ห้างสรรพสินค้า - ร้านค้าปรับกลยุทธ์ใหม่ หลังเศรษฐกิจญี่ปุ่นส่งสัญญาณถดถอย เน้นสินค้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงภัยธรรมชาติมากขึ้น พร้อมเทรนด์สินค้าปีนี้ในญี่ปุ่นจะเป็นกลุ่มผลไม้ คาดจะเป็นช่องทางดีสำหรับเอกชนไทย
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่าตามที่รมว.พาณิชย์ พรทิวา นาคาศัย ได้สั่งการให้เฝ้าติดตามสถานการณ์ตลาดโลกนั้น ล่าสุดได้รับรายงานจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยของญี่ปุ่นและการปรับตัวของญี่ปุ่นจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียวว่า การเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเข้าไปขายให้กับผู้บริโภคในญี่ปุ่นของห้างสรรพสินค้าและร้านค้า ได้ปรับกลยุทธ์การขายให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่ญี่ปุ่นกำลังเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ ภายหลังจากเกิดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวและสึนามิ โดยจะตระหนักถึงภัยธรรมชาติและภาวะโลกร้อนมากขึ้น ประกอบกับเพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตและคนในพื้นที่ประสบภัยให้มีงานและรายได้เลี้ยงชีพ
“สินค้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สินค้าที่ช่วยลดอุณภูมิของโลก และสินค้าพื้นเมืองที่ผลิตในเขตโทโฮกุ ที่ประสบภัยจะได้รับความสนใจและนิยมมากเป็นพิเศษ บางห้างฯส่งเสริมการขายด้วยการมอบเงิน 3% ของยอดขายให้แก่ผู้ประสบภัยแม้ว่าสินค้าที่นำเสนอจะมีความหลากหลายน้อยกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเบียร์คาดว่าจะขาดแคลนในช่วงฤดูร้อน (กรกฏาคม-สิงหาคม) แต่ผลไม้สดและอาหารกระป๋องจะเป็นสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการและนิยมซื้อ เพื่อเป็นของขวัญในปีนี้จะมีมากขึ้น รวมถึงเทศกาลขึ้นปีใหม่ 2555 ที่กำลังจะมาถึงนี้ด้วย” นางนันทวัลย์ กล่าว
ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรปรับเปลี่ยนสินค้าให้เข้ากับสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป ถือเป็นกลยุทธ์อีกช่องทางหนึ่งในการเจาะตลาด โดยเฉพาะขณะนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มส่งสัญญาณถดถอยอย่างชัดเจน ส่งผลให้การผลิตในอุตสาหกรรมสำคัญต้องหยุดและชะลอการผลิตเพราะโรงงานชิ้นส่วนสำคัญถูกทำลายและทำให้รายได้ของภาคธุรกิจลดลง
นางอัมพวัน พิชาลัย อัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า จากกรณีที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ริเริ่มนโยบาย Cool Biz ลดโลกร้อน เพื่อกระตุ้นใหข้าราชการและภาคธุรกิจถอดสูท และสวมใส่เสื้อเชิ้ตไม่ต้องผูกเนคไทมาทำงาน เพื่อลดการใชแอรและประหยัดพลังงาน ชาวญี่ปุ่น จึงมีแนวโนมแต่งกายแบบสบายๆ และค่อยๆ ลดความเป็นทางการลงเรื่อยๆ ในช่วงฤดูร้อนนี้จึงเปนโอกาสที่ห้างสรรพสินค้า และร้านจําหน่ายเสื้อผ้าแข่งขันกันนําเสนอแฟชั่น และจุดขายใหม่ๆ เพื่อสร้างกระแสและความต้องการซื้อ
อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศมาตรการประหยัดพลังงานที่เข้มข้นขึ้นหลังจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียรที่จังหวัดฟุกุชิมาระเบิด โดยกําหนดใหส่วนราชการ บริษัท ร้านค้าและครัวเรือนลดการใชกระแสไฟฟ้าลง ในช่วงฤดูร้อนนี้ ทําให้แนวคิดสบายแบบเท่ห์ (Smart Casual) ยิ่งแพร่หลายมากขึ้น บริษัทผู้ผลิตเสื้อยี้ห้อดังต่างก็แนะนําการผลิตจากผ้ายืดที่มีคุณสมบัติระบายอากาศได้ดีออกวางจําหน่ายและไดกลายเป็นสัญญาลักษณ์ของเสื้อสําหรับผู้ชายในฤดูร้อนปีนี้ไปแล้ว
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่าตามที่รมว.พาณิชย์ พรทิวา นาคาศัย ได้สั่งการให้เฝ้าติดตามสถานการณ์ตลาดโลกนั้น ล่าสุดได้รับรายงานจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยของญี่ปุ่นและการปรับตัวของญี่ปุ่นจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียวว่า การเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเข้าไปขายให้กับผู้บริโภคในญี่ปุ่นของห้างสรรพสินค้าและร้านค้า ได้ปรับกลยุทธ์การขายให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่ญี่ปุ่นกำลังเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ ภายหลังจากเกิดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวและสึนามิ โดยจะตระหนักถึงภัยธรรมชาติและภาวะโลกร้อนมากขึ้น ประกอบกับเพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตและคนในพื้นที่ประสบภัยให้มีงานและรายได้เลี้ยงชีพ
“สินค้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สินค้าที่ช่วยลดอุณภูมิของโลก และสินค้าพื้นเมืองที่ผลิตในเขตโทโฮกุ ที่ประสบภัยจะได้รับความสนใจและนิยมมากเป็นพิเศษ บางห้างฯส่งเสริมการขายด้วยการมอบเงิน 3% ของยอดขายให้แก่ผู้ประสบภัยแม้ว่าสินค้าที่นำเสนอจะมีความหลากหลายน้อยกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเบียร์คาดว่าจะขาดแคลนในช่วงฤดูร้อน (กรกฏาคม-สิงหาคม) แต่ผลไม้สดและอาหารกระป๋องจะเป็นสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการและนิยมซื้อ เพื่อเป็นของขวัญในปีนี้จะมีมากขึ้น รวมถึงเทศกาลขึ้นปีใหม่ 2555 ที่กำลังจะมาถึงนี้ด้วย” นางนันทวัลย์ กล่าว
ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรปรับเปลี่ยนสินค้าให้เข้ากับสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป ถือเป็นกลยุทธ์อีกช่องทางหนึ่งในการเจาะตลาด โดยเฉพาะขณะนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มส่งสัญญาณถดถอยอย่างชัดเจน ส่งผลให้การผลิตในอุตสาหกรรมสำคัญต้องหยุดและชะลอการผลิตเพราะโรงงานชิ้นส่วนสำคัญถูกทำลายและทำให้รายได้ของภาคธุรกิจลดลง
นางอัมพวัน พิชาลัย อัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า จากกรณีที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ริเริ่มนโยบาย Cool Biz ลดโลกร้อน เพื่อกระตุ้นใหข้าราชการและภาคธุรกิจถอดสูท และสวมใส่เสื้อเชิ้ตไม่ต้องผูกเนคไทมาทำงาน เพื่อลดการใชแอรและประหยัดพลังงาน ชาวญี่ปุ่น จึงมีแนวโนมแต่งกายแบบสบายๆ และค่อยๆ ลดความเป็นทางการลงเรื่อยๆ ในช่วงฤดูร้อนนี้จึงเปนโอกาสที่ห้างสรรพสินค้า และร้านจําหน่ายเสื้อผ้าแข่งขันกันนําเสนอแฟชั่น และจุดขายใหม่ๆ เพื่อสร้างกระแสและความต้องการซื้อ
อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศมาตรการประหยัดพลังงานที่เข้มข้นขึ้นหลังจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียรที่จังหวัดฟุกุชิมาระเบิด โดยกําหนดใหส่วนราชการ บริษัท ร้านค้าและครัวเรือนลดการใชกระแสไฟฟ้าลง ในช่วงฤดูร้อนนี้ ทําให้แนวคิดสบายแบบเท่ห์ (Smart Casual) ยิ่งแพร่หลายมากขึ้น บริษัทผู้ผลิตเสื้อยี้ห้อดังต่างก็แนะนําการผลิตจากผ้ายืดที่มีคุณสมบัติระบายอากาศได้ดีออกวางจําหน่ายและไดกลายเป็นสัญญาลักษณ์ของเสื้อสําหรับผู้ชายในฤดูร้อนปีนี้ไปแล้ว