พิษคดีดีแทค ทำการเมือง ข้าราชการร้าวหนัก “อลงกรณ์” ยืนยัน สั่งให้แจ้งความดำเนินดคีกับดีแทคและบุคคลที่เป็นนอมินีทั้งหมด ขีดเส้น 7 วัน “บรรยงค์” สวนทันควัน รัฐมนตรีไม่มีอำนาจ ระบุ จะปฏิบัติตามมติคณะทำงานเหมือนเดิม ด้าน ดีแทค ออกแถลงการณ์ยืนยัน มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างสูงสุด
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้ยืนยันที่จะสั่งการให้ นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดำเนินการกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ในการดำเนินดคีกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และผู้ถือหุ้นรายสำคัญที่เกี่ยวข้อง หลังจากที่ได้ใช้ดุลพินิจแล้วเห็นว่าสามารถที่จะกล่าวโทษได้เลย ไม่ต้องมีการสืบสวนสอบสวนใหม่ตามที่คณะทำงานตรวจสอบโครงการการถือหุ้นดีแทคสรุปออกมา และให้ดำเนินการแจ้งความคืบหน้าภายใน 7 วัน นับจากวันที่สั่งการ คือ 8 ก.ค.2554
ทั้งนี้ การสั่งการดังกล่าว ไม่ได้มีความเห็นขัดแย้งกับผลการตรวจสอบของคณะทำงานฯ แต่มีความเห็นต่างจุดเดียว คือ เห็นควรว่า จากการวินิจฉัย ตรวจสอบ หลักฐานและข้อเท็จจริง สามารถที่จะกล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่เกี่ยวข้องได้เลย ไม่จำเป็นต้องเสนอข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้วส่งไปให้ตำรวจทำการสืบสวนสอบสวนต่อ เพราะมีข้อสงสัยชัดเจน เช่น ถือหุ้นถึง 5 ชั้น ที่มาของเงินกู้ซื้อหุ้นผิดปกติ ที่ตั้งบริษัทแห่งเดียวกัน กำหนดข้อบังคับที่เอาเปรียบผู้ถือหุ้นข้างมาก และการปันผลก็ให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นข้างน้อยได้ประโยชน์มากกว่า เป็นต้น
“ผมสั่งการไปแล้ว ก็ต้องดำเนินการ ถ้าไม่ดำเนินการก็ต้องมีเหตุผลพิเศษ เพราะการสั่งการของผมอยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่ได้จากที่คณะทำงานทำไว้แล้ว ซึ่งคณะทำงานได้สรุปให้ส่งตำรวจดำเนินการสืบสวนสอบสวนต่อ แต่เมื่อผมตรวจทานแล้ว ก็จากผลของคณะทำงาน นั่นแหละ เห็นว่า กล่าวโทษได้เลย ส่วนจะเป็นนิติบุคคลใด บุคคลใด ที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย ก็ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะต้องไปพิจารณา”
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า เมื่อสั่งการไปแล้ว รัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ข้าราชการกลัวไม่ได้ เพราะหากถูกฟ้องร้อง รัฐมนตรีจะเป็นจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้สั่งการ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เอาตัวรอดได้เลย ในฐานะปฏิบัติตามคำสั่ง อ้างได้เลยว่าเป็นคำสั่งรัฐมนตรี
“ผมเอาตัวเข้ากำบังให้ข้าราชการด้วยซ้ำ ข้าราชการอย่ากลัว ผมเป็นรัฐมนตรียังไม่กลัว ไม่งั้น เราจะปกป้องกฎหมายได้ยังไง” นายอลงกรณ์ กล่าว
นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า หลังจากที่นายอลงกรณ์ในฐานะผู้บังคับบัญชาได้สั่งการให้ระงับการส่งเรื่องดีแทคถึงตำรวจเพื่อให้สืบสวนสอบสวนต่อ เมื่อวันที่ 5 ก.ค.ก็ได้ระงับไว้ เพราะเห็นว่าส่งช้าไปหน่อยก็ไม่เป็นไร และได้ทราบว่ารัฐมนตรีได้ขอให้ นายสัญญา สถิรบุตร ประธานที่ปรึกษา ไปตรวจสอบภายใน 2-3 วัน
ซึ่งจะเห็นได้ว่านายสัญญาทำงานเหมือนปาฎิหาริย์ ส่งรายงานผลการตรวจสอบให้วันที่ 6 ก.ค. วันที่ 7 ก.ค.บอกว่า เพิ่งได้เอกสารตอนเช้าและเปิดแถลงข่าวในวันเดียวกัน และวันที่ 8 ตอนเช้าก็ได้เสนอรัฐมนตรี เป็นเอกสาร 50 หน้า เป็นของคณะทำงาน 99% และข้อสรุปของท่านเห็นแย้งกับคณะทำงานฯ คือ คณะทำงานฯ เห็นซ้าย ท่านเห็นขวา
“เป็นปาฏิหาริย์ของท่านสัญญา ผมจะเอาตำรากฎหมายไปคืนอาจารย์”
นายบรรยงค์ กล่าวว่า จากนั้น นายอลงกรณ์ ได้สั่งการให้กรมฯ ไปแจ้งความดำเนินคดีต่อพนักงานสอบสวน และให้เวลาภายใน 7 วัน นับจากวันที่ 8 ก.ค.2554 จะสิ้นสุดก็วันที่ 19 ก.ค.เพราะวันศุกร์และวันจันทร์เป็นวันหยุด ซึ่งก็มีระยะเวลาในการตัดสินใจ ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินการ 2 ทางเลือก คือ ไปแจ้งความดำเนินคดีกับดีแทคตามที่รัฐมนตรีได้สั่งการมา หรือส่งตำรวจให้สืบสวนสอบสวนต่อตามที่คณะทำงานฯ ได้มีข้อสรุปไว้
ทั้งนี้ จากการพิจารณาในเบื้องต้น เห็นว่า ตามอำนาจ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีไว้ชัดเจน คือ ให้รักษาการตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ และพิจารณาการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ตามบัญชี 2 โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือพิจารณาอุทธรณ์ของคนต่างด้าว กรณีไม่อนุญาตให้ประกอบธุรกิจ แต่ไม่สามารถแทรกแซงการใช้ดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่แต่งตั้งขึ้นตามกฎหมายได้ ซึ่งคณะทำงานฯ ชุดนี้ ถือว่าเป็นคณะทำงานฯ ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายถูกต้อง
“กรณีของดีแทค ก็เช่นเดียวกัน ผมเห็นว่า คำสั่งที่สั่งการมา รัฐมนตรีไม่มีอำนาจในการสั่งการ เพราะกฎหมายคนต่างด้าวเขียนไว้ชัดเจนว่ารัฐมนตรีมีอำนาจอะไรบ้าง ที่ผ่านมา นายอลงกรณ์ก็ไม่เคยใช้อำนาจอะไรเลย และกรณีนี้ ผู้รับคำสั่งไม่ต้องปฏิบัติตามก็ได้ เพราะไม่ใช่คำสั่ง แต่ถ้าผมเห็นเป็นคำสั่ง แล้วเห็นแย้งไป ถ้าท่านรัฐมนตรีแย้งกลับมา ก็เท่ากับผมรับว่าเป็นคำสั่ง ผมก็ต้องทำตาม แต่ในเมื่อไม่เป็นคำสั่งตามกฎหมาย ก็ต้องมาดูกัน มีเวลาถึงวันที่ 19 ก.ค. เพราะถ้าอยู่ๆ ผมไปแจ้งความดำเนินคดีกับดีแทค ทั้งๆ ที่ยังไม่เป็น ทำไม่ได้ การดำเนินคดีอาญาใคร ต้องพิสูจน์ ตรวจสอบหลักฐานให้ชัดเจนก่อน ไม่งั้นจะถูกฟ้องร้องได้ และผมเองนี่แหละที่จะเป็นคนโดนฟ้อง” นายบรรยงค์ กล่าว
****ดีแทคพร้อมร่วมมือ
ด้านดีแทคได้ออกแถลงการณ์ยืนยันว่าดีแทค ยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างสูงสุด เรายืนยันว่า บริษัทปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของไทย โดยบริษัท พร้อมให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในกระบวนการตรวจสอบ ดีแทคหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากระบวนการตรวจสอบจะเป็นไปด้วยความยุติธรรม โปร่งใส และไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ ทั้งนี้ ดีแทค ขอยืนยันว่า ลูกค้า คู่ค้า ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ตลอดจนการดำเนินธุรกิจของบริษัท จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากกระบวนการตรวจสอบสถานะของบริษัท
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้ยืนยันที่จะสั่งการให้ นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดำเนินการกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ในการดำเนินดคีกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และผู้ถือหุ้นรายสำคัญที่เกี่ยวข้อง หลังจากที่ได้ใช้ดุลพินิจแล้วเห็นว่าสามารถที่จะกล่าวโทษได้เลย ไม่ต้องมีการสืบสวนสอบสวนใหม่ตามที่คณะทำงานตรวจสอบโครงการการถือหุ้นดีแทคสรุปออกมา และให้ดำเนินการแจ้งความคืบหน้าภายใน 7 วัน นับจากวันที่สั่งการ คือ 8 ก.ค.2554
ทั้งนี้ การสั่งการดังกล่าว ไม่ได้มีความเห็นขัดแย้งกับผลการตรวจสอบของคณะทำงานฯ แต่มีความเห็นต่างจุดเดียว คือ เห็นควรว่า จากการวินิจฉัย ตรวจสอบ หลักฐานและข้อเท็จจริง สามารถที่จะกล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่เกี่ยวข้องได้เลย ไม่จำเป็นต้องเสนอข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้วส่งไปให้ตำรวจทำการสืบสวนสอบสวนต่อ เพราะมีข้อสงสัยชัดเจน เช่น ถือหุ้นถึง 5 ชั้น ที่มาของเงินกู้ซื้อหุ้นผิดปกติ ที่ตั้งบริษัทแห่งเดียวกัน กำหนดข้อบังคับที่เอาเปรียบผู้ถือหุ้นข้างมาก และการปันผลก็ให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นข้างน้อยได้ประโยชน์มากกว่า เป็นต้น
“ผมสั่งการไปแล้ว ก็ต้องดำเนินการ ถ้าไม่ดำเนินการก็ต้องมีเหตุผลพิเศษ เพราะการสั่งการของผมอยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่ได้จากที่คณะทำงานทำไว้แล้ว ซึ่งคณะทำงานได้สรุปให้ส่งตำรวจดำเนินการสืบสวนสอบสวนต่อ แต่เมื่อผมตรวจทานแล้ว ก็จากผลของคณะทำงาน นั่นแหละ เห็นว่า กล่าวโทษได้เลย ส่วนจะเป็นนิติบุคคลใด บุคคลใด ที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย ก็ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะต้องไปพิจารณา”
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า เมื่อสั่งการไปแล้ว รัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ข้าราชการกลัวไม่ได้ เพราะหากถูกฟ้องร้อง รัฐมนตรีจะเป็นจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้สั่งการ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เอาตัวรอดได้เลย ในฐานะปฏิบัติตามคำสั่ง อ้างได้เลยว่าเป็นคำสั่งรัฐมนตรี
“ผมเอาตัวเข้ากำบังให้ข้าราชการด้วยซ้ำ ข้าราชการอย่ากลัว ผมเป็นรัฐมนตรียังไม่กลัว ไม่งั้น เราจะปกป้องกฎหมายได้ยังไง” นายอลงกรณ์ กล่าว
นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า หลังจากที่นายอลงกรณ์ในฐานะผู้บังคับบัญชาได้สั่งการให้ระงับการส่งเรื่องดีแทคถึงตำรวจเพื่อให้สืบสวนสอบสวนต่อ เมื่อวันที่ 5 ก.ค.ก็ได้ระงับไว้ เพราะเห็นว่าส่งช้าไปหน่อยก็ไม่เป็นไร และได้ทราบว่ารัฐมนตรีได้ขอให้ นายสัญญา สถิรบุตร ประธานที่ปรึกษา ไปตรวจสอบภายใน 2-3 วัน
ซึ่งจะเห็นได้ว่านายสัญญาทำงานเหมือนปาฎิหาริย์ ส่งรายงานผลการตรวจสอบให้วันที่ 6 ก.ค. วันที่ 7 ก.ค.บอกว่า เพิ่งได้เอกสารตอนเช้าและเปิดแถลงข่าวในวันเดียวกัน และวันที่ 8 ตอนเช้าก็ได้เสนอรัฐมนตรี เป็นเอกสาร 50 หน้า เป็นของคณะทำงาน 99% และข้อสรุปของท่านเห็นแย้งกับคณะทำงานฯ คือ คณะทำงานฯ เห็นซ้าย ท่านเห็นขวา
“เป็นปาฏิหาริย์ของท่านสัญญา ผมจะเอาตำรากฎหมายไปคืนอาจารย์”
นายบรรยงค์ กล่าวว่า จากนั้น นายอลงกรณ์ ได้สั่งการให้กรมฯ ไปแจ้งความดำเนินคดีต่อพนักงานสอบสวน และให้เวลาภายใน 7 วัน นับจากวันที่ 8 ก.ค.2554 จะสิ้นสุดก็วันที่ 19 ก.ค.เพราะวันศุกร์และวันจันทร์เป็นวันหยุด ซึ่งก็มีระยะเวลาในการตัดสินใจ ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินการ 2 ทางเลือก คือ ไปแจ้งความดำเนินคดีกับดีแทคตามที่รัฐมนตรีได้สั่งการมา หรือส่งตำรวจให้สืบสวนสอบสวนต่อตามที่คณะทำงานฯ ได้มีข้อสรุปไว้
ทั้งนี้ จากการพิจารณาในเบื้องต้น เห็นว่า ตามอำนาจ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีไว้ชัดเจน คือ ให้รักษาการตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ และพิจารณาการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ตามบัญชี 2 โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือพิจารณาอุทธรณ์ของคนต่างด้าว กรณีไม่อนุญาตให้ประกอบธุรกิจ แต่ไม่สามารถแทรกแซงการใช้ดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่แต่งตั้งขึ้นตามกฎหมายได้ ซึ่งคณะทำงานฯ ชุดนี้ ถือว่าเป็นคณะทำงานฯ ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายถูกต้อง
“กรณีของดีแทค ก็เช่นเดียวกัน ผมเห็นว่า คำสั่งที่สั่งการมา รัฐมนตรีไม่มีอำนาจในการสั่งการ เพราะกฎหมายคนต่างด้าวเขียนไว้ชัดเจนว่ารัฐมนตรีมีอำนาจอะไรบ้าง ที่ผ่านมา นายอลงกรณ์ก็ไม่เคยใช้อำนาจอะไรเลย และกรณีนี้ ผู้รับคำสั่งไม่ต้องปฏิบัติตามก็ได้ เพราะไม่ใช่คำสั่ง แต่ถ้าผมเห็นเป็นคำสั่ง แล้วเห็นแย้งไป ถ้าท่านรัฐมนตรีแย้งกลับมา ก็เท่ากับผมรับว่าเป็นคำสั่ง ผมก็ต้องทำตาม แต่ในเมื่อไม่เป็นคำสั่งตามกฎหมาย ก็ต้องมาดูกัน มีเวลาถึงวันที่ 19 ก.ค. เพราะถ้าอยู่ๆ ผมไปแจ้งความดำเนินคดีกับดีแทค ทั้งๆ ที่ยังไม่เป็น ทำไม่ได้ การดำเนินคดีอาญาใคร ต้องพิสูจน์ ตรวจสอบหลักฐานให้ชัดเจนก่อน ไม่งั้นจะถูกฟ้องร้องได้ และผมเองนี่แหละที่จะเป็นคนโดนฟ้อง” นายบรรยงค์ กล่าว
****ดีแทคพร้อมร่วมมือ
ด้านดีแทคได้ออกแถลงการณ์ยืนยันว่าดีแทค ยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างสูงสุด เรายืนยันว่า บริษัทปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของไทย โดยบริษัท พร้อมให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในกระบวนการตรวจสอบ ดีแทคหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากระบวนการตรวจสอบจะเป็นไปด้วยความยุติธรรม โปร่งใส และไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ ทั้งนี้ ดีแทค ขอยืนยันว่า ลูกค้า คู่ค้า ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ตลอดจนการดำเนินธุรกิจของบริษัท จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากกระบวนการตรวจสอบสถานะของบริษัท