“พาณิชย์” บีบเนื้อหมูลงราคาอีก 5 บาท ออกราคาแนะนำห้ามขายเกิน 130-140 บาท ทั่วประเทศ “ยรรยง” คาดไม่เกิน ก.ค.นี้ สถานการณ์ดีขึ้น เล็งคุมอาหารสำเร็จรูปอีก หวังสกัดเงินเฟ้อไม่ให้พุ่ง เกษตรกรโวย “มาร์ค” หาเสียงลดราคาไข่ ทำเดือดร้อนหนัก ถูกพ่อค้ากดราคา
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังหารือกับผู้ประกอบการหมูทั้งระบบ วานนี้ (7 มิ.ย.) ว่า ได้ขอความร่วมมือฟาร์มหมู โรงชำแหละ และผู้ผลิตรายใหญ่ เช่น ซี.พี.เบทาโกร ให้จำหน่ายเนื้อหมูทั้งระบบตามราคาแนะนำที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด หลังจากที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้สอบถามกระทรวงพาณิชย์ถึงสาเหตุที่ราคาเนื้อหมูบางพื้นที่ขายแพงกว่าราคาควบคุมมาก จนทำให้ประชาชนเดือดร้อน เช่น หมูเป็นหน้าฟาร์มกำหนดราคาจำหน่าย 69-70 บาท/กก.บางพื้นที่จำหน่าย 71-72 บาท/กก.ส่งผลให้ราคาขายปลีกเนื้อหมูต้องปรับเพิ่มขึ้นตาม
“ได้ขอให้กรมการค้าภายในส่งเจ้าหน้าที่ลงตรวจสอบราคาเนื้อหมูทั่วประเทศ หากผู้ประกอบการรายใดขายเนื้อหมูเกินราคาแนะนำที่กำหนด เบื้องต้นก็จะเข้าไปตักเตือนก่อน แต่หากยังพบว่า จงใจขายเกินราคา ก็จะใช้มาตรการตามกฎหมาย ตามมาตรา 29 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพ.ศ. 2542 ปรับ 1.4 แสนบาท มีโทษจำคุก 7 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ จัดการต่อไป” นายยรรยง กล่าว
สำหรับราคาแนะนำล่าสุด กรมการค้าภายใน ประกาศปรับลดราคาขายปลีกเนื้อหมูลงอีก 5 บาท มีผลเมื่อวันที่ 7 มิ.ย.โดยราคาขายปลีกหมูเนื้อแดง (สะโพก) กรุงเทพฯ ภาคกลาง ตะวันออก และตะวันตก ไม่เกิน กก.ละ 130 บาท ภาคเหนือ และอีสาน 135 บาท ส่วนภาคใต้ 140 บาท ส่วนราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มอยู่ที่ กก.ละ 69-70 บาท
ทั้งนี้ คาดว่า สถานการณ์ราคาหมูจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงต้นเดือน ก.ค.นี้ เป็นต้นไป หลังจากที่ผลผลิตเริ่มมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่เย็นลง และสัดส่วนการแท้งของหมูในโรคพีอีดีมีอัตราสูญเสียน้อยลง
นายยรรยง กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องเข้าไปดูแลเนื้อหมู เพราะกลุ่มเนื้อสัตว์มีสัดส่วนในการคำนวณเงินเฟ้อสูงถึง 4.43% ซึ่งส่งผลกระทบไปยังกลุ่มอาหารสำเร็จรูปที่มีสัดส่วนคำนวณเงินเฟ้อ 15.75% หากไม่ดูแลทั้งสองกลุ่ม อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ขยายเกินเป้าหมายที่กำหนด 3.2-3.7%
ดังนั้น เมื่อราคาหมูไม่ปรับขึ้นเกินไปกว่านี้ ขณะที่ราคาเนื้อไก่มีทิศทางลดลงแล้ว 1-2 บาท โดยราคาไก่มีชีวิตราคาอยู่ที่กก.ละ 55 บาท ส่วนไก่สดทั้งตัวราคาอยู่ที่กก. 70 บาท อีกทั้งราคาไข่ไก่ในตลาดปรับตัวลดลง ทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการในกลุ่มอาหารสำเร็จรูปไม่สูงขึ้น ก็ควรจำหน่ายในราคาที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม กรมการค้าภายในจะเชิญผู้ประกอบการกลุ่มอาหารสำเร็จรูปมาหารือเพื่อหามาตรการในการแก้ไขปัญหาอาหารสำเร็จรูปมีราคาแพง ในวันที่ 10 มิ.ย.นี้ เบื้องต้นให้เพิ่มทางเลือกเมนูอาหาร 25 บาทในศูนย์อาหารของห้างค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า และศูนย์แสดงสินค้า ที่มีประชาชนเข้าไปใช้บริการเป็นจำนวนมาก
นายกิดดิวงค์ สมบูญธรรม เลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า ราคาอาหารหมูในเดือนพ.ค. มีการปรับราคาลงจากเดือนเม.ย.เล็กน้อย เช่น ราคาอาหารลูกหมู ขนาด 7-20 กก. อยู่ที่ 18.90 บาท ลดจาก 19.12 บาท ราคาอาหารหมูเล็กขนาด 20-40 กก. อยู่ที่ 12.62 บาท จาก 13.01 บาท ราคาหมูขุนน้ำหนัก 40-70 กก.อยู่ที่ 12.68 บาท จาก 12.99 บาท และราคาหมูขุนขนาด 70-100 กก.อยู่ที่ 12.41 บาท จาก 12.62 บาท เป็นต้น เชื่อว่า สถานการณ์ราคาหมูจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติใน 1-2 เดือนข้างหน้า
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า เมื่อช่วงเช้าวานนี้ (7 มิ.ย.) ตัวแทนสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่จากชลบุรี แปดริ้ว เชียงใหม่-ลำพูน และเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ทั่วประเทศราว 100 คน ได้รวมตัวกันยื่นหนังสือถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อร้องเรียนการหาเสียงด้วยการกดราคาไข่ไก่ ได้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ทั่วประเทศ
นายบุญยง ศรีไตรราศรี ประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรี กล่าวว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่เริ่มเข้าสู่ภาวะขาดทุนแล้ว เพราะปัจจุบันขายไข่คละใหญ่ฟองละ 2.80 บาท ไข่คละกลางฟองละ 2.50 บาท ไข่คละเล็กฟองละ 2.30 บาท เฉลี่ยแล้วขายได้ในราคา 2.50 บาทเท่านั้น แต่ต้นทุนการผลิตไข่ไก่อยู่ที่ฟองละ 2.60-2.70 บาท และคาดว่าแนวโน้มผลผลิตไข่ไก่จะล้นตลาดในปลายปีนี้ จากการเปิดนำเข้าเสรีแม่ไก่ไข่ของรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งจะทำให้ราคาไข่ไก่ตกต่ำลงไปอีก
“การหาเสียงของนายกรัฐมนตรีและให้สัมภาษณ์สื่อถึงราคาไข่ไก่นั้น ทำให้ตลาดเกิดความสับสน และกำลังส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ เนื่องจากพ่อค้าคนกลางนำมาใช้อ้างในการบีบราคาไข่ไก่หน้าฟาร์มให้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น” นายบุญยง กล่าว
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังหารือกับผู้ประกอบการหมูทั้งระบบ วานนี้ (7 มิ.ย.) ว่า ได้ขอความร่วมมือฟาร์มหมู โรงชำแหละ และผู้ผลิตรายใหญ่ เช่น ซี.พี.เบทาโกร ให้จำหน่ายเนื้อหมูทั้งระบบตามราคาแนะนำที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด หลังจากที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้สอบถามกระทรวงพาณิชย์ถึงสาเหตุที่ราคาเนื้อหมูบางพื้นที่ขายแพงกว่าราคาควบคุมมาก จนทำให้ประชาชนเดือดร้อน เช่น หมูเป็นหน้าฟาร์มกำหนดราคาจำหน่าย 69-70 บาท/กก.บางพื้นที่จำหน่าย 71-72 บาท/กก.ส่งผลให้ราคาขายปลีกเนื้อหมูต้องปรับเพิ่มขึ้นตาม
“ได้ขอให้กรมการค้าภายในส่งเจ้าหน้าที่ลงตรวจสอบราคาเนื้อหมูทั่วประเทศ หากผู้ประกอบการรายใดขายเนื้อหมูเกินราคาแนะนำที่กำหนด เบื้องต้นก็จะเข้าไปตักเตือนก่อน แต่หากยังพบว่า จงใจขายเกินราคา ก็จะใช้มาตรการตามกฎหมาย ตามมาตรา 29 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพ.ศ. 2542 ปรับ 1.4 แสนบาท มีโทษจำคุก 7 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ จัดการต่อไป” นายยรรยง กล่าว
สำหรับราคาแนะนำล่าสุด กรมการค้าภายใน ประกาศปรับลดราคาขายปลีกเนื้อหมูลงอีก 5 บาท มีผลเมื่อวันที่ 7 มิ.ย.โดยราคาขายปลีกหมูเนื้อแดง (สะโพก) กรุงเทพฯ ภาคกลาง ตะวันออก และตะวันตก ไม่เกิน กก.ละ 130 บาท ภาคเหนือ และอีสาน 135 บาท ส่วนภาคใต้ 140 บาท ส่วนราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มอยู่ที่ กก.ละ 69-70 บาท
ทั้งนี้ คาดว่า สถานการณ์ราคาหมูจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงต้นเดือน ก.ค.นี้ เป็นต้นไป หลังจากที่ผลผลิตเริ่มมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่เย็นลง และสัดส่วนการแท้งของหมูในโรคพีอีดีมีอัตราสูญเสียน้อยลง
นายยรรยง กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องเข้าไปดูแลเนื้อหมู เพราะกลุ่มเนื้อสัตว์มีสัดส่วนในการคำนวณเงินเฟ้อสูงถึง 4.43% ซึ่งส่งผลกระทบไปยังกลุ่มอาหารสำเร็จรูปที่มีสัดส่วนคำนวณเงินเฟ้อ 15.75% หากไม่ดูแลทั้งสองกลุ่ม อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ขยายเกินเป้าหมายที่กำหนด 3.2-3.7%
ดังนั้น เมื่อราคาหมูไม่ปรับขึ้นเกินไปกว่านี้ ขณะที่ราคาเนื้อไก่มีทิศทางลดลงแล้ว 1-2 บาท โดยราคาไก่มีชีวิตราคาอยู่ที่กก.ละ 55 บาท ส่วนไก่สดทั้งตัวราคาอยู่ที่กก. 70 บาท อีกทั้งราคาไข่ไก่ในตลาดปรับตัวลดลง ทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการในกลุ่มอาหารสำเร็จรูปไม่สูงขึ้น ก็ควรจำหน่ายในราคาที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม กรมการค้าภายในจะเชิญผู้ประกอบการกลุ่มอาหารสำเร็จรูปมาหารือเพื่อหามาตรการในการแก้ไขปัญหาอาหารสำเร็จรูปมีราคาแพง ในวันที่ 10 มิ.ย.นี้ เบื้องต้นให้เพิ่มทางเลือกเมนูอาหาร 25 บาทในศูนย์อาหารของห้างค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า และศูนย์แสดงสินค้า ที่มีประชาชนเข้าไปใช้บริการเป็นจำนวนมาก
นายกิดดิวงค์ สมบูญธรรม เลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า ราคาอาหารหมูในเดือนพ.ค. มีการปรับราคาลงจากเดือนเม.ย.เล็กน้อย เช่น ราคาอาหารลูกหมู ขนาด 7-20 กก. อยู่ที่ 18.90 บาท ลดจาก 19.12 บาท ราคาอาหารหมูเล็กขนาด 20-40 กก. อยู่ที่ 12.62 บาท จาก 13.01 บาท ราคาหมูขุนน้ำหนัก 40-70 กก.อยู่ที่ 12.68 บาท จาก 12.99 บาท และราคาหมูขุนขนาด 70-100 กก.อยู่ที่ 12.41 บาท จาก 12.62 บาท เป็นต้น เชื่อว่า สถานการณ์ราคาหมูจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติใน 1-2 เดือนข้างหน้า
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า เมื่อช่วงเช้าวานนี้ (7 มิ.ย.) ตัวแทนสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่จากชลบุรี แปดริ้ว เชียงใหม่-ลำพูน และเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ทั่วประเทศราว 100 คน ได้รวมตัวกันยื่นหนังสือถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อร้องเรียนการหาเสียงด้วยการกดราคาไข่ไก่ ได้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ทั่วประเทศ
นายบุญยง ศรีไตรราศรี ประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรี กล่าวว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่เริ่มเข้าสู่ภาวะขาดทุนแล้ว เพราะปัจจุบันขายไข่คละใหญ่ฟองละ 2.80 บาท ไข่คละกลางฟองละ 2.50 บาท ไข่คละเล็กฟองละ 2.30 บาท เฉลี่ยแล้วขายได้ในราคา 2.50 บาทเท่านั้น แต่ต้นทุนการผลิตไข่ไก่อยู่ที่ฟองละ 2.60-2.70 บาท และคาดว่าแนวโน้มผลผลิตไข่ไก่จะล้นตลาดในปลายปีนี้ จากการเปิดนำเข้าเสรีแม่ไก่ไข่ของรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งจะทำให้ราคาไข่ไก่ตกต่ำลงไปอีก
“การหาเสียงของนายกรัฐมนตรีและให้สัมภาษณ์สื่อถึงราคาไข่ไก่นั้น ทำให้ตลาดเกิดความสับสน และกำลังส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ เนื่องจากพ่อค้าคนกลางนำมาใช้อ้างในการบีบราคาไข่ไก่หน้าฟาร์มให้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น” นายบุญยง กล่าว