ASTVผู้จัดการรายวัน-โฆษกพันธมิตรฯ ซัดพวกวิจารณ์โหวตโนไร้ผลเข้าใจคลาดเคลื่อน ยันกฎหมายระบุชัดถือเป็นคะแนน ย้ำขอชนะ 26 เขตป้องกันเปิดสภาฯ หยุดระบอบทักษิณ “พรรคเพื่อฟ้าดิน” จับมือ “พันธมิตรฯ” คลอดป้ายโหวตโนชุดใหม่ ต้าน “ระบอบแม้ว” เต็มตัว เชื่อร่วมใจกันส่ง “โหวตโน” ชนะแค่ 26 เขต สร้างอำนาจต่อรองให้ ปชช. ยุติวิกฤตชาติ
วานนี้ (23 มิ.ย.) ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงกรณีที่มีนักกฎหมายและนักวิชาการหลายคนออกมาแสดงความคิดเห็นว่าการกาในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือโหวตโน ไม่มีผลในทางกฎหมายว่า จากที่ได้ตรวจสอบพบว่าเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของผู้ที่ออกมาแสดงความเห็น ที่มุ่งเน้นเฉพาะในส่วนของมาตรา 88 ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. ซึ่งมาตรานี้ใช้เฉพาะกรณีที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียว แต่สิ่งที่เราพยายามพูดถึงนั้นคือ มาตรา 89 ที่ระบุว่า ภายใต้บังคับมาตรา 88 ในการเลือกตั้ง ส.ส.ให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนมากที่สุดเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ตรงนี้ระบุชัดเจนพูดถึงกรณีที่มีผู้สมัครหลายคน และให้ผู้ที่ได้รับคะแนนมากที่สุดเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง แต่ก็ได้เริ่มต้นด้วยประโยคว่าภายใต้บังคับมาตรา 88 หมายความว่าบทบัญญัติในมาตรา 88 ที่ได้กล่าวไว้ด้วยว่าผู้ชนะต้องได้คะแนนมากกว่าคะแนนโหวตโนด้วย เพราะหากเจตนาต้องการให้มาตรา 89 หมายถึงใครก็ได้ที่ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ชนะ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องมีข้อความว่า ภายใต้บังคับมาตรา 88 เลย สามารถเขียนไว้ได้เลยว่า ในกรณีที่มีผู้สมัครหลายคนเกินกว่าจำนวนผู้ที่ได้เป็น ส.ส.ให้ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุดได้รับการเลือกตั้งได้เลย
ส่วนกรณีที่นายแก้วสรร อติโพธิ และนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง รวมถึงนักวิชาการอีกหลายคน ที่ระบุว่าบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนถือเทียบเท่าสถานภาพบัตรเสียไม่มีคุณค่านั้น นายปานเทพกล่าวว่า ในมาตรา 82 ของกฎหมายฉบับเดียวกันระบุว่า ให้มีการนับคะแนนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนและให้มีการประกาศด้วย ส่วนบัตรเสียให้แยกไว้และไม่นับเป็นคะแนน เห็นได้ชัดว่า กฎหมายระบุชัดเจนให้นับคะแนนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนด้วย ดังนั้น เมื่อบวกกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 127 ที่ต้องมีการเปิดสภาฯ ภายใน 30 วันนับจากวันเลือกตั้ง และมาตรา 93 ที่ระบุว่าอย่างน้อยต้องมี ส.ส. 95 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปถึงจะเปิดประชุมสภาฯ ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ หากมีประชาชนเพียง 26 เขตลงคะแนนให้โหวตโนเป็นอันดับที่ 1 ก็จะเข้าเกณฑ์การเลือกตั้งในพื้นที่นั้นเป็นโมฆะ เท่ากับว่าการประชุมสภาฯ เกิดขึ้นไม่ได้ และเป็นการหยุดระบอบทักษิณไปโดยปริยาย จากที่ล่าสุดพรรคเพื่อไทยมีคะแนนนำในทุกการสำรวจ หรือเป็นรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์สามารถพลิกขั้วกลับมาตั้งรัฐบาลได้ ประชาชนก็สามารถยับยั้งด้วยเสียงโหวตโนนี้ได้ว่า หากจะกลับมาเป็นรัฐบาล ต้องแนวทางยับยั้งปัญหาต่างๆ ไม่ว่าการจัดการคนเสื้อแดง การจัดการขบวนการจาบจ้วงสถาบัน หรือการปฏิรูปการเมือง ก่อนที่ประชาชนจะตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกใคร
“แสดงว่าตอนนี้เราสามารถนำคะแนนอย่างน้อย 26 เขตเป็นอำนาจต่อรองของประชาชนโดยนิตินัยได้แล้ว แทนที่จะปล่อยให้นักการเมืองต่อรองผลประโยชน์กัน เพียงเท่านี้ก็สามารถหยุดระบอบทักษิณได้ ไม่ต้องมีการประท้วง ชุมนุม หรือการนองเลือด ถือเป็นหนทางเดียวที่ทำได้ในขณะนี้” นายปานเทพกล่าว
ด้าน นายประพันธ์ คูณมี โฆษกคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักร กล่าวเพิ่มเติมว่า เป็นที่น่าสังเกตว่า เหตุใดนักวิชาการหรือนักกฎหมายบางคนจึงพยายามออกมาโจมตีและวิพากษ์วิจารณ์ หรือให้ข้อมูลที่บิดเบือนต่อการโหวตโน ซึ่งเชื่อได้ว่าเป็นเพราะการที่ประชาชนจำนวนมากจะโหวตโนนั้น ส่งผลกระทบต่อพรรคการเมืองบางพรรคอย่างรุนแรง เนื่องจากคะแนนโหวตโนมีผลในทางกฎหมายตามรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นที่แน่ชัดว่า นายเจิมศักดิ์ นายแก้วสรร มีความโน้มเอียงให้การสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์
“เป็นเรื่องที่น่าเสียใจที่บุคคลระดับนี้มาวิพากษ์วิจารณ์การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนโดยอคติ ไม่เป็นไปตามหลักของกฎหมาย ทั้งที่น่าจะมีบทบาทให้ความรู้ที่ถูกต้องต่อประชาชน” นายประพันธ์กล่าว
ขณะที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวโต้แย้งข้อคิดเห็นของนายแก้วสรรที่ว่า หากมีคะแนนโหวตโนมากแค่ไหนก็ไม่สามารถนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองได้ แต่ต้องตั้งพรรคการเมืองในลักษณะพรรคมวลชนขึ้นมาว่า ขอยืนยันว่า ที่ผ่านมาตนได้ดำเนินแนวทางดังกล่าวมาแล้ว โดยพรรคที่เป็นพรรคมวลชนอย่างแท้จริงที่ไม่ได้เป็นของนายทุนเกิดขึ้นได้ยาก แต่ตนก็ได้ทำมาแล้วเมื่อสมัยพรรคพลังธรรมตั้งแต่ปี 31 และในปี 35 ที่ได้รับเลือกตั้งถึง 47 คนจาก ส.ส.ทั้งสภาฯ ที่มีอยู่เพียง 200 กว่าคนเท่านั้น แต่ที่สุดแล้วก็ไม่สามารถเติบโตได้เป็นได้แค่พรรคขนาดกลาง ฝ่าด่านการซื้อเสียงของพรรคการเมืองอื่นไม่ได้ จนมาถึงวันนี้ก็ยังเห็นว่าไม่สามารถตั้งพรรคแบบนั้นได้อีก จึงไม่เห็นทางที่จะปฏิรูปการเมืองโดยพรรคการเมืองได้ แต่เรื่องการรณรงค์ให้ประชาชนไปกากบาทในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนมากๆ นั้น เรายังไม่เคยทำมาก่อน และมีโอกาสที่จะสำเร็จอีกด้วย
เวลา 14.00 น. ที่บ้านพระอาทิตย์ ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ เลขาธิการพรรคเพื่อฟ้าดิน และนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวป้ายรณรงค์โหวตโนชุดใหม่ 2 แบบ ที่จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือของพรรคเพื่อฟ้าดิน และภาคประชาชนโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งจะทำการติดตั้งในช่วงโค้งสุดท้ายของการหาเสียงเลือกตั้ง 3 ก.ค.54 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง แต่กากบาทในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน หรือโหวตโน
ร.ต.แซมดิน กล่าวว่า พรรคเพื่อฟ้าดินมีความเห็นสิทธิและอำนาจของประชาชนมีความสำคัญ จึงได้ออกป้ายในลักษณะที่ให้ประชาชนคำนึงถึงสิทธิและอำนาจของตัวเอง โดยปัจจุบันทั้งระบอบการปกครองและบุคคลในฝ่ายการเมืองนั้นไม่เป็นประชาธิปไตย มีพฤติกรรมการซื้อเสียง จ้องปองร้ายกันจนต้องใช้กำลังตำรวจจำนวนมากคุ้มกันรักษาความปลอดภัยทั้งผู้สมัครและหัวคะแนน หลายคนถูกทำร้ายจนถึงชีวิต พรรคเพื่อฟ้าดินจึงเห็นว่าควรหยุดระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนี้ออกมา โดยออกป้ายที่มีความสำคัญนี้ออกมา
นายปานเทพ ได้กล่าวอธิบายความหมายของป้ายทั้ง 2 แบบ ว่า ทั้ง 2 ป้ายนี้เป็นป้ายที่มีข้อความต่อเนื่องสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน โดยแบบที่ 1 ระบุข้อความว่า “เลือกพรรคไหนก็แพ้ทักษิณ มาร่วมสร้างอำนาจต่อรองให้ประชาชน” เหตุที่เขียนเช่นนี้ก็เพราะว่าจากสถิติการเลือกตั้งเมื่อ 23 ธ.ค.50 ที่แม้ว่าพันธมิตรฯจะสนับสนุนลงคะแนนให้พรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็ยังไม่สามาถเอาชนะพรรคพลังประชาชนในขณะนั้นได้ อีกทั้ง 2 ปีกว่าที่ผ่านมารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการที่จะทำให้พรรคเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในบ้านเมือง ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น และไม่เดินหน้าในการปฏิรูปการเมือง ในขณะที่คนเสื้อแดงได้ขยายตัวไปเป็นจำนวนมาก สร้างความเชื่อในทางที่ผิด ถือเป็นการเมืองที่ล้มเหลวทั้งคู่ ฝ่ายหนึ่งก็ใช้การปลุกระดมโฆษณาชวนเชื่อ อีกฝ่ายก็อ่อนแอเกินกว่าที่จะรับมือได้ และทำให้ 3 ปีกว่าที่ผ่านมาคนเสื้อแดงและระบอบทักษิณเจริญเติบโตขึ้น ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เสื่อมถอยลง จึงไม่แปลกใจที่ผลการสำรวจทุกสำนักต่างสรุปตรงกันว่าพรรคเพื่อไทยจะชนะพรรคประชาธิปัตย์
“ส่งผลให้นโยบายเรื่องนิรโทษกรรมกำลังจะเกิดขึ้น โดยอาศัยการใช้มือที่ได้รับชัยชนะในสภาผู้แทนราษฎร จึงต้องนำข้อมูลนี้มาบอกประชาชนว่าปัจจุบันนี้เลือกพรรคไหนไปก็แพ้ระบอบทักษิณ สู้มาสร้างอำนาจต่อรองให้กับประชาชนเตรียมรองรับในอนาคต ยิ่งมีประชาชนกาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนเป็นจำนวนมาก จะยิ่งสร้างอำนาจต่อรองให้ประชาชนสามารถถ่วงดุลอำนาจในสภาได้จากนอกสภา โดยไม่ต้องมีการชุมนุม” นายปานเทพ กล่าว
โฆษกพันธมิตรฯ กล่าวต่อว่า ส่วนแบบที่ 2 ที่ระบุข้อความว่า “3 ก.ค.เข้าคูหา กาไม่เลือกใคร โหวตโนชนะ 26 เขต หยุดระบอบทักษิณได้” โดยได้อ้างถึงรัฐธรรมนูญมาตรา 127 และมาตรา 93 รวมทั้ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ มาตรา 88-89 ที่บัญญัติว่าหากคะแนนโหวตโนชนะที่เขตเลือกตั้งใด การเลือกตั้งในเขตนั้นจะเป็นโมฆะ และถ้ามีมากเกินกว่า 26 เขต ก็จะประชุมสภาฯไม่ได้ ต่อให้พรรคเพื่อไทยได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งก็ไม่มีความหมาย เพราะเมื่อไม่สามารถเปิดประชุมสภาฯได้ ก็ไม่สามารถเข้าสู่อำนาจรัฐและนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ ชันวัตร ผู้ต้องหาหลบหนีคดีอาญา ได้ จนกว่าการเลือกตั้งซ่อมครั้งต่อไป ฝ่ายการเมืองจะถอยมาสู่สิ่งที่ประชาชนเรียกร้องมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้ประชาชนมาลงคะแนนเพื่อให้ได้ ส.ส.ครบตามจำนวนสามารถเปิดสภาฯได้
“ขอย้ำว่า 26 เขตนั้นไม่ใช่เป้าหมาย แต่เป็นการชี้ให้ประชาชนเห็นว่า คะแนนโหวตโนมีผลทางกฎหมาย มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงและประท้วงนักการเมือง โดยไม่ต้องอาศัยการชุมนุม การเผชิญหน้าหรือการนองเลือด แต่อาศัยสิทธิของประชาชนเพียงแค่ 5 เปอร์เซนต์เป็นอย่างน้อย เพียงประท้วงการเมืองให้มีข้อยุติ ป้องกันภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเป็นทางออกให้แก้ประเทศ แต่หากประชาชนเลือกหนทางอื่นก็จะเกิดความเสี่ยงต่อไปในอนาคต มีการชุมนุมแล้วปะทะกันจนเสียเลือกเนื้อเหมือนที่ผ่านมา หนทางเดียวที่จะหยุดความขัดแย้งคือ ต้องช่วยกันลงคะแนนโหวตโนให้ชนะถึง 26 เขต” นายปานเทพ ระบุ
นายปานเทพ กล่าวด้วย เมื่อเป็นเช่นนนี้หากพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง ก็ต้องตอบคำถามให้ได้ว่า กรณาการที่จะนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ และการนำผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายมาเป็นผู้ดำรงทางการเมือง เหล่านี้จะจัดการอย่างไร หรือหากพรรคประชาธิปัตย์ช่วงชิงคะแนนกลับมาได้ ก็ต้องตอบคำถามว่าหากเปิดประชุมสภาฯไม่ได้ ใครจะมาเป็ฯรัฐบาลด้วยองค์ประกอบอย่างไร จะทวงคืนอธิปไตยของชาติได้หรือไม่ สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นทันทีหากประชาชนร่วมกันสงวนสิทธิ์โหวตโนให้ชนะใน 26 เขต เพื่อนำอำนาจต่อรองที่อยู่กับบรรดาพรรคการเมืองขั้วที่ 3 ที่ต่อรองแต่เรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว มาเป็นอำนาจต่อรองของประชาชนที่ไม่ได้คำนึงถึงเก้าอี้รัฐมนตรี แต่เป็นผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก
“อย่างน้อยประชาชนจะมีทางเลือกว่า อยากเห็นอนาคตของชาติเป็นวิกฤตหรือเป็นโอกาส หากอยากเห็นเป็นวิกฤตก็ไปเลือกพรรค แล้วก็เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้น หรือป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤต โดยยุติเสียตั้งแต่วันนี้ และทำให้เกิดการเจรจากับภาคประชาชน” นายปานเทพ กล่าว
ทั้ง นายปานเทพ ระบุด้วยว่า ได้มีการจัดทำป้ายทั้ง 2 แบบออกมาทั้งสิ้น 6,000 ป้าย โดยจะเริ่มติดตั้งตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (24 มิ.ย.) เป็นต้นไป โดยจะเป็นป้ายชุดสุดท้าย และถือว่าสิ้นสุดภารกิจ ไม่มีป้ายออกมาเพิ่มเติมอีกแล้ว
วานนี้ (23 มิ.ย.) ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงกรณีที่มีนักกฎหมายและนักวิชาการหลายคนออกมาแสดงความคิดเห็นว่าการกาในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือโหวตโน ไม่มีผลในทางกฎหมายว่า จากที่ได้ตรวจสอบพบว่าเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของผู้ที่ออกมาแสดงความเห็น ที่มุ่งเน้นเฉพาะในส่วนของมาตรา 88 ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. ซึ่งมาตรานี้ใช้เฉพาะกรณีที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียว แต่สิ่งที่เราพยายามพูดถึงนั้นคือ มาตรา 89 ที่ระบุว่า ภายใต้บังคับมาตรา 88 ในการเลือกตั้ง ส.ส.ให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนมากที่สุดเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ตรงนี้ระบุชัดเจนพูดถึงกรณีที่มีผู้สมัครหลายคน และให้ผู้ที่ได้รับคะแนนมากที่สุดเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง แต่ก็ได้เริ่มต้นด้วยประโยคว่าภายใต้บังคับมาตรา 88 หมายความว่าบทบัญญัติในมาตรา 88 ที่ได้กล่าวไว้ด้วยว่าผู้ชนะต้องได้คะแนนมากกว่าคะแนนโหวตโนด้วย เพราะหากเจตนาต้องการให้มาตรา 89 หมายถึงใครก็ได้ที่ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ชนะ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องมีข้อความว่า ภายใต้บังคับมาตรา 88 เลย สามารถเขียนไว้ได้เลยว่า ในกรณีที่มีผู้สมัครหลายคนเกินกว่าจำนวนผู้ที่ได้เป็น ส.ส.ให้ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุดได้รับการเลือกตั้งได้เลย
ส่วนกรณีที่นายแก้วสรร อติโพธิ และนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง รวมถึงนักวิชาการอีกหลายคน ที่ระบุว่าบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนถือเทียบเท่าสถานภาพบัตรเสียไม่มีคุณค่านั้น นายปานเทพกล่าวว่า ในมาตรา 82 ของกฎหมายฉบับเดียวกันระบุว่า ให้มีการนับคะแนนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนและให้มีการประกาศด้วย ส่วนบัตรเสียให้แยกไว้และไม่นับเป็นคะแนน เห็นได้ชัดว่า กฎหมายระบุชัดเจนให้นับคะแนนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนด้วย ดังนั้น เมื่อบวกกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 127 ที่ต้องมีการเปิดสภาฯ ภายใน 30 วันนับจากวันเลือกตั้ง และมาตรา 93 ที่ระบุว่าอย่างน้อยต้องมี ส.ส. 95 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปถึงจะเปิดประชุมสภาฯ ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ หากมีประชาชนเพียง 26 เขตลงคะแนนให้โหวตโนเป็นอันดับที่ 1 ก็จะเข้าเกณฑ์การเลือกตั้งในพื้นที่นั้นเป็นโมฆะ เท่ากับว่าการประชุมสภาฯ เกิดขึ้นไม่ได้ และเป็นการหยุดระบอบทักษิณไปโดยปริยาย จากที่ล่าสุดพรรคเพื่อไทยมีคะแนนนำในทุกการสำรวจ หรือเป็นรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์สามารถพลิกขั้วกลับมาตั้งรัฐบาลได้ ประชาชนก็สามารถยับยั้งด้วยเสียงโหวตโนนี้ได้ว่า หากจะกลับมาเป็นรัฐบาล ต้องแนวทางยับยั้งปัญหาต่างๆ ไม่ว่าการจัดการคนเสื้อแดง การจัดการขบวนการจาบจ้วงสถาบัน หรือการปฏิรูปการเมือง ก่อนที่ประชาชนจะตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกใคร
“แสดงว่าตอนนี้เราสามารถนำคะแนนอย่างน้อย 26 เขตเป็นอำนาจต่อรองของประชาชนโดยนิตินัยได้แล้ว แทนที่จะปล่อยให้นักการเมืองต่อรองผลประโยชน์กัน เพียงเท่านี้ก็สามารถหยุดระบอบทักษิณได้ ไม่ต้องมีการประท้วง ชุมนุม หรือการนองเลือด ถือเป็นหนทางเดียวที่ทำได้ในขณะนี้” นายปานเทพกล่าว
ด้าน นายประพันธ์ คูณมี โฆษกคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักร กล่าวเพิ่มเติมว่า เป็นที่น่าสังเกตว่า เหตุใดนักวิชาการหรือนักกฎหมายบางคนจึงพยายามออกมาโจมตีและวิพากษ์วิจารณ์ หรือให้ข้อมูลที่บิดเบือนต่อการโหวตโน ซึ่งเชื่อได้ว่าเป็นเพราะการที่ประชาชนจำนวนมากจะโหวตโนนั้น ส่งผลกระทบต่อพรรคการเมืองบางพรรคอย่างรุนแรง เนื่องจากคะแนนโหวตโนมีผลในทางกฎหมายตามรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นที่แน่ชัดว่า นายเจิมศักดิ์ นายแก้วสรร มีความโน้มเอียงให้การสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์
“เป็นเรื่องที่น่าเสียใจที่บุคคลระดับนี้มาวิพากษ์วิจารณ์การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนโดยอคติ ไม่เป็นไปตามหลักของกฎหมาย ทั้งที่น่าจะมีบทบาทให้ความรู้ที่ถูกต้องต่อประชาชน” นายประพันธ์กล่าว
ขณะที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวโต้แย้งข้อคิดเห็นของนายแก้วสรรที่ว่า หากมีคะแนนโหวตโนมากแค่ไหนก็ไม่สามารถนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองได้ แต่ต้องตั้งพรรคการเมืองในลักษณะพรรคมวลชนขึ้นมาว่า ขอยืนยันว่า ที่ผ่านมาตนได้ดำเนินแนวทางดังกล่าวมาแล้ว โดยพรรคที่เป็นพรรคมวลชนอย่างแท้จริงที่ไม่ได้เป็นของนายทุนเกิดขึ้นได้ยาก แต่ตนก็ได้ทำมาแล้วเมื่อสมัยพรรคพลังธรรมตั้งแต่ปี 31 และในปี 35 ที่ได้รับเลือกตั้งถึง 47 คนจาก ส.ส.ทั้งสภาฯ ที่มีอยู่เพียง 200 กว่าคนเท่านั้น แต่ที่สุดแล้วก็ไม่สามารถเติบโตได้เป็นได้แค่พรรคขนาดกลาง ฝ่าด่านการซื้อเสียงของพรรคการเมืองอื่นไม่ได้ จนมาถึงวันนี้ก็ยังเห็นว่าไม่สามารถตั้งพรรคแบบนั้นได้อีก จึงไม่เห็นทางที่จะปฏิรูปการเมืองโดยพรรคการเมืองได้ แต่เรื่องการรณรงค์ให้ประชาชนไปกากบาทในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนมากๆ นั้น เรายังไม่เคยทำมาก่อน และมีโอกาสที่จะสำเร็จอีกด้วย
เวลา 14.00 น. ที่บ้านพระอาทิตย์ ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ เลขาธิการพรรคเพื่อฟ้าดิน และนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวป้ายรณรงค์โหวตโนชุดใหม่ 2 แบบ ที่จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือของพรรคเพื่อฟ้าดิน และภาคประชาชนโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งจะทำการติดตั้งในช่วงโค้งสุดท้ายของการหาเสียงเลือกตั้ง 3 ก.ค.54 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง แต่กากบาทในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน หรือโหวตโน
ร.ต.แซมดิน กล่าวว่า พรรคเพื่อฟ้าดินมีความเห็นสิทธิและอำนาจของประชาชนมีความสำคัญ จึงได้ออกป้ายในลักษณะที่ให้ประชาชนคำนึงถึงสิทธิและอำนาจของตัวเอง โดยปัจจุบันทั้งระบอบการปกครองและบุคคลในฝ่ายการเมืองนั้นไม่เป็นประชาธิปไตย มีพฤติกรรมการซื้อเสียง จ้องปองร้ายกันจนต้องใช้กำลังตำรวจจำนวนมากคุ้มกันรักษาความปลอดภัยทั้งผู้สมัครและหัวคะแนน หลายคนถูกทำร้ายจนถึงชีวิต พรรคเพื่อฟ้าดินจึงเห็นว่าควรหยุดระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนี้ออกมา โดยออกป้ายที่มีความสำคัญนี้ออกมา
นายปานเทพ ได้กล่าวอธิบายความหมายของป้ายทั้ง 2 แบบ ว่า ทั้ง 2 ป้ายนี้เป็นป้ายที่มีข้อความต่อเนื่องสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน โดยแบบที่ 1 ระบุข้อความว่า “เลือกพรรคไหนก็แพ้ทักษิณ มาร่วมสร้างอำนาจต่อรองให้ประชาชน” เหตุที่เขียนเช่นนี้ก็เพราะว่าจากสถิติการเลือกตั้งเมื่อ 23 ธ.ค.50 ที่แม้ว่าพันธมิตรฯจะสนับสนุนลงคะแนนให้พรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็ยังไม่สามาถเอาชนะพรรคพลังประชาชนในขณะนั้นได้ อีกทั้ง 2 ปีกว่าที่ผ่านมารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการที่จะทำให้พรรคเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในบ้านเมือง ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น และไม่เดินหน้าในการปฏิรูปการเมือง ในขณะที่คนเสื้อแดงได้ขยายตัวไปเป็นจำนวนมาก สร้างความเชื่อในทางที่ผิด ถือเป็นการเมืองที่ล้มเหลวทั้งคู่ ฝ่ายหนึ่งก็ใช้การปลุกระดมโฆษณาชวนเชื่อ อีกฝ่ายก็อ่อนแอเกินกว่าที่จะรับมือได้ และทำให้ 3 ปีกว่าที่ผ่านมาคนเสื้อแดงและระบอบทักษิณเจริญเติบโตขึ้น ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เสื่อมถอยลง จึงไม่แปลกใจที่ผลการสำรวจทุกสำนักต่างสรุปตรงกันว่าพรรคเพื่อไทยจะชนะพรรคประชาธิปัตย์
“ส่งผลให้นโยบายเรื่องนิรโทษกรรมกำลังจะเกิดขึ้น โดยอาศัยการใช้มือที่ได้รับชัยชนะในสภาผู้แทนราษฎร จึงต้องนำข้อมูลนี้มาบอกประชาชนว่าปัจจุบันนี้เลือกพรรคไหนไปก็แพ้ระบอบทักษิณ สู้มาสร้างอำนาจต่อรองให้กับประชาชนเตรียมรองรับในอนาคต ยิ่งมีประชาชนกาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนเป็นจำนวนมาก จะยิ่งสร้างอำนาจต่อรองให้ประชาชนสามารถถ่วงดุลอำนาจในสภาได้จากนอกสภา โดยไม่ต้องมีการชุมนุม” นายปานเทพ กล่าว
โฆษกพันธมิตรฯ กล่าวต่อว่า ส่วนแบบที่ 2 ที่ระบุข้อความว่า “3 ก.ค.เข้าคูหา กาไม่เลือกใคร โหวตโนชนะ 26 เขต หยุดระบอบทักษิณได้” โดยได้อ้างถึงรัฐธรรมนูญมาตรา 127 และมาตรา 93 รวมทั้ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ มาตรา 88-89 ที่บัญญัติว่าหากคะแนนโหวตโนชนะที่เขตเลือกตั้งใด การเลือกตั้งในเขตนั้นจะเป็นโมฆะ และถ้ามีมากเกินกว่า 26 เขต ก็จะประชุมสภาฯไม่ได้ ต่อให้พรรคเพื่อไทยได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งก็ไม่มีความหมาย เพราะเมื่อไม่สามารถเปิดประชุมสภาฯได้ ก็ไม่สามารถเข้าสู่อำนาจรัฐและนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ ชันวัตร ผู้ต้องหาหลบหนีคดีอาญา ได้ จนกว่าการเลือกตั้งซ่อมครั้งต่อไป ฝ่ายการเมืองจะถอยมาสู่สิ่งที่ประชาชนเรียกร้องมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้ประชาชนมาลงคะแนนเพื่อให้ได้ ส.ส.ครบตามจำนวนสามารถเปิดสภาฯได้
“ขอย้ำว่า 26 เขตนั้นไม่ใช่เป้าหมาย แต่เป็นการชี้ให้ประชาชนเห็นว่า คะแนนโหวตโนมีผลทางกฎหมาย มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงและประท้วงนักการเมือง โดยไม่ต้องอาศัยการชุมนุม การเผชิญหน้าหรือการนองเลือด แต่อาศัยสิทธิของประชาชนเพียงแค่ 5 เปอร์เซนต์เป็นอย่างน้อย เพียงประท้วงการเมืองให้มีข้อยุติ ป้องกันภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเป็นทางออกให้แก้ประเทศ แต่หากประชาชนเลือกหนทางอื่นก็จะเกิดความเสี่ยงต่อไปในอนาคต มีการชุมนุมแล้วปะทะกันจนเสียเลือกเนื้อเหมือนที่ผ่านมา หนทางเดียวที่จะหยุดความขัดแย้งคือ ต้องช่วยกันลงคะแนนโหวตโนให้ชนะถึง 26 เขต” นายปานเทพ ระบุ
นายปานเทพ กล่าวด้วย เมื่อเป็นเช่นนนี้หากพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง ก็ต้องตอบคำถามให้ได้ว่า กรณาการที่จะนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ และการนำผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายมาเป็นผู้ดำรงทางการเมือง เหล่านี้จะจัดการอย่างไร หรือหากพรรคประชาธิปัตย์ช่วงชิงคะแนนกลับมาได้ ก็ต้องตอบคำถามว่าหากเปิดประชุมสภาฯไม่ได้ ใครจะมาเป็ฯรัฐบาลด้วยองค์ประกอบอย่างไร จะทวงคืนอธิปไตยของชาติได้หรือไม่ สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นทันทีหากประชาชนร่วมกันสงวนสิทธิ์โหวตโนให้ชนะใน 26 เขต เพื่อนำอำนาจต่อรองที่อยู่กับบรรดาพรรคการเมืองขั้วที่ 3 ที่ต่อรองแต่เรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว มาเป็นอำนาจต่อรองของประชาชนที่ไม่ได้คำนึงถึงเก้าอี้รัฐมนตรี แต่เป็นผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก
“อย่างน้อยประชาชนจะมีทางเลือกว่า อยากเห็นอนาคตของชาติเป็นวิกฤตหรือเป็นโอกาส หากอยากเห็นเป็นวิกฤตก็ไปเลือกพรรค แล้วก็เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้น หรือป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤต โดยยุติเสียตั้งแต่วันนี้ และทำให้เกิดการเจรจากับภาคประชาชน” นายปานเทพ กล่าว
ทั้ง นายปานเทพ ระบุด้วยว่า ได้มีการจัดทำป้ายทั้ง 2 แบบออกมาทั้งสิ้น 6,000 ป้าย โดยจะเริ่มติดตั้งตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (24 มิ.ย.) เป็นต้นไป โดยจะเป็นป้ายชุดสุดท้าย และถือว่าสิ้นสุดภารกิจ ไม่มีป้ายออกมาเพิ่มเติมอีกแล้ว