ASTVผู้จัดการรายวัน-“คมนาคม”รวบโปรเจ็กจ์สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ทำแผนแม่บทบูรณาการโครงข่ายจัดลำดับก่อนหลังแผน 15 โครงการใหม่ ศึกษาผลกระทบโดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่เพื่อกำหนดจุดก่อสร้างที่เหมาะสม หลัง 3 โครงการของกทม.คือสะพานเกียกกาย,สะพานราชวงศ์และสะพานถนนตก ถูกประชาชนต่อต้าน “สนข.”เผยสรุปแผน ม.ค.55 นี้
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังเปิดการสัมมนา รับฟังความคิดเห็นการศึกษาจัดการทำแผนแม่บทสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วานนี้(6 ก.ค.) ว่า จะมีการสำรวจ รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาและบูรณาการโครงข่ายสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลให้สอดคล้องกับโครงข่ายถนนระบบขนส่งมวลชนทางรางและการพัฒนาเมือง โดยจะต้องดูผลกระทบสิ่งแวดล้อม และผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่ก่อสร้างเพื่อหาตำแหน่งก่อสร้างที่เหมาะสมสำหรับสะพานที่จะเกิดขึ้นใหม่ 15 แห่ง
ทั้งนี้ ปัจจุบันสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามีจำนวน 22 แห่งโดยมีหน่วยงานรับผิดชอบรวม 7 หน่วย คือ กทม. กรมทางหลวง(ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ซึ่งล่าสุด คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ได้เห็นชอบไปแล้ว 4 โครงการ คือ สะพานนนทบุรี1 ของทช.อยู่ในขั้นตอนเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่อนุมัติลงนามสัญญาก่อสร้าง ส่วนอีก 3 แห่งเป็นของกทม.คือ สะพานเกียกกาย,สะพานราชวงศ์และสะพานถนนตก ซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่สูง ทำให้เกิดปัญหา ซึ่งเป็นหน้าที่ของกทม.ที่จะต้องนำเสนอปัญหาอุปสรรคเพื่อหาทางแก้ปัญหาต่อคจร.เอง
“แผนแม่บทจะทำให้เห็นภาพรวมของแต่ละโครงการ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 15 แห่ง ว่ามีปัญหา อุปสรรค ผลกระทบต่อประชาชนและความเหมาะสมทางกายภาพเพื่อกำหนดจุดก่อสร้าง”นายสุพจน์กล่าว
ด้านนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า มติครม.วันที่ 3 มิ.ย. 2552 ให้กระทรวงคมนาคมจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาฯ ซึ่งสนข.ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาวงเงิน 23 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษา 12 เดือน กำหนดแล้วเสร็จในเดือนม.ค. 2555 เพื่อวางกรอบการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดลำดับความสำคัญ
โดยปัจจุบันสะพาน 22 แห่ง เป็นสะพานรถยนต์ 21 แห่ง สะพานรถไฟ 1 แห่ง แต่ละสะพานมีระยะห่างเฉลี่ย 2.1 กม. ขณะที่ปริมาณการเดินทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 2.7 ล้านเที่ยว/วัน และอีก 10 ปีข้างหน้าหรือในปี 2564 จะเพิ่มเป็น 3.6 ล้านเที่ยว/วัน โดยแต่ละสะพานมีปริมาณจราจรเฉลี่ยมากกว่า 100,000 คัน/วัน มีความเร็วเฉลี่ยเพียง 40-50 กม./ชม. แผนในอนาคตอีก 15 แห่ง จะทำให้ละสะพานระยะห่างเฉลี่ยเหลือ1.2 กม.
สำหรับ สะพาน 22 แห่งเป็นของกรมทางหลวง 7แห่ง คือ สะพานเชียงราก, สะพานปทุมธานี1, สะพานปทุมธานี2, สะพานนนทบุรี,สะพานพระนั่งเกล้าใหม่,สะพานพระนั่งเกล้า เป็นของกรมทางหลวงชนบท 12 แห่งคือ สะพานพระราม4,สะพานพระราม5,สะพานพระราม7,สะพานกรุงธน,สะพานพระปิ่นเกล้า,สะพานพระพุทธยอดฟ้า,สะพานพระปกเกล้า,สะพานตากสิน,สะพานพระราม3,สะพานกรุงเทพฯ,สะพานภูมิพล1,สะพานภูมิพล 2 ส่วนกทม.รับผิดชอบ 1 แห่งคือ สะพานพระราม8 กทพ. 2 แห่ง สะพานพระราม9 และสะพานกาญจนาภิเษก
ส่วน15 โครงการในอนาคต เป็นของกทม. 4 แห่ง สะพานตามแนวถนนราชวงศ์-ถนนท่าดินแดง,สะพานถนนลาดหญ้า-ถ.มหาพฤฒาราม ,สะพานถนนจันทร์-ถ.เจริญนคร,สะพานเกียกกาย กรมทางหลวงชนบทรับผิดชอบ 3 แห่ง คือ สะพานตามแนว ถ.สนามบินน้ำ,สะพานนทบุรี1, สะพานตามแนวถนนเลียบคลองสรรพสามิตร-ถ.สุขุมวิท กรมทางหลวง 2 แห่ง คือสะพานถนนวงแหวนรอบที่ 3 ด้านใต้ ,สะพานตามแนวใหม่เชื่อมทางหลวงพิเศษหมายเลข 9ตะวันตก-ตะวันออก กทพ. 2 แห่งคือ สะพานโครงข่ายทางพิเศษศรีรัช-ดาวคะนอง,สะพานโครงข่ายทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ร.ฟ.ท. 2 แห่ง คือ สะพานรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มช่วงหัวลำโพง-มหาชัย,สะพานรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และรฟม.2 แห่งคือ สะพานรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางซื่อ-บางใหญ่,สะพานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระ
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังเปิดการสัมมนา รับฟังความคิดเห็นการศึกษาจัดการทำแผนแม่บทสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วานนี้(6 ก.ค.) ว่า จะมีการสำรวจ รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาและบูรณาการโครงข่ายสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลให้สอดคล้องกับโครงข่ายถนนระบบขนส่งมวลชนทางรางและการพัฒนาเมือง โดยจะต้องดูผลกระทบสิ่งแวดล้อม และผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่ก่อสร้างเพื่อหาตำแหน่งก่อสร้างที่เหมาะสมสำหรับสะพานที่จะเกิดขึ้นใหม่ 15 แห่ง
ทั้งนี้ ปัจจุบันสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามีจำนวน 22 แห่งโดยมีหน่วยงานรับผิดชอบรวม 7 หน่วย คือ กทม. กรมทางหลวง(ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ซึ่งล่าสุด คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ได้เห็นชอบไปแล้ว 4 โครงการ คือ สะพานนนทบุรี1 ของทช.อยู่ในขั้นตอนเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่อนุมัติลงนามสัญญาก่อสร้าง ส่วนอีก 3 แห่งเป็นของกทม.คือ สะพานเกียกกาย,สะพานราชวงศ์และสะพานถนนตก ซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่สูง ทำให้เกิดปัญหา ซึ่งเป็นหน้าที่ของกทม.ที่จะต้องนำเสนอปัญหาอุปสรรคเพื่อหาทางแก้ปัญหาต่อคจร.เอง
“แผนแม่บทจะทำให้เห็นภาพรวมของแต่ละโครงการ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 15 แห่ง ว่ามีปัญหา อุปสรรค ผลกระทบต่อประชาชนและความเหมาะสมทางกายภาพเพื่อกำหนดจุดก่อสร้าง”นายสุพจน์กล่าว
ด้านนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า มติครม.วันที่ 3 มิ.ย. 2552 ให้กระทรวงคมนาคมจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาฯ ซึ่งสนข.ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาวงเงิน 23 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษา 12 เดือน กำหนดแล้วเสร็จในเดือนม.ค. 2555 เพื่อวางกรอบการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดลำดับความสำคัญ
โดยปัจจุบันสะพาน 22 แห่ง เป็นสะพานรถยนต์ 21 แห่ง สะพานรถไฟ 1 แห่ง แต่ละสะพานมีระยะห่างเฉลี่ย 2.1 กม. ขณะที่ปริมาณการเดินทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 2.7 ล้านเที่ยว/วัน และอีก 10 ปีข้างหน้าหรือในปี 2564 จะเพิ่มเป็น 3.6 ล้านเที่ยว/วัน โดยแต่ละสะพานมีปริมาณจราจรเฉลี่ยมากกว่า 100,000 คัน/วัน มีความเร็วเฉลี่ยเพียง 40-50 กม./ชม. แผนในอนาคตอีก 15 แห่ง จะทำให้ละสะพานระยะห่างเฉลี่ยเหลือ1.2 กม.
สำหรับ สะพาน 22 แห่งเป็นของกรมทางหลวง 7แห่ง คือ สะพานเชียงราก, สะพานปทุมธานี1, สะพานปทุมธานี2, สะพานนนทบุรี,สะพานพระนั่งเกล้าใหม่,สะพานพระนั่งเกล้า เป็นของกรมทางหลวงชนบท 12 แห่งคือ สะพานพระราม4,สะพานพระราม5,สะพานพระราม7,สะพานกรุงธน,สะพานพระปิ่นเกล้า,สะพานพระพุทธยอดฟ้า,สะพานพระปกเกล้า,สะพานตากสิน,สะพานพระราม3,สะพานกรุงเทพฯ,สะพานภูมิพล1,สะพานภูมิพล 2 ส่วนกทม.รับผิดชอบ 1 แห่งคือ สะพานพระราม8 กทพ. 2 แห่ง สะพานพระราม9 และสะพานกาญจนาภิเษก
ส่วน15 โครงการในอนาคต เป็นของกทม. 4 แห่ง สะพานตามแนวถนนราชวงศ์-ถนนท่าดินแดง,สะพานถนนลาดหญ้า-ถ.มหาพฤฒาราม ,สะพานถนนจันทร์-ถ.เจริญนคร,สะพานเกียกกาย กรมทางหลวงชนบทรับผิดชอบ 3 แห่ง คือ สะพานตามแนว ถ.สนามบินน้ำ,สะพานนทบุรี1, สะพานตามแนวถนนเลียบคลองสรรพสามิตร-ถ.สุขุมวิท กรมทางหลวง 2 แห่ง คือสะพานถนนวงแหวนรอบที่ 3 ด้านใต้ ,สะพานตามแนวใหม่เชื่อมทางหลวงพิเศษหมายเลข 9ตะวันตก-ตะวันออก กทพ. 2 แห่งคือ สะพานโครงข่ายทางพิเศษศรีรัช-ดาวคะนอง,สะพานโครงข่ายทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ร.ฟ.ท. 2 แห่ง คือ สะพานรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มช่วงหัวลำโพง-มหาชัย,สะพานรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และรฟม.2 แห่งคือ สะพานรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางซื่อ-บางใหญ่,สะพานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระ