ASTVผู้จัดการรายวัน - กรมการค้าภายในชง 3 มาตรการระยะสั้นดูแลราคาหมู ล่าสุดบุกจับกุมผู้เลี้ยงกักตุนและขายเกินราคา ที่ฉะเชิงเทราแล้ว ขณะที่ภาคใต้ร้านอาหารบางรายต้องหยุดกิจการ หลังเขียงหมูประกาศหยุดขาย ด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมการค้าภายในร่วมกับกองปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) ตรวจสอบผู้เลี้ยงสุกรรายใหญ่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มีสุกรมีชีวิตในครอบครองหลายพันตัว แต่ปฏิเสธการจำหน่ายแก่ลูกค้าที่จะซื้อนำไปชำแหละ อีกทั้งยังจำหน่ายเกินราคาที่กรมการค้าภายในกำหนดที่ราคากิโลกรัมละ 79 บาท โดยจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 83 บาท กรมจึงได้ดำเนินคดี 2 ข้อหา คือ ปฏิเสธการจำหน่ายและกักตุนสินค้า และจงใจจำหน่ายราคาสูงเกินสมควร มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และได้ควบคุมผู้เลี้ยงสุกรดังกล่าวส่งพนักงานสอบสวน สภอ.แปลงยาว อ.แปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อทำการสอบสวนต่อไป
นอกจากนี้ยังได้ประสานกรมสรรพากรและกรมปศุสัตว์ เพื่อตรวจสอบการหลีกเลี่ยงภาษีเนื่องจากพบว่ามีการออกเอกสารรับเงินต่ำกว่าราคาที่จำหน่ายจริง และให้กรมปศุสัตว์ สุ่มเก็บตัวอย่างปัสสาวะสุกรไปตรวจสอบเพื่อหาสารเร่งเนื้อแดงอีกด้วย
ขณะที่การประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการในวันนี้ ( 5 ส.ค. ) ว่า กรมฯเตรียมเสนอมาตรการดูแลหมู 3 มาตรการให้ที่ประชุมพิจารณา คือ 1.ผู้ส่งออกหมูต้องขออนุญาตกับกรมการค้าภายในก่อนการส่งออก 2.กรมฯจะกำหนดมาตรการดูแลราคาหมูตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง คือตั้งแต่หมูเป็นจนถึงหมูเนื้อแดง และ 3.ผู้ประกอบการเลี้ยงหมูจะต้องแจ้งปริมาณหมูให้ทราบเป็นระยะ
ส่วนมาตรการราคาหมูที่จะควบคุมดูแล "หมูเป็น" ภาคกลางจะให้จำหน่ายไม่เกิน 80-81 บาท/ก.ก., ภาคเหนือและอีสาน จำหน่ายหมูเป็นไม่เกิน 85 บาท/ก.ก.และภาคใต้ ไม่เกิน 87 บาท/ก.ก. ส่วนราคาหมูเนื้อแดง ภาคกลางให้จำหน่ายไม่เกิน 150-152 บาท/ก.ก., ภาคเหนือและอีสาน จำหน่ายไม่เกิน 157 บาท/ก.ก. และภาคใต้จำหน่ายไม่เกิน 162 บาท/ก.ก. ทั้งนี้หากผู้บริโภคพบว่ามีการจำหน่ายหมูแพงให้แจ้งมาที่กรมการค้าภายใน และหากมีการลักลอบส่งออกหมูโดยผิดกฏหมาย จะมีโทษจำคุกอย่างน้อย 7 ปี ปรับ 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดยมาตรการทั้งหมดเป็นเพียงมาตรการระยะสั้น 6 เดือนจนกว่าปัญหาราคาหมูแพงจะคลี่คลาย และหากที่ประชุมเห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 ส.ค.เป็นต้นไป เมื่อหมดมาตรการจะประชุมหารือกันอีกครั้ง
**ปิดเขียงหมูตลาดหาดใหญ่ กระทบรายย่อย
นางพิศมร สุปิยชัย เจ้าของร้านแสงศรี ตี๋ ซึ่งจำหน่ายข้าวหมู หมูกรอบ ขาหมู หน้าเป็ด และหน้าไก่ ขนาดตึกแถว 2 คูหา กล่าวว่า ก่อนที่เขียงหมูจะหยุดจำหน่ายนั้นได้มีการแจ้งลูกค้าล่วงหน้า และได้แช่แข็งเนื้อหมูเพื่อส่งให้กับทางร้านปกติ ประกอบการทางร้านได้มีสต๊อกเนื้อหมูอยู่แล้วเช่นกัน จึงสามารถเปิดร้านได้ตามปกติจนถึงวันจันทร์หน้า ดังนั้น แม้ว่าแต่ละวันจะต้องใช้หมูเป็นวัตถุดิบเกือบ 100 กิโลกรัม ก็ไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าว
ในขณะที่ร้านอาหารรายย่อย และผู้บริโภคในครัวเรือนที่ไม่ทราบว่าจะมีการหยุดประท้วง กลายเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงต่อการปิดเขียงหมูเป็นเวลา 5 วัน จำเป็นต้องซื้อเนื้อหมูในห้างสรรพสินค้าที่มาจากฟาร์มของบริษัทขนาดใหญ่แทน แม้ว่าจะมีการจำกัดโควตาลดลงเหลือคนละ 2 กิโลกรัมก็ตาม และตั้งข้อสังเกตว่า การประท้วงครั้งนี้น่าจะทำขึ้นเพื่อต่อรองผู้บริโภคขอปรับขึ้นราคามากกว่า ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้ก็มิใช่ครั้งแรกที่เพิ่งเคยเกิดขึ้นในหาดใหญ่
**ส.คุ้มครองผู้บริโภคใต้จี้ฟาร์มหมูเผยต้นทุนแท้จริง
นายวรรณชัย สุวรรณกาญจน์ นายกสมาคมคุ้มครองผู้บริโภคภาคใต้ ได้ออกมาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเร่งแก้ปัญหาหมูแพง ซึ่งทั้งผู้ค้ารายย่อยและประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักขณะนี้ โดยระบุว่า ขอให้ผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงหมูรายใหญ่ระดับประเทศออกมาเปิดเผยตัวเลขที่เป็นต้นทุนที่แท้จริง ในการเลี้ยงหมูให้สังคมได้รับทราบถึงสาเหตุที่ทำให้ราคาหมูแพง
ทั้งนี้ เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานใดออกมารับผิดชอบหรือชี้แจง เพียงแต่ระบุว่าเป็นเพราะหมูมีน้อยและป่วยเป็นโรคและจะเร่งแก้ปัญหาโดยการควบคุมราคาโดยเร็วเท่านั้น จึงต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลใหม่แก้ปัญหาเรื่องนี้โดยด่วนและออกมาชี้แจงกับประชาชนถึงแนวนโยบายที่จะดำเนินการแก้ปัญหา
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมการค้าภายในร่วมกับกองปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) ตรวจสอบผู้เลี้ยงสุกรรายใหญ่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มีสุกรมีชีวิตในครอบครองหลายพันตัว แต่ปฏิเสธการจำหน่ายแก่ลูกค้าที่จะซื้อนำไปชำแหละ อีกทั้งยังจำหน่ายเกินราคาที่กรมการค้าภายในกำหนดที่ราคากิโลกรัมละ 79 บาท โดยจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 83 บาท กรมจึงได้ดำเนินคดี 2 ข้อหา คือ ปฏิเสธการจำหน่ายและกักตุนสินค้า และจงใจจำหน่ายราคาสูงเกินสมควร มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และได้ควบคุมผู้เลี้ยงสุกรดังกล่าวส่งพนักงานสอบสวน สภอ.แปลงยาว อ.แปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อทำการสอบสวนต่อไป
นอกจากนี้ยังได้ประสานกรมสรรพากรและกรมปศุสัตว์ เพื่อตรวจสอบการหลีกเลี่ยงภาษีเนื่องจากพบว่ามีการออกเอกสารรับเงินต่ำกว่าราคาที่จำหน่ายจริง และให้กรมปศุสัตว์ สุ่มเก็บตัวอย่างปัสสาวะสุกรไปตรวจสอบเพื่อหาสารเร่งเนื้อแดงอีกด้วย
ขณะที่การประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการในวันนี้ ( 5 ส.ค. ) ว่า กรมฯเตรียมเสนอมาตรการดูแลหมู 3 มาตรการให้ที่ประชุมพิจารณา คือ 1.ผู้ส่งออกหมูต้องขออนุญาตกับกรมการค้าภายในก่อนการส่งออก 2.กรมฯจะกำหนดมาตรการดูแลราคาหมูตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง คือตั้งแต่หมูเป็นจนถึงหมูเนื้อแดง และ 3.ผู้ประกอบการเลี้ยงหมูจะต้องแจ้งปริมาณหมูให้ทราบเป็นระยะ
ส่วนมาตรการราคาหมูที่จะควบคุมดูแล "หมูเป็น" ภาคกลางจะให้จำหน่ายไม่เกิน 80-81 บาท/ก.ก., ภาคเหนือและอีสาน จำหน่ายหมูเป็นไม่เกิน 85 บาท/ก.ก.และภาคใต้ ไม่เกิน 87 บาท/ก.ก. ส่วนราคาหมูเนื้อแดง ภาคกลางให้จำหน่ายไม่เกิน 150-152 บาท/ก.ก., ภาคเหนือและอีสาน จำหน่ายไม่เกิน 157 บาท/ก.ก. และภาคใต้จำหน่ายไม่เกิน 162 บาท/ก.ก. ทั้งนี้หากผู้บริโภคพบว่ามีการจำหน่ายหมูแพงให้แจ้งมาที่กรมการค้าภายใน และหากมีการลักลอบส่งออกหมูโดยผิดกฏหมาย จะมีโทษจำคุกอย่างน้อย 7 ปี ปรับ 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดยมาตรการทั้งหมดเป็นเพียงมาตรการระยะสั้น 6 เดือนจนกว่าปัญหาราคาหมูแพงจะคลี่คลาย และหากที่ประชุมเห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 ส.ค.เป็นต้นไป เมื่อหมดมาตรการจะประชุมหารือกันอีกครั้ง
**ปิดเขียงหมูตลาดหาดใหญ่ กระทบรายย่อย
นางพิศมร สุปิยชัย เจ้าของร้านแสงศรี ตี๋ ซึ่งจำหน่ายข้าวหมู หมูกรอบ ขาหมู หน้าเป็ด และหน้าไก่ ขนาดตึกแถว 2 คูหา กล่าวว่า ก่อนที่เขียงหมูจะหยุดจำหน่ายนั้นได้มีการแจ้งลูกค้าล่วงหน้า และได้แช่แข็งเนื้อหมูเพื่อส่งให้กับทางร้านปกติ ประกอบการทางร้านได้มีสต๊อกเนื้อหมูอยู่แล้วเช่นกัน จึงสามารถเปิดร้านได้ตามปกติจนถึงวันจันทร์หน้า ดังนั้น แม้ว่าแต่ละวันจะต้องใช้หมูเป็นวัตถุดิบเกือบ 100 กิโลกรัม ก็ไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าว
ในขณะที่ร้านอาหารรายย่อย และผู้บริโภคในครัวเรือนที่ไม่ทราบว่าจะมีการหยุดประท้วง กลายเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงต่อการปิดเขียงหมูเป็นเวลา 5 วัน จำเป็นต้องซื้อเนื้อหมูในห้างสรรพสินค้าที่มาจากฟาร์มของบริษัทขนาดใหญ่แทน แม้ว่าจะมีการจำกัดโควตาลดลงเหลือคนละ 2 กิโลกรัมก็ตาม และตั้งข้อสังเกตว่า การประท้วงครั้งนี้น่าจะทำขึ้นเพื่อต่อรองผู้บริโภคขอปรับขึ้นราคามากกว่า ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้ก็มิใช่ครั้งแรกที่เพิ่งเคยเกิดขึ้นในหาดใหญ่
**ส.คุ้มครองผู้บริโภคใต้จี้ฟาร์มหมูเผยต้นทุนแท้จริง
นายวรรณชัย สุวรรณกาญจน์ นายกสมาคมคุ้มครองผู้บริโภคภาคใต้ ได้ออกมาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเร่งแก้ปัญหาหมูแพง ซึ่งทั้งผู้ค้ารายย่อยและประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักขณะนี้ โดยระบุว่า ขอให้ผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงหมูรายใหญ่ระดับประเทศออกมาเปิดเผยตัวเลขที่เป็นต้นทุนที่แท้จริง ในการเลี้ยงหมูให้สังคมได้รับทราบถึงสาเหตุที่ทำให้ราคาหมูแพง
ทั้งนี้ เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานใดออกมารับผิดชอบหรือชี้แจง เพียงแต่ระบุว่าเป็นเพราะหมูมีน้อยและป่วยเป็นโรคและจะเร่งแก้ปัญหาโดยการควบคุมราคาโดยเร็วเท่านั้น จึงต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลใหม่แก้ปัญหาเรื่องนี้โดยด่วนและออกมาชี้แจงกับประชาชนถึงแนวนโยบายที่จะดำเนินการแก้ปัญหา