ASTVผู้จัดการรายวัน - “คมนาคม” ตั้งแท่นเสนอ 2 โปรเจ็กต์ยักษ์ต่อรัฐบาลใหม่ ปรับแผนเร่งก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลดความแออัดถนนลาดพร้าว ลงทุน 1.6 หมื่นล้านทำระบบโมโนเรล ก่อสร้างแค่ 2-3 ปี พร้อมเสนอผุดสถานีขนส่งแห่งใหม่ หลังหมอชิตเริ่ม แออัด เล็ง 3 ทำเล ดอนเมือง เมืองทองธานี และรังสิต
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมต้องการเร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ -สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่พิจารณา เพื่อปรับแผนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร มาดำเนินการก่อน ในช่วง 10 ปีแรก (2553-2562) จากเดิมที่กำหนดจะดำเนินโครงการในช่วง 10 ปีหลัง (2562-2572) เนื่องจากแนวเส้นทางของสายสีเหลืองจะรองรับการเดินทางตลอดแนวถนนลาดพร้าวที่มีความแออัดอย่างมาก และสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินบริเวณปากทางลาดพร้าว ซึ่งเป็นต้นทางโครงการเชื่อมกับสายสีส้มที่บริเวณบางกะปิ เชื่อมกับแอร์พอร์ตลิ้งค์ที่หัวหมาก และเชื่อมกับสายสีเขียวที่พัฒนาการได้
ปัจจุบัน โครงการได้มีการศึกษาและออกแบบเบื้องต้นไว้แล้ว รวมถึงผ่านการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะแบ่งเป็นสีเหลืองอ่อน ช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างประมาณ 16,000 ล้านบาท เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ส่วนสีเหลืองเข้มช่วงบางกะปิ-สำโรง ระยะทาง 17.8 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างประมาณ 46,000 ล้านบาท เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (Heavy Rail)
ทั้งนี้ หากสามารถเร่งรถไฟฟ้าสายสีเหลืองขึ้นมาก่อสร้างก่อน จะทำให้รถไฟฟ้าเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายที่สมบูรณ์ในช่วง 4-5 ปีข้างหน้า โดยช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ ก่อสร้างบนเกาะกลางถนนลาดพร้าว เป็นระบบ Monorail ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2-3 ปี เท่านั้น
แหล่งข่าวกล่าวว่า แผนแม่บทรถไฟฟ้า 12 สาย ที่ครม.ให้ความเห็นชอบไว้นั้น เป็นแนวเส้นทางที่มีโครงข่ายครอบคลุมเพื่อรองรับการเดินทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่สมบูรณ์แล้ว ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อโครงการ เนื่องจากทุกพรรคการเมืองให้ความสำคัญกับโครงการรถไฟฟ้าเหมือนกัน โดยเห็นว่าหลังจากนี้ รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะระบบตั๋วร่วม เพื่อให้ประชาชนได้ใช้รถไฟฟ้าซึ่งเป็นระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างสะดวก รวดเร็วและประหยัด
ขณะที่การลดความแออัดที่สถานีขนส่งกรุงเทพ (หมอชิตใหม่) ที่มีความแออัดมาก แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในช่วงเทศกาลสำคัญที่มีประชาชนเดินทางเป็นจำนวนมากนั้น นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กล่าวว่า การจัดหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายเหนือแห่งใหม่คงต้องรอให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาตัดสินใจ
ขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาได้สรุปผลศึกษาเสร็จสิ้น โดยนำเสนอพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการก่อสร้างจำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย 1. ดอนเมือง 2. เมืองทองธานี 3.รังสิต โดยบขส.เตรียมนำข้อมูลทั้งหมดหารือร่วมกับนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เพื่อร่วมพิจารณา เกี่ยวกับแผนการจัดหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายเหนือแห่งใหม่ รวมทั้งระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเชื่อมต่อต่างๆ
ทั้งนี้ ในการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมนั้นจะต้องรับฟังความเห็นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และคงต้องมีการประกาศเชิญชวนโดยมีคณะกรรมการมาพิจารณาถึงองค์ประกอบในด้านต่างๆ ของพื้นที่ก่อสร้างสถานีอีกครั้ง เช่น ราคา ศักยภาพ ระบบเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะก่อน โดยความเหมาะสมเบื้องต้นมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะแยกสถานีขนส่งสายเหนือ และสายอีสานออกจากกันและคาดว่าจะมีวงเงินลงทุนประมาณ 3,000 ล้านบาทพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 100 ไร่
โดย บขส.จะเป็นผู้จัดซื้อทีดินเป็นของตัวเองแทนการขอเช่าพื้นที่จากเอกชนหรือหน่วยงานราชการ ซึ่งบขส.ได้มีการสำรวจพื้นที่เบื้องต้นพบว่าบริเวณรังสิต มีความเหมาะสม เนื่องจากอยู่ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ทำให้เชื่อมต่อการเดินทางกับระบบอื่นสะดวกมากขึ้น
นอกจากนี้ ในปี 2555บขส.จะใช้งบประมาณ 2-3 ล้านบาท ในการปรับปรุงเพื่อจัดพื้นที่การเดินรถเร่งปรับปรุงพื้นที่สถานีขนส่งเอกมัยใหม่ให้เป็นระเบียบมากขึ้น ส่วนสถานีขนส่งสายใต้เก่า ขณะนี้มีการปรับปรุงไปแล้วประมาณ 50% ส่วนที่เหลือ อยู่ระหว่างการตั้งงบประมาณที่จะดำเนินงานต่อไป.
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมต้องการเร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ -สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่พิจารณา เพื่อปรับแผนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร มาดำเนินการก่อน ในช่วง 10 ปีแรก (2553-2562) จากเดิมที่กำหนดจะดำเนินโครงการในช่วง 10 ปีหลัง (2562-2572) เนื่องจากแนวเส้นทางของสายสีเหลืองจะรองรับการเดินทางตลอดแนวถนนลาดพร้าวที่มีความแออัดอย่างมาก และสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินบริเวณปากทางลาดพร้าว ซึ่งเป็นต้นทางโครงการเชื่อมกับสายสีส้มที่บริเวณบางกะปิ เชื่อมกับแอร์พอร์ตลิ้งค์ที่หัวหมาก และเชื่อมกับสายสีเขียวที่พัฒนาการได้
ปัจจุบัน โครงการได้มีการศึกษาและออกแบบเบื้องต้นไว้แล้ว รวมถึงผ่านการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะแบ่งเป็นสีเหลืองอ่อน ช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างประมาณ 16,000 ล้านบาท เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ส่วนสีเหลืองเข้มช่วงบางกะปิ-สำโรง ระยะทาง 17.8 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างประมาณ 46,000 ล้านบาท เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (Heavy Rail)
ทั้งนี้ หากสามารถเร่งรถไฟฟ้าสายสีเหลืองขึ้นมาก่อสร้างก่อน จะทำให้รถไฟฟ้าเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายที่สมบูรณ์ในช่วง 4-5 ปีข้างหน้า โดยช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ ก่อสร้างบนเกาะกลางถนนลาดพร้าว เป็นระบบ Monorail ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2-3 ปี เท่านั้น
แหล่งข่าวกล่าวว่า แผนแม่บทรถไฟฟ้า 12 สาย ที่ครม.ให้ความเห็นชอบไว้นั้น เป็นแนวเส้นทางที่มีโครงข่ายครอบคลุมเพื่อรองรับการเดินทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่สมบูรณ์แล้ว ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อโครงการ เนื่องจากทุกพรรคการเมืองให้ความสำคัญกับโครงการรถไฟฟ้าเหมือนกัน โดยเห็นว่าหลังจากนี้ รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะระบบตั๋วร่วม เพื่อให้ประชาชนได้ใช้รถไฟฟ้าซึ่งเป็นระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างสะดวก รวดเร็วและประหยัด
ขณะที่การลดความแออัดที่สถานีขนส่งกรุงเทพ (หมอชิตใหม่) ที่มีความแออัดมาก แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในช่วงเทศกาลสำคัญที่มีประชาชนเดินทางเป็นจำนวนมากนั้น นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กล่าวว่า การจัดหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายเหนือแห่งใหม่คงต้องรอให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาตัดสินใจ
ขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาได้สรุปผลศึกษาเสร็จสิ้น โดยนำเสนอพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการก่อสร้างจำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย 1. ดอนเมือง 2. เมืองทองธานี 3.รังสิต โดยบขส.เตรียมนำข้อมูลทั้งหมดหารือร่วมกับนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เพื่อร่วมพิจารณา เกี่ยวกับแผนการจัดหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายเหนือแห่งใหม่ รวมทั้งระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเชื่อมต่อต่างๆ
ทั้งนี้ ในการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมนั้นจะต้องรับฟังความเห็นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และคงต้องมีการประกาศเชิญชวนโดยมีคณะกรรมการมาพิจารณาถึงองค์ประกอบในด้านต่างๆ ของพื้นที่ก่อสร้างสถานีอีกครั้ง เช่น ราคา ศักยภาพ ระบบเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะก่อน โดยความเหมาะสมเบื้องต้นมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะแยกสถานีขนส่งสายเหนือ และสายอีสานออกจากกันและคาดว่าจะมีวงเงินลงทุนประมาณ 3,000 ล้านบาทพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 100 ไร่
โดย บขส.จะเป็นผู้จัดซื้อทีดินเป็นของตัวเองแทนการขอเช่าพื้นที่จากเอกชนหรือหน่วยงานราชการ ซึ่งบขส.ได้มีการสำรวจพื้นที่เบื้องต้นพบว่าบริเวณรังสิต มีความเหมาะสม เนื่องจากอยู่ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ทำให้เชื่อมต่อการเดินทางกับระบบอื่นสะดวกมากขึ้น
นอกจากนี้ ในปี 2555บขส.จะใช้งบประมาณ 2-3 ล้านบาท ในการปรับปรุงเพื่อจัดพื้นที่การเดินรถเร่งปรับปรุงพื้นที่สถานีขนส่งเอกมัยใหม่ให้เป็นระเบียบมากขึ้น ส่วนสถานีขนส่งสายใต้เก่า ขณะนี้มีการปรับปรุงไปแล้วประมาณ 50% ส่วนที่เหลือ อยู่ระหว่างการตั้งงบประมาณที่จะดำเนินงานต่อไป.