เชียงราย - พาณิชย์เดินหน้าดัน”ชา”เชียงราย เป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์รับตลาดจีนและอาเซียน เชื่อส่งผลให้ราคาเพิ่มอีกร่วม 10 เท่าตัว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย ได้จัดการอบรมกลุ่มผู้ผลิตชาเชียงราย ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาการตลาดสินค้าและบริการของจังหวัด (One Province One Product) และโครงการส่งเสริมและพัฒนาย่านการค้าชาดอยแม่สลอง จ.เชียงราย (Doi Maesalong Tea Trade Chiang Rai Province) ณ แม่สลองวิลล่า อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย โดยมีกลุ่มผู้ผลิตชาจากดอยแม่สลอง ดอยตุง ดอยวาวี ประมาณ 50 คนเข้าร่วมการอบรม
นายเฉลิมพล พงศ์ฉบับนภา พาณิชย์จังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า เชียงรายถือเป็นแหล่งผลิตชาที่มีคุณภาพดี มีชื่อเสียงทั้งตลาดใน-ต่างประเทศ เดิมผู้ผลิตชาจะทำการตลาดด้วยตนเองและการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชา ขึ้นอยู่กับศักยภาพของผู้ผลิตแต่ละราย โดยชาที่มีคุณภาพดีจะสามารถจำหน่ายได้ราคาสูงแต่ยังมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ต่อมาเมื่อจังหวัดเข้ามาส่งเสริมพัฒนาคุณภาพ-ส่งเสริมด้านการตลาด ทำให้ผลิตภัณฑ์ชาของเชียงรายมีศักยภาพพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์โดดเด่นมากขึ้น
ดังนั้น สำนักงานพาณิชย์จึงได้จัดทำโครงการฯ นี้ขึ้น เพื่อให้ผู้ผลิตชาและผู้ประกอบการชา มีทักษะความรู้ พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจ สามารถเขียนแผนธุรกิจและบริหารด้านการตลาด ขณะเดียวกันยังเป็นการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการเพื่อสร้างความเข้มแข็งในด้านการตลาด รองรับกรณีปลายปี 2556 สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 อ.เชียงของ จะแล้วเสร็จสามารถเชื่อมถนนR 3 a ไทย-สปป.ลาวจีน และปี 2558 ซึ่งจะก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 10 ประเทศบวกจีน ซึ่งเชียงราย จะมีโอกาสและศักยภาพด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวเตรียมพร้อมรองรับการแข่งทางการค้าเสรีให้ได้ต่อไป
ด้านนายสุทธิศักดิ์ เลาหชีวิน ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์มีนโยบายพัฒนาคุณภาพชาเชียงรายสู่ระดับพรีเมียม สามารถทำตลาดได้ทั้งในระดับตลาดกลางและตลาดบนให้ได้ราคาสูง โดยกำหนดว่าจะต้องเป็นชาอินทรีย์และมีเอกลักษณ์โดดเด่นรวมทั้งบรรจุภัณฑ์น่าสนใจ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า และจะผลักดันให้ชาเชียงรายเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและประเทศที่ประชาชนนิยมดื่มชา เช่น จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง
ในปี 2556 จะส่งเสริมให้มีการประกวดชาเชียงราย เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านชาต่างประเทศเป็นกรรมการตัดสิน เพื่อยกระดับการประกวดเป็นระดับนานาชาติต่อไป รวมทั้งจะจัดโรดโชว์นำผู้ผลิตชาเชียงรายไปทำตลาดในต่างประเทศ พร้อมทั้งมีแผนพัฒนาย่านการค้าชาดอยแม่สลองให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมากยิ่งขึ้นด้วย
ปัจจุบัน ไร่ชาบนดอยแม่สลองมีจำนวนทั้งหมดประมาณ 60,000 ไร่ แบ่งเป็นชาอูหลงประมาณ 18,000 ไร่ ชาพื้นเมืองหรือชาอัสสัม ประมาณ 32,000 ไร่ เกษตรกรมีต้นทุนในการปลูกไร่ละประมาณ 30,000-40,000 บาท เมื่อปลูกเสร็จก็มีค่าดูแลไร่ละ 3,000 บาทต่อเดือน ที่ผ่านมาใบชาอูหลงเบอร์ 12 มีราคากิโลกรัมละ 40-100 บาท หากพัฒนาเป็นชาอินทรีย์หรือไม่ใช้สารเคมีจะมีราคาที่สูงกว่าชาปกติทั่วไปกว่า 10 เท่าตัว โดยชาอินทรีย์อูหลงเบอร์ 12 มีราคาสูงถึงกว่า 2,000 บาทต่อกิโลกรัม และเบอร์ 17 กิโลกรัมละ 1,000-3,600 บาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย ได้จัดการอบรมกลุ่มผู้ผลิตชาเชียงราย ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาการตลาดสินค้าและบริการของจังหวัด (One Province One Product) และโครงการส่งเสริมและพัฒนาย่านการค้าชาดอยแม่สลอง จ.เชียงราย (Doi Maesalong Tea Trade Chiang Rai Province) ณ แม่สลองวิลล่า อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย โดยมีกลุ่มผู้ผลิตชาจากดอยแม่สลอง ดอยตุง ดอยวาวี ประมาณ 50 คนเข้าร่วมการอบรม
นายเฉลิมพล พงศ์ฉบับนภา พาณิชย์จังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า เชียงรายถือเป็นแหล่งผลิตชาที่มีคุณภาพดี มีชื่อเสียงทั้งตลาดใน-ต่างประเทศ เดิมผู้ผลิตชาจะทำการตลาดด้วยตนเองและการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชา ขึ้นอยู่กับศักยภาพของผู้ผลิตแต่ละราย โดยชาที่มีคุณภาพดีจะสามารถจำหน่ายได้ราคาสูงแต่ยังมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ต่อมาเมื่อจังหวัดเข้ามาส่งเสริมพัฒนาคุณภาพ-ส่งเสริมด้านการตลาด ทำให้ผลิตภัณฑ์ชาของเชียงรายมีศักยภาพพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์โดดเด่นมากขึ้น
ดังนั้น สำนักงานพาณิชย์จึงได้จัดทำโครงการฯ นี้ขึ้น เพื่อให้ผู้ผลิตชาและผู้ประกอบการชา มีทักษะความรู้ พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจ สามารถเขียนแผนธุรกิจและบริหารด้านการตลาด ขณะเดียวกันยังเป็นการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการเพื่อสร้างความเข้มแข็งในด้านการตลาด รองรับกรณีปลายปี 2556 สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 อ.เชียงของ จะแล้วเสร็จสามารถเชื่อมถนนR 3 a ไทย-สปป.ลาวจีน และปี 2558 ซึ่งจะก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 10 ประเทศบวกจีน ซึ่งเชียงราย จะมีโอกาสและศักยภาพด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวเตรียมพร้อมรองรับการแข่งทางการค้าเสรีให้ได้ต่อไป
ด้านนายสุทธิศักดิ์ เลาหชีวิน ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์มีนโยบายพัฒนาคุณภาพชาเชียงรายสู่ระดับพรีเมียม สามารถทำตลาดได้ทั้งในระดับตลาดกลางและตลาดบนให้ได้ราคาสูง โดยกำหนดว่าจะต้องเป็นชาอินทรีย์และมีเอกลักษณ์โดดเด่นรวมทั้งบรรจุภัณฑ์น่าสนใจ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า และจะผลักดันให้ชาเชียงรายเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและประเทศที่ประชาชนนิยมดื่มชา เช่น จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง
ในปี 2556 จะส่งเสริมให้มีการประกวดชาเชียงราย เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านชาต่างประเทศเป็นกรรมการตัดสิน เพื่อยกระดับการประกวดเป็นระดับนานาชาติต่อไป รวมทั้งจะจัดโรดโชว์นำผู้ผลิตชาเชียงรายไปทำตลาดในต่างประเทศ พร้อมทั้งมีแผนพัฒนาย่านการค้าชาดอยแม่สลองให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมากยิ่งขึ้นด้วย
ปัจจุบัน ไร่ชาบนดอยแม่สลองมีจำนวนทั้งหมดประมาณ 60,000 ไร่ แบ่งเป็นชาอูหลงประมาณ 18,000 ไร่ ชาพื้นเมืองหรือชาอัสสัม ประมาณ 32,000 ไร่ เกษตรกรมีต้นทุนในการปลูกไร่ละประมาณ 30,000-40,000 บาท เมื่อปลูกเสร็จก็มีค่าดูแลไร่ละ 3,000 บาทต่อเดือน ที่ผ่านมาใบชาอูหลงเบอร์ 12 มีราคากิโลกรัมละ 40-100 บาท หากพัฒนาเป็นชาอินทรีย์หรือไม่ใช้สารเคมีจะมีราคาที่สูงกว่าชาปกติทั่วไปกว่า 10 เท่าตัว โดยชาอินทรีย์อูหลงเบอร์ 12 มีราคาสูงถึงกว่า 2,000 บาทต่อกิโลกรัม และเบอร์ 17 กิโลกรัมละ 1,000-3,600 บาท