ASTVผู้จัดการรายวัน - นักวิชาการมองคนละมุม AREA ระบุขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ 300 บาท/วันไม่ส่งผลกระทบต่อราคาที่อยู่อาศัย เพราะภาคก่อสร้างจ้างสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ขณะที่แรงงานไร้ฝีมือที่ต้องขึ้นค่าแรงมีเพียงส่วนน้อย แฉเลห์เอกชนขู่ขึ้นราคาบ้านแค่ต้องการเร่งผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด หรือ AERAกล่าวว่า นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ของรัฐบาลชุดใหม่ เอกชนหลายคนให้ความเห็นว่าอาจทำให้ราคาบ้านเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการคงจะผลักภาระให้ผู้ซื้อ ทำให้เกิดความเดือดร้อนในการซื้อบ้าน
ทั้งนี้ AREA เสนอข้อมูลเพื่อการพิจารณาดังนี้ 1. โดยปกติในวงการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ ก็มักว่าจ้างในอัตราที่สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว โดยเฉพาะช่างฝีมือต่าง ๆ ดังนั้นจึงอาจไม่มีผลกระทบมากนัก, 2. ค่าแรงขั้นต่ำอาจมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่นอุตสาหกรรมเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม แต่ในวงการอสังหาริมทรัพย์ปัจจุบันใช้ระบบการก่อสร้างระบบกึ่งสำเร็จเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงอยู่ในภาวะที่แตกต่างจากอุตสาหกรรมทั่วไป
3. ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ค่าแรงมีสัดส่วน 30 % ของค่าก่อสร้างโดยรวม ดังนั้นหากมีการเพิ่มค่าแรงขึ้น 50% ก็จะทำให้ราคาค่าก่อสร้างโดยรวมเพิ่มขึ้น 15% อย่างไรก็ตามมูลค่าบ้านหลังหนึ่งเป็นส่วนของค่าก่อสร้างประมาณ 1/3 อีก 2/3 เป็นส่วนของราคาที่ดิน ดังนั้นการขึ้นค่าแรง 50% จึงอาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาประมาณ 5% เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม การจ้างแรงงานในในภาคก่อสร้างไม่มีเฉพาะแรงงานไร้ฝีมือ ที่ได้รับค่าแรงขั้นยต่ำ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานฝีมือ ที่ต้องจ่ายสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว จึงเชื่อว่าผลกระทบที่ภาคการก่อสร้างจะได้รับนั้นมีไม่มากนัก
4. หากเป็นในภาวะเศรษฐกิจขาขึ้นที่ราคาที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ขายจะได้ส่วนต่างของมูลค่า หากมีการเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าก่อสร้างบ้างก็คงไม่เป็นผลเสียแก่ฝ่ายใด เข้าทำนอง Win-Win ต่อทุกฝ่าย, 5. หากเป็นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งไม่มีผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ การซื้อขายมักเป็นการซื้อขายสินค้ามือสองเป็นสำคัญ การเพิ่มขึ้นของค่าแรงหรือค่าวัสดุก่อสร้างก็ไม่มีผลต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ เพราะในห้วงเวลาดังกล่าวมักไม่มีการก่อสร้าง
6. การที่บางฝ่ายให้ความเห็นว่า การขึ้นค่าแรงจะทำให้ราคาสินค้าอสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น อาจเป็นกลยุทธ์ในการกระตุ้นกำลังซื้อด้วยความกลัวว่าราคาจะขึ้นเสียก่อน ซึ่งอาจส่งผลดีต่อการค้าอสังหาริมทรัพย์มากกว่าการที่ราคาจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ดังนั้น AREA จึงขอแนะนำให้นักลงทุนและผู้สนใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้พิจารณาเปรียบเทียบสินค้าให้รอบคอบก่อนการลงทุน ทั้งสินค้ามือหนึ่ง และสินค้ามือสองในตลาด จะได้เป็นการลงทุนอย่างรอบรู้ (knowledgeable)
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด หรือ AERAกล่าวว่า นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ของรัฐบาลชุดใหม่ เอกชนหลายคนให้ความเห็นว่าอาจทำให้ราคาบ้านเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการคงจะผลักภาระให้ผู้ซื้อ ทำให้เกิดความเดือดร้อนในการซื้อบ้าน
ทั้งนี้ AREA เสนอข้อมูลเพื่อการพิจารณาดังนี้ 1. โดยปกติในวงการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ ก็มักว่าจ้างในอัตราที่สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว โดยเฉพาะช่างฝีมือต่าง ๆ ดังนั้นจึงอาจไม่มีผลกระทบมากนัก, 2. ค่าแรงขั้นต่ำอาจมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่นอุตสาหกรรมเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม แต่ในวงการอสังหาริมทรัพย์ปัจจุบันใช้ระบบการก่อสร้างระบบกึ่งสำเร็จเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงอยู่ในภาวะที่แตกต่างจากอุตสาหกรรมทั่วไป
3. ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ค่าแรงมีสัดส่วน 30 % ของค่าก่อสร้างโดยรวม ดังนั้นหากมีการเพิ่มค่าแรงขึ้น 50% ก็จะทำให้ราคาค่าก่อสร้างโดยรวมเพิ่มขึ้น 15% อย่างไรก็ตามมูลค่าบ้านหลังหนึ่งเป็นส่วนของค่าก่อสร้างประมาณ 1/3 อีก 2/3 เป็นส่วนของราคาที่ดิน ดังนั้นการขึ้นค่าแรง 50% จึงอาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาประมาณ 5% เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม การจ้างแรงงานในในภาคก่อสร้างไม่มีเฉพาะแรงงานไร้ฝีมือ ที่ได้รับค่าแรงขั้นยต่ำ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานฝีมือ ที่ต้องจ่ายสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว จึงเชื่อว่าผลกระทบที่ภาคการก่อสร้างจะได้รับนั้นมีไม่มากนัก
4. หากเป็นในภาวะเศรษฐกิจขาขึ้นที่ราคาที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ขายจะได้ส่วนต่างของมูลค่า หากมีการเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าก่อสร้างบ้างก็คงไม่เป็นผลเสียแก่ฝ่ายใด เข้าทำนอง Win-Win ต่อทุกฝ่าย, 5. หากเป็นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งไม่มีผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ การซื้อขายมักเป็นการซื้อขายสินค้ามือสองเป็นสำคัญ การเพิ่มขึ้นของค่าแรงหรือค่าวัสดุก่อสร้างก็ไม่มีผลต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ เพราะในห้วงเวลาดังกล่าวมักไม่มีการก่อสร้าง
6. การที่บางฝ่ายให้ความเห็นว่า การขึ้นค่าแรงจะทำให้ราคาสินค้าอสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น อาจเป็นกลยุทธ์ในการกระตุ้นกำลังซื้อด้วยความกลัวว่าราคาจะขึ้นเสียก่อน ซึ่งอาจส่งผลดีต่อการค้าอสังหาริมทรัพย์มากกว่าการที่ราคาจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ดังนั้น AREA จึงขอแนะนำให้นักลงทุนและผู้สนใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้พิจารณาเปรียบเทียบสินค้าให้รอบคอบก่อนการลงทุน ทั้งสินค้ามือหนึ่ง และสินค้ามือสองในตลาด จะได้เป็นการลงทุนอย่างรอบรู้ (knowledgeable)