ASTVผู้จัดการรายวัน-“อลงกรณ์” ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงข้าราชการกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แจงข้อเท็จจริงการตรวจสอบดีแทค ยืนยันไม่เคยใช้อำนาจทางการเมืองแทรกแซงการทำงานข้าราชการ หรือแทรกแซงผลตรวจสอบ เผยที่ต้องให้ส่งฟ้อง เพราะพบหลักฐานดีแทคเป็นต่างด้าวและมีนอมีนีชัดเจน วอนข้าราชการเข้าใจ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า วานนี้ (12 ก.ค.) นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงข้าราชการกรมพัฒนาธุรกิจ เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีการตรวจสอบโครงสร้างการถือหุ้นบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และคำสั่งให้นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แจ้งความต่อพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีกับดีแทค หลังจากที่ได้พิจารณาผลสรุปการตรวจสอบดีแทคของนายสัญญา สถิรบุตร ประธานที่ปรึกษารมช.พาณิชย์ ซึ่งมีมูลอันเชื่อได้ว่า ดีแทคเข้าข่ายเป็นต่างด้าว และมีคนไทยถือหุ้นแทน (นอมินี) รวมถึงระบายความรู้สึกถึงการถูกกล่าวหาว่าฝ่ายการเมืองแทรกแซงการทำงานของข้าราชการประจำ และรมช.พาณิชย์ไม่มีอำนาจสั่งการให้แจ้งความดำเนินคดีกับดีแทค
จดหมายเปิดผนึกดังกล่าว นายอลงกรณ์ ได้ย้ำถึงกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าฝ่ายการเมืองแทรกแซงว่า ไม่เคยแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบของคณะทำงานตรวจสอบโครงสร้างการถือหุ้นดีแทค ชุดนายบรรยงค์ เป็นประธาน โดยคณะทำงานฯ สามารถทำงานได้โดยอิสระ รวมถึงไม่เคยแทรกแซงผลการตรวจสอบของคณะทำงานฯ ไม่เคยแก้ไข หรือให้สรุปเป็นอย่างอื่น การดำเนินการเช่นนี้ จะเรียกว่าแทรกแซงได้อย่างไร ซึ่งตนรู้สึกเสียใจกับคำพูดที่ว่าแทรกแซง และรัฐมนตรีไม่มีอำนาจสั่งการ
“ผมไม่เข้าใจว่า ผมแทรกแซงอะไร ท่านอธิบดีคงหมายถึงการสั่งการให้กรมฯ กล่าวโทษผู้กระทำความผิด ซึ่งต่างจากที่ท่านอธิบดีเห็นว่า ควรส่งเรื่องให้ตำรวจสอบสวนต่อไป โดยกรมฯ จะไม่กล่าวโทษใคร อย่างนี้ใช้คำว่า แทรกแซงไม่ถูกต้อง เพราะเป็นเรื่องการบริหารราชการปกติ ถ้าบอกว่ารัฐมนตรีมีความเห็นต่างกับอธิบดีน่าจะเป็นธรรมกับผมมากกว่า และคำสั่งการของผมก็ให้ยึดผลตรวจสอบของคณะทำงานฯ เป็นสำคัญ และให้ท่านอธิบดีใช้ดุลยพินิจในการกล่าวโทษได้อย่างเต็มที่ ไม่ได้ไปก้าวล่วงแต่อย่างใด ผมไม่ต้องการโต้เถียงว่าผมมีอำนาจสั่งการหรือไม่ ซึ่งไม่ใช่สาระสำคัญสำหรับผม สิ่งที่ผมอยากเห็น คือ เมื่อผลตรวจสอบสรุปว่า มีมูลอันเชื่อได้ว่ามีการกระทำผิดกฎหมาย ท่านอธิบดีควรต้องรักษากฎหมาย และบังคับใช้กฎหมาย”
นายอลงกรณ์ ระบุว่า คำสั่งที่ให้อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แจ้งความเอาผิดกับดีแทค รวมถึงบุคคล และนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น เป็นคำสั่งในฐานะรักษาการรมว.พาณิชย์ (ผู้รักษาการตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวพ.ศ.2542 โดยรมว.พาณิชย์เดินทางไปราชการต่างประเทศ) และรมช.พาณิชย์ ในฐานะผู้กำกับดูแลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตามพ.ร.บ.บริหารราชการแผ่นดิน
นอกจากนี้ นายอลงกรณ์ ยังได้ย้ำถึงผลของการวินิจฉัยสั่งการของตนเอง ว่า หลังจากตรวจสอบผลสรุปของนายสัญญา ที่ได้ตรวจสอบซ้ำผลสรุปของคณะทำงานฯ ชุดนายบรรยงค์แล้ว เห็นควรให้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวน เพราะมีพยานหลักฐานเพียงพอแล้ว ซึ่งผลสรุปของคณะทำงานฯ นั้น ตรวจสอบได้ดีทีเดียว สามารถค้นพบข้อเท็จจริงที่เสมือนตบหน้าคนไทยทั้งประเทศ เพราะพบว่า กลุ่มบริษัทต่างด้าวที่อ้างว่าเป็นบริษัทไทย ได้จดทะเบียนข้อบังคับ เช่น กำหนดให้จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยเพียง 5% และให้ผู้ถือหุ้นต่างด้าวถึง 95% ทั้งที่เป็นหุ้นข้างน้อย หรือสิทธิออกเสียงของฝ่ายไทย 10 หุ้นต่อ 1 เสียง ขณะที่ต่างด้าว 1 หุ้นต่อ 1 เสียง
อีกทั้งยังมีการแจ้งที่มาของการลงทุนนับหมื่นล้านบาทว่า เป็นการกู้แบบไม่มีดอกเบี้ย ไม่มีกำหนดชำระคืน ที่มากกว่านั้น คือ รายงานประจำปีของเทเลนอร์ ในประเทศนอร์เวย์ แจ้งตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศว่า ถือหุ้นในดีแทคในไทย 65% แต่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ในไทยว่าถือหุ้นเพียง 49% เท่านั้น ซึ่งข้อมูลหลักฐานเหล่านั้น ชี้ชัดว่า ดีแทคเข้าข่ายเป็นต่างด้าว แต่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากลับคิดว่าควรส่งเรื่องนี้ไปให้ตรวจสอบสวนต่อไป
“ผมอ่านไปหน้าชาไป นี่เขามองเห็นเรา และประเทศของเราเป็นอะไร การตรวจสอบเชิงลึกเพื่อพิสูจน์ย้อนกลับ โดยดูพฤติกรรมแวดล้อมว่า กลุ่มบริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทไทย หรือต่างด้าว ก็ปรากฏข้อเท็จจริงเช่นที่ผมยกมาเป็นตัวอย่าง และคณะทำงานฯ ก็สรุปว่า มีมูลอันเชื่อได้ว่า น่าจะเป็นบริษัทต่างด้าว ผมจึงสั่งการให้กล่าวโทษ เท่ากับผมเอาตัวเข้ากำบังเป็นเกราะให้ ถ้าจะมีการฟ้องร้องกลับ หากกรมฯ กังวลเรื่องนี้ ความแตกต่างของความเห็น (ซึ่งไม่ใช่ความแตกแยก) คือ ผมเห็นว่า ควรแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน เพราะมีพยานหลักฐานเพียงพอแล้ว ส่วนท่านอธิบดีคิดว่าควรส่งเรื่องไปให้ตำรวจสอบสวนต่อไป เรื่องราวก็มีอยู่เท่านี้ครับ”
ทั้งนี้ ในตอนท้ายของจดหมาย นายอลงกรณ์ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ตนเขียนเรื่องนี้เพราะปรารถนาให้เพื่อนร่วมงานในกรมฯ และกระทรวงพาณิชย์ ได้รับทราบความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หวังว่า ทุกท่านจะเข้าใจ และให้ความเป็นธรรมกับตนที่มีการกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรมจากความเข้าใจผิด หรือด้วยการใช้อารมณ์ ซึ่งตนไม่ได้ถือโทษโกรธเคือง โดยเฉพาะท่านอธิบดี เพราะท่านได้ทำคุณงามความดีไว้มาก และเป็นคนเก่งคนหนึ่งของกระทรวงพาณิชย์ ตนมาแล้วก็จากไปตามวิถีทางการเมือง และจะไม่มีวันลืมความทรงจำดีๆ ที่ได้ทำงานร่วมกันกว่า 2 ปีที่ผ่านมา
รายงานข่าวแจ้งว่า นายสัญญา สถิรบุตร ที่ปรึกษานายอลงกรณ์ ได้นัดแถลงข่าวเรื่อง "ผลสรุปตรวจสอบเพิ่มเติมกรณีดีแทค" ในวันนี้ ที่กระทรวงพาณิชย์
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า วานนี้ (12 ก.ค.) นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงข้าราชการกรมพัฒนาธุรกิจ เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีการตรวจสอบโครงสร้างการถือหุ้นบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และคำสั่งให้นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แจ้งความต่อพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีกับดีแทค หลังจากที่ได้พิจารณาผลสรุปการตรวจสอบดีแทคของนายสัญญา สถิรบุตร ประธานที่ปรึกษารมช.พาณิชย์ ซึ่งมีมูลอันเชื่อได้ว่า ดีแทคเข้าข่ายเป็นต่างด้าว และมีคนไทยถือหุ้นแทน (นอมินี) รวมถึงระบายความรู้สึกถึงการถูกกล่าวหาว่าฝ่ายการเมืองแทรกแซงการทำงานของข้าราชการประจำ และรมช.พาณิชย์ไม่มีอำนาจสั่งการให้แจ้งความดำเนินคดีกับดีแทค
จดหมายเปิดผนึกดังกล่าว นายอลงกรณ์ ได้ย้ำถึงกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าฝ่ายการเมืองแทรกแซงว่า ไม่เคยแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบของคณะทำงานตรวจสอบโครงสร้างการถือหุ้นดีแทค ชุดนายบรรยงค์ เป็นประธาน โดยคณะทำงานฯ สามารถทำงานได้โดยอิสระ รวมถึงไม่เคยแทรกแซงผลการตรวจสอบของคณะทำงานฯ ไม่เคยแก้ไข หรือให้สรุปเป็นอย่างอื่น การดำเนินการเช่นนี้ จะเรียกว่าแทรกแซงได้อย่างไร ซึ่งตนรู้สึกเสียใจกับคำพูดที่ว่าแทรกแซง และรัฐมนตรีไม่มีอำนาจสั่งการ
“ผมไม่เข้าใจว่า ผมแทรกแซงอะไร ท่านอธิบดีคงหมายถึงการสั่งการให้กรมฯ กล่าวโทษผู้กระทำความผิด ซึ่งต่างจากที่ท่านอธิบดีเห็นว่า ควรส่งเรื่องให้ตำรวจสอบสวนต่อไป โดยกรมฯ จะไม่กล่าวโทษใคร อย่างนี้ใช้คำว่า แทรกแซงไม่ถูกต้อง เพราะเป็นเรื่องการบริหารราชการปกติ ถ้าบอกว่ารัฐมนตรีมีความเห็นต่างกับอธิบดีน่าจะเป็นธรรมกับผมมากกว่า และคำสั่งการของผมก็ให้ยึดผลตรวจสอบของคณะทำงานฯ เป็นสำคัญ และให้ท่านอธิบดีใช้ดุลยพินิจในการกล่าวโทษได้อย่างเต็มที่ ไม่ได้ไปก้าวล่วงแต่อย่างใด ผมไม่ต้องการโต้เถียงว่าผมมีอำนาจสั่งการหรือไม่ ซึ่งไม่ใช่สาระสำคัญสำหรับผม สิ่งที่ผมอยากเห็น คือ เมื่อผลตรวจสอบสรุปว่า มีมูลอันเชื่อได้ว่ามีการกระทำผิดกฎหมาย ท่านอธิบดีควรต้องรักษากฎหมาย และบังคับใช้กฎหมาย”
นายอลงกรณ์ ระบุว่า คำสั่งที่ให้อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แจ้งความเอาผิดกับดีแทค รวมถึงบุคคล และนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น เป็นคำสั่งในฐานะรักษาการรมว.พาณิชย์ (ผู้รักษาการตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวพ.ศ.2542 โดยรมว.พาณิชย์เดินทางไปราชการต่างประเทศ) และรมช.พาณิชย์ ในฐานะผู้กำกับดูแลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตามพ.ร.บ.บริหารราชการแผ่นดิน
นอกจากนี้ นายอลงกรณ์ ยังได้ย้ำถึงผลของการวินิจฉัยสั่งการของตนเอง ว่า หลังจากตรวจสอบผลสรุปของนายสัญญา ที่ได้ตรวจสอบซ้ำผลสรุปของคณะทำงานฯ ชุดนายบรรยงค์แล้ว เห็นควรให้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวน เพราะมีพยานหลักฐานเพียงพอแล้ว ซึ่งผลสรุปของคณะทำงานฯ นั้น ตรวจสอบได้ดีทีเดียว สามารถค้นพบข้อเท็จจริงที่เสมือนตบหน้าคนไทยทั้งประเทศ เพราะพบว่า กลุ่มบริษัทต่างด้าวที่อ้างว่าเป็นบริษัทไทย ได้จดทะเบียนข้อบังคับ เช่น กำหนดให้จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยเพียง 5% และให้ผู้ถือหุ้นต่างด้าวถึง 95% ทั้งที่เป็นหุ้นข้างน้อย หรือสิทธิออกเสียงของฝ่ายไทย 10 หุ้นต่อ 1 เสียง ขณะที่ต่างด้าว 1 หุ้นต่อ 1 เสียง
อีกทั้งยังมีการแจ้งที่มาของการลงทุนนับหมื่นล้านบาทว่า เป็นการกู้แบบไม่มีดอกเบี้ย ไม่มีกำหนดชำระคืน ที่มากกว่านั้น คือ รายงานประจำปีของเทเลนอร์ ในประเทศนอร์เวย์ แจ้งตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศว่า ถือหุ้นในดีแทคในไทย 65% แต่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ในไทยว่าถือหุ้นเพียง 49% เท่านั้น ซึ่งข้อมูลหลักฐานเหล่านั้น ชี้ชัดว่า ดีแทคเข้าข่ายเป็นต่างด้าว แต่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากลับคิดว่าควรส่งเรื่องนี้ไปให้ตรวจสอบสวนต่อไป
“ผมอ่านไปหน้าชาไป นี่เขามองเห็นเรา และประเทศของเราเป็นอะไร การตรวจสอบเชิงลึกเพื่อพิสูจน์ย้อนกลับ โดยดูพฤติกรรมแวดล้อมว่า กลุ่มบริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทไทย หรือต่างด้าว ก็ปรากฏข้อเท็จจริงเช่นที่ผมยกมาเป็นตัวอย่าง และคณะทำงานฯ ก็สรุปว่า มีมูลอันเชื่อได้ว่า น่าจะเป็นบริษัทต่างด้าว ผมจึงสั่งการให้กล่าวโทษ เท่ากับผมเอาตัวเข้ากำบังเป็นเกราะให้ ถ้าจะมีการฟ้องร้องกลับ หากกรมฯ กังวลเรื่องนี้ ความแตกต่างของความเห็น (ซึ่งไม่ใช่ความแตกแยก) คือ ผมเห็นว่า ควรแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน เพราะมีพยานหลักฐานเพียงพอแล้ว ส่วนท่านอธิบดีคิดว่าควรส่งเรื่องไปให้ตำรวจสอบสวนต่อไป เรื่องราวก็มีอยู่เท่านี้ครับ”
ทั้งนี้ ในตอนท้ายของจดหมาย นายอลงกรณ์ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ตนเขียนเรื่องนี้เพราะปรารถนาให้เพื่อนร่วมงานในกรมฯ และกระทรวงพาณิชย์ ได้รับทราบความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หวังว่า ทุกท่านจะเข้าใจ และให้ความเป็นธรรมกับตนที่มีการกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรมจากความเข้าใจผิด หรือด้วยการใช้อารมณ์ ซึ่งตนไม่ได้ถือโทษโกรธเคือง โดยเฉพาะท่านอธิบดี เพราะท่านได้ทำคุณงามความดีไว้มาก และเป็นคนเก่งคนหนึ่งของกระทรวงพาณิชย์ ตนมาแล้วก็จากไปตามวิถีทางการเมือง และจะไม่มีวันลืมความทรงจำดีๆ ที่ได้ทำงานร่วมกันกว่า 2 ปีที่ผ่านมา
รายงานข่าวแจ้งว่า นายสัญญา สถิรบุตร ที่ปรึกษานายอลงกรณ์ ได้นัดแถลงข่าวเรื่อง "ผลสรุปตรวจสอบเพิ่มเติมกรณีดีแทค" ในวันนี้ ที่กระทรวงพาณิชย์