ASTVผู้จัดผู้จัดการายวันสองสภาวิชาชีพสื่อถกเครียดกรณี “อีเมล์ฉาว” พร้อมตั้งกรรมการดูข้อเท็จจริงให้เสร็จใน 15 วัน เลขาฯสภาการฯลั่น ไม่เคยเกิดเรื่องร้องเรียนที่หนักขนาดนี้มาก่อน ยันไม่นิ่งนอนใจแน่ หากมี“ผู้สื่อข่าว”ผิดจริง จะเป็นผู้พิจารณาลงโทษเอง
เมื่อเวลา 13.00 น. วานนี้( 5 ก.ค) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายพรชัย ปุณณวัฒนาพร เลขาธิการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เปิดเผยถึงกรณีที่มีอีเมล์ลับระบุว่านักการเมืองจากพรรคเพื่อไทยให้สินบนนักข่าวนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ประจำเดือนกรกฎาคม 2554 ได้มีการหยิบยกกรณีดังกล่าวเข้าหารือ และรับเรื่องเข้าสู่สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ข้อที่ 19 (2) เนื่องจากเห็นว่ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อความหรือภาพที่ปรากฎในหนังสือพิมพ์ที่เป็นสมาชิก หรือจากพฤติกรรมของผู้ประกอบวิชาชีพ
โดยที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่องขึ้นมาตรวจสอบกรณีนี้ จำนวน 5 คน ได้แก่ น.พ.วิชัย โชควิวัฒน์ กรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.) ,รศ.ดร.ดรุณี หิรัญรักษ์ กรรมการปฏิรูปสื่อ, ศ.สิทธิโชค ศรีเจริญ ตัวแทนสภาทนายความ ,ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และนางบัญญัติ ทัศนียะเวช ที่ปรึกษาสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ โดยจะทำงานคู่ขนานกับคณะอนุกรรมการพิเศษเพื่อสอบสวนข้อเท็จของสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และจะเริ่มการประชุมครั้งแรกในวันที่ 8 กรกฎาคมนี้
“สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติฯ ไม่เคยเกิดเรื่องร้องเรียนที่หนักขนาดนี้มาก่อน แต่ขอยืนยันว่าไม่ได้นิ่งนอนใจ เนื่องจากมีการหารือก่อนหน้านี้ว่าหลังจากที่ทราบเรื่องจะดำเนินการทันที แต่ช่วงเวลาที่เกิดเป็นช่วงใกล้เลือกตั้ง และอาจให้คุณให้โทษพรรคการเมืองได้ จึงเพิ่งเริ่มตั้งคณะกรรมการสอบสวนในวันนี้ อย่างไรก็ตามสภาการหนังสือพิมพ์ฯมีหน้าที่ในการสอบสวนเท่านั้น ถ้าหากว่ามีผลสอบสวนยืนยันว่าผู้สื่อข่าวมีความผิดจริง องค์กรสื่อซึ่งเป็นสมาชิกจะเป็นผู้พิจารณาลงโทษสื่อมวลชนเอง” เลขาธิการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติกล่าว
รายงานข่าวว่า ขณะที่เวปไซด์ ของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ระบุว่า คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ มีความเห็นว่าสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ไม่อาจยอมรับไม่ได้กับการที่มีผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนไปเรียกรับหรือยอมรับเงินหรือผลประโยชน์จากแหล่งข่าว เนื่องจากเป็นการกระทำที่ผิดข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ข้อที่ 22 ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ต้องละเว้นการรับอามิสสินจ้างอันมีค่า หรือผลประโยชน์ใด ๆ เพื่อให้กระทำการหรือไม่กระทำการใด อันจะขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้องรอบด้าน
นอกจากนี้ยังเห็นว่า ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนเองต้องระมัดระวังมิให้มีผู้ไม่หวังดีนำชื่อไปอ้างในทางที่เสียหาย อีกทั้งควรรักษาระยะห่างกับแหล่งข่าว หลีกเลี่ยงการเป็นกระบอกเสียงให้กับนักการเมือง และองค์กรสมาชิกของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติควรกวดขันการทำหน้าที่ของบุคลากรในสังกัด เนื่องจากกรณีที่เกิดขึ้นนำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อวิชาชีพหนังสือพิมพ์เป็นอย่างมาก
ด้าน น.ส.สุวรรณา สมบัติรักษาสุข ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า ได้ตั้งคณะอนุกรรมการพิเศษเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อทำงานคู่ขนานกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้แก่ นายเจษฎา อนุจารี รองประธานสภาวิชาชีพข่าวฯ คนที่ 2 และ ประธานอนุกรรมการฝ่ายจริยธรรมและรับเรื่องพิจารณา อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ สภาทนายความ เป็นประธานอนุกรรมการ และมีกรรมการ ได้แก่ นายสมชาย หอมลออ กรรมการสภาวิชาชีพข่าวฯและประธานอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพสื่อ ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ,นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการสภาวิชาชีพข่าวฯ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท) ,น.ส.สุวรรณา สมบัติรักษาสุข ผู้จัดการสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์ และนายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ รองประธาน สภาวิชาชีพข่าวฯ คนที่ 1 บรรณาธิการรายการข่าว สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย อดีตบรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์คมชัดลึก เป็นอนุกรรมการร่วม โดยจะเริ่มประชุมในวันที่ 13 กรกฎาคมนี้ และทำหน้าที่สอบสวนและรายงานผลการสอบสวนภายใน 15 วันเช่นเดียวกัน
เมื่อเวลา 13.00 น. วานนี้( 5 ก.ค) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายพรชัย ปุณณวัฒนาพร เลขาธิการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เปิดเผยถึงกรณีที่มีอีเมล์ลับระบุว่านักการเมืองจากพรรคเพื่อไทยให้สินบนนักข่าวนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ประจำเดือนกรกฎาคม 2554 ได้มีการหยิบยกกรณีดังกล่าวเข้าหารือ และรับเรื่องเข้าสู่สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ข้อที่ 19 (2) เนื่องจากเห็นว่ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อความหรือภาพที่ปรากฎในหนังสือพิมพ์ที่เป็นสมาชิก หรือจากพฤติกรรมของผู้ประกอบวิชาชีพ
โดยที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่องขึ้นมาตรวจสอบกรณีนี้ จำนวน 5 คน ได้แก่ น.พ.วิชัย โชควิวัฒน์ กรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.) ,รศ.ดร.ดรุณี หิรัญรักษ์ กรรมการปฏิรูปสื่อ, ศ.สิทธิโชค ศรีเจริญ ตัวแทนสภาทนายความ ,ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และนางบัญญัติ ทัศนียะเวช ที่ปรึกษาสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ โดยจะทำงานคู่ขนานกับคณะอนุกรรมการพิเศษเพื่อสอบสวนข้อเท็จของสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และจะเริ่มการประชุมครั้งแรกในวันที่ 8 กรกฎาคมนี้
“สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติฯ ไม่เคยเกิดเรื่องร้องเรียนที่หนักขนาดนี้มาก่อน แต่ขอยืนยันว่าไม่ได้นิ่งนอนใจ เนื่องจากมีการหารือก่อนหน้านี้ว่าหลังจากที่ทราบเรื่องจะดำเนินการทันที แต่ช่วงเวลาที่เกิดเป็นช่วงใกล้เลือกตั้ง และอาจให้คุณให้โทษพรรคการเมืองได้ จึงเพิ่งเริ่มตั้งคณะกรรมการสอบสวนในวันนี้ อย่างไรก็ตามสภาการหนังสือพิมพ์ฯมีหน้าที่ในการสอบสวนเท่านั้น ถ้าหากว่ามีผลสอบสวนยืนยันว่าผู้สื่อข่าวมีความผิดจริง องค์กรสื่อซึ่งเป็นสมาชิกจะเป็นผู้พิจารณาลงโทษสื่อมวลชนเอง” เลขาธิการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติกล่าว
รายงานข่าวว่า ขณะที่เวปไซด์ ของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ระบุว่า คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ มีความเห็นว่าสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ไม่อาจยอมรับไม่ได้กับการที่มีผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนไปเรียกรับหรือยอมรับเงินหรือผลประโยชน์จากแหล่งข่าว เนื่องจากเป็นการกระทำที่ผิดข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ข้อที่ 22 ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ต้องละเว้นการรับอามิสสินจ้างอันมีค่า หรือผลประโยชน์ใด ๆ เพื่อให้กระทำการหรือไม่กระทำการใด อันจะขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้องรอบด้าน
นอกจากนี้ยังเห็นว่า ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนเองต้องระมัดระวังมิให้มีผู้ไม่หวังดีนำชื่อไปอ้างในทางที่เสียหาย อีกทั้งควรรักษาระยะห่างกับแหล่งข่าว หลีกเลี่ยงการเป็นกระบอกเสียงให้กับนักการเมือง และองค์กรสมาชิกของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติควรกวดขันการทำหน้าที่ของบุคลากรในสังกัด เนื่องจากกรณีที่เกิดขึ้นนำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อวิชาชีพหนังสือพิมพ์เป็นอย่างมาก
ด้าน น.ส.สุวรรณา สมบัติรักษาสุข ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า ได้ตั้งคณะอนุกรรมการพิเศษเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อทำงานคู่ขนานกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้แก่ นายเจษฎา อนุจารี รองประธานสภาวิชาชีพข่าวฯ คนที่ 2 และ ประธานอนุกรรมการฝ่ายจริยธรรมและรับเรื่องพิจารณา อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ สภาทนายความ เป็นประธานอนุกรรมการ และมีกรรมการ ได้แก่ นายสมชาย หอมลออ กรรมการสภาวิชาชีพข่าวฯและประธานอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพสื่อ ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ,นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการสภาวิชาชีพข่าวฯ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท) ,น.ส.สุวรรณา สมบัติรักษาสุข ผู้จัดการสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์ และนายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ รองประธาน สภาวิชาชีพข่าวฯ คนที่ 1 บรรณาธิการรายการข่าว สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย อดีตบรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์คมชัดลึก เป็นอนุกรรมการร่วม โดยจะเริ่มประชุมในวันที่ 13 กรกฎาคมนี้ และทำหน้าที่สอบสวนและรายงานผลการสอบสวนภายใน 15 วันเช่นเดียวกัน