สำนักงาน ก.ล.ต. โปรยยาหอมรัฐวิสาหกิจ -บลจ. ประกาศความพร้อมตั้ง "กองทุนรวมสาธารณูปโภค" หลังประกาศเกณฑ์จัดตั้งกองมีผลแล้ว ด้านผู้ลงทุนได้เฮ อ้อนสรรพากรเว้นภาษีเงินปันผล 10%
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สายงานกำกับดูแลผู้ประกอบหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันทางสำนักงาน ก.ล.ต.มีความพร้อมที่จะอนุญาตให้จัดตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภค (Infrastrucure Fund) อย่างเต็มที่ โดยในส่วนของรัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทจัดการกองทุนที่สนใจ สามารถยื่นจัดตั้งกองทุนได้เลย เพราะขณะนี้ ในส่วนของประกาศหลักเกณฑ์จัดตั้งกองทุนมีผลพร้อมใช้เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสิทธิประโยชน์ทางภาษีเอง ทางสำนักงานก.ล.ต. ได้เสนอไปยังสรรพากร เพื่อขอยกเว้นให้กองทุนไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งรวมถึงการขอยกเว้นภาษีจากเงินปันผล 10% อีกด้วย โดยเรื่องนี้
ทั้งนี้ ในส่วนของเกณฑ์จัดตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภคนั้น จะต่างกันออกไปจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) โดยกำหนดไว้ว่า ขนาดของกองทุนต้องไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ เช่น ไฟฟ้า ประปา ท่าอากาศยาน ท่าเรือน้ำลึก โทรคมนาคม ระบบขนส่งทางราง เป็นต้น เพื่อเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการ พัฒนาเศรษฐกิจโดยคนไทยในประเทศจะต้องเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากสาธารณูปโภค ที่ไปลงทุนเหล่านั้น ส่วนอายุโครงการขึ้นกับสัมปทานของโครงการที่ได้รับ และสาธารณูปโภคที่กองทุนเข้าไปลงทุนนั้น รัฐยังเป็นเจ้าของทรัพย์สินและเป็นผู้บริหารทรัพย์สินจะไม่มีการขายกรรมสิทธิ์แต่ประการใด
ในส่วนของการขายหน่วยลงทุน กองทุนสาธารณูปโภคจะมีการแบ่งประเภทของผู้ถือหน่วยเป็น 2 ประเภท คือ 1) ผู้ถือหน่วยประเภทตราสารหนี้ ที่คาดหวังผลตอบแทนที่สม่ำเสมอในระยะยาว และรับความเสี่ยงได้น้อย กับ 2) ผู้ถือหน่วยประเภทตราสารทุน ที่รับความเสี่ยงได้มากขึ้น โดยพร้อมจะรอรับผลตอบแทนส่วนที่เหลือหลังจากที่จ่ายให้กับผู้ถือหน่วยประเภท ตราสารหนี้แล้ว ซึ่งอาจจะได้มากกว่าหรือน้อยกว่าผู้ถือหน่วยประเภทตราสารหนี้ก็ได้ เป็นการแบ่งประเภทของผู้ถือหน่วยออกมาให้ชัดเจน โดยหน่วยลงทุนที่คล้ายตราสารทุนจะขายเฉพาะนักลงทุนสถาบันเท่านั้น
นายประเวช ยังกล่าวอีกว่า กองทุนสาธารณูปโภคจะต้องลงทุนในทรัพย์สินที่สร้างเสร็จแล้วมีรายได้แล้วไม่ น้อยกว่า 70% โดยอนุญาตให้มีการลงทุนในทรัพย์สินที่ยังสร้างไม่เสร็จได้ไม่เกิน 30% เพื่อป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุน และในกรณีที่มีการลงทุนในโครงการที่ยังสร้างไม่เสร็จมากกว่า 30% นั้น ต้องตั้งกองเพื่อขายให้กับนักลงทุนสถาบันเท่านั้น และเมื่อกองทุนสร้างเสร็จแล้วภายใน 3 ปี ต้องมีการเปลี่ยนหน่วยลงทุนประเภทตราสารทุนไปเป็นหน่วยลงทุนประเภทตราสาร หนี้แล้วจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อย ได้มีส่วนร่วมในการลงทุนต่อไป นอกจากนี้ยังเปิดให้กองทุนสามารถกู้เงินมาลงทุนได้ไม่เกิน 3 เท่า ของหน่วยลงทุนประเภททุนด้วย
“ถ้า กองทุนมีขนาด 100 ล้านบาท และมีหน่วยลงทุนประเภทตราสารหนี้ 70 ล้านบาทประเภทตราสารทุน 30 ล้านบาท กองทุนจะกู้ได้ไม่เกิน 20 ล้านบาท เพราะเงินกู้เมื่อรวมกับหน่วยลงทุนประเภทตราสารหนี้แล้วต้องไม่เกิน 3 เท่า ของหน่วยลงทุนประเภททุน ที่สำคัญผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนสาธารณูปโภคจะจำกัดภาระหนี้เฉพาะส่วนที่ ไม่เกินกว่าหลักทรัพย์ค้ำประกันเท่านั้น ในส่วนของประโยชน์ทางภาษีจะมีไม่น้อยกว่ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ซึ่งทางสำนักงานก.ล.ต.เสนอให้มีการยกเว้นภาษีเงินปันผล 10% ให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนด้วย” นายประเวชกล่าว
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สายงานกำกับดูแลผู้ประกอบหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันทางสำนักงาน ก.ล.ต.มีความพร้อมที่จะอนุญาตให้จัดตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภค (Infrastrucure Fund) อย่างเต็มที่ โดยในส่วนของรัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทจัดการกองทุนที่สนใจ สามารถยื่นจัดตั้งกองทุนได้เลย เพราะขณะนี้ ในส่วนของประกาศหลักเกณฑ์จัดตั้งกองทุนมีผลพร้อมใช้เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสิทธิประโยชน์ทางภาษีเอง ทางสำนักงานก.ล.ต. ได้เสนอไปยังสรรพากร เพื่อขอยกเว้นให้กองทุนไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งรวมถึงการขอยกเว้นภาษีจากเงินปันผล 10% อีกด้วย โดยเรื่องนี้
ทั้งนี้ ในส่วนของเกณฑ์จัดตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภคนั้น จะต่างกันออกไปจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) โดยกำหนดไว้ว่า ขนาดของกองทุนต้องไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ เช่น ไฟฟ้า ประปา ท่าอากาศยาน ท่าเรือน้ำลึก โทรคมนาคม ระบบขนส่งทางราง เป็นต้น เพื่อเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการ พัฒนาเศรษฐกิจโดยคนไทยในประเทศจะต้องเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากสาธารณูปโภค ที่ไปลงทุนเหล่านั้น ส่วนอายุโครงการขึ้นกับสัมปทานของโครงการที่ได้รับ และสาธารณูปโภคที่กองทุนเข้าไปลงทุนนั้น รัฐยังเป็นเจ้าของทรัพย์สินและเป็นผู้บริหารทรัพย์สินจะไม่มีการขายกรรมสิทธิ์แต่ประการใด
ในส่วนของการขายหน่วยลงทุน กองทุนสาธารณูปโภคจะมีการแบ่งประเภทของผู้ถือหน่วยเป็น 2 ประเภท คือ 1) ผู้ถือหน่วยประเภทตราสารหนี้ ที่คาดหวังผลตอบแทนที่สม่ำเสมอในระยะยาว และรับความเสี่ยงได้น้อย กับ 2) ผู้ถือหน่วยประเภทตราสารทุน ที่รับความเสี่ยงได้มากขึ้น โดยพร้อมจะรอรับผลตอบแทนส่วนที่เหลือหลังจากที่จ่ายให้กับผู้ถือหน่วยประเภท ตราสารหนี้แล้ว ซึ่งอาจจะได้มากกว่าหรือน้อยกว่าผู้ถือหน่วยประเภทตราสารหนี้ก็ได้ เป็นการแบ่งประเภทของผู้ถือหน่วยออกมาให้ชัดเจน โดยหน่วยลงทุนที่คล้ายตราสารทุนจะขายเฉพาะนักลงทุนสถาบันเท่านั้น
นายประเวช ยังกล่าวอีกว่า กองทุนสาธารณูปโภคจะต้องลงทุนในทรัพย์สินที่สร้างเสร็จแล้วมีรายได้แล้วไม่ น้อยกว่า 70% โดยอนุญาตให้มีการลงทุนในทรัพย์สินที่ยังสร้างไม่เสร็จได้ไม่เกิน 30% เพื่อป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุน และในกรณีที่มีการลงทุนในโครงการที่ยังสร้างไม่เสร็จมากกว่า 30% นั้น ต้องตั้งกองเพื่อขายให้กับนักลงทุนสถาบันเท่านั้น และเมื่อกองทุนสร้างเสร็จแล้วภายใน 3 ปี ต้องมีการเปลี่ยนหน่วยลงทุนประเภทตราสารทุนไปเป็นหน่วยลงทุนประเภทตราสาร หนี้แล้วจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อย ได้มีส่วนร่วมในการลงทุนต่อไป นอกจากนี้ยังเปิดให้กองทุนสามารถกู้เงินมาลงทุนได้ไม่เกิน 3 เท่า ของหน่วยลงทุนประเภททุนด้วย
“ถ้า กองทุนมีขนาด 100 ล้านบาท และมีหน่วยลงทุนประเภทตราสารหนี้ 70 ล้านบาทประเภทตราสารทุน 30 ล้านบาท กองทุนจะกู้ได้ไม่เกิน 20 ล้านบาท เพราะเงินกู้เมื่อรวมกับหน่วยลงทุนประเภทตราสารหนี้แล้วต้องไม่เกิน 3 เท่า ของหน่วยลงทุนประเภททุน ที่สำคัญผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนสาธารณูปโภคจะจำกัดภาระหนี้เฉพาะส่วนที่ ไม่เกินกว่าหลักทรัพย์ค้ำประกันเท่านั้น ในส่วนของประโยชน์ทางภาษีจะมีไม่น้อยกว่ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ซึ่งทางสำนักงานก.ล.ต.เสนอให้มีการยกเว้นภาษีเงินปันผล 10% ให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนด้วย” นายประเวชกล่าว