ASTVผู้จัดการรายวัน-ส.อ.ท.มองเศรษฐกิจไทยปี 2554 ยังโตได้ 4.5% แต่ต้องระวัง 3 ปัจจัยเสี่ยง ความไม่แน่นอนเศรษฐกิจโลก เงินเฟ้อและดอกเบี้ยสูง รวมทั้งความเสี่ยงจากนโยบายประชานิยม ที่จะเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งปีหลังถึงต้นปีหน้า
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยในการประชุมรายงานเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง 2554 (F.T.I Economic Focus 2011) ครั้งที่ 4 วานนี้ (26ก.ค.) ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2554 เอกชนมองว่าจะยังขยายตัวได้ระดับ 4.2-4.5% มูลค่าส่งออก คาดว่าจะอยู่ระดับ 2.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัว 22% โดยเศรษฐกิจครึ่งปีหลังจะได้รับอานิสงค์จากการกระตุ้นการบริโภคในประเทศจากนโยบายประชานิยมของพรรคเพื่อไทยในเชิงจิตวิทยา แต่เศรษฐกิจครึ่งปี 2554 ถึงต้นปี 2555 ของไทยจะมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตาม คือ เศรษฐกิจโลก อัตราเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่สูงขึ้น รวมทั้งความเสี่ยงจากนโยบายประชานิยม
สำหรับความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่จะต้องติดตาม คือ วันที่ 2 ส.ค.นี้ สหรัฐฯ จะชำระคืนเงินไถ่ถอนพันธบัตรครบอายุได้หรือไม่ หากไม่ได้ จะส่งผลต่อวิกฤตการเงินโลกที่ร้ายแรงอีกครั้ง และจะมีผลต่อการไหลบ่าของเงินทุนเข้ามา ซึ่งจะมีผลให้อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออกไทย รวมถึงเศรษฐกิจยุโรปยังไม่ฟื้นตัวมากนัก
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เริ่มได้รับผลกระทบจากนโยบายประชานิยมที่รัฐบาลจะนำมาใช้ในการกระตุ้นการบริโภค ได้ทำให้ราคาสินค้าปรับเพิ่มขึ้นไปรอแล้ว ซึ่งจะกดดันให้ดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะสูงขึ้น โดยคาดว่าเร็วๆ นี้ จะเห็นระดับ 3.75%
ส่วนนโยบายประชานิยมต่างๆ จะเกิดการเรียกร้องให้เป็นไปตามที่ได้มีการหาเสียง รวมทั้งจะมีการคัดค้าน โดยประเมินว่า การขึ้นค่าจ้างแรงงาน และนโยบายประชานิยมอื่นๆ หากมีการดำเนินการตามที่หาเสียงเอาไว้ คาดว่ารัฐบาลจะต้องใช้เม็ดเงิน 1.855 ล้านล้านบาท ภายในระยะเวลา 5 ปี (2555-2559) ซึ่งรัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณขาดดุลต่อเนื่องไปอีก 5-6 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะต่อหนี้สาธารณะที่สูงขึ้น ซึ่งประเทศไทยจะต้องมีการขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตรา 8-10% ซึ่งทางปฏิบัติไม่ง่าย
นายสุพัฒน์พงษ์ นาวารัตน์ ผู้บริหารส่วน ส่วนกลยุทธ์นโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า มาตรการของรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นจะสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีก ขณะที่ราคาน้ำมันยังทรงตัวระดับสูง ผู้ประกอบการมีการทยอยส่งผ่านต้นทุนมายังราคาสินค้า ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ถ้าขึ้นเร็ว ก็จะเป็นความเสี่ยงในระยะต่อไปต่อเงินเฟ้อ ทำให้ภาพรวมครึ่งปี 2554 ดอกเบี้ยจึงยังคงเป็นขาขึ้น เพื่อดูแลภาวะเงินเฟ้อ เช่นเดียวกับค่าเงินบาทที่จะแข็งค่า เนื่องจากเงินยังคงไหลเข้ามาภูมิภาค แต่ธปท.จะพยายามดูแลไม่ให้ผันผวน
นายยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และนโยบายการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) กล่าวว่า การยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนปีนี้น่าจะอยู่ระดับ 4.5 แสนล้านบาท โดยทิศทางการให้สิทธิประโยชน์ของบีโอไอยังไม่ชัดเจนโดยจะต้องรอรัฐบาลใหม่ตัดสินใจ โดยเฉพาะกรณีที่จะพิจารณาลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อแลกกับการลดสิทธิประโยชน์บีโอไอ
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยในการประชุมรายงานเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง 2554 (F.T.I Economic Focus 2011) ครั้งที่ 4 วานนี้ (26ก.ค.) ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2554 เอกชนมองว่าจะยังขยายตัวได้ระดับ 4.2-4.5% มูลค่าส่งออก คาดว่าจะอยู่ระดับ 2.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัว 22% โดยเศรษฐกิจครึ่งปีหลังจะได้รับอานิสงค์จากการกระตุ้นการบริโภคในประเทศจากนโยบายประชานิยมของพรรคเพื่อไทยในเชิงจิตวิทยา แต่เศรษฐกิจครึ่งปี 2554 ถึงต้นปี 2555 ของไทยจะมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตาม คือ เศรษฐกิจโลก อัตราเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่สูงขึ้น รวมทั้งความเสี่ยงจากนโยบายประชานิยม
สำหรับความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่จะต้องติดตาม คือ วันที่ 2 ส.ค.นี้ สหรัฐฯ จะชำระคืนเงินไถ่ถอนพันธบัตรครบอายุได้หรือไม่ หากไม่ได้ จะส่งผลต่อวิกฤตการเงินโลกที่ร้ายแรงอีกครั้ง และจะมีผลต่อการไหลบ่าของเงินทุนเข้ามา ซึ่งจะมีผลให้อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออกไทย รวมถึงเศรษฐกิจยุโรปยังไม่ฟื้นตัวมากนัก
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เริ่มได้รับผลกระทบจากนโยบายประชานิยมที่รัฐบาลจะนำมาใช้ในการกระตุ้นการบริโภค ได้ทำให้ราคาสินค้าปรับเพิ่มขึ้นไปรอแล้ว ซึ่งจะกดดันให้ดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะสูงขึ้น โดยคาดว่าเร็วๆ นี้ จะเห็นระดับ 3.75%
ส่วนนโยบายประชานิยมต่างๆ จะเกิดการเรียกร้องให้เป็นไปตามที่ได้มีการหาเสียง รวมทั้งจะมีการคัดค้าน โดยประเมินว่า การขึ้นค่าจ้างแรงงาน และนโยบายประชานิยมอื่นๆ หากมีการดำเนินการตามที่หาเสียงเอาไว้ คาดว่ารัฐบาลจะต้องใช้เม็ดเงิน 1.855 ล้านล้านบาท ภายในระยะเวลา 5 ปี (2555-2559) ซึ่งรัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณขาดดุลต่อเนื่องไปอีก 5-6 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะต่อหนี้สาธารณะที่สูงขึ้น ซึ่งประเทศไทยจะต้องมีการขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตรา 8-10% ซึ่งทางปฏิบัติไม่ง่าย
นายสุพัฒน์พงษ์ นาวารัตน์ ผู้บริหารส่วน ส่วนกลยุทธ์นโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า มาตรการของรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นจะสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีก ขณะที่ราคาน้ำมันยังทรงตัวระดับสูง ผู้ประกอบการมีการทยอยส่งผ่านต้นทุนมายังราคาสินค้า ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ถ้าขึ้นเร็ว ก็จะเป็นความเสี่ยงในระยะต่อไปต่อเงินเฟ้อ ทำให้ภาพรวมครึ่งปี 2554 ดอกเบี้ยจึงยังคงเป็นขาขึ้น เพื่อดูแลภาวะเงินเฟ้อ เช่นเดียวกับค่าเงินบาทที่จะแข็งค่า เนื่องจากเงินยังคงไหลเข้ามาภูมิภาค แต่ธปท.จะพยายามดูแลไม่ให้ผันผวน
นายยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และนโยบายการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) กล่าวว่า การยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนปีนี้น่าจะอยู่ระดับ 4.5 แสนล้านบาท โดยทิศทางการให้สิทธิประโยชน์ของบีโอไอยังไม่ชัดเจนโดยจะต้องรอรัฐบาลใหม่ตัดสินใจ โดยเฉพาะกรณีที่จะพิจารณาลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อแลกกับการลดสิทธิประโยชน์บีโอไอ