ผลของการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ได้ปรากฏผลออกมาแล้ว จากการแถลงอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งรวม 75% บัตรเสีย 5.79% ไม่ประสงค์ลงคะแนน 2.03 ล้านใบ คิดเป็น 4.03% ผลคะแนนแบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทยได้มากที่สุด 15,744,190 คะแนน พรรคประชาธิปัตย์ได้ 11,433,501 คะแนน พรรคภูมิใจไทยได้ 1,281,522 คะแนน พรรครักประเทศไทยได้ 998,527 คะแนน พรรคชาติไทยพัฒนา 906,644 คะแนน พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 494,894 คะแนน พรรครักษ์สันติ 284,112 คะแนน พรรคมาตุภูมิ 251,581 คะแนน พรรคพลังชล 178,106 คะแนน พรรคมหาชน 133,767 คะแนน พรรคประชาธิปไตยใหม่ 125,781 คะแนน
เมื่อรวมผลของการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อหลังจากที่ กกต.คิดคะแนนนำมาหาค่าเฉลี่ยแล้ว ปรากฏผลจำนวน ส.ส.ดังนี้
1. พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ทั้งสิ้น 265 คน โดย ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 61 คน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 204 คน
2. พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.ทั้งสิ้น 159 คน โดย ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 44 คน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 115 คน
3. พรรคภูมิใจไทยได้ ส.ส.ทั้งสิ้น 34 คน เป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 5 คน แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 29 คน
4. พรรคชาติไทยพัฒนาได้ ส.ส.ทั้งสิ้น 19 คน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 4 คน แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 15 คน
5. พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินได้ ส.ส. 7 คน เป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 2 คน แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 5 คน
6. พรรคพลังชลได้ ส.ส.รวม 7 คน แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 6 คน
7. พรรครักประเทศไทยได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 4 คน แบบแบ่งเขตไม่มี
8. พรรคมาตุภูมิได้ ส.ส. 2 คน แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 1 คน
9. พรรครักษ์สันติ, พรรคมหาชน, พรรคประชาธิปไตยใหม่ได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคละ 1 คน
รวม ส.ส.ทั้งสิ้น 500 คน ซึ่งอยู่ระหว่างรอการรับรองอย่างเป็นทางการจาก กกต.อีกครั้งภายใน 30 วัน
จากผลการเลือกตั้ง และผลคะแนนดังกล่าว ชี้ให้เห็นทิศทางและอนาคตของการเมืองไทยได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า การเมืองไทยต่อแต่นี้ไป จะเป็นการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจกันระหว่างสองขั้วการเมืองใหญ่เท่านั้น คือ ระหว่างขั้วพรรคเพื่อไทยที่นำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพวกซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ กับอีกขั้วคือ พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นตัวแทนของกลุ่มทุนเก่า และพลังอนุรักษนิยม โดยเมื่อพิจารณาจากคะแนนนิยมแบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งเป็นคะแนนเลือกพรรคที่เพื่อไทยได้ 15,744,190 คะแนน และประชาธิปัตย์ได้ 11,433,501 คะแนน ทิ้งห่างกันประมาณ 4 ล้านเศษ ขณะที่พรรคการเมืองอื่นๆ ได้คะแนนไม่ถึงล้านคะแนน และมีเพียง 2-3 พรรคเท่านั้น ย่อมถือเป็นพรรคตัวประกอบที่พร้อมจะเข้าร่วมกับขั้วใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าขั้วใดเป็นฝ่ายชนะเท่านั้น
ส่วนจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ก็คงมีเพียงสองขั้วนี้เท่านั้นที่ได้ ส.ส.มีจำนวนเกินหลักร้อย ส่วนพรรคอื่นๆ ก็อยู่หลักสิบหรือต่ำกว่าสิบทั้งนั้น ผลของการเลือกตั้ง ย่อมชี้อนาคตการเมืองไทยให้เห็นชัดเจนว่า ต่อไปนี้พรรคขนาดเล็ก ถูกกินพื้นที่ทางการเมืองไปแทบจะหาที่ยืนยากลงไปทุกที และมีโอกาสสูงที่จะถูกพรรคขนาดใหญ่กลืนกินจนหมดตัวได้ อันเป็นไปตามวิวัฒนาการของทุน ซึ่งพรรคการเมืองเท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้คือ ตัวแทนของกลุ่มทุนทั้งนั้น อยู่ที่ว่าเป็นกลุ่มทุนจากไหน และประเภทใด วันนี้เพื่อไทยเป็นพรรคการเมืองที่มีความชัดเจนที่สุดว่า เป็นตัวแทนของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่ผูกขาดธุรกิจของประเทศ และมีความเชื่อมโยงกับทุนข้ามชาติอีกด้วย จึงมีความพร้อมและความน่ากลัวอย่างยิ่งของพรรคการเมือง ตัวแทนกลุ่มทุนอื่น เพราะทุนขนาดใหญ่จับมือทุนข้ามชาติ ย่อมมีความน่ากลัว และอำมหิตยิ่ง เขาจะเข้ายึดกุมอำนาจจริงๆ และอำนาจทางเศรษฐกิจ โดยผูกขาดและครอบงำตลาดด้วยพลังแห่งทุน อำนาจ เทคโนโลยี และกระบวนการบริหารจัดการที่ทันสมัย มุ่งสู่ความสำเร็จและชัยชนะอย่างยากที่ทุนเก่าล้าหลัง พลังอนุรักษนิยมจะทัดทานและขัดขวางได้
พรรคประชาธิปัตย์ และพลังอนุรักษนิยมทางการเมือง กำลังเผชิญหน้ากับการต่อสู้ที่ดุเดือดเอาจริงเอาจัง และน่ากลัวของกลุ่มทุนทางการเมืองดังกล่าว หากยังยึดมั่น ถือมั่นในความคิดเก่าๆ เดิมๆ ด้วยกระบวนทัศน์ที่ล้าหลัง ไม่ทันสถานการณ์ ประเมินคู่ต่อสู้ และคู่แข่งขันผิด ก็ยากที่จะรักษาอำนาจ และฐานที่มั่นทางการเมืองไว้ได้ เปรียบเสมือนประชาธิปัตย์เป็นร้านโชห่วยที่ขายและตั้งมานาน มีลูกค้าจำกัด ขยายฐานไม่ออก กำลังเผชิญกับคู่แข่งแบบโลตัส, คาร์ฟูร์, บิ๊กซี ที่มีความเข้มแข็งทุนหนา การบริหารจัดการทันสมัย แย่งชิงลูกค้าไปหมด แถมร้านโชห่วย ประชาธิปัตย์ยังไล่ลูกค้า ทะเลาะกับลูกค้าเก่าๆ ของตนทุกวัน ย่อมยากที่จะรักษากิจการไว้ได้
แต่อย่างไรก็ตาม แม้เพื่อไทยจะชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ตาม ยังมีกลุ่มประชาชนจำนวนมากที่ไปลงคะแนนในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน รวมจำนวนแล้วหากคิดถึงจำนวนที่ปะปนอยู่กับบัตรเสียด้วย ก็ไม่น้อยกว่า 3 ล้านคะแนน ซึ่งเป็นผลจากการรณรงค์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยกลุ่มดังกล่าวได้ปฏิเสธอำนาจของการเมืองทั้งสองขั้ว และแยกตัวเองออกมาโดยอิสระ ไม่ผูกพันและขึ้นกับพรรคการเมืองใด แต่ก็จัดอยู่ในฝ่ายพลังที่ปฏิเสธระบอบทักษิณ ซึ่งนับวันแต่เข้มแข็ง และรักษากำลังเพดานไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ที่พลังการเมืองใดๆ จะดูแคลนไม่ได้
พลังของประชาชนกลุ่มนี้จึงกลายเป็น “พลังอำนาจที่สาม” ที่คานและถ่วงดุลอำนาจการเมืองใหญ่สองขั้วในขณะนี้ มิให้ออกนอกลู่นอกทาง หากพรรคการเมืองใดหรือขั้วการเมืองใหม่ คิดจะเอาชนะอีกขั้วหนึ่งให้เด็ดขาด หรือต้องการเอาชนะอีกขั้วหนึ่งในทางการเมือง หากปราศจากการสนับสนุนของกลุ่ม และพลังอำนาจที่สาม ก็ยากที่จะเอาชนะได้ การเมืองสองขั้วกับพลังอำนาจที่สาม คือ ความเป็นจริงของการเมืองไทย ทิศทางและอนาคต ถ้าการเมืองไทยยังเดินไปในทิศทางนี้ ใครๆ ก็มองข้าม “พลังอำนาจที่สามไม่ได้”
เมื่อรวมผลของการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อหลังจากที่ กกต.คิดคะแนนนำมาหาค่าเฉลี่ยแล้ว ปรากฏผลจำนวน ส.ส.ดังนี้
1. พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ทั้งสิ้น 265 คน โดย ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 61 คน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 204 คน
2. พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.ทั้งสิ้น 159 คน โดย ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 44 คน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 115 คน
3. พรรคภูมิใจไทยได้ ส.ส.ทั้งสิ้น 34 คน เป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 5 คน แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 29 คน
4. พรรคชาติไทยพัฒนาได้ ส.ส.ทั้งสิ้น 19 คน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 4 คน แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 15 คน
5. พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินได้ ส.ส. 7 คน เป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 2 คน แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 5 คน
6. พรรคพลังชลได้ ส.ส.รวม 7 คน แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 6 คน
7. พรรครักประเทศไทยได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 4 คน แบบแบ่งเขตไม่มี
8. พรรคมาตุภูมิได้ ส.ส. 2 คน แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 1 คน
9. พรรครักษ์สันติ, พรรคมหาชน, พรรคประชาธิปไตยใหม่ได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคละ 1 คน
รวม ส.ส.ทั้งสิ้น 500 คน ซึ่งอยู่ระหว่างรอการรับรองอย่างเป็นทางการจาก กกต.อีกครั้งภายใน 30 วัน
จากผลการเลือกตั้ง และผลคะแนนดังกล่าว ชี้ให้เห็นทิศทางและอนาคตของการเมืองไทยได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า การเมืองไทยต่อแต่นี้ไป จะเป็นการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจกันระหว่างสองขั้วการเมืองใหญ่เท่านั้น คือ ระหว่างขั้วพรรคเพื่อไทยที่นำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพวกซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ กับอีกขั้วคือ พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นตัวแทนของกลุ่มทุนเก่า และพลังอนุรักษนิยม โดยเมื่อพิจารณาจากคะแนนนิยมแบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งเป็นคะแนนเลือกพรรคที่เพื่อไทยได้ 15,744,190 คะแนน และประชาธิปัตย์ได้ 11,433,501 คะแนน ทิ้งห่างกันประมาณ 4 ล้านเศษ ขณะที่พรรคการเมืองอื่นๆ ได้คะแนนไม่ถึงล้านคะแนน และมีเพียง 2-3 พรรคเท่านั้น ย่อมถือเป็นพรรคตัวประกอบที่พร้อมจะเข้าร่วมกับขั้วใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าขั้วใดเป็นฝ่ายชนะเท่านั้น
ส่วนจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ก็คงมีเพียงสองขั้วนี้เท่านั้นที่ได้ ส.ส.มีจำนวนเกินหลักร้อย ส่วนพรรคอื่นๆ ก็อยู่หลักสิบหรือต่ำกว่าสิบทั้งนั้น ผลของการเลือกตั้ง ย่อมชี้อนาคตการเมืองไทยให้เห็นชัดเจนว่า ต่อไปนี้พรรคขนาดเล็ก ถูกกินพื้นที่ทางการเมืองไปแทบจะหาที่ยืนยากลงไปทุกที และมีโอกาสสูงที่จะถูกพรรคขนาดใหญ่กลืนกินจนหมดตัวได้ อันเป็นไปตามวิวัฒนาการของทุน ซึ่งพรรคการเมืองเท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้คือ ตัวแทนของกลุ่มทุนทั้งนั้น อยู่ที่ว่าเป็นกลุ่มทุนจากไหน และประเภทใด วันนี้เพื่อไทยเป็นพรรคการเมืองที่มีความชัดเจนที่สุดว่า เป็นตัวแทนของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่ผูกขาดธุรกิจของประเทศ และมีความเชื่อมโยงกับทุนข้ามชาติอีกด้วย จึงมีความพร้อมและความน่ากลัวอย่างยิ่งของพรรคการเมือง ตัวแทนกลุ่มทุนอื่น เพราะทุนขนาดใหญ่จับมือทุนข้ามชาติ ย่อมมีความน่ากลัว และอำมหิตยิ่ง เขาจะเข้ายึดกุมอำนาจจริงๆ และอำนาจทางเศรษฐกิจ โดยผูกขาดและครอบงำตลาดด้วยพลังแห่งทุน อำนาจ เทคโนโลยี และกระบวนการบริหารจัดการที่ทันสมัย มุ่งสู่ความสำเร็จและชัยชนะอย่างยากที่ทุนเก่าล้าหลัง พลังอนุรักษนิยมจะทัดทานและขัดขวางได้
พรรคประชาธิปัตย์ และพลังอนุรักษนิยมทางการเมือง กำลังเผชิญหน้ากับการต่อสู้ที่ดุเดือดเอาจริงเอาจัง และน่ากลัวของกลุ่มทุนทางการเมืองดังกล่าว หากยังยึดมั่น ถือมั่นในความคิดเก่าๆ เดิมๆ ด้วยกระบวนทัศน์ที่ล้าหลัง ไม่ทันสถานการณ์ ประเมินคู่ต่อสู้ และคู่แข่งขันผิด ก็ยากที่จะรักษาอำนาจ และฐานที่มั่นทางการเมืองไว้ได้ เปรียบเสมือนประชาธิปัตย์เป็นร้านโชห่วยที่ขายและตั้งมานาน มีลูกค้าจำกัด ขยายฐานไม่ออก กำลังเผชิญกับคู่แข่งแบบโลตัส, คาร์ฟูร์, บิ๊กซี ที่มีความเข้มแข็งทุนหนา การบริหารจัดการทันสมัย แย่งชิงลูกค้าไปหมด แถมร้านโชห่วย ประชาธิปัตย์ยังไล่ลูกค้า ทะเลาะกับลูกค้าเก่าๆ ของตนทุกวัน ย่อมยากที่จะรักษากิจการไว้ได้
แต่อย่างไรก็ตาม แม้เพื่อไทยจะชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ตาม ยังมีกลุ่มประชาชนจำนวนมากที่ไปลงคะแนนในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน รวมจำนวนแล้วหากคิดถึงจำนวนที่ปะปนอยู่กับบัตรเสียด้วย ก็ไม่น้อยกว่า 3 ล้านคะแนน ซึ่งเป็นผลจากการรณรงค์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยกลุ่มดังกล่าวได้ปฏิเสธอำนาจของการเมืองทั้งสองขั้ว และแยกตัวเองออกมาโดยอิสระ ไม่ผูกพันและขึ้นกับพรรคการเมืองใด แต่ก็จัดอยู่ในฝ่ายพลังที่ปฏิเสธระบอบทักษิณ ซึ่งนับวันแต่เข้มแข็ง และรักษากำลังเพดานไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ที่พลังการเมืองใดๆ จะดูแคลนไม่ได้
พลังของประชาชนกลุ่มนี้จึงกลายเป็น “พลังอำนาจที่สาม” ที่คานและถ่วงดุลอำนาจการเมืองใหญ่สองขั้วในขณะนี้ มิให้ออกนอกลู่นอกทาง หากพรรคการเมืองใดหรือขั้วการเมืองใหม่ คิดจะเอาชนะอีกขั้วหนึ่งให้เด็ดขาด หรือต้องการเอาชนะอีกขั้วหนึ่งในทางการเมือง หากปราศจากการสนับสนุนของกลุ่ม และพลังอำนาจที่สาม ก็ยากที่จะเอาชนะได้ การเมืองสองขั้วกับพลังอำนาจที่สาม คือ ความเป็นจริงของการเมืองไทย ทิศทางและอนาคต ถ้าการเมืองไทยยังเดินไปในทิศทางนี้ ใครๆ ก็มองข้าม “พลังอำนาจที่สามไม่ได้”