ASTVผู้จัดการรายวัน - 12 สมาคมอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์และไลฟ์สไตล์ ฟันธงนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เป็นจริงเมื่อไร แรงงานถูกปลดทันที 300,000 คน มองเป็นวงจรอุบาท ส่งผลกระทบต่อเนื่อง ร้ายสุดเกิดปัญหาว่างงาน เงินเฟ้อ ส่งภาพรวมสินค้าไลฟ์สไตล์มูลค่า 70,000 กว่าล้านบาท ทรุดแน่ 50%
วานนี้ (1 ส.ค.) 12 สมาคมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และไลฟ์สไตล์ ประกอบด้วย สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย, กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สมาคมเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงานไทย, สมาคมสินค้าของตกแต่งบ้าน, สมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย, สมาคมไทยพัฒนาการปลูกป่าเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไม้, สมาคมโรงเลื่อยจักร, สมาคมการค้าเครื่องใช้ในครัวเรือนไทย, สมาคมอุตสาหกรรมของเล่นไทย, สมาคมของขวัญของชำร่วยไทยและของตกแต่งบ้าน, สมาคมธุรกิจไม้ไทย และสมาคมอุตสาหกรรมไม้ยางพาราภาคตะวันออก ได้ร่วมแถลงข่าวเกี่ยวกับ “ผลกระทบ 300 บาท เรื่องจริงที่ต้องฟัง”
นายอารักษ์ สุขสวัสดิ์ อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย เป็นตัวแทนในการแถลงข่าว เปิดเผยว่า เฉพาะ 12 สมาคมที่ได้ร่วมกันแถลงข่าวครั้งนี้ พบว่า จากกรณีที่รัฐบาลใหม่มีนโยบายกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท จะส่งผลกระทบต่อสมาชิกใน 12 สมาคมที่เป็นผู้ประกอบการส่งออกทันที เนื่องจาก 70% ของทั้ง 12 อุตสาหกรรมนี้ เป็นการส่งออกกว่า 107,680 ล้านบาทต่อปี จากมูลค่ารวม 272,052 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราการจ้างงานถึง 972,000 คน ถ้าปรับค่าแรงเป็น 300 บาทต่อวัน จะทำให้ต้นทุนค่าแรงสูงขึ้น 35-40% ต่อคน พร้อมส่งผลให้ต้นทุนรวมสูงขึ้นจากเดิม 12-16%
จากผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้ง 12 สมาคมมีข้อเสนอแนะ 3 แนว ทาง คือ 1.ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว แต่เห็นด้วยกับการที่จะใช้รูปแบบของคณะกรรมการไตรภาคีตามกฏหมาย 2.ขอเสนอให้มีการประชุมร่วมกัน เพื่อกำหนดการปรับแรงงานอย่างมีระบบขั้นบันได เพื่อผู้ประกอบการสามารถปรับตัวและอยู่รอดได้ในตลาดโลก 3. ทั้ง 12 สมาคมฯเห็นด้วยในการเพิ่มคุณภาพชีวิตแรงงาน โดยรัฐบาลต้องให้ความช่วยเหลือด้านการเงินให้แก่แรงงานโดยตรง โดยไม่ผ่านผู้ประกอบการ
ทั้งนี้ เชื่อว่า หลังจากที่ประกาศใช้ค่าแรง 300 บาทจริงนั้น ใน 12 สมาคมฯจะมีการปลดพนักงานลงทันที 30% หรือราว 300,000 คน โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานที่ไม่มีทักษะ เพื่อให้ต้นทุนยังคงที่ ซึ่งปัญหาที่จะตามมา เช่น ออเดอร์จะลดลง เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นสินค้ามีราคาแพงขึ้น เกิดปัญหาการว่างงานสูงขึ้น รวมถึงภาวะของเงินเฟ้อที่จะตามมาด้วย
ขณะเดียวกันในส่วนของแรงงานก็จะขาดแคลนขึ้น เพราะเด็กๆจะหันไปเรียนระดับปริญญาตรีแทน เนื่องจากกำหนดเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาทเป็นสาเหตุ ส่งผลให้แรงงานระดับปวช. และปวส.ลดลง ที่สำคัญมั่นใจว่าจะมีกลุ่มผู้ประกอบการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอี ที่ใช้แรงงานคนมากกว่าเครื่องจักร ต้องยกเลิกประกอบกิจการตามมา เบื้องต้นไม่สามารถระบุได้ว่าจะมีมากน้องเพียงใด
นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกลดลง เนื่องจากค่าแรงที่ปรับสูงขึ้น จะทำให้แรงงานไทยอยู่ในอันดับสูงสุดทันที เมื่อเทียบกับ จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย จากปัจจุบัน แรงงานไทยแพงกว่าอินโดนีเซียและต่ำกว่าจีน ทำให้ตัวเลขการส่งออกลดลงตามมา
สำหรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นนี้ ทาง 12 สมาคมฯ เตรียมทำหนังสือยื่นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งในรูปแบบของการรวมตัวกัน และแบบต่างคนต่างทำ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่าง สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ รวมถึงรัฐมนตรีแรงงาน และนายกรัฐมนตรีต่อไป
ด้านนางสาวดวงใจ คูห์ศรีวินิจ นายกสมาคมของเล่นไทย กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันในส่วนมูลค่าอุตสาหกรรมของเล่นไทยอยู่ที่ 14,000 ล้านบาท ส่งออก 7,195 ล้านบาท พบว่าเพียงแค่นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เกิดขึ้น ลูกค้าต่างประเทศก็พร้อมสั่งออเดอร์สินค้าในประเทศอื่นแทน เพราะเชื่อว่าราคาสินค้าไทยจะต้องปรับสูงขึ้นแน่ 15% ขณะที่ผู้ประกอบการไทยเตรียมที่จะย้ายฐานการผลิตไปจีนและเวียดนามแทนแล้ว
ส่วนนายศิริชัย เลิศศิริมิตร นายกสมาคมของขวัญของชำร่วยไทยและของตกแต่งบ้าน กล่าวว่า ในภาพรวมของอุตสาหกรรมด้านไลฟ์สไตล์มูลค่ากว่า 70,000 ล้านบาท มองว่าปีนี้การเมืองนิ่งขึ้น จะมีการเติบโตได้ถึง 10-15% แต่เมื่อนำเอาปัจจัยค่าแรง 300 บาทเข้ามาพิจารณาด้วยแล้ว เชื่อว่าจะส่งผลให้ภาพรวมอุตสาหกรรมตกลงได้ถึง 50% แน่.
วานนี้ (1 ส.ค.) 12 สมาคมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และไลฟ์สไตล์ ประกอบด้วย สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย, กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สมาคมเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงานไทย, สมาคมสินค้าของตกแต่งบ้าน, สมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย, สมาคมไทยพัฒนาการปลูกป่าเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไม้, สมาคมโรงเลื่อยจักร, สมาคมการค้าเครื่องใช้ในครัวเรือนไทย, สมาคมอุตสาหกรรมของเล่นไทย, สมาคมของขวัญของชำร่วยไทยและของตกแต่งบ้าน, สมาคมธุรกิจไม้ไทย และสมาคมอุตสาหกรรมไม้ยางพาราภาคตะวันออก ได้ร่วมแถลงข่าวเกี่ยวกับ “ผลกระทบ 300 บาท เรื่องจริงที่ต้องฟัง”
นายอารักษ์ สุขสวัสดิ์ อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย เป็นตัวแทนในการแถลงข่าว เปิดเผยว่า เฉพาะ 12 สมาคมที่ได้ร่วมกันแถลงข่าวครั้งนี้ พบว่า จากกรณีที่รัฐบาลใหม่มีนโยบายกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท จะส่งผลกระทบต่อสมาชิกใน 12 สมาคมที่เป็นผู้ประกอบการส่งออกทันที เนื่องจาก 70% ของทั้ง 12 อุตสาหกรรมนี้ เป็นการส่งออกกว่า 107,680 ล้านบาทต่อปี จากมูลค่ารวม 272,052 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราการจ้างงานถึง 972,000 คน ถ้าปรับค่าแรงเป็น 300 บาทต่อวัน จะทำให้ต้นทุนค่าแรงสูงขึ้น 35-40% ต่อคน พร้อมส่งผลให้ต้นทุนรวมสูงขึ้นจากเดิม 12-16%
จากผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้ง 12 สมาคมมีข้อเสนอแนะ 3 แนว ทาง คือ 1.ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว แต่เห็นด้วยกับการที่จะใช้รูปแบบของคณะกรรมการไตรภาคีตามกฏหมาย 2.ขอเสนอให้มีการประชุมร่วมกัน เพื่อกำหนดการปรับแรงงานอย่างมีระบบขั้นบันได เพื่อผู้ประกอบการสามารถปรับตัวและอยู่รอดได้ในตลาดโลก 3. ทั้ง 12 สมาคมฯเห็นด้วยในการเพิ่มคุณภาพชีวิตแรงงาน โดยรัฐบาลต้องให้ความช่วยเหลือด้านการเงินให้แก่แรงงานโดยตรง โดยไม่ผ่านผู้ประกอบการ
ทั้งนี้ เชื่อว่า หลังจากที่ประกาศใช้ค่าแรง 300 บาทจริงนั้น ใน 12 สมาคมฯจะมีการปลดพนักงานลงทันที 30% หรือราว 300,000 คน โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานที่ไม่มีทักษะ เพื่อให้ต้นทุนยังคงที่ ซึ่งปัญหาที่จะตามมา เช่น ออเดอร์จะลดลง เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นสินค้ามีราคาแพงขึ้น เกิดปัญหาการว่างงานสูงขึ้น รวมถึงภาวะของเงินเฟ้อที่จะตามมาด้วย
ขณะเดียวกันในส่วนของแรงงานก็จะขาดแคลนขึ้น เพราะเด็กๆจะหันไปเรียนระดับปริญญาตรีแทน เนื่องจากกำหนดเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาทเป็นสาเหตุ ส่งผลให้แรงงานระดับปวช. และปวส.ลดลง ที่สำคัญมั่นใจว่าจะมีกลุ่มผู้ประกอบการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอี ที่ใช้แรงงานคนมากกว่าเครื่องจักร ต้องยกเลิกประกอบกิจการตามมา เบื้องต้นไม่สามารถระบุได้ว่าจะมีมากน้องเพียงใด
นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกลดลง เนื่องจากค่าแรงที่ปรับสูงขึ้น จะทำให้แรงงานไทยอยู่ในอันดับสูงสุดทันที เมื่อเทียบกับ จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย จากปัจจุบัน แรงงานไทยแพงกว่าอินโดนีเซียและต่ำกว่าจีน ทำให้ตัวเลขการส่งออกลดลงตามมา
สำหรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นนี้ ทาง 12 สมาคมฯ เตรียมทำหนังสือยื่นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งในรูปแบบของการรวมตัวกัน และแบบต่างคนต่างทำ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่าง สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ รวมถึงรัฐมนตรีแรงงาน และนายกรัฐมนตรีต่อไป
ด้านนางสาวดวงใจ คูห์ศรีวินิจ นายกสมาคมของเล่นไทย กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันในส่วนมูลค่าอุตสาหกรรมของเล่นไทยอยู่ที่ 14,000 ล้านบาท ส่งออก 7,195 ล้านบาท พบว่าเพียงแค่นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เกิดขึ้น ลูกค้าต่างประเทศก็พร้อมสั่งออเดอร์สินค้าในประเทศอื่นแทน เพราะเชื่อว่าราคาสินค้าไทยจะต้องปรับสูงขึ้นแน่ 15% ขณะที่ผู้ประกอบการไทยเตรียมที่จะย้ายฐานการผลิตไปจีนและเวียดนามแทนแล้ว
ส่วนนายศิริชัย เลิศศิริมิตร นายกสมาคมของขวัญของชำร่วยไทยและของตกแต่งบ้าน กล่าวว่า ในภาพรวมของอุตสาหกรรมด้านไลฟ์สไตล์มูลค่ากว่า 70,000 ล้านบาท มองว่าปีนี้การเมืองนิ่งขึ้น จะมีการเติบโตได้ถึง 10-15% แต่เมื่อนำเอาปัจจัยค่าแรง 300 บาทเข้ามาพิจารณาด้วยแล้ว เชื่อว่าจะส่งผลให้ภาพรวมอุตสาหกรรมตกลงได้ถึง 50% แน่.