ASTVผู้จัดการรายวัน-ปตท.สผ.ปลื้มกำไรไตรมาส1/54 พุ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 1.04 หมื่นล้านบาท เนื่องจากปริมาณการขายและราคาน้ำมันสูงขึ้น เตรียมปรับประมาณการณ์ราคาน้ำมันปีนี้ใหม่เป็น 90-100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล พร้อมเร่งแสวงหาโอกาสการลงทุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการจำหน่ายปิโตรเลียมวันละ 9 แสนบาร์เรลใน10ปีข้างหน้า โดยเน้นแถบอเมริกาและอเมริกาใต้ ออสเตรเลียและแคนาดาใน 2-3ปีข้างหน้า
นาย อนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (PTTEP) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2554 คาดมีกำไรสุทธิสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 10,471 ล้านบาท เนื่องจากมีปริมาณขายปิโตรเลียมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 2.7 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ/วัน จากไตรมาส 1/2553 มีปริมาณขายเฉลี่ย 2.57 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ/วัน รวมทั้งราคาขายที่ปรับสูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันโลก
ทั้งนี้ เดิมเคยคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปีนี้อยู่ที่ 80 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แต่มีแนวโน้มว่าจะปรับประมาณการณ์ราคาน้ำมันเฉลี่ยปีนี้ใหม่ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 90-100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการประเมินสถานการณ์อื่นประกอบด้วย
ขณะนี้บริษัทยังมีความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ หลังจากS&P ลดแนวโน้มอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือสหรัฐฯ ลง ส่วนยุโรปก็ยังไม่แข็งแกร่ง ญี่ปุ่นก็ประสบปัญหาแผ่นดินไหว ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกไม่สมดุล ก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งจะมีผลทำให้ราคาน้ำมันอาจไม่สูงต่อเนื่องตลอดได้
ดังนั้น ปตท.สผ.จึงได้มีการทำอนุพันธ์ประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันที่ระดับขั้นต่ำ 90เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จำนวน 1 ใน 3 ของปริมาณกำลังการผลิตรวมโดยไม่ได้เน้นการเก็งกำไร
นายอนนต์กล่าวว่า ตามแผนยุทธศาสตร์ของปตท.สผ. ที่ต้องการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปิโตรเลียมเพิ่มเป็นวันละ 9 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบภายในปี 2563 จากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตอยู่ 2.7 แสนบาร์เรล/วัน ทำให้ต้องศึกษาและแสวงหาโอกาสลงทุนในแหล่งปิโตรเลียมเพิ่มเติม โดยเน้นแหล่งปิโตรเลียมที่มีการพัฒนาอยู่แล้วเพื่อสร้างรับรู้รายได้ทันทีหรือใกล้จะเริ่มผลิต เพื่อสร้างความมั่นคงด้านรายได้ ขณะเดียวกันก็มองหาแหล่งสำรวจปิโตรเลียมใหม่ ทำให้พอร์ตการลงทุนของปตท.สผ.มีความสมดุลมากขึ้น
ดังนั้น ใน 2-3ปีข้างหน้า บริษัทมองหาโอกาสขยายการลงทุนในทวีปอเมริกา และแถบอเมริกาใต้ เช่น บราซิล ซี่งการตัดสินใจเข้าไปลงทุนต้องทำให้ปตท.สผ.เติบโต แข่งขันได้ และหาพันธมิตรร่วมทุนเพื่อลดความเสี่ยง รวมทั้งแสวงหาโอกาสการลงทุนในออสเตรเลียเพิ่มเติม จากปัจจุบันที่เข้าไปลงทุนในแหล่งมอนทารา และโครงการFLNG ที่คืบหน้าไปมาก
ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาการลงทุนเชิงลึกหลังจากได้พันธมิตรร่วมทุนต่างชาติ 2 รายว่าหากลงทุนจะใช้เงินเท่าใด และเวลาดำเนินการแค่ไหน แข่งขันกับแหล่งLNGขนาดใหญ่ได้หรือไม่ โดยตั้งเป้าหมายโครงการFLNGจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2559
“การบรรลุเป้าหมายการขายปิโตรเลียมเพิ่มเป็น 9 แสนบาร์เรล/วัน จากปีนี้ที่มีเป้าหมายปริมาณขาย 2.73 แสนบาร์เรล/วัน จำเป็นต้องมีปริมาณสำรองปิโตรเลียมพิสูจน์แล้วเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า จากสิ้นปี 2553 อยู่ที่ 1,043 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ทำให้ปตท.สผ.เป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมชั้นนำติด 1ใน 5 ของภูมิภาคเอเชีย รองจากจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีและอินเดีย
จากปัจจุบันที่ติด 1ใน 10"
ส่วนแหล่งปิโตรเลียมที่ไทยและพม่ายังคงเป็นประเทศเป้าหมายหลักอยู่เช่นเดิม ที่จะหาโอกาสในการลดต้นทุนและเพิ่มกำลังการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีช่วย โดยแหล่ง M9 ที่พม่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการหาพันธมิตรร่วมทุน แต่มีตัวเลือกจำกัด เนื่องจากพม่าถูกแซงชั่นจากสหรัฐฯและยุโรป ทำให้การหาพาร์ทเนอร์ทำได้ยากขึ้น แต่เชื่อว่าทางยุโรปและสหรัฐฯ อาจเปลี่ยนท่าทีหลังพม่ามีการปล่อยนางอองซาน ซูจีและจัดให้มีการเลือกตั้งที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการทบทวนโครงการสำรวจปิโตรเลียมกว่า 20 โครงการใหม่ หากพบว่าโครงการใดไม่มีศักยภาพดีเพียงพอก็คงต้องถอนการลงทุนไปแล้วหาแหล่งปิโตรเลียมใหม่ที่มีศักยภาพดีสอดคล้องกับนโยบายบริษัทเข้ามาเพิ่มเติม
นายอนนต์กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาปิโตรเลียมแหล่งมอนทารา ที่ออสเตรเลียว่า ได้คงเป้าหมายเดิมที่จะผลิตน้ำมันดิบในแหล่งมอนทาราได้ 3.5 หมื่นบาร์เรล/วันภายในปลายปีนี้ แม้ว่าจะมีความยากในการปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ตามแผนปรับปรุงแก้ไข (Action Plan) ที่บริษัทฯได้เสนอต่อรัฐบาลออสเตรเลียก็ตาม
ขณะเดียวกันก็มองหาโอกาสการลงทุนใหม่เพิ่มเติมในออสเตรเลีย เนื่องจากออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีศักยภาพที่จะสร้างความเติบโตให้กับปตท.สผ.เช่นเดียวกับแคนาดาที่บริษัทได้มีการเข้าไปร่วมทุนในโครงการแคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี ที่ปัจจุบันได้เริ่มผลิตเชิงพาณิชย์แล้วในพื้นที่ลิสเมอร์แล้วประมาณ 6-7 พันบาร์เรล/วัน และในช่วงเม.ย.-พ.ค.นี้จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ครบถ้วนทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 8 พันบาร์เรลในปีนี้ หลังจากนั้นจะมีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในปีถัดไป
ส่วนพื้นที่คอนเนอร์จะมีการผลิตเชิงพาณิชย์อีก 4 หมื่นบาร์เรล/วัน ทำให้โครงการออยล์ แซนด์ เคเคดีจะมีกำลังการผลิตรวม 80,000-100,000 บาร์เรล/วันในอีก 5ปีข้างหน้า นับเป็นโครงการที่มีความสำคัญในการเพิ่มปริมาณสำรองน้ำมันให้กับปตท.สผ.ในอนาคต สอดคล้องกับเป้าหมายการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปิโตรเลียมวันละ 9 แสนบาร์เรลในอีก 10ปีข้างหน้า
นาย อนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (PTTEP) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2554 คาดมีกำไรสุทธิสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 10,471 ล้านบาท เนื่องจากมีปริมาณขายปิโตรเลียมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 2.7 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ/วัน จากไตรมาส 1/2553 มีปริมาณขายเฉลี่ย 2.57 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ/วัน รวมทั้งราคาขายที่ปรับสูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันโลก
ทั้งนี้ เดิมเคยคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปีนี้อยู่ที่ 80 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แต่มีแนวโน้มว่าจะปรับประมาณการณ์ราคาน้ำมันเฉลี่ยปีนี้ใหม่ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 90-100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการประเมินสถานการณ์อื่นประกอบด้วย
ขณะนี้บริษัทยังมีความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ หลังจากS&P ลดแนวโน้มอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือสหรัฐฯ ลง ส่วนยุโรปก็ยังไม่แข็งแกร่ง ญี่ปุ่นก็ประสบปัญหาแผ่นดินไหว ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกไม่สมดุล ก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งจะมีผลทำให้ราคาน้ำมันอาจไม่สูงต่อเนื่องตลอดได้
ดังนั้น ปตท.สผ.จึงได้มีการทำอนุพันธ์ประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันที่ระดับขั้นต่ำ 90เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จำนวน 1 ใน 3 ของปริมาณกำลังการผลิตรวมโดยไม่ได้เน้นการเก็งกำไร
นายอนนต์กล่าวว่า ตามแผนยุทธศาสตร์ของปตท.สผ. ที่ต้องการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปิโตรเลียมเพิ่มเป็นวันละ 9 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบภายในปี 2563 จากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตอยู่ 2.7 แสนบาร์เรล/วัน ทำให้ต้องศึกษาและแสวงหาโอกาสลงทุนในแหล่งปิโตรเลียมเพิ่มเติม โดยเน้นแหล่งปิโตรเลียมที่มีการพัฒนาอยู่แล้วเพื่อสร้างรับรู้รายได้ทันทีหรือใกล้จะเริ่มผลิต เพื่อสร้างความมั่นคงด้านรายได้ ขณะเดียวกันก็มองหาแหล่งสำรวจปิโตรเลียมใหม่ ทำให้พอร์ตการลงทุนของปตท.สผ.มีความสมดุลมากขึ้น
ดังนั้น ใน 2-3ปีข้างหน้า บริษัทมองหาโอกาสขยายการลงทุนในทวีปอเมริกา และแถบอเมริกาใต้ เช่น บราซิล ซี่งการตัดสินใจเข้าไปลงทุนต้องทำให้ปตท.สผ.เติบโต แข่งขันได้ และหาพันธมิตรร่วมทุนเพื่อลดความเสี่ยง รวมทั้งแสวงหาโอกาสการลงทุนในออสเตรเลียเพิ่มเติม จากปัจจุบันที่เข้าไปลงทุนในแหล่งมอนทารา และโครงการFLNG ที่คืบหน้าไปมาก
ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาการลงทุนเชิงลึกหลังจากได้พันธมิตรร่วมทุนต่างชาติ 2 รายว่าหากลงทุนจะใช้เงินเท่าใด และเวลาดำเนินการแค่ไหน แข่งขันกับแหล่งLNGขนาดใหญ่ได้หรือไม่ โดยตั้งเป้าหมายโครงการFLNGจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2559
“การบรรลุเป้าหมายการขายปิโตรเลียมเพิ่มเป็น 9 แสนบาร์เรล/วัน จากปีนี้ที่มีเป้าหมายปริมาณขาย 2.73 แสนบาร์เรล/วัน จำเป็นต้องมีปริมาณสำรองปิโตรเลียมพิสูจน์แล้วเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า จากสิ้นปี 2553 อยู่ที่ 1,043 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ทำให้ปตท.สผ.เป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมชั้นนำติด 1ใน 5 ของภูมิภาคเอเชีย รองจากจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีและอินเดีย
จากปัจจุบันที่ติด 1ใน 10"
ส่วนแหล่งปิโตรเลียมที่ไทยและพม่ายังคงเป็นประเทศเป้าหมายหลักอยู่เช่นเดิม ที่จะหาโอกาสในการลดต้นทุนและเพิ่มกำลังการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีช่วย โดยแหล่ง M9 ที่พม่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการหาพันธมิตรร่วมทุน แต่มีตัวเลือกจำกัด เนื่องจากพม่าถูกแซงชั่นจากสหรัฐฯและยุโรป ทำให้การหาพาร์ทเนอร์ทำได้ยากขึ้น แต่เชื่อว่าทางยุโรปและสหรัฐฯ อาจเปลี่ยนท่าทีหลังพม่ามีการปล่อยนางอองซาน ซูจีและจัดให้มีการเลือกตั้งที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการทบทวนโครงการสำรวจปิโตรเลียมกว่า 20 โครงการใหม่ หากพบว่าโครงการใดไม่มีศักยภาพดีเพียงพอก็คงต้องถอนการลงทุนไปแล้วหาแหล่งปิโตรเลียมใหม่ที่มีศักยภาพดีสอดคล้องกับนโยบายบริษัทเข้ามาเพิ่มเติม
นายอนนต์กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาปิโตรเลียมแหล่งมอนทารา ที่ออสเตรเลียว่า ได้คงเป้าหมายเดิมที่จะผลิตน้ำมันดิบในแหล่งมอนทาราได้ 3.5 หมื่นบาร์เรล/วันภายในปลายปีนี้ แม้ว่าจะมีความยากในการปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ตามแผนปรับปรุงแก้ไข (Action Plan) ที่บริษัทฯได้เสนอต่อรัฐบาลออสเตรเลียก็ตาม
ขณะเดียวกันก็มองหาโอกาสการลงทุนใหม่เพิ่มเติมในออสเตรเลีย เนื่องจากออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีศักยภาพที่จะสร้างความเติบโตให้กับปตท.สผ.เช่นเดียวกับแคนาดาที่บริษัทได้มีการเข้าไปร่วมทุนในโครงการแคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี ที่ปัจจุบันได้เริ่มผลิตเชิงพาณิชย์แล้วในพื้นที่ลิสเมอร์แล้วประมาณ 6-7 พันบาร์เรล/วัน และในช่วงเม.ย.-พ.ค.นี้จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ครบถ้วนทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 8 พันบาร์เรลในปีนี้ หลังจากนั้นจะมีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในปีถัดไป
ส่วนพื้นที่คอนเนอร์จะมีการผลิตเชิงพาณิชย์อีก 4 หมื่นบาร์เรล/วัน ทำให้โครงการออยล์ แซนด์ เคเคดีจะมีกำลังการผลิตรวม 80,000-100,000 บาร์เรล/วันในอีก 5ปีข้างหน้า นับเป็นโครงการที่มีความสำคัญในการเพิ่มปริมาณสำรองน้ำมันให้กับปตท.สผ.ในอนาคต สอดคล้องกับเป้าหมายการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปิโตรเลียมวันละ 9 แสนบาร์เรลในอีก 10ปีข้างหน้า