ที่กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.1รอ.) วานนี้(22 มิ.ย) พล.ต.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (ผบ.พล.1 รอ.) เป็นประธานจัดกิจกรรมเสวนา “แนวทางการปฏิบัติต่อกลุ่มผู้ชุมนุมของเจ้าหน้าที่รักษาความสงบภายใต้ พระราชบัญญัติความมั่นคง (พ.ร.บ.ความมั่นคง) และ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน)”
โดยเชิญผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเสวนามีผู้บังคับหน่วยตั้งแต่ผบ.ร้อยรักษาความสงบเรียบร้อย ผู้บังคับกองพัน จากหน่วยขึ้นตรงของ พล.1 รอ.จาก 3 กรม ประกอบด้วย ร.1 รอ. ร.11 รอ. และ ร.31 รอ.ประมาณ 100 นายเข้ารับฟังการเสวนา
พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย ผู้บังคับการอำนวยการกองบัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวตอนหนึ่งว่า ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมาม็อบในประเทศไทยมีพัฒนาการขึ้นมา และมีค่าใช้จ่ายในการชุมนุม หากมีการชุมนุม 400 คน ก็จะต้องใช้เงินประมาณ 200,000 บาทต่อวัน ที่เกิดจากค่าอาหาร และค่าน้ำมันรถ และม็อบยุคใหม่มี 3 องค์ประกอบคือ แกนนำ แนวร่วม และ กองกำลังที่เพิ่งเกิดจากปี 2546-2547 โดยแกนนำมีอยู่ 3 ประเภท คือ 1.แบบเปิดเผยตัว 2.แบบไม่เปิดเผยตัวแต่สั่งได้ ซึ่งคนสั่งอาจจะอยู่ไกลอีกซีกโลกก็ได้ และ 3.แกนนำแบบไม่เปิดเผยแต่สนับสนุนเรื่องเงิน และ ข้อกฎหมาย ส่วนแนวร่วมมีอยู่ 3 ประเภท คือ 1.แฟนพันธุ์แท้ 2.ว่างก็มา ไม่ว่างก็มา และจะไม่ค้างคืน และ 3.ไม่ได้มาแต่เป็นกองเชียร์
พ.ต.ท.พงศ์อินทร์ อินทรขาว ผู้บัญชาการสำนักคดีความมั่นคง กรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า เท่าที่ตนมีการสอบสวนกองเชียร์บาร์เซโลนา มือยิงเอ็ม 79 รวมถึงกองเชียร์บาร์เซโลนาที่ไปฝึกที่ประเทศกัมพูชา จึงรู้ว่างานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หนักและเสี่ยงอันตรายมากขึ้น การชุมนุมมีเงินสนับสนุนโดยแต่ละครั้งที่มีจ้างขว้างระเบิดจะได้ 1 หมื่นบาท และถึงมือผู้ขว้างระเบิด 5 พันบาท ส่วนเอ็ม 79 ยิงศูนย์ราชการได้ 5 หมื่นบาท นอกจากนี้ยังพบข้อมูลยังมีการฝึกมือยิงระเบิดเอ็ม 79 กว่า 300 คน ในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ที่ผ่านมาเราใช้เงินไปกับภัยคุกคามเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ใช้งบประมาณไป 1.4 แสนล้านบาท แต่ภัยคุกคามที่เกี่ยวกับความความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่เห็นว่า จะจบได้หลังวันที่ 3 ก.ค. ไม่ว่า ใครจะขึ้นมา จะมีอะไรตามมาแน่นอน ซึ่งตนเห็นด้วยว่าจะต้องมีกฎหมายอะไรขึ้นมา
ทั้งในส่วนกติกา ท่านจะต้องยึดใน 3 หลัก คือ 1.แนวคำพิพากษาของศาล 2.หลักสากล และ 3.หลักการป้องกันตัวที่ไม่เกินขอบเขต ทั้งนี้การดำเนินการเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมจะต้องมีการดำเนินการตามขั้น ตอนหลักสากล 7 ขั้นตอน มาตรา 22 เขียนไว้ว่า เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย รวมความถึงตำรวจ และ เจ้าหน้าที่ทหาร ซึ่งการดำเนินการต้องเคารพคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชนทุกคน ส่วนมาตรา 35 เรื่องการใช้กำลังจะใช้ได้จะต้องไม่เกินกว่าเหตุ และจะต้องได้สัดส่วน ซึ่งจะไปโยงกับ ป.วิอาญามาตรา 68 และ 69 ซึ่งหลังวันที่ 3 ก.ค.นี้ ให้นับถอยหลังไปเลย และเตรียมไว้เลย
“การชุมนุมที่ก่อให้เกิดความรุนแรงให้ใช้อาวุธได้ หากไม่สามารถใช้มาตรการอื่น ๆ ที่อันตรายน้อยกว่านี้ได้ ทั้งนี้การใช้กำลังกดดันกองกำลังทหาร มีการยั่วยุ ต่อสู้ ปะทะกัน ดังนั้นการควบคุมสั่งการเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งในต่างประเทศเขาจะจัดทำคู่มือให้กับข้าราชการที่ปฏิบัติพกติดตัวไปด้วย ที่พอจะทำให้เขาสามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ สรุปว่า ท่านควรจะต้องศึกษาทำความเข้าใจกับคำสั่ง คำพิพากษาของศาล ประมวลกฎหมายอาญา พ.ร.บ.ความมั่นคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินคุ้มครองท่านพอสมควร ถ้าท่านปฏิบัติตามเงื่อนไข ท่านมีอำนาจเหลือเฟือ เมื่อมีเหตุการณ์ท่านต้องพยายามหลีกเลี่ยงที่จะใช้กำลัง หรือหลีกเลี่ยงการปะทะ บางครั้งการสูญเสียอะไรบางอย่าง เพื่อไม่ให้สูญเสียอะไรมากไปกว่านั้นก็ถือว่า จำเป็น”พล.ต.ท.พงศ์อินทร์ กล่าว
พ.อ.กฤษณะ บวรรัตนารักษ์ ผอ.กองกฤษฎีกาและการต่างประเทศกรมพระธรรมนูญ กล่าวว่า กรณีบุกค่ายทหาร ตอนกลุ่มเสื้อแดงจะบุก ร.11 รอ. สถานการณ์ในขณะนั้นเราได้มีการเตรียมร่างกฎอัยการศึกไว้เพื่อรองรับ สถานการณ์ หากกลุ่มผู้ชุมนุมเข้ามาพื้นที่รับผิดชอบก็จะสามารถใช้อาวุธได้มากกว่าปกติ อยากให้หน่วยทหารร่างกฎอัยการศึกรองรับไว้หากมีเหตุการณ์เกิดขึ้น.
โดยเชิญผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเสวนามีผู้บังคับหน่วยตั้งแต่ผบ.ร้อยรักษาความสงบเรียบร้อย ผู้บังคับกองพัน จากหน่วยขึ้นตรงของ พล.1 รอ.จาก 3 กรม ประกอบด้วย ร.1 รอ. ร.11 รอ. และ ร.31 รอ.ประมาณ 100 นายเข้ารับฟังการเสวนา
พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย ผู้บังคับการอำนวยการกองบัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวตอนหนึ่งว่า ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมาม็อบในประเทศไทยมีพัฒนาการขึ้นมา และมีค่าใช้จ่ายในการชุมนุม หากมีการชุมนุม 400 คน ก็จะต้องใช้เงินประมาณ 200,000 บาทต่อวัน ที่เกิดจากค่าอาหาร และค่าน้ำมันรถ และม็อบยุคใหม่มี 3 องค์ประกอบคือ แกนนำ แนวร่วม และ กองกำลังที่เพิ่งเกิดจากปี 2546-2547 โดยแกนนำมีอยู่ 3 ประเภท คือ 1.แบบเปิดเผยตัว 2.แบบไม่เปิดเผยตัวแต่สั่งได้ ซึ่งคนสั่งอาจจะอยู่ไกลอีกซีกโลกก็ได้ และ 3.แกนนำแบบไม่เปิดเผยแต่สนับสนุนเรื่องเงิน และ ข้อกฎหมาย ส่วนแนวร่วมมีอยู่ 3 ประเภท คือ 1.แฟนพันธุ์แท้ 2.ว่างก็มา ไม่ว่างก็มา และจะไม่ค้างคืน และ 3.ไม่ได้มาแต่เป็นกองเชียร์
พ.ต.ท.พงศ์อินทร์ อินทรขาว ผู้บัญชาการสำนักคดีความมั่นคง กรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า เท่าที่ตนมีการสอบสวนกองเชียร์บาร์เซโลนา มือยิงเอ็ม 79 รวมถึงกองเชียร์บาร์เซโลนาที่ไปฝึกที่ประเทศกัมพูชา จึงรู้ว่างานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หนักและเสี่ยงอันตรายมากขึ้น การชุมนุมมีเงินสนับสนุนโดยแต่ละครั้งที่มีจ้างขว้างระเบิดจะได้ 1 หมื่นบาท และถึงมือผู้ขว้างระเบิด 5 พันบาท ส่วนเอ็ม 79 ยิงศูนย์ราชการได้ 5 หมื่นบาท นอกจากนี้ยังพบข้อมูลยังมีการฝึกมือยิงระเบิดเอ็ม 79 กว่า 300 คน ในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ที่ผ่านมาเราใช้เงินไปกับภัยคุกคามเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ใช้งบประมาณไป 1.4 แสนล้านบาท แต่ภัยคุกคามที่เกี่ยวกับความความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่เห็นว่า จะจบได้หลังวันที่ 3 ก.ค. ไม่ว่า ใครจะขึ้นมา จะมีอะไรตามมาแน่นอน ซึ่งตนเห็นด้วยว่าจะต้องมีกฎหมายอะไรขึ้นมา
ทั้งในส่วนกติกา ท่านจะต้องยึดใน 3 หลัก คือ 1.แนวคำพิพากษาของศาล 2.หลักสากล และ 3.หลักการป้องกันตัวที่ไม่เกินขอบเขต ทั้งนี้การดำเนินการเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมจะต้องมีการดำเนินการตามขั้น ตอนหลักสากล 7 ขั้นตอน มาตรา 22 เขียนไว้ว่า เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย รวมความถึงตำรวจ และ เจ้าหน้าที่ทหาร ซึ่งการดำเนินการต้องเคารพคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชนทุกคน ส่วนมาตรา 35 เรื่องการใช้กำลังจะใช้ได้จะต้องไม่เกินกว่าเหตุ และจะต้องได้สัดส่วน ซึ่งจะไปโยงกับ ป.วิอาญามาตรา 68 และ 69 ซึ่งหลังวันที่ 3 ก.ค.นี้ ให้นับถอยหลังไปเลย และเตรียมไว้เลย
“การชุมนุมที่ก่อให้เกิดความรุนแรงให้ใช้อาวุธได้ หากไม่สามารถใช้มาตรการอื่น ๆ ที่อันตรายน้อยกว่านี้ได้ ทั้งนี้การใช้กำลังกดดันกองกำลังทหาร มีการยั่วยุ ต่อสู้ ปะทะกัน ดังนั้นการควบคุมสั่งการเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งในต่างประเทศเขาจะจัดทำคู่มือให้กับข้าราชการที่ปฏิบัติพกติดตัวไปด้วย ที่พอจะทำให้เขาสามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ สรุปว่า ท่านควรจะต้องศึกษาทำความเข้าใจกับคำสั่ง คำพิพากษาของศาล ประมวลกฎหมายอาญา พ.ร.บ.ความมั่นคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินคุ้มครองท่านพอสมควร ถ้าท่านปฏิบัติตามเงื่อนไข ท่านมีอำนาจเหลือเฟือ เมื่อมีเหตุการณ์ท่านต้องพยายามหลีกเลี่ยงที่จะใช้กำลัง หรือหลีกเลี่ยงการปะทะ บางครั้งการสูญเสียอะไรบางอย่าง เพื่อไม่ให้สูญเสียอะไรมากไปกว่านั้นก็ถือว่า จำเป็น”พล.ต.ท.พงศ์อินทร์ กล่าว
พ.อ.กฤษณะ บวรรัตนารักษ์ ผอ.กองกฤษฎีกาและการต่างประเทศกรมพระธรรมนูญ กล่าวว่า กรณีบุกค่ายทหาร ตอนกลุ่มเสื้อแดงจะบุก ร.11 รอ. สถานการณ์ในขณะนั้นเราได้มีการเตรียมร่างกฎอัยการศึกไว้เพื่อรองรับ สถานการณ์ หากกลุ่มผู้ชุมนุมเข้ามาพื้นที่รับผิดชอบก็จะสามารถใช้อาวุธได้มากกว่าปกติ อยากให้หน่วยทหารร่างกฎอัยการศึกรองรับไว้หากมีเหตุการณ์เกิดขึ้น.