ASTVผู้จัดการรายวัน - สคร.หารือคมนาคมสรุปแผนลงทุนด้านโลจิสติกส์ระยะ 10 ปีเตรียมเสนอรัฐบาลใหม่ เบื้องต้นคาดใช้เงินลงทุนกว่า 3 ล้านล้านบาททั้งระบบราง-ถนน-ท่าเรือ พร้อมเปิดช่องดึงเอกชนร่วมในโครงการพีพีพี 20% เดินหน้าฟังความเห็นภาคเอกชนเร็วๆนี้
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาสคร.ได้ประชุมร่วมกับกระทรวงคมนาคมเพื่อหารือและจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการลงทุนด้านโลจิสติกส์ทั้งหมด หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เตรียมการมาระยะหนึ่งแล้ว โดยหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) โดยแผนการลงทุนด้านโลจิสติกส์ดังกล่าวจะมีระยะเวลา 10 ปี ทั้งการลงทุนด้านระบบขนส่งทางราง ทางถนน และท่าเรือ ซึ่งจากที่ประเมินเบื้องต้นพบว่ามีวงเงินลงทุนสูงถึง 3 ล้านล้านบาท
"ตัวเลขการลงทุนด้านโลจิสติกส์ในช่วง 10 ปีหลังจากนี้รวบรวมเบื้องต้นมีกว่า 3 ล้านล้านซึ่งยังไม่นิ่งต้องดูโครงการลงทุนตามนโยบายของรัฐบาลใหม่ด้วย โดยอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ภายใต้กรอบที่ 2.9-3.5 ล้านล้านบาท ซึ่งหลังจากนี้น่าจะหารือกับตัวแทนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน เช่น ประธานสภาหอการค้า ประธานสภาอุตสาหกรรมได้ภายในเดือนก.ค.นี้เพื่อรับฟังความคิดเห็นและขอ้เสนอแนะก่อนจะนำไปจัดทำประชาพิจารย์รับฟังความเห็นในวงกว้างจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งภายใน 2 เดือนข้างหน้า"นายสมชัย กล่าวและว่า คงต้องฟังเสียงสะท้อนจากภาคเอกชนว่าเห็นด้วยกับโครงการที่จัดเตรียมไว้หรือไม่ หรืออยากได้โครงการลงทุนประเภทใดเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตามแผนการลงทุนด้านโลจิสติกส์ดังกล่าวจะมีทั้งโครงการที่ใช้เงินงบประมาณ ใช้เงินของรัฐวิสาหกิจและโครงการร่วมลงทุนกับภาคเอกชนในรูปแบบพีพีพี ซึ่งส่วนของการดึงเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนน่าจะมีประมาณ 20% ซึ่งถือว่ายังมีวงเงินค่อนข้างน้อยสคร.อยากให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในรูปแบบของพีพีพีมากที่สุดเท่าที่จะมากได้แต่คงขึ้นอยู่กับความชัดเจนของโครงการและผลตอบแทนที่จะได้รับด้วยจึงจะดึงดูดความสนใจเข้ามาลงทุนจากภาคเอกชนได้มากขึ้น โดยที่ผ่านมาสคร.เตรียมความพร้อมการลงทุนในรูปแบบพีพีพีไว้อยู่แล้ว เพราะถือเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้ประเทศและช่วยลดภาระด้านงบประมาณลงได้อีกทางหนึ่ง
ส่วนความคืบหน้าของการเตรียมความพร้อมด้านกฎหมายรองรับการลงทุนในรูปแบบของพีพีพีนั้นส่วนของการยกร่างพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี)นั้นขณะนี้อยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หากมีรัฐบาลใหม่สคร.จะยืนยันตามร่างกฎหมายเดิม อยู่ที่รัฐบาลใหม่จะเร่งผลักดันต่อหรือไม่ โดยหากเสนอกลับเข้าครม.และนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาได้ในสมัยประชุมแรกกฎหมายพีพีพีก็น่าจะมีผลบังคับใช้เร็วสุดภายในปีหน้า อย่างไรก๋ตามระหว่างที่กฎหมายใหม่ยังไม่มีผลบังคับใช้ก็สามารถเดินหน้าโครงการพีพีพีได้ภายใต้พ.ร.บ.ร่วมทุนเดิมไปก่อน หลังกฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้ก็สามารถนำมาสวมทับได้คาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร.
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาสคร.ได้ประชุมร่วมกับกระทรวงคมนาคมเพื่อหารือและจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการลงทุนด้านโลจิสติกส์ทั้งหมด หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เตรียมการมาระยะหนึ่งแล้ว โดยหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) โดยแผนการลงทุนด้านโลจิสติกส์ดังกล่าวจะมีระยะเวลา 10 ปี ทั้งการลงทุนด้านระบบขนส่งทางราง ทางถนน และท่าเรือ ซึ่งจากที่ประเมินเบื้องต้นพบว่ามีวงเงินลงทุนสูงถึง 3 ล้านล้านบาท
"ตัวเลขการลงทุนด้านโลจิสติกส์ในช่วง 10 ปีหลังจากนี้รวบรวมเบื้องต้นมีกว่า 3 ล้านล้านซึ่งยังไม่นิ่งต้องดูโครงการลงทุนตามนโยบายของรัฐบาลใหม่ด้วย โดยอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ภายใต้กรอบที่ 2.9-3.5 ล้านล้านบาท ซึ่งหลังจากนี้น่าจะหารือกับตัวแทนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน เช่น ประธานสภาหอการค้า ประธานสภาอุตสาหกรรมได้ภายในเดือนก.ค.นี้เพื่อรับฟังความคิดเห็นและขอ้เสนอแนะก่อนจะนำไปจัดทำประชาพิจารย์รับฟังความเห็นในวงกว้างจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งภายใน 2 เดือนข้างหน้า"นายสมชัย กล่าวและว่า คงต้องฟังเสียงสะท้อนจากภาคเอกชนว่าเห็นด้วยกับโครงการที่จัดเตรียมไว้หรือไม่ หรืออยากได้โครงการลงทุนประเภทใดเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตามแผนการลงทุนด้านโลจิสติกส์ดังกล่าวจะมีทั้งโครงการที่ใช้เงินงบประมาณ ใช้เงินของรัฐวิสาหกิจและโครงการร่วมลงทุนกับภาคเอกชนในรูปแบบพีพีพี ซึ่งส่วนของการดึงเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนน่าจะมีประมาณ 20% ซึ่งถือว่ายังมีวงเงินค่อนข้างน้อยสคร.อยากให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในรูปแบบของพีพีพีมากที่สุดเท่าที่จะมากได้แต่คงขึ้นอยู่กับความชัดเจนของโครงการและผลตอบแทนที่จะได้รับด้วยจึงจะดึงดูดความสนใจเข้ามาลงทุนจากภาคเอกชนได้มากขึ้น โดยที่ผ่านมาสคร.เตรียมความพร้อมการลงทุนในรูปแบบพีพีพีไว้อยู่แล้ว เพราะถือเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้ประเทศและช่วยลดภาระด้านงบประมาณลงได้อีกทางหนึ่ง
ส่วนความคืบหน้าของการเตรียมความพร้อมด้านกฎหมายรองรับการลงทุนในรูปแบบของพีพีพีนั้นส่วนของการยกร่างพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี)นั้นขณะนี้อยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หากมีรัฐบาลใหม่สคร.จะยืนยันตามร่างกฎหมายเดิม อยู่ที่รัฐบาลใหม่จะเร่งผลักดันต่อหรือไม่ โดยหากเสนอกลับเข้าครม.และนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาได้ในสมัยประชุมแรกกฎหมายพีพีพีก็น่าจะมีผลบังคับใช้เร็วสุดภายในปีหน้า อย่างไรก๋ตามระหว่างที่กฎหมายใหม่ยังไม่มีผลบังคับใช้ก็สามารถเดินหน้าโครงการพีพีพีได้ภายใต้พ.ร.บ.ร่วมทุนเดิมไปก่อน หลังกฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้ก็สามารถนำมาสวมทับได้คาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร.