ASTVผู้จัดการรายวัน-ราคาหมูฉีกหน้า"พาณิชย์"พุ่งปรี๊ดโลละ 160 แล้ว ทั้งๆ ที่ประกาศราคาแนะนำไม่เกิน 150 บาท เขียงหมูแฉเป็นเพราะต้นทุนซื้อหมูเป็นมาชำแหละสูงขึ้นเป็นโลละ 82 บาทจากราคาแนะนำ 79 บาท "วัชรี"โชว์จับผู้เลี้ยงหมู หลังปฏิบัติการขายและขายเกินราคาควบคุม ส่วนไข่ไก่ขยับราคาขึ้นฟองละ 20 สตางค์ จ่อมีปัญหาซ้ำรอยหมู เหตุผู้ผลิตเพิ่มปริมาณส่งออก ทำในประเทศขาดแคลน
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า จากการสำรวจราคาขายปลีกสินค้าหมวดอาหารสด โดยเฉพาะหมูเนื้อแดง ในพื้นที่กรุงเทพฯ ของกรมการค้าภายใน พบว่าราคาขายปลีกหมูเนื้อแดง (สะโพก) เมื่อวันที่ 1 ส.ค. ราคาอยู่ที่กก.ละ 150-160 บาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 29 ก.ค. ที่ราคากก.ละ 145-150 บาท หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยกก. 7.50 บาท เนื้อแดง (ไหล่) กก.ละ 145-160 บาท เพิ่มขึ้นจาก 140-145 บาท หรือเพิ่มขึ้นกก.ละ 10 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาแนะนำที่กรมการค้าภายในกำหนดล่าสุดที่กำหนดให้ราคาขายปลีกพื้นที่กรุงเทพ และภาคกลาง อยู่ที่กก.ละ 140-150 บาทเท่านั้น
แหล่งข่าวจากวงการค้าปลีกเนื้อหมู กล่าวว่า ผู้ประกอบการเขียงหมูไม่สามารถซื้อหมูเป็นได้ในราคาแนะนำตามที่กรมการค้าภายในกำหนด โดยพื้นที่กรุงเทพฯ และภาคกลาง กำหนดราคาแนะนำกก.ละ 79 บาท แต่ซื้อจริงได้ในราคากก.ละ 82 บาท แต่ปลายทางกลับถูกบังคับให้ต้องขายในราคาควบคุมที่กก.ละ 140-150 บาท ซึ่งเป็นไปไม่ได้ และส่วนใหญ่ได้ปรับราคาขายปลีกขึ้นเพื่อให้คุ้มกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน เขียงหมูยังได้รับผลกระทบจากการที่ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ (โมเดิร์นเทรด) ที่ได้มีการขายหมูเนื้อแดงในราคากก.ละ 112 บาท ซึ่งการขายต่ำกว่าทุนนี้ ทำให้ลูกค้าหันเข้าไปซื้อในห้างค้าปลีกหมด เขียงหมูรายย่อยบางรายที่แบกรับภาระไม่ไหวก็ต้องปิดกิจการไป ส่วนรายที่ยังอยู่ก็ต้องทนต่อไป
สำหรับหมูเนื้อแดงที่ขายในห้างค้าปลีกในราคาดังกล่าวได้ จากการตรวจสอบพบว่า เป็นเนื้อหมูที่บริษัทผู้เลี้ยงหมูขนาดใหญ่จัดส่งให้ และห้างค้าปลีกได้จัดทำเป็นโปรโมชั่นของห้างที่จำกัดปริมาณการซื้อเพื่อดึงลูกค้าเข้าห้าง โดยซื้อได้จำกัด แต่ห้างค้าปลีกหวังที่จะขายหมูส่วนอื่นๆ เช่น ซี่โครง หมูสามชั้น ซึ่งราคาปรับขึ้นไปเป็นกก.ละ 150 กว่าบาทแล้ว
ส่วนการใช้มาตรการห้ามส่งออกที่กรมการค้าภายในมีแนวคิดนั้น เชื่อว่าไม่สามารถควบคุมปริมาณการส่งออกหมูที่ผิดปกติได้ เพราะขณะนี้มีการลักลอบส่งออกหมูเป็น โดยการฉีดยาสลบ นำใส่รถบรรทุกขนผ่านเส้นทางชายแดนไทยในจ.เชียงราย-เชียงของ เพื่อผ่านไปยังประเทศจีน เพราะราคาหมูเป็นจีนกก.ละ 100 บาท สูงกว่าราคาแนะนำหมูเป็นของไทยมาก เป็นโอกาสให้พ่อค้าทำกำไร และเป็นสาเหตุให้หมูเป็นในประเทศขาดแคลน
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า กรมฯ ร่วมกับกองปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) ตรวจสอบผู้เลี้ยงสุกรรายใหญ่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา จากการตรวจสอบพบว่า ผู้เลี้ยงสุกรรายดังกล่าวมีสุกรมีชีวิตในครอบครองหลายพันตัว แต่ได้ปฏิเสธการจำหน่ายแก่ลูกค้าที่จะซื้อนำไปชำแหละ อีกทั้งยังจำหน่ายเกินราคาที่กรมการค้าภายในกำหนดที่ราคากิโลกรัมละ 79 บาท โดยจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 83 บาท จึงได้ดำเนินคดี 2 ข้อหา คือ ปฏิเสธการจำหน่ายและกักตุนสินค้า และจงใจจำหน่ายราคาสูงเกินสมควร มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และได้ควบคุมผู้เลี้ยงสุกรดังกล่าวส่งพนักงานสอบสวน สภอ.แปลงยาว อ.แปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อทำการสอบสวนต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้ประสานกรมสรรพากรและกรมปศุสัตว์ เพื่อตรวจสอบการหลีกเลี่ยงภาษี เนื่องจากพบว่ามีการออกเอกสารรับเงินต่ำกว่าราคาที่จำหน่ายจริง และให้กรมปศุสัตว์สุ่มเก็บตัวอย่างปัสสาวะสุกรไปตรวจสอบเพื่อหาสารเร่งเนื้อแดงอีกด้วย
รายงานข่าวจากวงการค้าไข่ไก่ แจ้งว่า ราคาไข่ไก่ได้ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาเนื้อหมู โดยรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาไข่ไก่หน้าฟาร์มปรับขึ้นเฉลี่ยฟองละ 20 สตางค์ เมื่อสอบถามจากผู้เลี้ยงไก่ไข่แจ้งว่า ขณะนี้ปริมาณไข่ไก่ออกสู่ตลาดลดลง โดยเฉพาะไข่ขนาดใหญ่ แม่ไก่ส่วนใหญ่จะฟักออกมา แต่ฟองเล็ก ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงสูงขึ้น และต้องขยับราคาขายตามให้สะท้อนกับต้นทุน อีกทั้งที่ผ่านมา ผู้เลี้ยงรายใหญ่ยังมีการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะราคาส่งออกไปต่างประเทศขายได้สูงกว่าในประเทศทำให้ปริมาณไข่ลดลง เป็นปัญหาลักษณะคล้ายกับเนื้อหมูที่ปริมาณในประเทศลด และมีการส่งออกเพิ่ม จนทำให้ราคาในประเทศต้องขยับเพิ่มขึ้น
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า จากการสำรวจราคาขายปลีกสินค้าหมวดอาหารสด โดยเฉพาะหมูเนื้อแดง ในพื้นที่กรุงเทพฯ ของกรมการค้าภายใน พบว่าราคาขายปลีกหมูเนื้อแดง (สะโพก) เมื่อวันที่ 1 ส.ค. ราคาอยู่ที่กก.ละ 150-160 บาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 29 ก.ค. ที่ราคากก.ละ 145-150 บาท หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยกก. 7.50 บาท เนื้อแดง (ไหล่) กก.ละ 145-160 บาท เพิ่มขึ้นจาก 140-145 บาท หรือเพิ่มขึ้นกก.ละ 10 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาแนะนำที่กรมการค้าภายในกำหนดล่าสุดที่กำหนดให้ราคาขายปลีกพื้นที่กรุงเทพ และภาคกลาง อยู่ที่กก.ละ 140-150 บาทเท่านั้น
แหล่งข่าวจากวงการค้าปลีกเนื้อหมู กล่าวว่า ผู้ประกอบการเขียงหมูไม่สามารถซื้อหมูเป็นได้ในราคาแนะนำตามที่กรมการค้าภายในกำหนด โดยพื้นที่กรุงเทพฯ และภาคกลาง กำหนดราคาแนะนำกก.ละ 79 บาท แต่ซื้อจริงได้ในราคากก.ละ 82 บาท แต่ปลายทางกลับถูกบังคับให้ต้องขายในราคาควบคุมที่กก.ละ 140-150 บาท ซึ่งเป็นไปไม่ได้ และส่วนใหญ่ได้ปรับราคาขายปลีกขึ้นเพื่อให้คุ้มกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน เขียงหมูยังได้รับผลกระทบจากการที่ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ (โมเดิร์นเทรด) ที่ได้มีการขายหมูเนื้อแดงในราคากก.ละ 112 บาท ซึ่งการขายต่ำกว่าทุนนี้ ทำให้ลูกค้าหันเข้าไปซื้อในห้างค้าปลีกหมด เขียงหมูรายย่อยบางรายที่แบกรับภาระไม่ไหวก็ต้องปิดกิจการไป ส่วนรายที่ยังอยู่ก็ต้องทนต่อไป
สำหรับหมูเนื้อแดงที่ขายในห้างค้าปลีกในราคาดังกล่าวได้ จากการตรวจสอบพบว่า เป็นเนื้อหมูที่บริษัทผู้เลี้ยงหมูขนาดใหญ่จัดส่งให้ และห้างค้าปลีกได้จัดทำเป็นโปรโมชั่นของห้างที่จำกัดปริมาณการซื้อเพื่อดึงลูกค้าเข้าห้าง โดยซื้อได้จำกัด แต่ห้างค้าปลีกหวังที่จะขายหมูส่วนอื่นๆ เช่น ซี่โครง หมูสามชั้น ซึ่งราคาปรับขึ้นไปเป็นกก.ละ 150 กว่าบาทแล้ว
ส่วนการใช้มาตรการห้ามส่งออกที่กรมการค้าภายในมีแนวคิดนั้น เชื่อว่าไม่สามารถควบคุมปริมาณการส่งออกหมูที่ผิดปกติได้ เพราะขณะนี้มีการลักลอบส่งออกหมูเป็น โดยการฉีดยาสลบ นำใส่รถบรรทุกขนผ่านเส้นทางชายแดนไทยในจ.เชียงราย-เชียงของ เพื่อผ่านไปยังประเทศจีน เพราะราคาหมูเป็นจีนกก.ละ 100 บาท สูงกว่าราคาแนะนำหมูเป็นของไทยมาก เป็นโอกาสให้พ่อค้าทำกำไร และเป็นสาเหตุให้หมูเป็นในประเทศขาดแคลน
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า กรมฯ ร่วมกับกองปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) ตรวจสอบผู้เลี้ยงสุกรรายใหญ่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา จากการตรวจสอบพบว่า ผู้เลี้ยงสุกรรายดังกล่าวมีสุกรมีชีวิตในครอบครองหลายพันตัว แต่ได้ปฏิเสธการจำหน่ายแก่ลูกค้าที่จะซื้อนำไปชำแหละ อีกทั้งยังจำหน่ายเกินราคาที่กรมการค้าภายในกำหนดที่ราคากิโลกรัมละ 79 บาท โดยจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 83 บาท จึงได้ดำเนินคดี 2 ข้อหา คือ ปฏิเสธการจำหน่ายและกักตุนสินค้า และจงใจจำหน่ายราคาสูงเกินสมควร มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และได้ควบคุมผู้เลี้ยงสุกรดังกล่าวส่งพนักงานสอบสวน สภอ.แปลงยาว อ.แปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อทำการสอบสวนต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้ประสานกรมสรรพากรและกรมปศุสัตว์ เพื่อตรวจสอบการหลีกเลี่ยงภาษี เนื่องจากพบว่ามีการออกเอกสารรับเงินต่ำกว่าราคาที่จำหน่ายจริง และให้กรมปศุสัตว์สุ่มเก็บตัวอย่างปัสสาวะสุกรไปตรวจสอบเพื่อหาสารเร่งเนื้อแดงอีกด้วย
รายงานข่าวจากวงการค้าไข่ไก่ แจ้งว่า ราคาไข่ไก่ได้ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาเนื้อหมู โดยรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาไข่ไก่หน้าฟาร์มปรับขึ้นเฉลี่ยฟองละ 20 สตางค์ เมื่อสอบถามจากผู้เลี้ยงไก่ไข่แจ้งว่า ขณะนี้ปริมาณไข่ไก่ออกสู่ตลาดลดลง โดยเฉพาะไข่ขนาดใหญ่ แม่ไก่ส่วนใหญ่จะฟักออกมา แต่ฟองเล็ก ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงสูงขึ้น และต้องขยับราคาขายตามให้สะท้อนกับต้นทุน อีกทั้งที่ผ่านมา ผู้เลี้ยงรายใหญ่ยังมีการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะราคาส่งออกไปต่างประเทศขายได้สูงกว่าในประเทศทำให้ปริมาณไข่ลดลง เป็นปัญหาลักษณะคล้ายกับเนื้อหมูที่ปริมาณในประเทศลด และมีการส่งออกเพิ่ม จนทำให้ราคาในประเทศต้องขยับเพิ่มขึ้น