ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ผลสำรวจหาดใหญ่โพล เกี่ยวกับมุมมองภาวะเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ พบว่า ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ ร้อยละ 37.6 มีสถานะการเงินโดยมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ร้อยละ 61.2 มีภาระหนี้สิน ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 62.6 สามารถเก็บเงินออมได้ ประเด็นปัญหาเรื่องราคาน้ำมันแพงมีผลกระทบมากที่สุด อยากให้รัฐบาลช่วยลดค่าครองชีพ
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้สำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับมุมมองภาวะเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,199 ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 30 มิ.ย. - 10 ก.ค. 2554 สรุปผลการสำรวจ ดังนี้
กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 54.2 อายุระหว่าง 20-30 ปี ร้อยละ 41.6 รองลงมา มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 23.9 และอายุ 41-50 ปี ร้อยละ 16.1 ตามลำดับ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 25.6 รองลงมา ประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย, พนักงานบริษัท/ลูกจ้าง, รับจ้างทั่วไป และข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ คิดเป็นร้อยละ 19.3, 15.9, 15.5 และ 10.6 ตามลำดับ
รศ.ทัศนีย์ ประธาน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยผลการสำรวจหาดใหญ่โพล พบว่า ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ ร้อยละ 37.6 มีสถานะการเงินโดยมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ และร้อยละ 28.3 มีสถานะการเงินโดยมีรายได้มากกว่ารายจ่าย มีเพียงร้อยละ 34.1 ไม่เหลือเก็บแต่ไม่มีหนี้สิน
นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.2 มีภาระหนี้สินโดยที่ประชาชนร้อยละ 34.3 มีภาระหนี้ไม่เกิน 50,000 บาท รองลงมา มีภาระหนี้สิน 200,001-500,000 บาท และมากกว่า 500,000 บาทขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 9.7 และ 8.7 ตามลำดับ มีประชาชนร้อยละ 38.8 ไม่มีภาระหนี้สิน
ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 47.7 มีสาเหตุการเป็นหนี้โดยมีการนำเงินไปใช้จ่ายประจำวัน มากที่สุด รองลงมา นำเงินไปใช้เพื่อซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและโทรศัพท์, การศึกษา/ค่าเทอม, เพื่อลงทุนประกอบอาชีพ, เพื่อซื้อบ้าน และเพื่อซื้อรถยนต์ คิดเป็นร้อยละ 38.2, 29.2, 28.2, 21.8 และ 21.6 ตามลำดับ
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 62.6 สามารถเก็บเงินในแต่ละเดือนได้ โดยที่ประชาชนร้อยละ 30.2 สามารถออมเงินได้แต่ไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน มากที่สุด รองลงมาออมเงินได้ระหว่าง 1,001-3,000 บาทต่อเดือน และมากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 14.1 และ 7.5 ตามลำดับ มีประชาชนร้อยละ 37.4 ที่ไม่สามารถออมเงินได้เลย
ประชาชนร้อยละ 45.2 คิดว่าการเมืองหลังการเลือกตั้งมีแนวโน้มเหมือนเดิม และร้อยละ 39.1 ที่คิดว่าการเมืองจะแย่ลง มีเพียงร้อยละ 15.7 คิดว่าการเมืองจะดีขึ้นหลังมีการเลือกตั้ง
นอกจากนี้ พบว่า ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ภาพรวมของปัญหาที่ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 3.90 (จากคะแนนเต็ม 7 คะแนน) มีแนวโน้มของปัญหาลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา และเมื่อพิจารณาตามประเด็นของปัญหา พบว่า ประชาชนเห็นว่าปัญหาราคาน้ำมันแพง เป็นปัญหาที่ได้รับผลกระทบต่อประชาชน มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.27 คะแนน รองลงมา ปัญหาเกี่ยวกับการปรับราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพปัญหาสภาพเศรษฐกิจของประเทศ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาการคอร์รัปชั่นในแวดวงการเมืองและราชการ ปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยมีค่าเฉลี่ย 4.16, 4.07, 4.04, 3.98, 3.94 และ 3.93 ตามลำดับ
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวแนวทางลดค่าครองชีพ พบว่า ประชาชนร้อยละ 42.6 ต้องการเห็นรัฐบาลมาช่วยลดค่าครองชีพด้านราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น มากที่สุด รองลงมา ราคาน้ำมันแพง คิดเป็นร้อยละ 31.6 ตามลำดับ ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 42.0 มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสินค้าราคาแพงอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ประชาชนร้อยละ 41.0 เห็นว่าปัญหาการเมืองส่งผลต่อความเชื่อมั่นของรัฐบาล มากที่สุด รองลงมา เป็นปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาการคอร์รัปชัน คิดเป็นร้อยละ 26.0 และ 15.4 ตามลำดับ
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้สำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับมุมมองภาวะเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,199 ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 30 มิ.ย. - 10 ก.ค. 2554 สรุปผลการสำรวจ ดังนี้
กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 54.2 อายุระหว่าง 20-30 ปี ร้อยละ 41.6 รองลงมา มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 23.9 และอายุ 41-50 ปี ร้อยละ 16.1 ตามลำดับ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 25.6 รองลงมา ประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย, พนักงานบริษัท/ลูกจ้าง, รับจ้างทั่วไป และข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ คิดเป็นร้อยละ 19.3, 15.9, 15.5 และ 10.6 ตามลำดับ
รศ.ทัศนีย์ ประธาน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยผลการสำรวจหาดใหญ่โพล พบว่า ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ ร้อยละ 37.6 มีสถานะการเงินโดยมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ และร้อยละ 28.3 มีสถานะการเงินโดยมีรายได้มากกว่ารายจ่าย มีเพียงร้อยละ 34.1 ไม่เหลือเก็บแต่ไม่มีหนี้สิน
นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.2 มีภาระหนี้สินโดยที่ประชาชนร้อยละ 34.3 มีภาระหนี้ไม่เกิน 50,000 บาท รองลงมา มีภาระหนี้สิน 200,001-500,000 บาท และมากกว่า 500,000 บาทขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 9.7 และ 8.7 ตามลำดับ มีประชาชนร้อยละ 38.8 ไม่มีภาระหนี้สิน
ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 47.7 มีสาเหตุการเป็นหนี้โดยมีการนำเงินไปใช้จ่ายประจำวัน มากที่สุด รองลงมา นำเงินไปใช้เพื่อซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและโทรศัพท์, การศึกษา/ค่าเทอม, เพื่อลงทุนประกอบอาชีพ, เพื่อซื้อบ้าน และเพื่อซื้อรถยนต์ คิดเป็นร้อยละ 38.2, 29.2, 28.2, 21.8 และ 21.6 ตามลำดับ
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 62.6 สามารถเก็บเงินในแต่ละเดือนได้ โดยที่ประชาชนร้อยละ 30.2 สามารถออมเงินได้แต่ไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน มากที่สุด รองลงมาออมเงินได้ระหว่าง 1,001-3,000 บาทต่อเดือน และมากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 14.1 และ 7.5 ตามลำดับ มีประชาชนร้อยละ 37.4 ที่ไม่สามารถออมเงินได้เลย
ประชาชนร้อยละ 45.2 คิดว่าการเมืองหลังการเลือกตั้งมีแนวโน้มเหมือนเดิม และร้อยละ 39.1 ที่คิดว่าการเมืองจะแย่ลง มีเพียงร้อยละ 15.7 คิดว่าการเมืองจะดีขึ้นหลังมีการเลือกตั้ง
นอกจากนี้ พบว่า ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ภาพรวมของปัญหาที่ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 3.90 (จากคะแนนเต็ม 7 คะแนน) มีแนวโน้มของปัญหาลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา และเมื่อพิจารณาตามประเด็นของปัญหา พบว่า ประชาชนเห็นว่าปัญหาราคาน้ำมันแพง เป็นปัญหาที่ได้รับผลกระทบต่อประชาชน มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.27 คะแนน รองลงมา ปัญหาเกี่ยวกับการปรับราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพปัญหาสภาพเศรษฐกิจของประเทศ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาการคอร์รัปชั่นในแวดวงการเมืองและราชการ ปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยมีค่าเฉลี่ย 4.16, 4.07, 4.04, 3.98, 3.94 และ 3.93 ตามลำดับ
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวแนวทางลดค่าครองชีพ พบว่า ประชาชนร้อยละ 42.6 ต้องการเห็นรัฐบาลมาช่วยลดค่าครองชีพด้านราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น มากที่สุด รองลงมา ราคาน้ำมันแพง คิดเป็นร้อยละ 31.6 ตามลำดับ ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 42.0 มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสินค้าราคาแพงอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ประชาชนร้อยละ 41.0 เห็นว่าปัญหาการเมืองส่งผลต่อความเชื่อมั่นของรัฐบาล มากที่สุด รองลงมา เป็นปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาการคอร์รัปชัน คิดเป็นร้อยละ 26.0 และ 15.4 ตามลำดับ