“สนข.” จ่อชง คจร.และ ครม.ชุดใหม่ เห็นชอบการปรับแผนแม่บทรถไฟฟ้า 12 สาย ตัดระยะทางสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) แค่จรัญสนิทวงศ์ เหตุแนวเส้นทางต่อจากนั้นซ้ำซ้อนกับสีแดง (บางซื่อ-ศาลายา) และเร่งแผนสีเหลือง สร้างเร็วขึ้นหวังป้อนคนเข้าแอร์พอร์ตลิงก์ แก้จราจรบนลาดพร้าว
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า แผนแม่บทรถไฟฟ้า 12 สาย ได้มีการปรับเปลี่ยน เพื่อให้มีความเหมาะสม ซึ่งขณะนี้เตรียมนำเสนอรัฐมนตรีว่าการคมนาคมคนใหม่ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่พิจารณาเห็นชอบต่อต่อไปการปรับแผนแม่บท
โดยเบื้องต้นจะมีการปรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) ซึ่งมีแนวเส้นทางจาก ตลิ่งชัน-ราชดำเนิน-หลานหลวง-เพชรบุรีตัดใหม่-ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี ระยะทาง 37.5 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 137,750 ล้านบาท โดยให้ย่นระยะทางสิ้นสุดที่จรัญสนิทวงศ์ เนื่องจากแนวเส้นทางต่อจากนั้น จะทับซ้อนกับสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน-ศาลายา ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าก่อสร้างได้อีกมาก โดยได้มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาความเหมาะสมในการตัดระยะทางรถไฟฟ้าสายสีส้มแล้ว
นอกจากนี้ จะปรับแผนการก่อสร้างสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร โดยเร่งให้เร็วกว่ากำหนดเดิมที่จะแล้วเสร็จในปี 2572 เป็นปี 2562 เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในพื้นที่ถนนศรีนครินทร์ ลาดพร้าว พัฒนาการ เทพารักษ์ บางนา-ตราด และช่วยป้อนผู้โดยสารกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์เพราะมีแนวเส้นทางเชื่อมกัน
“แนวเส้นทางของสายสีเหลืองจะรองรับการเดินทางตลอดแนวถนนลาดพร้าวที่มีความแออัดอย่างมาก และสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินบริเวณปากทางลาดพร้าว ซึ่งเป็นต้นทางโครงการ เชื่อมกับสายสีส้มที่บริเวณบางกะปิ เชื่อมกับแอร์พอร์ตลิ้งค์ที่หัวหมาก และเชื่อมกับสายสีเขียวที่พัฒนาการได้” นางสร้อยทิพย์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ตามแผนถนนจรัญสนิทวงศ์ บริเวณบางขุนนนท์ จะเป็นจุดเชื่อมต่อและสถานีร่วมของรถไฟฟ้า 3 สาย คือ สายสีแดง, สีส้ม และสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ และทำให้การเดินทางของฝั่งธนบุรีมีความสะดวกและเชื่อมโยงมากขึ้น
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า แผนแม่บทรถไฟฟ้า 12 สาย ได้มีการปรับเปลี่ยน เพื่อให้มีความเหมาะสม ซึ่งขณะนี้เตรียมนำเสนอรัฐมนตรีว่าการคมนาคมคนใหม่ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่พิจารณาเห็นชอบต่อต่อไปการปรับแผนแม่บท
โดยเบื้องต้นจะมีการปรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) ซึ่งมีแนวเส้นทางจาก ตลิ่งชัน-ราชดำเนิน-หลานหลวง-เพชรบุรีตัดใหม่-ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี ระยะทาง 37.5 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 137,750 ล้านบาท โดยให้ย่นระยะทางสิ้นสุดที่จรัญสนิทวงศ์ เนื่องจากแนวเส้นทางต่อจากนั้น จะทับซ้อนกับสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน-ศาลายา ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าก่อสร้างได้อีกมาก โดยได้มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาความเหมาะสมในการตัดระยะทางรถไฟฟ้าสายสีส้มแล้ว
นอกจากนี้ จะปรับแผนการก่อสร้างสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร โดยเร่งให้เร็วกว่ากำหนดเดิมที่จะแล้วเสร็จในปี 2572 เป็นปี 2562 เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในพื้นที่ถนนศรีนครินทร์ ลาดพร้าว พัฒนาการ เทพารักษ์ บางนา-ตราด และช่วยป้อนผู้โดยสารกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์เพราะมีแนวเส้นทางเชื่อมกัน
“แนวเส้นทางของสายสีเหลืองจะรองรับการเดินทางตลอดแนวถนนลาดพร้าวที่มีความแออัดอย่างมาก และสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินบริเวณปากทางลาดพร้าว ซึ่งเป็นต้นทางโครงการ เชื่อมกับสายสีส้มที่บริเวณบางกะปิ เชื่อมกับแอร์พอร์ตลิ้งค์ที่หัวหมาก และเชื่อมกับสายสีเขียวที่พัฒนาการได้” นางสร้อยทิพย์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ตามแผนถนนจรัญสนิทวงศ์ บริเวณบางขุนนนท์ จะเป็นจุดเชื่อมต่อและสถานีร่วมของรถไฟฟ้า 3 สาย คือ สายสีแดง, สีส้ม และสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ และทำให้การเดินทางของฝั่งธนบุรีมีความสะดวกและเชื่อมโยงมากขึ้น