ASTVผู้จัดการรายวัน - “ณัฐวุฒิ” บุก กกต. ขอความเห็นฝ่ายกฎหมายรับรองความเป็น ส.ส.ของ ”จตุพร” หวังเพิ่มน้ำหนักช่วยประกันตัว ลั่นหลังกกต.รับรองเหตุผลศาลห้ามประกันขาดน้ำหนัก ด้าน “ประพันธ์” ยัน กกต.ยังไม่พิจารณารับรองคุณสมบัติย้ำต้องนำเข้าที่ประชุมก่อน "ธิดา"ชี้"อริสมันต์"ยังไม่เข้ามอบตัว เหตุไม่เชื่อกระบวนการยุติธรรม ด้าน "อภิสิทธิ์"จี้หากไม่ผิด ก็ให้มามอบตัว
วานนี้ (7 ก.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ว่าที่ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เดินทางขอความเห็นของฝ่ายกฎหมาย สำนักงานกกต. หลังจากทราบข่าวว่า เมื่อวันที่ 6 ก.ค. ที่ผ่านมา ทางสำนักกฎหมายของกกต.ได้มีมติรับรองความเป็น ส.ส.ของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ว่าที่ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ที่ถูกศาลถอนประกันในข้อหาก่อการร้าย และยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษ กรุงเทพฯ นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ในการเดินทางมา กกต.ครั้งนี้จะมาขอมติฝ่ายกฎหมายของกกต. เพื่อนำเอกสารดังกล่าวไปประกอบการยื่นคำร้องของประกันตัวนายจตุพร ซึ่งข้อกฎหมายมีความชัดเจนว่านายจตุพร ไม่ได้เป็นผู้ขาดคุณสมบัติในการรับสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และสามารถรับรองการเป็น ส.ส.ได้ โดยการยื่นขอครั้งนี้เป็นเพียงการยื่นขอมติของฝ่ายกฎหมายของกกต. เพื่อให้นายจตุพร ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวให้สามารถได้มีโอกาสได้ออกมารวบรวมหลักฐานข้อเท็จจริงต่อสู้คดีต่อไป แต่ทั้งนี้จะได้ประกันตัวหรือไม่ก็อยู่ที่ดุลพินิจของศาล สำหรับนายนิสิต สินธุไพร แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นั้น หลังจากที่ตนได้รับการรับรองเป็นส.ส.แล้วก็จะตำแหน่งประกันตัวนายนิสิต เพื่อออกมาสู้คดีเช่นกัน
“มติของฝ่ายกฎหมาย กกต.ที่ให้ความเห็นรับรองความเป็น ส.ส.ของนายจตุพร เป็นข้อกฎหมายที่มีน้ำหนักว่านายจตุพร มีสถานะเป็นส.ส.ที่นับจากวันเลือกตั้ง หากกระบวนการของกกต.ยังไม่ได้รับรองความเป็น ส.ส.ของนายจตุพร และต้องรอถึงวันที่ 12 ก.ค. ผมก็ยอมรับและจะปฏิบัติตาม แต่เมื่อเพื่อนอยู่ในคุก ถ้าช่วยได้ก็ต้องช่วย เพียง 1 วันในคุกมันยาวนาน” นายณัฐวุฒิ กล่าว
ด้านนายจรูญ ศรีสุกใส รอง ผอ.สำนักกฎหมายและคดี กล่าวชี้แจงต่อนายณัฐวุฒิว่า กรณีที่ปรากฏตามข่าว ที่ประชุมกกต.ได้หารือเบื้องต้นกรณีของนายจตุพร แต่ยังไม่ได้มีมติ ขณะนี้มีเรื่องร้องคัดค้านเข้ามาเกี่ยวกับคุณสมบัติของนายจตุพร แต่การพิจารณาเป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายว่า อาจจะเป็นไปตามมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า การสิ้นสุดของสมาชิกภาพความเป็นส.ส.นั้นให้ ส.ส.หรือส.ว. ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่สามารถเข้าชื่อพิจารณาการสิ้นสุดสมาชิกภาพความเป็นส.ส.และส่งไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ซึ่งไม่ใช่ความเห็นที่เป็นลายลักษณ์อักษรของฝ่ายกฎหมาย อีกทั้งขณะนี้กกต.ยังไม่ได้ประกาศรับรองส.ส.คนใด จนกว่าจะถึงวันที่ 12 ก.ค. นี้
**"ณัฐวุฒิ"กดดันศาลปล่อยตัว"จตุพร"**
นายณัฐวุฒิ กล่าวภายหลังจากการหารือว่า หลังจากทราบว่า สำนักกฎหมายของ กกต.ยังไม่ได้มีความเห็นรับรองให้นายจตุพร เป็นส.ส. แต่ได้เสนอให้นำข้อกฎหมายตามรัฐธรรมนูญไปใช้ในการยื่นต่อศาล หลังจากนี้ตนจะให้ทนายความของนายจตุพร รวบรวมข้อกฎหมายตามที่กกต.ชี้แจงและข่าวที่สื่อมวลชลนำเสนอความเห็นของฝ่ายกฎหมาย สำนักงาน กกต.ไปยื่นต่อศาล แต่หากนายจตุพร ยังไม่ได้ประกันตัวก็ต้องรอให้ถึงวันที่ 12 ก.ค. ที่จะมีการประกาศรับรอง ส.ส. และหากกกต.รับรองนายจตุพร เป็นส.ส.แล้ว ไม่ว่าช่วงใด ข้อคัดค้านในการไม่ให้ประกันตัวนายจตุพร 2 ข้อคือ 1.อาจมีพฤติการณ์หลบหนี ก็มีน้ำหนักน้อยลง เพราะเป็น ส.ส.แล้วจึงไม่มีเหตุในการหลบหนี ส่วน 2.การไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานนั้น ขณะนี้ทราบว่าทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รวบรวมหลักฐานทุกอย่างไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีเหตุจะไปเกี่ยวข้องได้อีก
**กกต.ยังไม่รับรองคุณสมบัติ จตุพร**
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารการเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีการรับรอง ส.ส.ของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ว่า กกต.ยังไม่ได้พิจารณา เพราะเจ้าหน้าที่สำนักงานยังไม่ได้เสนอเรื่องดังกล่าวเข้ามาในที่ประชุมอย่างเป็นทางการ ดังนั้นข้อมูลตามที่ปรากฎเป็นข่าวว่าจะมีการรับรองนายจตุพร เป็น ส.ส.นั้น กกต. ยังไม่มีการพิจารณาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าว กกต.จะนำเข้าที่ประชุมในวันที่ 12 ก.ค. ว่านายจตุพร มีคุณสมบัติควรที่จะได้รับการับรองการเป็น ส.ส.หรือไม่ เพราะเมื่อช่วงรับสมัครทางเจ้าหน้าที่ได้ตรวจเอกสาร หลักฐานเบื้องต้นว่ากรณีที่ถูกต้องคุมขังในระหว่างการพิจารณา กรณีนี้ยังไม่ขาดคุณสมบัติของการสมัคร ส.ส. และในข้อบังคับภายในพรรคเพื่อไทย ในขณะนั้นได้มีการแก้ไขข้อบังคับพรรค โดยมีการตัดกรณีที่การขาดสมาชิกภาพ ที่ต้องถูกคุมขังโดยชอบด้วยกฎหมายออกไป จึงทำให้การรับสมัครที่ผ่านมา นายจตุพร จึงยังไม่ขาดคุณสมบัติดั้งกล่าว อย่างไรก็ตาม กรณีที่เกิดขึ้นในขณะนี้ถูกพูดถึงว่านายจตุพร จะขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส.หรือไม่ ซึ่งกกต. จะต้องต้องพิจารณาตามข้อบังคับของพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง
**"อภิชาต"งงข่าวกกต.รับรอง "ตู่"
นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมกกต.กรณีคุณสมบัติของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ว่าที่ประชุมกกต.ยังไม่ได้มีการพิจารณารับรองให้นายจตุพร เป็นส.ส.แต่อย่างใด ซึ่งตามที่ปรากฏเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์นั้น ตนก็งงเหมือนกัน โดยการประชุมกกต.ในช่วงเช้าก็มีการพูดในที่ประชุม และนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้งก็ให้สัมภาษณ์ไปแล้ว ว่า กกต.ยังไม่มีการลงติกกต.เพื่อรับรองผลการเลือกตั้งให้แก่นายจตุพรแต่อย่างใด
**"อภิสิทธิ์"จี้"อริสมันต์"มามอบตัว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำคนเสื้อแดงที่ให้สัมภาษณ์ว่าไม่ทราบว่าทำผิดอะไรและเจ้าหน้าที่ออกหมายจับไม่ถูกต้อง โดยนายอภิสิทธิ์ ย้อนถามผู้สื่อข่าวว่า "หมายจับใครไม่ถูกต้อง" เมื่อถามย้ำว่านายอริสมันต์ อ้างว่ารัฐบาลไล่ล่าทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรผิด นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า “ก็มามอบตัวสิครับ” ก่อนจะแหวกวงล้อมเดินออกไป
ส่วนนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง ระบุว่าตัวเองไม่มีความผิดนั้น ตนก็อยากให้นายอริสมันต์ มอบตัวสู้คดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงกระแสข่าวข่มขู่ว่าจะปลดอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ นั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะต้องแสดงจุดยืนให้ชัดเจน และรัฐบาลชุดใหม่จะต้องทำงานตามนโยบายที่หาเสียงไว้ให้ได้
**"ธิดา"ชี้"อริสมันต์"ยังไม่เข้ามอบตัว
นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวถึงกรณีที่นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำ นปช. ยังไม่เข้ามอบตัวในคดีก่อการร้ายต่อพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่า อาจจะยังไม่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรม คาดว่า คงรอให้พรรคเพื่อไทยดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลเรียบร้อยก่อนจึงจะเข้ามอบตัว เนื่องจากเกรงว่าอำนาจรัฐบาลเดิมจะแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม
นางธิดา ยังกล่าวถึงกรณีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ว่าขอให้พรรคดำเนินการโดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนมากกว่าเป็นการจัดสรรตำแหน่งเพื่อผลประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ส่วนที่มีข่าวว่าตนถูกปลดออกจากตำแหน่งประธาน นปช.นั้น อาจเป็นการเข้าผิด และเกิดจากการกระทบกระทั่งกันในการทำงาน ยืนยันว่ายังอยู่ในตำแหน่ง ไม่ได้ถูกปลดตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด
“ไอ้ตู่”หน้าระรื่นขึ้นศาลฟ้อง“วัชระ"**
วันเดียวกันที่ห้องพิจารณา 911 ศาลอาญา ศาลนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรก คดีหมายเลขดำที่ อ.3856/2552 นายจตุพร พรหมพันธุ์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายวัชระ เพชรทอง ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปิตย์ บริษัท สารสู่อนาคต จำกัด และนายทวีสิน สถิตรัตนชีวิน บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา นสพ.ไทยโพสต์ เป็นจำเลยที่ 1-3 ตามลำดับ กรณีระหว่างวันที่ 24-25 ก.ย.52 จำเลยทั้งสามใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามโดยการโฆษณาผ่านสื่อทุกแขนง โดยมีเจตนาให้ประชาชนเข้าใจว่าโจทก์เป็นคนเลว เป็นคนนิสัยไม่ดี ชอบด่า ไม่เป็นไทยแก่ตัวเอง ต้องคอยกระทำการไปตามที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกคำสั่ง และคำว่าเป็นปากเสียงให้ทรราช ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและเกลียดชัง วันนี้ทั้งสองฝ่ายมาศาล พร้อมแถลงศาลว่ามีความประสงค์จะเจรจากัน ศาลเห็นควรให้ทั้งสองฝ่ายเจรจากัน เพื่อความปรองดองสมานฉันท์ จึงนัดประนอมข้อพิพาทในวันที่ 21 ก.ค.นี้ เวลา 9.00 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเดินทางมายังศาลอาญาในครั้งนี้ นายจตุพร มีสีหน้ายิ้มแย้ม พร้อมกับกล่าวขอบคุณประชาชนที่เลือกพรรคเพื่อไทย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการยื่นประกันตัวนายจตุพร นั้น ทีมทนายความเตรียมประสานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เพื่อขอให้ออกหนังสือรับรองสถานภาพ ส.ส.เป็นกรณีพิเศษ หากได้หนังสือรับรองจาก กกต.จะนำมายื่นขอประกันตัวต่อศาลอีกครั้ง
**กสม.เลื่อนเปิดรายงานการชุมนุมนปช.***
นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.)ได้แถลงข่าวขอโทษสื่อมวลชนที่ไม่สามารถเปิดเผยรายงานตรวจสอบกรณีเหตุการณ์การชุมนุมกลุ่ม นปช. ในวันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2554 ตามที่เคยให้ข่าวก่อนหน้านี้ แม้ว่าก่อนหน้านี้ได้มีการหารือกับประธาน กสม. ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ และได้ข้อสรุปตรงกันว่า การประชุม กสม. ในวันพุธที่ 6 กรกฎาคม น่าจะเป็นการพิจารณารายงานครั้งสุดท้ายสามารถเสนอต่อสาธารณะได้ในวันที่ 8 กรกฎาคม ดังกล่าวแล้ว
นายแพทย์ชูชัยฯ เปิดเผยว่า ทั้งนี้เนื่องจากกรรมการบางท่านเห็นว่า มีประเด็นอื่น ๆ ที่เพิ่มเติมขึ้นมาจากการประชุมครั้งที่แล้ว และที่ประชุม กสม. เห็นว่าควรพิจารณาให้ครบถ้วน และเห็นว่าเงื่อนไขเวลาในการเปิดเผยรายงานที่ขยายออกไปอีกไม่น่าจะเป็นปัญหาใด ๆ
ต่อข้อถามที่ว่ามีปัญหาการเมืองใน กสม. ของกรรมการหรือไม่ นายแพทย์ชูชัยฯ ชี้แจงว่า ไม่สามารถตอบคำถามแทนกรรมการท่านใดได้ แต่เชื่อว่าไม่น่าจะมีและไม่ควรจะมี เป็นการดีที่สื่อมวลชนสนใจติดตามตรวจสอบองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพราะตนในฐานะอดีตรองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ทราบดีว่าได้มีการเพิ่มอำนาจและบทบาทหน้าที่ของ กสม. และผู้ตรวจการแผ่นดินอย่างมาก จึงจำเป็นอยู่เองที่จะต้องถูกตรวจสอบจากสื่อมวลชนและสังคมอย่างหนัก
วานนี้ (7 ก.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ว่าที่ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เดินทางขอความเห็นของฝ่ายกฎหมาย สำนักงานกกต. หลังจากทราบข่าวว่า เมื่อวันที่ 6 ก.ค. ที่ผ่านมา ทางสำนักกฎหมายของกกต.ได้มีมติรับรองความเป็น ส.ส.ของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ว่าที่ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ที่ถูกศาลถอนประกันในข้อหาก่อการร้าย และยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษ กรุงเทพฯ นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ในการเดินทางมา กกต.ครั้งนี้จะมาขอมติฝ่ายกฎหมายของกกต. เพื่อนำเอกสารดังกล่าวไปประกอบการยื่นคำร้องของประกันตัวนายจตุพร ซึ่งข้อกฎหมายมีความชัดเจนว่านายจตุพร ไม่ได้เป็นผู้ขาดคุณสมบัติในการรับสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และสามารถรับรองการเป็น ส.ส.ได้ โดยการยื่นขอครั้งนี้เป็นเพียงการยื่นขอมติของฝ่ายกฎหมายของกกต. เพื่อให้นายจตุพร ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวให้สามารถได้มีโอกาสได้ออกมารวบรวมหลักฐานข้อเท็จจริงต่อสู้คดีต่อไป แต่ทั้งนี้จะได้ประกันตัวหรือไม่ก็อยู่ที่ดุลพินิจของศาล สำหรับนายนิสิต สินธุไพร แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นั้น หลังจากที่ตนได้รับการรับรองเป็นส.ส.แล้วก็จะตำแหน่งประกันตัวนายนิสิต เพื่อออกมาสู้คดีเช่นกัน
“มติของฝ่ายกฎหมาย กกต.ที่ให้ความเห็นรับรองความเป็น ส.ส.ของนายจตุพร เป็นข้อกฎหมายที่มีน้ำหนักว่านายจตุพร มีสถานะเป็นส.ส.ที่นับจากวันเลือกตั้ง หากกระบวนการของกกต.ยังไม่ได้รับรองความเป็น ส.ส.ของนายจตุพร และต้องรอถึงวันที่ 12 ก.ค. ผมก็ยอมรับและจะปฏิบัติตาม แต่เมื่อเพื่อนอยู่ในคุก ถ้าช่วยได้ก็ต้องช่วย เพียง 1 วันในคุกมันยาวนาน” นายณัฐวุฒิ กล่าว
ด้านนายจรูญ ศรีสุกใส รอง ผอ.สำนักกฎหมายและคดี กล่าวชี้แจงต่อนายณัฐวุฒิว่า กรณีที่ปรากฏตามข่าว ที่ประชุมกกต.ได้หารือเบื้องต้นกรณีของนายจตุพร แต่ยังไม่ได้มีมติ ขณะนี้มีเรื่องร้องคัดค้านเข้ามาเกี่ยวกับคุณสมบัติของนายจตุพร แต่การพิจารณาเป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายว่า อาจจะเป็นไปตามมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า การสิ้นสุดของสมาชิกภาพความเป็นส.ส.นั้นให้ ส.ส.หรือส.ว. ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่สามารถเข้าชื่อพิจารณาการสิ้นสุดสมาชิกภาพความเป็นส.ส.และส่งไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ซึ่งไม่ใช่ความเห็นที่เป็นลายลักษณ์อักษรของฝ่ายกฎหมาย อีกทั้งขณะนี้กกต.ยังไม่ได้ประกาศรับรองส.ส.คนใด จนกว่าจะถึงวันที่ 12 ก.ค. นี้
**"ณัฐวุฒิ"กดดันศาลปล่อยตัว"จตุพร"**
นายณัฐวุฒิ กล่าวภายหลังจากการหารือว่า หลังจากทราบว่า สำนักกฎหมายของ กกต.ยังไม่ได้มีความเห็นรับรองให้นายจตุพร เป็นส.ส. แต่ได้เสนอให้นำข้อกฎหมายตามรัฐธรรมนูญไปใช้ในการยื่นต่อศาล หลังจากนี้ตนจะให้ทนายความของนายจตุพร รวบรวมข้อกฎหมายตามที่กกต.ชี้แจงและข่าวที่สื่อมวลชลนำเสนอความเห็นของฝ่ายกฎหมาย สำนักงาน กกต.ไปยื่นต่อศาล แต่หากนายจตุพร ยังไม่ได้ประกันตัวก็ต้องรอให้ถึงวันที่ 12 ก.ค. ที่จะมีการประกาศรับรอง ส.ส. และหากกกต.รับรองนายจตุพร เป็นส.ส.แล้ว ไม่ว่าช่วงใด ข้อคัดค้านในการไม่ให้ประกันตัวนายจตุพร 2 ข้อคือ 1.อาจมีพฤติการณ์หลบหนี ก็มีน้ำหนักน้อยลง เพราะเป็น ส.ส.แล้วจึงไม่มีเหตุในการหลบหนี ส่วน 2.การไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานนั้น ขณะนี้ทราบว่าทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รวบรวมหลักฐานทุกอย่างไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีเหตุจะไปเกี่ยวข้องได้อีก
**กกต.ยังไม่รับรองคุณสมบัติ จตุพร**
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารการเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีการรับรอง ส.ส.ของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ว่า กกต.ยังไม่ได้พิจารณา เพราะเจ้าหน้าที่สำนักงานยังไม่ได้เสนอเรื่องดังกล่าวเข้ามาในที่ประชุมอย่างเป็นทางการ ดังนั้นข้อมูลตามที่ปรากฎเป็นข่าวว่าจะมีการรับรองนายจตุพร เป็น ส.ส.นั้น กกต. ยังไม่มีการพิจารณาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าว กกต.จะนำเข้าที่ประชุมในวันที่ 12 ก.ค. ว่านายจตุพร มีคุณสมบัติควรที่จะได้รับการับรองการเป็น ส.ส.หรือไม่ เพราะเมื่อช่วงรับสมัครทางเจ้าหน้าที่ได้ตรวจเอกสาร หลักฐานเบื้องต้นว่ากรณีที่ถูกต้องคุมขังในระหว่างการพิจารณา กรณีนี้ยังไม่ขาดคุณสมบัติของการสมัคร ส.ส. และในข้อบังคับภายในพรรคเพื่อไทย ในขณะนั้นได้มีการแก้ไขข้อบังคับพรรค โดยมีการตัดกรณีที่การขาดสมาชิกภาพ ที่ต้องถูกคุมขังโดยชอบด้วยกฎหมายออกไป จึงทำให้การรับสมัครที่ผ่านมา นายจตุพร จึงยังไม่ขาดคุณสมบัติดั้งกล่าว อย่างไรก็ตาม กรณีที่เกิดขึ้นในขณะนี้ถูกพูดถึงว่านายจตุพร จะขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส.หรือไม่ ซึ่งกกต. จะต้องต้องพิจารณาตามข้อบังคับของพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง
**"อภิชาต"งงข่าวกกต.รับรอง "ตู่"
นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมกกต.กรณีคุณสมบัติของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ว่าที่ประชุมกกต.ยังไม่ได้มีการพิจารณารับรองให้นายจตุพร เป็นส.ส.แต่อย่างใด ซึ่งตามที่ปรากฏเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์นั้น ตนก็งงเหมือนกัน โดยการประชุมกกต.ในช่วงเช้าก็มีการพูดในที่ประชุม และนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้งก็ให้สัมภาษณ์ไปแล้ว ว่า กกต.ยังไม่มีการลงติกกต.เพื่อรับรองผลการเลือกตั้งให้แก่นายจตุพรแต่อย่างใด
**"อภิสิทธิ์"จี้"อริสมันต์"มามอบตัว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำคนเสื้อแดงที่ให้สัมภาษณ์ว่าไม่ทราบว่าทำผิดอะไรและเจ้าหน้าที่ออกหมายจับไม่ถูกต้อง โดยนายอภิสิทธิ์ ย้อนถามผู้สื่อข่าวว่า "หมายจับใครไม่ถูกต้อง" เมื่อถามย้ำว่านายอริสมันต์ อ้างว่ารัฐบาลไล่ล่าทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรผิด นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า “ก็มามอบตัวสิครับ” ก่อนจะแหวกวงล้อมเดินออกไป
ส่วนนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง ระบุว่าตัวเองไม่มีความผิดนั้น ตนก็อยากให้นายอริสมันต์ มอบตัวสู้คดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงกระแสข่าวข่มขู่ว่าจะปลดอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ นั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะต้องแสดงจุดยืนให้ชัดเจน และรัฐบาลชุดใหม่จะต้องทำงานตามนโยบายที่หาเสียงไว้ให้ได้
**"ธิดา"ชี้"อริสมันต์"ยังไม่เข้ามอบตัว
นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวถึงกรณีที่นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำ นปช. ยังไม่เข้ามอบตัวในคดีก่อการร้ายต่อพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่า อาจจะยังไม่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรม คาดว่า คงรอให้พรรคเพื่อไทยดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลเรียบร้อยก่อนจึงจะเข้ามอบตัว เนื่องจากเกรงว่าอำนาจรัฐบาลเดิมจะแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม
นางธิดา ยังกล่าวถึงกรณีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ว่าขอให้พรรคดำเนินการโดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนมากกว่าเป็นการจัดสรรตำแหน่งเพื่อผลประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ส่วนที่มีข่าวว่าตนถูกปลดออกจากตำแหน่งประธาน นปช.นั้น อาจเป็นการเข้าผิด และเกิดจากการกระทบกระทั่งกันในการทำงาน ยืนยันว่ายังอยู่ในตำแหน่ง ไม่ได้ถูกปลดตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด
“ไอ้ตู่”หน้าระรื่นขึ้นศาลฟ้อง“วัชระ"**
วันเดียวกันที่ห้องพิจารณา 911 ศาลอาญา ศาลนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรก คดีหมายเลขดำที่ อ.3856/2552 นายจตุพร พรหมพันธุ์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายวัชระ เพชรทอง ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปิตย์ บริษัท สารสู่อนาคต จำกัด และนายทวีสิน สถิตรัตนชีวิน บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา นสพ.ไทยโพสต์ เป็นจำเลยที่ 1-3 ตามลำดับ กรณีระหว่างวันที่ 24-25 ก.ย.52 จำเลยทั้งสามใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามโดยการโฆษณาผ่านสื่อทุกแขนง โดยมีเจตนาให้ประชาชนเข้าใจว่าโจทก์เป็นคนเลว เป็นคนนิสัยไม่ดี ชอบด่า ไม่เป็นไทยแก่ตัวเอง ต้องคอยกระทำการไปตามที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกคำสั่ง และคำว่าเป็นปากเสียงให้ทรราช ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและเกลียดชัง วันนี้ทั้งสองฝ่ายมาศาล พร้อมแถลงศาลว่ามีความประสงค์จะเจรจากัน ศาลเห็นควรให้ทั้งสองฝ่ายเจรจากัน เพื่อความปรองดองสมานฉันท์ จึงนัดประนอมข้อพิพาทในวันที่ 21 ก.ค.นี้ เวลา 9.00 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเดินทางมายังศาลอาญาในครั้งนี้ นายจตุพร มีสีหน้ายิ้มแย้ม พร้อมกับกล่าวขอบคุณประชาชนที่เลือกพรรคเพื่อไทย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการยื่นประกันตัวนายจตุพร นั้น ทีมทนายความเตรียมประสานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เพื่อขอให้ออกหนังสือรับรองสถานภาพ ส.ส.เป็นกรณีพิเศษ หากได้หนังสือรับรองจาก กกต.จะนำมายื่นขอประกันตัวต่อศาลอีกครั้ง
**กสม.เลื่อนเปิดรายงานการชุมนุมนปช.***
นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.)ได้แถลงข่าวขอโทษสื่อมวลชนที่ไม่สามารถเปิดเผยรายงานตรวจสอบกรณีเหตุการณ์การชุมนุมกลุ่ม นปช. ในวันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2554 ตามที่เคยให้ข่าวก่อนหน้านี้ แม้ว่าก่อนหน้านี้ได้มีการหารือกับประธาน กสม. ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ และได้ข้อสรุปตรงกันว่า การประชุม กสม. ในวันพุธที่ 6 กรกฎาคม น่าจะเป็นการพิจารณารายงานครั้งสุดท้ายสามารถเสนอต่อสาธารณะได้ในวันที่ 8 กรกฎาคม ดังกล่าวแล้ว
นายแพทย์ชูชัยฯ เปิดเผยว่า ทั้งนี้เนื่องจากกรรมการบางท่านเห็นว่า มีประเด็นอื่น ๆ ที่เพิ่มเติมขึ้นมาจากการประชุมครั้งที่แล้ว และที่ประชุม กสม. เห็นว่าควรพิจารณาให้ครบถ้วน และเห็นว่าเงื่อนไขเวลาในการเปิดเผยรายงานที่ขยายออกไปอีกไม่น่าจะเป็นปัญหาใด ๆ
ต่อข้อถามที่ว่ามีปัญหาการเมืองใน กสม. ของกรรมการหรือไม่ นายแพทย์ชูชัยฯ ชี้แจงว่า ไม่สามารถตอบคำถามแทนกรรมการท่านใดได้ แต่เชื่อว่าไม่น่าจะมีและไม่ควรจะมี เป็นการดีที่สื่อมวลชนสนใจติดตามตรวจสอบองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพราะตนในฐานะอดีตรองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ทราบดีว่าได้มีการเพิ่มอำนาจและบทบาทหน้าที่ของ กสม. และผู้ตรวจการแผ่นดินอย่างมาก จึงจำเป็นอยู่เองที่จะต้องถูกตรวจสอบจากสื่อมวลชนและสังคมอย่างหนัก