ASTVผู้จัดการรายวัน-ปตท.เสนอรัฐบาลใหม่ ตั้งคลังสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ เพื่อบริหารความเสี่ยงราคาพลังงาน หากยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศมาลงทุนสำรองน้ำมันแทนการสำรองดอลลาร์ ส่วนปัญหาท่อก๊าซฯ ในทะเลรั่ว คาดว่ากลางส.ค.นี้ ท่อก๊าซฯ เส้นที่ 1 ส่งก๊าซฯ ได้ตามปกติ ส่วนท่อกิ่งที่ฉีกขาดอยู่ระหว่างการประเมินความเสียหายว่าจะใช้เวลานานเท่าใดในการซ่อม
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยชูนโยบายยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงว่า การยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงทำได้ ขึ้นอยู่นโยบายรัฐบาล ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าเมื่อยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว การอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) และก๊าซธรรมชาติเหลวสำหรับยานยนต์ (แอลเอ็นจี) รัฐจะหาแนวทางการอุดหนุนราคาอย่างไร ซึ่งในหลายประเทศ ก็มีการบริหารจัดการความเสี่ยงน้ำมัน โดยการจัดตั้งคลังสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์
ในฐานะประธานกลุ่มกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เห็นว่าถึงเวลาที่ประเทศไทย ควรมีการจัดตั้งคลังสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงด้านราคาพลังงาน เหมือนบางประเทศ เช่น เกาหลี และสำนักงานพลังงานสากล (ไออีเอ) ที่เพิ่งมีการนำสำรองน้ำมัน 60 ล้านบาร์เรลออกมาเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำมันในตลาดโลก
ส่วนงบที่จะนำมาดำเนินการจัดตั้งคลังสำรองน้ำมันดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจนำทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่ปัจจุบันธปท.นำไปลงทุนซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ และทองคำเก็บไว้ ก็อาจเปลี่ยนเป็นการซื้อน้ำมันแทน เนื่องจากนับวันน้ำมันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ส่วนปริมาณสำรองในคลังจะมีขนาดเท่าใด ขึ้นอยู่กับนนโยบายรัฐและความเหมาะสม แต่ในต่างประเทศมีการเก็บสำรองน้ำมันไว้ตั้งแต่ 30-90 วัน
"เรื่องนี้ เมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (ไออีเอ) ได้มีการเข้ามาประเมินแผนรองรับสภาวะวิกฤติด้านพลังงานของไทย โดยไออีเอเสนอความคิดเห็นว่า ไทยควรมีการจัดเก็บสำรองน้ำมันเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศเหมือนประเทศอื่นๆ เพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงาน และอาจจะช่วยนำลดราคาน้ำมันได้ในกรณีที่เกิดการขาดแคลนน้ำมัน โดยประเมินว่าหากไทยต้องลงทุนจัดเก็บน้ำมันสำรองตามยุทธศาตร์จะต้องลงทุนประมาณ 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ"นายไพรินทร์กล่าว
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวคิดการยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง คงต้องรอความชัดเจนจากนโยบายรัฐบาล หากมีการยกเลิกกองทุนฯ จริง ก็มีผลทำให้ราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลปรับลดลงทันที ขณะที่ราคาก๊าซหุงต้มและก๊าซแอลเอ็นจีก็จะปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลต้องนำเงินจากส่วนใดมาอุดหนุนเพื่อไม่ให้ราคาสูงขึ้น
นอกจากนี้ คงหารือเกี่ยวกับโครงสร้างราคาพลังงานใหม่ เนื่องจากต้นทุนราคาแอลเอ็นจีอยู่ที่ 15 บาท/กก. แต่ตรึงราคาขายอยู่ที่ 8.50 บาท/กก. โดยรัฐอุดหนุนอยู่ 2 บาท/กก. ทำให้ปตท.ต้องแบกรับภาระการขาดทุนอยู่ 4-5 บาท/กก. โดยหากไม่มีกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว กระทรวงพลังงานคงมีการปรับโครงสร้างราคาพลังงานใหม่ ส่วนนโยบายการลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล 5-6 บาท/ลิตร ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนก.ย.นี้ ทำให้รัฐสูญรายได้ปีละเกือบ 1 แสนล้านบาทนั้น ปตท.เห็นว่าหลายประเทศทั่วโลกมีการเก็บภาษีน้ำมันอยู่ และราคาน้ำมันของไทยไม่สูงกว่ายุโรปหรือเคนยา ซึ่งเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าน้ำมัน หากราคาน้ำมันไทยต่ำเกินไปจะทำให้ประชาชนใช้น้ำมันไม่มีประสิทธิภาพ
นายไพรินทร์กล่าวอีกว่า ตามที่นักประดาน้ำได้ปิดวาล์วเพื่อตัดแยกระบบท่อกิ่ง (24 นิ้ว) ทำให้หยุดการรั่วไหลของก๊าซธรรมชาติของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเลขนาด 34 นิ้ว (ท่อเส้น 1) ได้แล้ว เมื่อเวลา 01.15 น. ของวันที่ 4 ก.ค.ที่ผ่านมา ขั้นตอนต่อไป ปตท. จะร่วมกับผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตรวจสอบสภาพภายนอกของท่อประธาน และดำเนินการกำจัดน้ำและความชื้นออกจากระบบท่อฯ หลังจากนั้น จึงจะทำการตรวจสอบสภาพภายในระบบท่อฯ อย่างละเอียด ก่อนจะเริ่มขั้นตอนการนำระบบท่อกลับเข้าสู่การส่งก๊าซฯ ตามปกติ ซึ่งคาดว่าประมาณกลางส.ค.นี้ จัดส่งก๊าซฯประมาณ 700 ล้านลบ.ฟุต/วัน จากเดิมที่ส่งก๊าซฯได้ 850 ล้านลบ.ฟุต/วัน เนื่องจากไม่มีก๊าซป้อนจากแหล่งปลาทอง
ส่วนท่อกิ่งที่จะต้องมีการซ่อมท่อที่รั่วนั้น ทางฮุนได ได้เสนอแผนการซ่อมท่อให้ปตท.พิจารณาแล้ว คงจะใช้เวลาในการพิจารณาแผนดังกล่าวว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด โดยจะดูว่าบริเวณท่อที่ฉีกขาดนั้นจะต้องยกท่อออกหรือตัดท่อได้หรือไม่ หรือต้องเดินท่อใหม่ ทำให้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าท่อกิ่งจะกลับมาใช้งานได้ตามปกติเมื่อใด
สำหรับการจัดหาเชื้อเพลิงทดแทน ปตท. ได้จัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) เพิ่มมากขึ้นจากแผนในช่วงเดือนก.ค.-ส.ค.2554 ในปริมาณ 210,000 ตัน (3 ลำเรือ) โดยแบ่งเป็นในกลางเดือนก.ค.นี้ 1 ลำเรือ และในเดือนส.ค. 2 ลำเรือ จากแผนเดิม ปตท. มีแผนนำเข้าแอลเอ็นจี ในปลายเดือนก.ค. 1 ลำเรือ ปริมาณ 70,000 ตัน และในกลางเดือนส.ค.อีก 1 ลำเรือ ปริมาณ 70,000 ตัน ทำให้ปริมาณการจัดส่งน้ำมันเตาให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อผลิตไฟฟ้าลดลงจากปัจจุบัน 5 ล้านลิตร/วัน เหลือเพียง 3 ล้านลิตร/วัน หลังจัดส่งแอลเอ็นจีเพิ่มขึ้นจาก 160 ล้านลบ.ฟุต/วันเป็น 300 ล้านลบ.ฟุต/วันในกลางเดือนก.ค.นี้เมื่อเรือนำเข้าแอลเอ็นจีเข้ามา
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยชูนโยบายยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงว่า การยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงทำได้ ขึ้นอยู่นโยบายรัฐบาล ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าเมื่อยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว การอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) และก๊าซธรรมชาติเหลวสำหรับยานยนต์ (แอลเอ็นจี) รัฐจะหาแนวทางการอุดหนุนราคาอย่างไร ซึ่งในหลายประเทศ ก็มีการบริหารจัดการความเสี่ยงน้ำมัน โดยการจัดตั้งคลังสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์
ในฐานะประธานกลุ่มกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เห็นว่าถึงเวลาที่ประเทศไทย ควรมีการจัดตั้งคลังสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงด้านราคาพลังงาน เหมือนบางประเทศ เช่น เกาหลี และสำนักงานพลังงานสากล (ไออีเอ) ที่เพิ่งมีการนำสำรองน้ำมัน 60 ล้านบาร์เรลออกมาเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำมันในตลาดโลก
ส่วนงบที่จะนำมาดำเนินการจัดตั้งคลังสำรองน้ำมันดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจนำทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่ปัจจุบันธปท.นำไปลงทุนซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ และทองคำเก็บไว้ ก็อาจเปลี่ยนเป็นการซื้อน้ำมันแทน เนื่องจากนับวันน้ำมันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ส่วนปริมาณสำรองในคลังจะมีขนาดเท่าใด ขึ้นอยู่กับนนโยบายรัฐและความเหมาะสม แต่ในต่างประเทศมีการเก็บสำรองน้ำมันไว้ตั้งแต่ 30-90 วัน
"เรื่องนี้ เมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (ไออีเอ) ได้มีการเข้ามาประเมินแผนรองรับสภาวะวิกฤติด้านพลังงานของไทย โดยไออีเอเสนอความคิดเห็นว่า ไทยควรมีการจัดเก็บสำรองน้ำมันเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศเหมือนประเทศอื่นๆ เพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงาน และอาจจะช่วยนำลดราคาน้ำมันได้ในกรณีที่เกิดการขาดแคลนน้ำมัน โดยประเมินว่าหากไทยต้องลงทุนจัดเก็บน้ำมันสำรองตามยุทธศาตร์จะต้องลงทุนประมาณ 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ"นายไพรินทร์กล่าว
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวคิดการยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง คงต้องรอความชัดเจนจากนโยบายรัฐบาล หากมีการยกเลิกกองทุนฯ จริง ก็มีผลทำให้ราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลปรับลดลงทันที ขณะที่ราคาก๊าซหุงต้มและก๊าซแอลเอ็นจีก็จะปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลต้องนำเงินจากส่วนใดมาอุดหนุนเพื่อไม่ให้ราคาสูงขึ้น
นอกจากนี้ คงหารือเกี่ยวกับโครงสร้างราคาพลังงานใหม่ เนื่องจากต้นทุนราคาแอลเอ็นจีอยู่ที่ 15 บาท/กก. แต่ตรึงราคาขายอยู่ที่ 8.50 บาท/กก. โดยรัฐอุดหนุนอยู่ 2 บาท/กก. ทำให้ปตท.ต้องแบกรับภาระการขาดทุนอยู่ 4-5 บาท/กก. โดยหากไม่มีกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว กระทรวงพลังงานคงมีการปรับโครงสร้างราคาพลังงานใหม่ ส่วนนโยบายการลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล 5-6 บาท/ลิตร ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนก.ย.นี้ ทำให้รัฐสูญรายได้ปีละเกือบ 1 แสนล้านบาทนั้น ปตท.เห็นว่าหลายประเทศทั่วโลกมีการเก็บภาษีน้ำมันอยู่ และราคาน้ำมันของไทยไม่สูงกว่ายุโรปหรือเคนยา ซึ่งเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าน้ำมัน หากราคาน้ำมันไทยต่ำเกินไปจะทำให้ประชาชนใช้น้ำมันไม่มีประสิทธิภาพ
นายไพรินทร์กล่าวอีกว่า ตามที่นักประดาน้ำได้ปิดวาล์วเพื่อตัดแยกระบบท่อกิ่ง (24 นิ้ว) ทำให้หยุดการรั่วไหลของก๊าซธรรมชาติของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเลขนาด 34 นิ้ว (ท่อเส้น 1) ได้แล้ว เมื่อเวลา 01.15 น. ของวันที่ 4 ก.ค.ที่ผ่านมา ขั้นตอนต่อไป ปตท. จะร่วมกับผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตรวจสอบสภาพภายนอกของท่อประธาน และดำเนินการกำจัดน้ำและความชื้นออกจากระบบท่อฯ หลังจากนั้น จึงจะทำการตรวจสอบสภาพภายในระบบท่อฯ อย่างละเอียด ก่อนจะเริ่มขั้นตอนการนำระบบท่อกลับเข้าสู่การส่งก๊าซฯ ตามปกติ ซึ่งคาดว่าประมาณกลางส.ค.นี้ จัดส่งก๊าซฯประมาณ 700 ล้านลบ.ฟุต/วัน จากเดิมที่ส่งก๊าซฯได้ 850 ล้านลบ.ฟุต/วัน เนื่องจากไม่มีก๊าซป้อนจากแหล่งปลาทอง
ส่วนท่อกิ่งที่จะต้องมีการซ่อมท่อที่รั่วนั้น ทางฮุนได ได้เสนอแผนการซ่อมท่อให้ปตท.พิจารณาแล้ว คงจะใช้เวลาในการพิจารณาแผนดังกล่าวว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด โดยจะดูว่าบริเวณท่อที่ฉีกขาดนั้นจะต้องยกท่อออกหรือตัดท่อได้หรือไม่ หรือต้องเดินท่อใหม่ ทำให้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าท่อกิ่งจะกลับมาใช้งานได้ตามปกติเมื่อใด
สำหรับการจัดหาเชื้อเพลิงทดแทน ปตท. ได้จัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) เพิ่มมากขึ้นจากแผนในช่วงเดือนก.ค.-ส.ค.2554 ในปริมาณ 210,000 ตัน (3 ลำเรือ) โดยแบ่งเป็นในกลางเดือนก.ค.นี้ 1 ลำเรือ และในเดือนส.ค. 2 ลำเรือ จากแผนเดิม ปตท. มีแผนนำเข้าแอลเอ็นจี ในปลายเดือนก.ค. 1 ลำเรือ ปริมาณ 70,000 ตัน และในกลางเดือนส.ค.อีก 1 ลำเรือ ปริมาณ 70,000 ตัน ทำให้ปริมาณการจัดส่งน้ำมันเตาให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อผลิตไฟฟ้าลดลงจากปัจจุบัน 5 ล้านลิตร/วัน เหลือเพียง 3 ล้านลิตร/วัน หลังจัดส่งแอลเอ็นจีเพิ่มขึ้นจาก 160 ล้านลบ.ฟุต/วันเป็น 300 ล้านลบ.ฟุต/วันในกลางเดือนก.ค.นี้เมื่อเรือนำเข้าแอลเอ็นจีเข้ามา