ปตท.สผ.โชว์ผลดำเนินงานครึ่งปี รายได้ 8.5 หมื่นล้าน กำไรสุทธิ 2.2 หมื่นล้านบาท จากปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการปรับตัวขึ้นของราคาปิโตรเลียมจากเหตุการณ์ในตะวันออกกลาง ส่วนการขุดสำรวจหลายโครงการมีความก้าวหน้าพบปิโตรเลียม เช่นเดียวกับออยล์ แซนด์ ที่ได้เกินคาด
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บมจ.ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 2/54 บริษัท และบริษัทย่อยมีปริมาณการขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 273,310 บาร์เรล เทียบเท่าน้ำมันดิบ/วัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ 263,392 บาร์เรล โดยปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากการขายก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสทของโครงการอาทิตย์เหนือ และโครงการบงกช การขายก๊าซธรรมชาติของโครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย-บี 17 และการขายน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติของโครงการเอส 1
ทำให้ ไตรมาส 2/54 PTTEP มีรายได้รวมทั้งสิ้น 1,487 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 45,012 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 317 ล้านดอลลาร์หรือร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/53 ซึ่งมีรายได้รวม 1,170 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 37,896 ล้านบาท) ค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 738 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 22,342 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 156 ล้านดอลลาร์ หรือร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายรวม 582 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 18,843 ล้านบาท)
อีกทั้งมีจากการรับรู้ค่าสินไหมทดแทนจากเหตุการณ์ในแหล่งมอนทาราเพิ่มเติมเป็นจำ นวน 16 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสนี้ และมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 3 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 102 ล้านบาท) ทำให้บริษัท และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 370 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 11,170 ล้านบาท) หรือคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.11 ดอลลาร์ (เทียบเท่า 3.37 บาท) เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/53 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 351 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 11,378 ล้านบาท) หรือคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.11 ดอลลาร์ สรอ.(เทียบเท่า 3.43 บาท)
สำหรับผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนปี 54 บริษัทมีรายได้รวมทั้งสิ้น 2,797 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 85,023 ล้านบาท) มีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 1,425 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 43,332 ล้านบาท) และมีกำไรสุทธิ 730 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 22,149 ล้านบาท) คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.22 ดอลลาร์ สรอ. (เทียบเท่า 6.67 บาท) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันในปีก่อนซึ่งมีกำไรสุทธิ 663 ล้านดอลลาร์(เทียบเท่า 21,622 ล้านบาท) หรือคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.20 ดอลลาร์ สรอ.(เทียบเท่า 6.53 บาท)
ปัจจุบัน ฐานะการเงินของบริษัท และบริษัทย่อย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 54 มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 13,159 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 404,611 ล้านบาท) มีหนี้สินรวม 7,295 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 224,319 ล้านบาท) และมีส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 5,864 ล้านดอลลาร์(เทียบเท่า 180,292 ล้านบาท)
ปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลต่อการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2 คือ เศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัว โดยมีปัจจัยบวกจากการเติบโตอย่างเข้มแข็งของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่โดยเฉพาะจีน และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาส่งผลให้เกิดความต้องการน้ำมันสูงขึ้น ประกอบกับการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกา และสถานการณ์ในกลุ่มประเทศในทวีปตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือที่ยังไม่สงบ ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น
ส่วนด้านการสำรวจโครงการต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อประเมินศักยภาพของแปลงและเพิ่มปริมาณสำรองปิโตรเลียม PTTEP มีการขุดเจาะหลุมสำรวจและหลุมประเมินผลในหลายโครงการ อาทิโครงการบงกช มีการขุดเจาะหลุมสำรวจ Ton Rang -3 พบปิโตรเลียม ขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินปริมาณสำรองปิโตรเลียมและการวางแผนเจาะหลุมประเมินผลเพิ่มเติม
โครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย ในส่วนของการพัฒนาแหล่งมอนทารานั้น ปัจจุบันเรือ FPSO อยู่ระหว่างการปรับปรุงประสิทธิภาพและมาตรฐานให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของออสเตรเลีย ส่วนแท่นหลุมผลิตส่วนบน อยู่ระหว่างการทดสอบระบบการทำงาน คาดว่า จะนำไปติดตั้งที่แหล่งผลิตได้ในไตรมาส 3/54 และคาดว่าจะสามารถเริ่มผลิตน้ำมันจากแหล่งมอนทาราได้ภายในไตรมาส 1/55
ส่วนการทำตามแผนการปรับปรุงแก้ไขเนื่องจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลจากแหล่งมอนทารา (Action Plan) ได้มีการรายงานความคืบหน้าต่อกระทรวงทรัพยากรและพลังงานของประเทศออสเตรเลีย อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด นอกจากนั้น ยังมีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของบริษัท พีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย พีทีวาย จำกัด อาทิ การแต่งตั้งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ ซึ่งมีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศออสเตรเลียและเอเชียแปซิฟิค และการแต่งตั้งคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัย ชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อพัฒนามาตรฐานการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ขณะที่การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยนั้น นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ จนถึงสิ้นไตรมาส 2/54 ได้รับค่าสินไหมทดแทนทั้งสิ้นจำนวน 105 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา โดยการดำเนินการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในส่วนที่เหลือมีความคืบหน้าเป็นลำดับ
ด้าน โครงการแคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี ปัจจุบันได้เริ่มการผลิต (first oil) ในพื้นที่ Leismer ตั้งแต่เดือนมกราคม 54 เป็นต้นมา มีการเพิ่มปริมาณการผลิตอย่างต่อเนื่องเป็นที่น่าพอใจ โดยปัจจุบันสามารถผลิตได้ในระดับ 14,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งสูงกว่าประมาณการอย่างมาก นอกจากนี้ทั้งพื้นที่ Leismer และพื้นที่ Cornerได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานรัฐบาลให้ผลิตได้ที่ 40,000 บาร์เรลต่อวันในแต่ละพื้นที่แล้ว
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บมจ.ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 2/54 บริษัท และบริษัทย่อยมีปริมาณการขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 273,310 บาร์เรล เทียบเท่าน้ำมันดิบ/วัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ 263,392 บาร์เรล โดยปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากการขายก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสทของโครงการอาทิตย์เหนือ และโครงการบงกช การขายก๊าซธรรมชาติของโครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย-บี 17 และการขายน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติของโครงการเอส 1
ทำให้ ไตรมาส 2/54 PTTEP มีรายได้รวมทั้งสิ้น 1,487 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 45,012 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 317 ล้านดอลลาร์หรือร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/53 ซึ่งมีรายได้รวม 1,170 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 37,896 ล้านบาท) ค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 738 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 22,342 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 156 ล้านดอลลาร์ หรือร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายรวม 582 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 18,843 ล้านบาท)
อีกทั้งมีจากการรับรู้ค่าสินไหมทดแทนจากเหตุการณ์ในแหล่งมอนทาราเพิ่มเติมเป็นจำ นวน 16 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสนี้ และมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 3 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 102 ล้านบาท) ทำให้บริษัท และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 370 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 11,170 ล้านบาท) หรือคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.11 ดอลลาร์ (เทียบเท่า 3.37 บาท) เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/53 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 351 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 11,378 ล้านบาท) หรือคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.11 ดอลลาร์ สรอ.(เทียบเท่า 3.43 บาท)
สำหรับผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนปี 54 บริษัทมีรายได้รวมทั้งสิ้น 2,797 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 85,023 ล้านบาท) มีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 1,425 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 43,332 ล้านบาท) และมีกำไรสุทธิ 730 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 22,149 ล้านบาท) คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.22 ดอลลาร์ สรอ. (เทียบเท่า 6.67 บาท) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันในปีก่อนซึ่งมีกำไรสุทธิ 663 ล้านดอลลาร์(เทียบเท่า 21,622 ล้านบาท) หรือคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.20 ดอลลาร์ สรอ.(เทียบเท่า 6.53 บาท)
ปัจจุบัน ฐานะการเงินของบริษัท และบริษัทย่อย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 54 มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 13,159 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 404,611 ล้านบาท) มีหนี้สินรวม 7,295 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่า 224,319 ล้านบาท) และมีส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 5,864 ล้านดอลลาร์(เทียบเท่า 180,292 ล้านบาท)
ปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลต่อการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2 คือ เศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัว โดยมีปัจจัยบวกจากการเติบโตอย่างเข้มแข็งของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่โดยเฉพาะจีน และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาส่งผลให้เกิดความต้องการน้ำมันสูงขึ้น ประกอบกับการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกา และสถานการณ์ในกลุ่มประเทศในทวีปตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือที่ยังไม่สงบ ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น
ส่วนด้านการสำรวจโครงการต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อประเมินศักยภาพของแปลงและเพิ่มปริมาณสำรองปิโตรเลียม PTTEP มีการขุดเจาะหลุมสำรวจและหลุมประเมินผลในหลายโครงการ อาทิโครงการบงกช มีการขุดเจาะหลุมสำรวจ Ton Rang -3 พบปิโตรเลียม ขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินปริมาณสำรองปิโตรเลียมและการวางแผนเจาะหลุมประเมินผลเพิ่มเติม
โครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย ในส่วนของการพัฒนาแหล่งมอนทารานั้น ปัจจุบันเรือ FPSO อยู่ระหว่างการปรับปรุงประสิทธิภาพและมาตรฐานให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของออสเตรเลีย ส่วนแท่นหลุมผลิตส่วนบน อยู่ระหว่างการทดสอบระบบการทำงาน คาดว่า จะนำไปติดตั้งที่แหล่งผลิตได้ในไตรมาส 3/54 และคาดว่าจะสามารถเริ่มผลิตน้ำมันจากแหล่งมอนทาราได้ภายในไตรมาส 1/55
ส่วนการทำตามแผนการปรับปรุงแก้ไขเนื่องจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลจากแหล่งมอนทารา (Action Plan) ได้มีการรายงานความคืบหน้าต่อกระทรวงทรัพยากรและพลังงานของประเทศออสเตรเลีย อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด นอกจากนั้น ยังมีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของบริษัท พีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย พีทีวาย จำกัด อาทิ การแต่งตั้งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ ซึ่งมีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศออสเตรเลียและเอเชียแปซิฟิค และการแต่งตั้งคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัย ชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อพัฒนามาตรฐานการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ขณะที่การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยนั้น นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ จนถึงสิ้นไตรมาส 2/54 ได้รับค่าสินไหมทดแทนทั้งสิ้นจำนวน 105 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา โดยการดำเนินการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในส่วนที่เหลือมีความคืบหน้าเป็นลำดับ
ด้าน โครงการแคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี ปัจจุบันได้เริ่มการผลิต (first oil) ในพื้นที่ Leismer ตั้งแต่เดือนมกราคม 54 เป็นต้นมา มีการเพิ่มปริมาณการผลิตอย่างต่อเนื่องเป็นที่น่าพอใจ โดยปัจจุบันสามารถผลิตได้ในระดับ 14,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งสูงกว่าประมาณการอย่างมาก นอกจากนี้ทั้งพื้นที่ Leismer และพื้นที่ Cornerได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานรัฐบาลให้ผลิตได้ที่ 40,000 บาร์เรลต่อวันในแต่ละพื้นที่แล้ว