ASTVผู้จัดการรายวัน-ราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมขยับ 3 บาทต่อกก.มีผล 19 ก.ค.นี้ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิครอมีผลบังคับใช้จริงจ่อยื่นฟ้องศาลปกครองที่เชียงใหม่ชะลอบังคับหวังให้รัฐบาลใหม่ทบทวน สมาคมฯผู้ค้าแอลพีจีจี้รัฐทบทวนขึ้นทั้งกระดานไม่ใช่ขึ้นเฉพาะภาคอุตฯหวั่นลักลอบอาจทำภาคครัวเรือนขาดแคลน
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า นโยบายการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี)ภาคอุตสาหกรรมไตรมาสละ 3 บาทต่อ(กิโลกรัม) เริ่มก.ค.-ส.ค. หลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะนายกรัฐมนตรีขณะนั้นได้ลงนามประกาศแล้วจะต้องรอลงนามในราชกิจจานุเบกษาก่อนแต่เบื้องต้นได้ทำความตกลงกับผู้ค้ามาตรา 7 ที่จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 19ก.ค.นี้ซึ่งราคาที่ปรับขึ้นจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม(Vat) ด้วยดังนั้นจึงทำให้เงินที่จะเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจากการปรับราคาเหลือเพียง 2.80 บาทต่อกก.
นายวงศ์ชัย ศรีชัย อุปนายกเครื่องปั้นดินเผาลำปาง กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากภาครัฐว่าจะขึ้นราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมวันที่ 19 ก.ค.นี้โดยเอกชนคงจะต้องรอให้มีผลในทางปฏิบัติก่อนจึงจะดำเนินการยื่นฟ้องศาลปกครองกลางที่จ.เชียงใหม่เพื่อให้ชะลอการบังคับใช้และให้รัฐบาลใหม่เข้ามาทบทวนนโยบายดังกล่าวเนื่องจากการปรับขึ้นไตรมาละ 3 บาทรวม 4ครั้งเท่ากับต้นทุนแอลพีจีจะปรับขึ้นถึง 75% ธุรกิจคงไม่สามารถอยู่ได้ซึ่งการปรับขึ้นเอกชนไม่ได้คัดค้านแต่ขอเพียงมีมาตรการรองรับผลกระทบแต่ปัจจุบันภาครัฐกลับไม่มีมาตรการใดๆ ดูแล
“ เราคิดอยู่ว่าจะยื่นรัฐบาลใหม่ให้ทบทวนโดยไม่ยื่นศาลฯแต่ก็ไม่แน่ใจว่าการฟอร์มทีมรัฐบาลจะเสร็จทันจะมีผลบังคับใช้วันที่ 19 หรือไม่ซึ่งดูแล้วถ้าไม่ทันก็จะต้องพึ่งศาลฯก่อน ซึ่งนโยบายนี้ควรทบทวนเพราะเหมือนกับเรากำลังถอยหลังเดิมบอกให้อุตสาหกรรมหันไปใช้ถังเบาท์(ขนาดใหญ่)เพื่อความปลอดภัยแต่พอขึ้นราคาแอลพีจีอุตสาหกรรมผ่อนผันให้ใช้ถัง 48กก.ได้เอกชนสว่นหนึ่งคงต้องหันกลับไปใช้”นายวงศ์ชัยกล่าว
นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าแอลพีจี กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลใหม่ทบทวนนโยบายการขึ้นราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมเนื่องจากการปรับขึ้นภาคเดียวจะส่งผลให้เกิดการลักลอบถ่ายเทจากครัวเรือนเพิ่มขึ้นซึ่งไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดควรจะปรับขึ้นในทุกภาคส่วนในอัตราที่เหมาะสมที่ทุกฝ่ายยอมรับได้เนื่องจากภาครัฐเองยังไม่มีมาตรการดูแลการลักลอบถ่ายเทใดๆซึ่งตัวอย่างราคาที่ต่ำกว่าในประเทศเพราะรัฐบาลอุดหนุนทำให้แอลพีจีไหลออกไปยังชายแดนเพื่อนบ้าน
นอกจากนี้การที่ราคาภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้นจะทำให้โรงงานสว่นหนึ่งหันมาใช้แอลพีจีถังครัวเรือนเพิ่มขึ้นจึงเป็นห่วงว่าที่สุดแล้วแอลพีจีครัวเรือนจะขาดแคลนหรือไม่ในอนาคตหากบริหารจัดการไม่ดีพอ ดังนั้นจึงต้องการให้มีทบทวนโครงสร้างแอลพีจีใหม่หมดรวมไปถึงก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์หรือ เอ็นจีวี โดยค่อยๆทยอยขึ้นให้สะท้อนกลไกตลาดโลกเพราะหากยังคงบิดเบือนภาระจะตกที่รัฐและงบประมาณจำนวนมหาศาลในการมาอุดหนุน
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า นโยบายการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี)ภาคอุตสาหกรรมไตรมาสละ 3 บาทต่อ(กิโลกรัม) เริ่มก.ค.-ส.ค. หลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะนายกรัฐมนตรีขณะนั้นได้ลงนามประกาศแล้วจะต้องรอลงนามในราชกิจจานุเบกษาก่อนแต่เบื้องต้นได้ทำความตกลงกับผู้ค้ามาตรา 7 ที่จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 19ก.ค.นี้ซึ่งราคาที่ปรับขึ้นจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม(Vat) ด้วยดังนั้นจึงทำให้เงินที่จะเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจากการปรับราคาเหลือเพียง 2.80 บาทต่อกก.
นายวงศ์ชัย ศรีชัย อุปนายกเครื่องปั้นดินเผาลำปาง กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากภาครัฐว่าจะขึ้นราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมวันที่ 19 ก.ค.นี้โดยเอกชนคงจะต้องรอให้มีผลในทางปฏิบัติก่อนจึงจะดำเนินการยื่นฟ้องศาลปกครองกลางที่จ.เชียงใหม่เพื่อให้ชะลอการบังคับใช้และให้รัฐบาลใหม่เข้ามาทบทวนนโยบายดังกล่าวเนื่องจากการปรับขึ้นไตรมาละ 3 บาทรวม 4ครั้งเท่ากับต้นทุนแอลพีจีจะปรับขึ้นถึง 75% ธุรกิจคงไม่สามารถอยู่ได้ซึ่งการปรับขึ้นเอกชนไม่ได้คัดค้านแต่ขอเพียงมีมาตรการรองรับผลกระทบแต่ปัจจุบันภาครัฐกลับไม่มีมาตรการใดๆ ดูแล
“ เราคิดอยู่ว่าจะยื่นรัฐบาลใหม่ให้ทบทวนโดยไม่ยื่นศาลฯแต่ก็ไม่แน่ใจว่าการฟอร์มทีมรัฐบาลจะเสร็จทันจะมีผลบังคับใช้วันที่ 19 หรือไม่ซึ่งดูแล้วถ้าไม่ทันก็จะต้องพึ่งศาลฯก่อน ซึ่งนโยบายนี้ควรทบทวนเพราะเหมือนกับเรากำลังถอยหลังเดิมบอกให้อุตสาหกรรมหันไปใช้ถังเบาท์(ขนาดใหญ่)เพื่อความปลอดภัยแต่พอขึ้นราคาแอลพีจีอุตสาหกรรมผ่อนผันให้ใช้ถัง 48กก.ได้เอกชนสว่นหนึ่งคงต้องหันกลับไปใช้”นายวงศ์ชัยกล่าว
นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าแอลพีจี กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลใหม่ทบทวนนโยบายการขึ้นราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมเนื่องจากการปรับขึ้นภาคเดียวจะส่งผลให้เกิดการลักลอบถ่ายเทจากครัวเรือนเพิ่มขึ้นซึ่งไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดควรจะปรับขึ้นในทุกภาคส่วนในอัตราที่เหมาะสมที่ทุกฝ่ายยอมรับได้เนื่องจากภาครัฐเองยังไม่มีมาตรการดูแลการลักลอบถ่ายเทใดๆซึ่งตัวอย่างราคาที่ต่ำกว่าในประเทศเพราะรัฐบาลอุดหนุนทำให้แอลพีจีไหลออกไปยังชายแดนเพื่อนบ้าน
นอกจากนี้การที่ราคาภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้นจะทำให้โรงงานสว่นหนึ่งหันมาใช้แอลพีจีถังครัวเรือนเพิ่มขึ้นจึงเป็นห่วงว่าที่สุดแล้วแอลพีจีครัวเรือนจะขาดแคลนหรือไม่ในอนาคตหากบริหารจัดการไม่ดีพอ ดังนั้นจึงต้องการให้มีทบทวนโครงสร้างแอลพีจีใหม่หมดรวมไปถึงก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์หรือ เอ็นจีวี โดยค่อยๆทยอยขึ้นให้สะท้อนกลไกตลาดโลกเพราะหากยังคงบิดเบือนภาระจะตกที่รัฐและงบประมาณจำนวนมหาศาลในการมาอุดหนุน