั้งแรกที่กำหนดราคาทุกช่องการตลาด เพื่อทำให้ทุกฝ่ายอยู่ได้ ระบบหมูอยู่ได้ และให้กรมการค้าภายในติดตามราคาหมูอย่างใกล้ชิด และประกาศราคาทุก 7 วัน โดยจะใช้มาตรการนี้ไปจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด ซึ่งอาจจะ 2 เดือน 3 เดือน 4 เดือน หรือมากกว่า แต่ถ้าดีขึ้น หมูมีชีวิตเข้าสู่ระบบมากขึ้น จากที่ตอนนี้ลดลงเหลือเพียงวันละ 32,000 ตัว หรือลดลง 25-30% ก็จะรีบเรียกประชุมกกร. เพื่อพิจารณาปรับปรุงมาตรการทันที”นายยรรยงกล่าว
สำหรับผู้ที่มีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่กกร.กำหนดในเรื่องราคา เช่น การขายเกินราคาที่กำหนดไว้ จะถูกจับกุมและดำเนินคดี โดยมีโทษสูงสุดปรับไม่เกิน 5 แสนบาท จำคุก 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนการไม่ปิดป้ายแสดงราคาปรับ 1 หมื่นบาท
นายยรรยงกล่าวว่า กกร.ได้กำหนดมาตรการดูแลปริมาณหมู เพื่อไม่ให้มีปัญหาการขาดแคลน โดยได้กำหนดมาตรการให้ผู้ที่จะทำการส่งออกหมูไปยังต่างประเทศ ต้องขออนุญาตจากกรมการค้าภายใน ส่วนในต่างจังหวัดให้ขออนุญาตที่ประธานคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการในระดับจังหวัด ซึ่งก็คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด และต้องได้รับการอนุญาตก่อนถึงจะส่งออกได้ หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 5 แสนบาท จำคุก 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้ กำหนดให้ผู้ครอบครองสุกรมีชีวิตทุกประเภท ตั้งแต่ 500 ตัวขึ้นไป และเนื้อซากหมูเกิน 5 ตัน จะต้องแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บเป็นประจำทุก 15 วัน โดยให้แจ้งภายใน 7 วันถัดไป
ส่วนมาตรการดูแลการขนย้าย ได้มีการปรับปรุงให้เข้มงวดมากขึ้น จากเดิมที่กำหนดให้การขนย้ายหมูน้ำหนัก 80 กก./ตัว ครั้งละ 10 ตัวขึ้นไป จะต้องขออนุญาต เป็นการขนย้ายหมูตั้งแต่ 10 ตัวขึ้นไป โดยไม่กำหนดน้ำหนัก ไม่ว่าจะเป็นหมูเล็กหมูใหญ่ จะต้องขออนุญาตทั้งหมด เพื่อที่จะดูแลปริมาณหมูทั้งระบบ
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบเนื้อหมูมีราคาแพง กรมการค้าภายในได้ร่วมกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ จัดทำหมูธงฟ้าจำหน่ายในราคากก.ละ 120 บาท โดยจะจำหน่ายในตลาดสำคัญๆ และที่ค้าภายในจังหวัดทั่วประเทศ.