ผมได้รับข้อเขียนจากอดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีความผูกพัน และเข้าใจต่อพรรคประชาธิปัตย์เป็นอย่างดี ท่านได้ส่งบทความสำคัญถึงผม เกี่ยวกับแนวการปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยเหตุที่บุคคลดังกล่าวยังมีความหวังอยู่ว่า พรรคประชาธิปัตย์ น่าจะเป็นพรรคการเมืองที่เป็รทางเลือก เป็นความหวัง และเป็นอนาคตให้กับบ้านเมืองได้ เป็นขั้วการเมืองใหญ่ขั้วหนึ่งที่จะต่อสู้แข่งขัน และเอาชนะพรรคเพื่อไทยได้ ถ้าได้หันมาสรุปบทเรียนแก้ไข และปฏิรูปพรรคตนเองอย่างจริงจัง จะเรียกว่าเป็นการปฏิรูปครั้งใหญ่ก็ว่าได้
ผมเห็นว่า เป็นบทความที่เป็นประโยชน์ต่อการเมืองของประเทศ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน เพราะถ้าหากประเทศต้องตกอยู่ภายใต้การผูกขาดอำนาจทางการเมืองของพรรคการเมืองใหญ่พรรคหนึ่ง ซึ่งเห็นแล้วว่า มิได้ทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนอย่างแท้จริงแต่เพียงพรรคเดียวแล้ว ผู้ที่สูญเสียประโยชน์ก็คือประเทศชาติและประชาชนนั่นเอง เทียบเคียงได้กับปัญหาในวงการธุรกิจ การมีบริษัทยักษ์ใหญ่ผูกขาด และครอบครองตลาดแต่เพียงผู้เดียว ย่อมเป็นผลเสียแก่ประชาชนผู้บริโภคฉันใดก็ฉันนั้น
จึงขอนำบทความนี้มาเสนอต่อผู้อ่าน และบรรดาสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์จะนำไปศึกษาเพื่อเป็นแนวทาง ก็ไม่สงวนลิขสิทธิ์แต่อย่างใด
หลักการและเหตุผลความจำเป็นที่พรรคประชาธิปัตย์ ต้องปฏิรูปตัวเอง
1. พรรคก่อตั้งมานาน รวมระยะเวลาถึงปัจจุบันได้ 65 ปีเศษ โครงสร้างองค์ประกอบด้านบุคลากร วิธีคิด วิธีทำงาน และวัฒนธรรมของพรรค มีความไม่สอดคล้องกับยุคสมัย สภาพสังคม และต่อสู้แข่งขันทางการเมืองที่ต้องเผชิญหน้ากับคู่ต่อสู้ และคู่แข่งขัน ในสถานการณ์ปัจจุบันทำให้พรรคไม่สามารถแบกรับภารกิจประวัติศาสตร์ทางการเมืองของประเทศ และเป็นคู่ต่อสู้ที่สูสี หรือเอาชนะได้
2. พรรคล้มเหลวในการบริหารประเทศ ในช่วงเวลาที่ได้รับโอกาสเข้าเป็นฝ่ายบริหารประเทศ โดยหัวหน้าพรรคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ช่วงเวลา 2 ปีเศษ รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคไม่สามารถบริหารประเทศ และแก้ปัญหาให้กับชาติ และประชาชนได้สำเร็จตามความคาดหวัง ไม่ว่าด้านความมั่นคงของประเทศ, การปกป้องอธิปไตยของชาติ, การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ, การปฎิรูปทางการเมือง, การขจัดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน และปัญหาสำคัญอื่นๆ จนนำมาซึ่งวิกฤตศรัทธาต่อรัฐบาลอย่างปรากฏชัด จนนำมาซึ่งกระแสต่อต้านคัดค้านรัฐบาลอย่างกว้างขวาง ทำลายความนิยมศรัทธาต่อพรรค และผู้นำของพรรค จนถือได้ว่า พรรคต้องอยู่ในช่วงตกต่ำทางการเมืองอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
3. ต้องยอมรับความจริงว่า พรรคประสบความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ต่อพรรคเพื่อไทยอย่างยับเยิน โดยเมื่อรวม ส.ส.จำนวนทั้งหมดแล้ว พรรคเพื่อไทยได้จำนวน ส.ส. 265 ที่นั่ง พรรคเราได้ 159 ที่นั่ง ทิ้งห่างกันถึง 106 ที่นั่ง อันเป็นความพ่ายแพ้ครั้งที่ 4 ของพรรค ต่อพรรคการเมืองตัวแทนของทักษิณ (การเลือกตั้งปี 2544, 2548, 2550 และ 2554) ทั้งๆ ที่เป็นการเลือกตั้งในสถานการณ์ที่พรรคได้เปรียบเหนือคู่แข่ง สถานการณ์ และโอกาสอำนวยทุกด้านที่จะเอาชนะและโค่นคู่แข่งได้ ความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งอย่างยับเยินครั้งนี้ แม้จะมีเหตุปัจจัยเกี่ยวข้องหลายประการก็ตาม
แต่เหตุปัจจัยสำคัญที่มิอาจปฏิเสธได้ก็คือ การนำของพรรค โดยเฉพาะหัวหน้าพรรค และเลขาธิการพรรคที่ได้ใช้แนวทางการเมือง และยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี ที่ได้ดำเนินการมาแล้วนั้น เป็นความเพลี่ยงพลั้งผิดพลาด และล้มเหลวอย่างแน่นอน จำต้องสรุปบทเรียน และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขปฏิรูปพรรคโดยเร่งด่วน
4. อย่างไรก็ตาม แม้พรรคจะพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่เมื่อพิจารณาจากผลคะแนน และความพ่ายแพ้ของพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลอื่นๆ แล้ว จะเห็นได้ว่าพรรคยังมีความนิยมของประชาชนที่ยังฝากความหวังไว้กับพรรคไม่น้อย คือ เรามีคะแนนที่เลือกพรรคถึง 11,433,501 คิดเป็น 35.1% ในขณะที่พรรคเพื่อไทยมีคะแนน 15,734,410 คิดเป็น 48% ทิ้งห่างกันประมาณ 4 ล้านเศษ โดยมีบัตรเสีย (แบ่งเขต) 2,039,694 คิดเป็น 5.79% บัตรเสีย (บัญชีรายชื่อ 1,726,051 คิดเป็น 4.9% และผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน (แบ่งเขต) 1,419,088 คิดเป็น 4.03% ผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน (บัญชีรายชื่อ) 958,052 คิดเป็น 2.72% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า มีผู้ไม่เลือกพรรคคู่แข่ง และไม่ยอมลงคะแนนให้ใครอีกจำนวนมาก ที่พรรคสามารถจะไปช่วงชิงมาได้ หากค้นพบคำตอบได้ว่า ทำไมกลุ่มคนเหล่านั้น จึงไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์
5. สถานการณ์และการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองในปัจจุบันของไทย ได้พัฒนามาสู่ การเมืองที่ต่อสู้และแข่งขันกันโดยระบบสองขั้วทางการเมืองของพรรคการเมืองใหญ่อย่างเต็มรูปแบบ นั่นคือการต่อสู้ระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะพรรคการเมืองอื่นๆ ต่างลดระดับและจำนวน ส.ส.ลงจนกลายเป็นพรรคเล็กพรรคน้อย เป็นส่วนประกอบและสีสันทางการเมืองไป ความจำเป็นของประเทศ และความเรียกร้องต้องการของประชาชน ความคาดหวังของผู้รักชาติ รักประชาธิปไตย ที่ไม่ยอมรับการเมืองแบบ “ระบอบทักษิณ” ต่างต้องการเห็นพรรคการเมืองที่เป็นอีกขั้วหนึ่งที่เป็นทางเลือก เป็นความหวัง เป็นอนาคต ที่ประชาชนและประเทศชาติพึ่งพาได้
แน่นอนที่สุด ประชาชนทั้งหลายต่างจ้องมองมาที่พรรคประชาธิปัตย์ แต่พรรคจะเป็นความหวังให้กับประเทศชาติ และประชาชนได้หรือไม่ ภายใต้โครงสร้าง องค์ประกอบ และการทำงานของพรรคที่เป็นอยู่ในขณะนี้ จึงเป็นโจทก์ข้อใหญ่ที่พรรคจำเป็นต้องสรุปบทเรียน ตรวจสอบตนเองครั้งใหญ่ และปฏิรูปตนเองเพื่อให้เป็นที่พึ่ง และความหวังของประชาชน จึงจะสามารถช่วงชิงคะแนนนิยมจากประชาชน และสามารถกำชัยชนะในการเลือกตั้งได้
เราจะปฏิรูปตนเองอย่างไร?
เมื่อจะปฏิรูปปรับปรุง และแก้ไขปัญหาเพื่อนำพรรคไปสู่ชัยชนะ จึงมีความจำเป็นที่พวกเราชาวประชาธิปัตย์ จะต้องสนใจศึกษาปัญหาความผิดพลาดล้มเหลวของตนด้วยท่าทีที่อ่อนน้อม และยอมรับความผิดพลาดล้มเหลวอย่างตรงไปตรงมา ต้องลดท่าทีเหย่อหยิ่งทนงตน ต้องศึกษาและรับฟังความเห็นของผู้อื่น และมวลสมาชิก แม้จะเป็นยาขมหม้อใหญ่ก็ตาม
เราจะต้องเปิดหูเปิดตารับฟัง ต้องไม่ปิดบังความจริง และอาการโรคของตนทั้งหมดก็อยู่บนพื้นฐานของความสุจริตใจ โดยความปรารถนาดีต่อพรรค ยึดเอาประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนเป็นหัวใจสำคัญ เราจึงจะก้าวฝ่าข้ามปัญหาและวิกฤตนี้ไปได้ เราต้องละทิ้งผลประโยชน์ของพวก และกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองในพรรคเสีย หากยังมีทัศนคติที่คับแคบ ย่อมไม่อาจก้าวไปสู่การปฏิรูปพรรคอย่างทั่วด้านได้ โปรดติดตามวันศุกร์หน้า
ผมเห็นว่า เป็นบทความที่เป็นประโยชน์ต่อการเมืองของประเทศ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน เพราะถ้าหากประเทศต้องตกอยู่ภายใต้การผูกขาดอำนาจทางการเมืองของพรรคการเมืองใหญ่พรรคหนึ่ง ซึ่งเห็นแล้วว่า มิได้ทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนอย่างแท้จริงแต่เพียงพรรคเดียวแล้ว ผู้ที่สูญเสียประโยชน์ก็คือประเทศชาติและประชาชนนั่นเอง เทียบเคียงได้กับปัญหาในวงการธุรกิจ การมีบริษัทยักษ์ใหญ่ผูกขาด และครอบครองตลาดแต่เพียงผู้เดียว ย่อมเป็นผลเสียแก่ประชาชนผู้บริโภคฉันใดก็ฉันนั้น
จึงขอนำบทความนี้มาเสนอต่อผู้อ่าน และบรรดาสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์จะนำไปศึกษาเพื่อเป็นแนวทาง ก็ไม่สงวนลิขสิทธิ์แต่อย่างใด
หลักการและเหตุผลความจำเป็นที่พรรคประชาธิปัตย์ ต้องปฏิรูปตัวเอง
1. พรรคก่อตั้งมานาน รวมระยะเวลาถึงปัจจุบันได้ 65 ปีเศษ โครงสร้างองค์ประกอบด้านบุคลากร วิธีคิด วิธีทำงาน และวัฒนธรรมของพรรค มีความไม่สอดคล้องกับยุคสมัย สภาพสังคม และต่อสู้แข่งขันทางการเมืองที่ต้องเผชิญหน้ากับคู่ต่อสู้ และคู่แข่งขัน ในสถานการณ์ปัจจุบันทำให้พรรคไม่สามารถแบกรับภารกิจประวัติศาสตร์ทางการเมืองของประเทศ และเป็นคู่ต่อสู้ที่สูสี หรือเอาชนะได้
2. พรรคล้มเหลวในการบริหารประเทศ ในช่วงเวลาที่ได้รับโอกาสเข้าเป็นฝ่ายบริหารประเทศ โดยหัวหน้าพรรคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ช่วงเวลา 2 ปีเศษ รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคไม่สามารถบริหารประเทศ และแก้ปัญหาให้กับชาติ และประชาชนได้สำเร็จตามความคาดหวัง ไม่ว่าด้านความมั่นคงของประเทศ, การปกป้องอธิปไตยของชาติ, การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ, การปฎิรูปทางการเมือง, การขจัดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน และปัญหาสำคัญอื่นๆ จนนำมาซึ่งวิกฤตศรัทธาต่อรัฐบาลอย่างปรากฏชัด จนนำมาซึ่งกระแสต่อต้านคัดค้านรัฐบาลอย่างกว้างขวาง ทำลายความนิยมศรัทธาต่อพรรค และผู้นำของพรรค จนถือได้ว่า พรรคต้องอยู่ในช่วงตกต่ำทางการเมืองอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
3. ต้องยอมรับความจริงว่า พรรคประสบความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ต่อพรรคเพื่อไทยอย่างยับเยิน โดยเมื่อรวม ส.ส.จำนวนทั้งหมดแล้ว พรรคเพื่อไทยได้จำนวน ส.ส. 265 ที่นั่ง พรรคเราได้ 159 ที่นั่ง ทิ้งห่างกันถึง 106 ที่นั่ง อันเป็นความพ่ายแพ้ครั้งที่ 4 ของพรรค ต่อพรรคการเมืองตัวแทนของทักษิณ (การเลือกตั้งปี 2544, 2548, 2550 และ 2554) ทั้งๆ ที่เป็นการเลือกตั้งในสถานการณ์ที่พรรคได้เปรียบเหนือคู่แข่ง สถานการณ์ และโอกาสอำนวยทุกด้านที่จะเอาชนะและโค่นคู่แข่งได้ ความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งอย่างยับเยินครั้งนี้ แม้จะมีเหตุปัจจัยเกี่ยวข้องหลายประการก็ตาม
แต่เหตุปัจจัยสำคัญที่มิอาจปฏิเสธได้ก็คือ การนำของพรรค โดยเฉพาะหัวหน้าพรรค และเลขาธิการพรรคที่ได้ใช้แนวทางการเมือง และยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี ที่ได้ดำเนินการมาแล้วนั้น เป็นความเพลี่ยงพลั้งผิดพลาด และล้มเหลวอย่างแน่นอน จำต้องสรุปบทเรียน และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขปฏิรูปพรรคโดยเร่งด่วน
4. อย่างไรก็ตาม แม้พรรคจะพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่เมื่อพิจารณาจากผลคะแนน และความพ่ายแพ้ของพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลอื่นๆ แล้ว จะเห็นได้ว่าพรรคยังมีความนิยมของประชาชนที่ยังฝากความหวังไว้กับพรรคไม่น้อย คือ เรามีคะแนนที่เลือกพรรคถึง 11,433,501 คิดเป็น 35.1% ในขณะที่พรรคเพื่อไทยมีคะแนน 15,734,410 คิดเป็น 48% ทิ้งห่างกันประมาณ 4 ล้านเศษ โดยมีบัตรเสีย (แบ่งเขต) 2,039,694 คิดเป็น 5.79% บัตรเสีย (บัญชีรายชื่อ 1,726,051 คิดเป็น 4.9% และผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน (แบ่งเขต) 1,419,088 คิดเป็น 4.03% ผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน (บัญชีรายชื่อ) 958,052 คิดเป็น 2.72% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า มีผู้ไม่เลือกพรรคคู่แข่ง และไม่ยอมลงคะแนนให้ใครอีกจำนวนมาก ที่พรรคสามารถจะไปช่วงชิงมาได้ หากค้นพบคำตอบได้ว่า ทำไมกลุ่มคนเหล่านั้น จึงไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์
5. สถานการณ์และการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองในปัจจุบันของไทย ได้พัฒนามาสู่ การเมืองที่ต่อสู้และแข่งขันกันโดยระบบสองขั้วทางการเมืองของพรรคการเมืองใหญ่อย่างเต็มรูปแบบ นั่นคือการต่อสู้ระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะพรรคการเมืองอื่นๆ ต่างลดระดับและจำนวน ส.ส.ลงจนกลายเป็นพรรคเล็กพรรคน้อย เป็นส่วนประกอบและสีสันทางการเมืองไป ความจำเป็นของประเทศ และความเรียกร้องต้องการของประชาชน ความคาดหวังของผู้รักชาติ รักประชาธิปไตย ที่ไม่ยอมรับการเมืองแบบ “ระบอบทักษิณ” ต่างต้องการเห็นพรรคการเมืองที่เป็นอีกขั้วหนึ่งที่เป็นทางเลือก เป็นความหวัง เป็นอนาคต ที่ประชาชนและประเทศชาติพึ่งพาได้
แน่นอนที่สุด ประชาชนทั้งหลายต่างจ้องมองมาที่พรรคประชาธิปัตย์ แต่พรรคจะเป็นความหวังให้กับประเทศชาติ และประชาชนได้หรือไม่ ภายใต้โครงสร้าง องค์ประกอบ และการทำงานของพรรคที่เป็นอยู่ในขณะนี้ จึงเป็นโจทก์ข้อใหญ่ที่พรรคจำเป็นต้องสรุปบทเรียน ตรวจสอบตนเองครั้งใหญ่ และปฏิรูปตนเองเพื่อให้เป็นที่พึ่ง และความหวังของประชาชน จึงจะสามารถช่วงชิงคะแนนนิยมจากประชาชน และสามารถกำชัยชนะในการเลือกตั้งได้
เราจะปฏิรูปตนเองอย่างไร?
เมื่อจะปฏิรูปปรับปรุง และแก้ไขปัญหาเพื่อนำพรรคไปสู่ชัยชนะ จึงมีความจำเป็นที่พวกเราชาวประชาธิปัตย์ จะต้องสนใจศึกษาปัญหาความผิดพลาดล้มเหลวของตนด้วยท่าทีที่อ่อนน้อม และยอมรับความผิดพลาดล้มเหลวอย่างตรงไปตรงมา ต้องลดท่าทีเหย่อหยิ่งทนงตน ต้องศึกษาและรับฟังความเห็นของผู้อื่น และมวลสมาชิก แม้จะเป็นยาขมหม้อใหญ่ก็ตาม
เราจะต้องเปิดหูเปิดตารับฟัง ต้องไม่ปิดบังความจริง และอาการโรคของตนทั้งหมดก็อยู่บนพื้นฐานของความสุจริตใจ โดยความปรารถนาดีต่อพรรค ยึดเอาประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนเป็นหัวใจสำคัญ เราจึงจะก้าวฝ่าข้ามปัญหาและวิกฤตนี้ไปได้ เราต้องละทิ้งผลประโยชน์ของพวก และกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองในพรรคเสีย หากยังมีทัศนคติที่คับแคบ ย่อมไม่อาจก้าวไปสู่การปฏิรูปพรรคอย่างทั่วด้านได้ โปรดติดตามวันศุกร์หน้า