ASTVผู้จัดการรายวัน-ห้างชื่อดัง ผู้นำเข้ารายใหญ่ญี่ปุ่น นำทัพบุกตะลุยสวนผลไม้ไทย หาซื้อป้อนตลาดญี่ปุ่น โดยใช้สิทธิ์เจเทปา คาดสับปะรดพันธุ์เล็ก และกล้วย มีโอกาสเจาะตลาดได้เพิ่มขึ้น หลังมะม่วง มังคุด ทุเรียน มะพร้าวอ่อนนำทัพไปก่อนหน้านี้แล้ว
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว จัดคณะผู้แทนการค้าผลไม้สดจากญี่ปุ่น ประกอบด้วยบริษัทนำเข้ารายใหญ่ ซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ เช่น อีออน, เอไอซีอิงค์, อิโต้–โยกาดะ ยูเนี่ยน, วอซ เทรดดิ้ง, โชวะโบกี้, ยอร์ก เบนนิมารู–เคซี เฟรซ เอสเซส อิงค์เดินทางมาประเทศไทยระหว่างวันที่ 5-15 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อเยี่ยมชมสวนผลไม้ของไทย และพบปะหารือร่วมกับผู้ผลิต ผู้ส่งออก ในการเจรจาซื้อขายผลไม้
ทั้งนี้ คณะผู้แทนการค้าที่เดินทางมาในครั้งนี้ จะไปเยี่ยมชมสวนผลไม้ที่จ.เชียงราย จันทบุรี และตราด โดยเน้นผลไม้ที่ญี่ปุ่นให้สิทธิพิเศษภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทปา) โดยเฉพาะสับปะรดผลเล็กพันธุ์ภูแล พันธุ์นางแล และกล้วย รวมไปถึงผลไม้ที่มีโอกาสในการขยายตลาด เช่น มะม่วง มังคุด ทุเรียน เป็นต้น
“ผลตอบรับในเบื้องต้น คณะผู้แทนการค้าที่เดินทางมา ต่างสนใจที่จะสั่งซื้อผลไม้ไทยเพิ่มขึ้น โดยหลังจากนี้จะได้กลับไปวางแผนในการสั่งซื้อเพื่อให้สอดคล้องกับช่วงที่ผลผลิตผลไม้ไทยออก และมั่นใจว่าผลไม้ไทยจะเจาะเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นได้ทุกภูมิภาคทั่วญี่ปุ่นแน่นอน ที่สำคัญ บริษัทเหล่านี้ ไม่ได้สนใจแค่นำเข้าผลไม้สด แต่สนใจผลไม้แห้ง แปรรูป ผักสด แปรรูปซึ่งถือเป็นโอกาสดีของไทยที่จะทำตลาดในญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้น”นางนันทวัลย์กล่าว
นางอัมพวัน พิชาลัย อัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์) สคร. ณ กรุงโตเกียว กล่าวว่า ภาวะอากาศที่แปรปรวนและอุณหภูมิของโลกที่อุ่นขึ้น ทำให้ผลไม้เมืองร้อนแทรกซึมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอาหารในชีวิตประจำวันของชาวญี่ปุ่น โดยแต่ละปีญี่ปุ่นนำเข้าผลไม้เมืองร้อนที่เป็นผลไม้สด จำนวน 1.6-1.7 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 45,000 ล้านบาท มีสัดส่วน 85%ของผลไม้สดที่นำเข้า
สำหรับผลไม้สดที่ญี่ปุ่นยอมให้นำเข้าในรูปผลสด มี 6 ชนิด ได้แก่ มะม่วง มังคุด ทุเรียน กล้วย มะพร้าวอ่อน และสับปะรด โอกาสส่งออกของไทยยิ่งสูงขึ้น เมื่อมีการลงนามความตกลงเจเทปา ซึ่งญี่ปุ่นได้ลดภาษีนำเข้าผลไม้สด ได้แก่ มะม่วง มังคุด ทุเรียน และมะพร้าวเหลือ 0% และยังขยายโควตาผลไม้จากไทย 2 ชนิด ได้แก่ กล้วย โดยให้โควตาปลอดภาษี 4,000 ตันในปีแรก เริ่มตั้งแต่ 1 พ.ย.2550จากนั้นทะยอยเพิ่มเป็น 8,000 ตันภายใน 5 ปี ภาษีนอกโควตาจัดเก็บ 10% หากนำเข้าระหว่างเม.ย.-ก.ย. และเก็บ 20% เมื่อนำเข้าระหว่างเดือนต.ค.-มี.ค. นอกจากนี้ ได้ให้โควตาปลอดภาษี สำหรับสับปะรดสด ขนาดน้ำหนักผลละไม่เกิน 900 กรัม จำนวน 100 ตันในปีแรก และเพิ่มขึ้นเป็น 500 ตันภายใน 5 ปี ภาษี นอกโควตาจัดเก็บอัตรา 17%
“ในจำนวนผลไม้สดที่ญี่ปุ่นให้นำเข้าจากไทย มะม่วง และมังคุด เป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด เรียกได้ว่าผู้บริโภคต่างรอคอยให้ถึงฤดูผลิตและส่งออกของไทย ผลไม้ที่รู้จักกันดีและได้รับความนิยมมากขึ้น ได้แก่ ทุเรียน มะพร้าวอ่อน ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีการนำเข้ากล้วยหอมทอง และกล้วยไข่จากไทยเข้าไปวางขายในญี่ปุ่นบ้างแต่พบว่าไม่มีการนำเข้าสับปะรดสดจากไทยเลย เมื่อสอบถามบริษัทนำเข้าก็แปลกใจที่ไม่เคยคิดถึงสับปะรดไทยและเชื่อว่าผู้บริโภคก็ยังไม่รู้จัก เชื่อมั่นว่าคณะผู้แทนที่เดินทางมาครั้งนี้จะทำให้ผลไม้ใหม่อีก 2 ชนิด ได้แก่ สับปะรด กล้วย เป็นดาวรุ่งดวงใหม่ของผลไม้ไทยในญี่ปุ่น”นางอัมพวันกล่าว
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว จัดคณะผู้แทนการค้าผลไม้สดจากญี่ปุ่น ประกอบด้วยบริษัทนำเข้ารายใหญ่ ซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ เช่น อีออน, เอไอซีอิงค์, อิโต้–โยกาดะ ยูเนี่ยน, วอซ เทรดดิ้ง, โชวะโบกี้, ยอร์ก เบนนิมารู–เคซี เฟรซ เอสเซส อิงค์เดินทางมาประเทศไทยระหว่างวันที่ 5-15 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อเยี่ยมชมสวนผลไม้ของไทย และพบปะหารือร่วมกับผู้ผลิต ผู้ส่งออก ในการเจรจาซื้อขายผลไม้
ทั้งนี้ คณะผู้แทนการค้าที่เดินทางมาในครั้งนี้ จะไปเยี่ยมชมสวนผลไม้ที่จ.เชียงราย จันทบุรี และตราด โดยเน้นผลไม้ที่ญี่ปุ่นให้สิทธิพิเศษภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทปา) โดยเฉพาะสับปะรดผลเล็กพันธุ์ภูแล พันธุ์นางแล และกล้วย รวมไปถึงผลไม้ที่มีโอกาสในการขยายตลาด เช่น มะม่วง มังคุด ทุเรียน เป็นต้น
“ผลตอบรับในเบื้องต้น คณะผู้แทนการค้าที่เดินทางมา ต่างสนใจที่จะสั่งซื้อผลไม้ไทยเพิ่มขึ้น โดยหลังจากนี้จะได้กลับไปวางแผนในการสั่งซื้อเพื่อให้สอดคล้องกับช่วงที่ผลผลิตผลไม้ไทยออก และมั่นใจว่าผลไม้ไทยจะเจาะเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นได้ทุกภูมิภาคทั่วญี่ปุ่นแน่นอน ที่สำคัญ บริษัทเหล่านี้ ไม่ได้สนใจแค่นำเข้าผลไม้สด แต่สนใจผลไม้แห้ง แปรรูป ผักสด แปรรูปซึ่งถือเป็นโอกาสดีของไทยที่จะทำตลาดในญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้น”นางนันทวัลย์กล่าว
นางอัมพวัน พิชาลัย อัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์) สคร. ณ กรุงโตเกียว กล่าวว่า ภาวะอากาศที่แปรปรวนและอุณหภูมิของโลกที่อุ่นขึ้น ทำให้ผลไม้เมืองร้อนแทรกซึมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอาหารในชีวิตประจำวันของชาวญี่ปุ่น โดยแต่ละปีญี่ปุ่นนำเข้าผลไม้เมืองร้อนที่เป็นผลไม้สด จำนวน 1.6-1.7 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 45,000 ล้านบาท มีสัดส่วน 85%ของผลไม้สดที่นำเข้า
สำหรับผลไม้สดที่ญี่ปุ่นยอมให้นำเข้าในรูปผลสด มี 6 ชนิด ได้แก่ มะม่วง มังคุด ทุเรียน กล้วย มะพร้าวอ่อน และสับปะรด โอกาสส่งออกของไทยยิ่งสูงขึ้น เมื่อมีการลงนามความตกลงเจเทปา ซึ่งญี่ปุ่นได้ลดภาษีนำเข้าผลไม้สด ได้แก่ มะม่วง มังคุด ทุเรียน และมะพร้าวเหลือ 0% และยังขยายโควตาผลไม้จากไทย 2 ชนิด ได้แก่ กล้วย โดยให้โควตาปลอดภาษี 4,000 ตันในปีแรก เริ่มตั้งแต่ 1 พ.ย.2550จากนั้นทะยอยเพิ่มเป็น 8,000 ตันภายใน 5 ปี ภาษีนอกโควตาจัดเก็บ 10% หากนำเข้าระหว่างเม.ย.-ก.ย. และเก็บ 20% เมื่อนำเข้าระหว่างเดือนต.ค.-มี.ค. นอกจากนี้ ได้ให้โควตาปลอดภาษี สำหรับสับปะรดสด ขนาดน้ำหนักผลละไม่เกิน 900 กรัม จำนวน 100 ตันในปีแรก และเพิ่มขึ้นเป็น 500 ตันภายใน 5 ปี ภาษี นอกโควตาจัดเก็บอัตรา 17%
“ในจำนวนผลไม้สดที่ญี่ปุ่นให้นำเข้าจากไทย มะม่วง และมังคุด เป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด เรียกได้ว่าผู้บริโภคต่างรอคอยให้ถึงฤดูผลิตและส่งออกของไทย ผลไม้ที่รู้จักกันดีและได้รับความนิยมมากขึ้น ได้แก่ ทุเรียน มะพร้าวอ่อน ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีการนำเข้ากล้วยหอมทอง และกล้วยไข่จากไทยเข้าไปวางขายในญี่ปุ่นบ้างแต่พบว่าไม่มีการนำเข้าสับปะรดสดจากไทยเลย เมื่อสอบถามบริษัทนำเข้าก็แปลกใจที่ไม่เคยคิดถึงสับปะรดไทยและเชื่อว่าผู้บริโภคก็ยังไม่รู้จัก เชื่อมั่นว่าคณะผู้แทนที่เดินทางมาครั้งนี้จะทำให้ผลไม้ใหม่อีก 2 ชนิด ได้แก่ สับปะรด กล้วย เป็นดาวรุ่งดวงใหม่ของผลไม้ไทยในญี่ปุ่น”นางอัมพวันกล่าว