จากนโยบายบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ที่ต้องการเป็นบริษัทพลังงานข้ามชาติขนาดใหญ่ที่ทำรายได้ 6 ล้านล้านบาทภายในปี 2563 เพื่อก้าวสู่บริษัทที่มีผลประกอบการสูงสุดของโลกติดอันดับ 1ใน 100 บริษัทในนิตยสาร Fortune ทำให้ปตท.ต้องเร่งสยายปีกการลงทุนด้านพลังงานไปยังต่างประเทศ หลังจากทรัพยากรในประเทศมีจำกัด เพื่อสนองความรวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านพลังงานของไทย ทำให้ปตท.ต้องจัดทัพในการรุกต่างประเทศ โดยมีบริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)(ปตท.สผ.)เป็นหัวหอกสำคัญ
การจัดแบ่งทัพการลงทุนดังกล่าว ปตท.สผ.จะเป็นผู้ลงทุนด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันดิบ ส่วนพีทีที อินเตอร์เนชั่นแนลจะลงทุนด้านพลังงานนอกเหนือจากก๊าซฯและน้ำมัน อาทิ การลงทุนธุรกิจถ่านหิน โรงไฟฟ้า ปลูกปาล์ม และพลังงานสีเขียว ซึ่งปัจจุบันได้มีการเข้าไปลงทุนในธุรกิจถ่านหินในอินโดนีเซียแล้วหลังจากเข้าไปซื้อถือหุ้นในบริษัท StraitsResources Limited ที่ออสเตรเลีย ทำให้มีสัดส่วนการเข้าไปถือหุ้นในบริษัท Straits Asia Resources จำกัด (มหาชน)(SAR) ที่สิงคโปร์ (ส.ค.นี้จะเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Sakari Resources:SAR ) ซึ่งมีเหมืองถ่านหินอยู่ 3 แปลงในอินโดนีเซีย คือ Sebuku Jembayan และ Luang รวมทั้งได้รับสิทธิการสำรวจถ่านหินในบรูไน หมู่เกาะมาดากัสการ์ รวมทั้งได้รับการโอนสิทธิประโยชน์ฟาร์มเกลือในอ่าวExmouth ที่ออสเตรเลียด้วย
นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิต ประธานกรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า ในปีนี้ปตท.ตั้งเป้าหมายการผลิตถ่านหินในเหมืองอินโดนีเซีย 2 เหมืองคือ Sebuku และJembayanอยู่11.5ล้านตัน/ปี คาดว่าราคาขายถ่านหินเฉลี่ย 80-85 เหรียญสหรัฐ/ตัน มั่นใจว่าอีก 5 ปีข้างหน้าปริมาณถ่านหินที่ผลิตได้จะเพิ่มขึ้นเป็น 35-40 ล้านตัน/ปี ก่อนขยับขึ้นเป็น 70 ล้านตันในปี 2563
โดยปตท. เตรียมการเข้าไปสำรวจและผลิตถ่านหินที่เกาะมาดากัสการ์ บรูไนด้วย โดยพันธมิตรร่วมทุนในพื้นที่ดังกล่าวก็พร้อมที่จะให้ปตท.เข้าไปถือหุ้นเพิ่มหากพบว่าแปลงสำรวจมีปริมาณสำรองถ่านหินมากเพียงพอ ซึ่งปตท.ก็พร้อมที่จะลงทุน เนื่องจากนับวันความต้องการใช้ถ่านหินเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ ปตท.หาโอกาสทำธุรกิจถ่านหินในออสเตรเลีย เนื่องจากออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองถ่านหินสูงมากใช้นานถึง 500 ปีและส่งออกถ่านหินรายใหญ่ของโลกใกล้เคียงอินโดนีเซีย รวมทั้งยังมีแร่ยูเรเนียมที่มีปริมาณสำรองถึง 38%ของปริมาณสำรองโลก ซึ่งเป็นพลังงานตัวหนึ่งที่น่าสนใจ ยอมรับว่าการควบรวมกิจการ (M&A) ในธุรกิจถ่านหินในช่วงนี้ทำได้ยาก เนื่องจากราคาถ่านหินปรับตัวสูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันดิบ ทำให้ราคาเสนอขายหุ้นอยู่ในระดับที่สูง
ส่วนธุรกิจเหมืองเกลือในออสเตรเลียนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้รับการอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) แต่จากพื้นที่ดังกล่าวพบว่ามีศักยภาพที่จะเลี้ยงสาหร่ายน้ำเค็มเพื่อใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ และใช้พื้นที่น้อยกว่า ซึ่งรัฐบาลออสเตรเลียก็ให้การสนับสนุนพลังงานชนิดดังกล่าว โดยบริษัทฯอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน หากพบว่ามีศักยภาพที่ดีก็อาจจะทำควบคู่กับเหมืองเกลือด้วย ซึ่งจะสร้างรายได้ปีละ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนลยังร่วมทุนกับปตท.สผ. ทำธุรกิจโครงการโรงผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวลอยน้ำ(FLNG) ที่ออสเตรเลีย คาดว่าโครงการFLNG จะใช้เงินลงทุนกว่าร 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เริ่มผลิตLNG ปีละ 2 ล้านตันในปี 2558 ทำให้ต้นทุนการผลิตจะต่ำกว่าการซื้อLNGในตลาดโลก ซึ่งแหล่งก๊าซฯมาจากแหล่งแคชแอนด์เมเปิ้ล 2 ที่อยู่ระหว่างการสำรวจปริมาณสำรองหากพบว่ามีปริมาณสำรอง1.5 ล้านล้านลบ.ฟุตก็สามารถเดินหน้าโครงการดังกล่าวได้
สำหรับธุรกิจปลูกปาล์มน้ำมันในอินโดนีเซียนั้น ขณะนี้บริษัทได้มีการปลูกปาล์มไปแล้วกว่า 1 หมื่นเฮกตาร์ โดยมีผลผลิตปาล์มแล้วประมาณ 5 พันเฮกตาร์ ซึ่งปตท.ได้มีการลงทุนสร้างโรงหีบน้ำมันปาล์ม 1โรงแล้ว ทั้งนี้จะทยอยปลูกปาล์มในพื้นที่ที่เหลืออีก 5-6 แปลงๆละ1หมื่นเฮกตาร์คาดว่าจะใช้เวลาหลายปี โดยแต่ละพื้นที่อาจจะมีการสร้างโรงหีบเพิ่มเติมด้วย โดยปริมาณน้ำมันปาล์มที่ผลิตได้จะเน้นส่งออก รวมทั้งยังหาโอกาสลงทุนธุรกิจโรงไฟฟ้าในหลายประเทศ อาทิ ลาว พม่า อินโดนีเซีย และเวียดนาม
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการผลิตน้ำมันดิบในแหล่งมอนทารา ประเทศออสเตรเลีย จะดำเนินการผลิตได้ในไตรมาส 1/2555 กำลังผลิต35,000- 40,000 ตันต่อวัน ซึ่งโครงการดังกล่าวได้เลื่อนการผลิตเชิงพาณิชย์หลังจากเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้แท่นและน้ำมันรั่ว ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการซ่อมอุปกรณ์ที่เสียหายแล้ว
ทั้งนี้ ปตท.สผ.มีเป้าหมายที่จะผลิตปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นเป็น 9 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ/วันในปี 2563จากปัจจุบันผลิตอยู่ 3 แสนบาร์เรล/วัน โดยจะเป็นการผลิตปิโตรเลียมจากบริษัทลูกในออสเตรเลีย 1 แสนบาร์เรล/วัน ทำให้ปตท.สผ.โฟกัสการลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในออสเตรเลียมากขึ้น โดยล่าสุดบริษัทฯได้สัมปทานแปลงสำรวจปิโตรเลียมเพิ่มอีก 1แปลงในออสเตรเลีย โดยงบลงทุน 10ปีข้างหน้ากลุ่มปตท. ประมาณ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3 ล้านล้านบาท โดยเน้นการลงทุนด้านสำรวจและผลิตปิโตรเลียมกว่าครึ่งหนึ่งของเงินลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในต่างประเทศแทบทั้งสิ้น
นายประเสริฐ กล่าวทิ้งท้ายว่า ไทยเป็นประเทศผู้นำเข้าพลังงาน (Net Import ) และการใช้พลังงาน เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ต้นทุนพลังงานคิดเป็น 20%ของราคาสินค้า ส่งผลให้การแข่งขันกับประเทศอื่นยาก ดังนั้นรัฐบาลไทยควรมีส่วนสำคัญในสนับสนุนอยู่ข้างหลังและให้การช่วยเหลือเพื่อให้หน่วยงานของรัฐเข้าไปถือครองแหล่งพลังงานในต่างประเทศ
เหมือนที่หลายประเทศทำกัน อาทิ จีน และมาเลเซีย ไม่ใช่เป็นตัวอุปสรรคขัดขวางการลงทุนของหน่วยงานรัฐ เนื่องจากนับวันราคาพลังงานจะเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลรู้จักใช้ปตท.ในฐานะรัฐวิสาหกิจหนึ่งของรัฐให้ถูกทาง และใช้ให้เป็น มิฉะนั้นจะกลายเป็นการทำลายทรัพย์สินของคนไทย
การจัดแบ่งทัพการลงทุนดังกล่าว ปตท.สผ.จะเป็นผู้ลงทุนด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันดิบ ส่วนพีทีที อินเตอร์เนชั่นแนลจะลงทุนด้านพลังงานนอกเหนือจากก๊าซฯและน้ำมัน อาทิ การลงทุนธุรกิจถ่านหิน โรงไฟฟ้า ปลูกปาล์ม และพลังงานสีเขียว ซึ่งปัจจุบันได้มีการเข้าไปลงทุนในธุรกิจถ่านหินในอินโดนีเซียแล้วหลังจากเข้าไปซื้อถือหุ้นในบริษัท StraitsResources Limited ที่ออสเตรเลีย ทำให้มีสัดส่วนการเข้าไปถือหุ้นในบริษัท Straits Asia Resources จำกัด (มหาชน)(SAR) ที่สิงคโปร์ (ส.ค.นี้จะเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Sakari Resources:SAR ) ซึ่งมีเหมืองถ่านหินอยู่ 3 แปลงในอินโดนีเซีย คือ Sebuku Jembayan และ Luang รวมทั้งได้รับสิทธิการสำรวจถ่านหินในบรูไน หมู่เกาะมาดากัสการ์ รวมทั้งได้รับการโอนสิทธิประโยชน์ฟาร์มเกลือในอ่าวExmouth ที่ออสเตรเลียด้วย
นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิต ประธานกรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า ในปีนี้ปตท.ตั้งเป้าหมายการผลิตถ่านหินในเหมืองอินโดนีเซีย 2 เหมืองคือ Sebuku และJembayanอยู่11.5ล้านตัน/ปี คาดว่าราคาขายถ่านหินเฉลี่ย 80-85 เหรียญสหรัฐ/ตัน มั่นใจว่าอีก 5 ปีข้างหน้าปริมาณถ่านหินที่ผลิตได้จะเพิ่มขึ้นเป็น 35-40 ล้านตัน/ปี ก่อนขยับขึ้นเป็น 70 ล้านตันในปี 2563
โดยปตท. เตรียมการเข้าไปสำรวจและผลิตถ่านหินที่เกาะมาดากัสการ์ บรูไนด้วย โดยพันธมิตรร่วมทุนในพื้นที่ดังกล่าวก็พร้อมที่จะให้ปตท.เข้าไปถือหุ้นเพิ่มหากพบว่าแปลงสำรวจมีปริมาณสำรองถ่านหินมากเพียงพอ ซึ่งปตท.ก็พร้อมที่จะลงทุน เนื่องจากนับวันความต้องการใช้ถ่านหินเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ ปตท.หาโอกาสทำธุรกิจถ่านหินในออสเตรเลีย เนื่องจากออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองถ่านหินสูงมากใช้นานถึง 500 ปีและส่งออกถ่านหินรายใหญ่ของโลกใกล้เคียงอินโดนีเซีย รวมทั้งยังมีแร่ยูเรเนียมที่มีปริมาณสำรองถึง 38%ของปริมาณสำรองโลก ซึ่งเป็นพลังงานตัวหนึ่งที่น่าสนใจ ยอมรับว่าการควบรวมกิจการ (M&A) ในธุรกิจถ่านหินในช่วงนี้ทำได้ยาก เนื่องจากราคาถ่านหินปรับตัวสูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันดิบ ทำให้ราคาเสนอขายหุ้นอยู่ในระดับที่สูง
ส่วนธุรกิจเหมืองเกลือในออสเตรเลียนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้รับการอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) แต่จากพื้นที่ดังกล่าวพบว่ามีศักยภาพที่จะเลี้ยงสาหร่ายน้ำเค็มเพื่อใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ และใช้พื้นที่น้อยกว่า ซึ่งรัฐบาลออสเตรเลียก็ให้การสนับสนุนพลังงานชนิดดังกล่าว โดยบริษัทฯอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน หากพบว่ามีศักยภาพที่ดีก็อาจจะทำควบคู่กับเหมืองเกลือด้วย ซึ่งจะสร้างรายได้ปีละ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนลยังร่วมทุนกับปตท.สผ. ทำธุรกิจโครงการโรงผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวลอยน้ำ(FLNG) ที่ออสเตรเลีย คาดว่าโครงการFLNG จะใช้เงินลงทุนกว่าร 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เริ่มผลิตLNG ปีละ 2 ล้านตันในปี 2558 ทำให้ต้นทุนการผลิตจะต่ำกว่าการซื้อLNGในตลาดโลก ซึ่งแหล่งก๊าซฯมาจากแหล่งแคชแอนด์เมเปิ้ล 2 ที่อยู่ระหว่างการสำรวจปริมาณสำรองหากพบว่ามีปริมาณสำรอง1.5 ล้านล้านลบ.ฟุตก็สามารถเดินหน้าโครงการดังกล่าวได้
สำหรับธุรกิจปลูกปาล์มน้ำมันในอินโดนีเซียนั้น ขณะนี้บริษัทได้มีการปลูกปาล์มไปแล้วกว่า 1 หมื่นเฮกตาร์ โดยมีผลผลิตปาล์มแล้วประมาณ 5 พันเฮกตาร์ ซึ่งปตท.ได้มีการลงทุนสร้างโรงหีบน้ำมันปาล์ม 1โรงแล้ว ทั้งนี้จะทยอยปลูกปาล์มในพื้นที่ที่เหลืออีก 5-6 แปลงๆละ1หมื่นเฮกตาร์คาดว่าจะใช้เวลาหลายปี โดยแต่ละพื้นที่อาจจะมีการสร้างโรงหีบเพิ่มเติมด้วย โดยปริมาณน้ำมันปาล์มที่ผลิตได้จะเน้นส่งออก รวมทั้งยังหาโอกาสลงทุนธุรกิจโรงไฟฟ้าในหลายประเทศ อาทิ ลาว พม่า อินโดนีเซีย และเวียดนาม
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการผลิตน้ำมันดิบในแหล่งมอนทารา ประเทศออสเตรเลีย จะดำเนินการผลิตได้ในไตรมาส 1/2555 กำลังผลิต35,000- 40,000 ตันต่อวัน ซึ่งโครงการดังกล่าวได้เลื่อนการผลิตเชิงพาณิชย์หลังจากเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้แท่นและน้ำมันรั่ว ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการซ่อมอุปกรณ์ที่เสียหายแล้ว
ทั้งนี้ ปตท.สผ.มีเป้าหมายที่จะผลิตปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นเป็น 9 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ/วันในปี 2563จากปัจจุบันผลิตอยู่ 3 แสนบาร์เรล/วัน โดยจะเป็นการผลิตปิโตรเลียมจากบริษัทลูกในออสเตรเลีย 1 แสนบาร์เรล/วัน ทำให้ปตท.สผ.โฟกัสการลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในออสเตรเลียมากขึ้น โดยล่าสุดบริษัทฯได้สัมปทานแปลงสำรวจปิโตรเลียมเพิ่มอีก 1แปลงในออสเตรเลีย โดยงบลงทุน 10ปีข้างหน้ากลุ่มปตท. ประมาณ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3 ล้านล้านบาท โดยเน้นการลงทุนด้านสำรวจและผลิตปิโตรเลียมกว่าครึ่งหนึ่งของเงินลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในต่างประเทศแทบทั้งสิ้น
นายประเสริฐ กล่าวทิ้งท้ายว่า ไทยเป็นประเทศผู้นำเข้าพลังงาน (Net Import ) และการใช้พลังงาน เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ต้นทุนพลังงานคิดเป็น 20%ของราคาสินค้า ส่งผลให้การแข่งขันกับประเทศอื่นยาก ดังนั้นรัฐบาลไทยควรมีส่วนสำคัญในสนับสนุนอยู่ข้างหลังและให้การช่วยเหลือเพื่อให้หน่วยงานของรัฐเข้าไปถือครองแหล่งพลังงานในต่างประเทศ
เหมือนที่หลายประเทศทำกัน อาทิ จีน และมาเลเซีย ไม่ใช่เป็นตัวอุปสรรคขัดขวางการลงทุนของหน่วยงานรัฐ เนื่องจากนับวันราคาพลังงานจะเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลรู้จักใช้ปตท.ในฐานะรัฐวิสาหกิจหนึ่งของรัฐให้ถูกทาง และใช้ให้เป็น มิฉะนั้นจะกลายเป็นการทำลายทรัพย์สินของคนไทย