ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”ดันตลาดกลางประมูลข้าวสารจ.นครสวรรค์ เป็นศูนย์กลางการค้าข้าวโลก ตั้งเป้าซื้อขายข้าวเดือนละ 2หมื่นตัน มูลค่า 500 ล้านบาท พร้อมใช้ราคาข้าวที่ประมูลเป็นราคาอ้างอิงข้าวในตลาดโลก
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานเปิดป้ายตลาดกลางประมูลข้าวสารจังหวัดนครสวรรค์ วานนี้ (21 มิ.ย.) ว่า การเปิดตลาดกลางในการประมูลข้าวสารเป็นการดึงดูดให้ผู้ซื้อและผู้ขายอีกเป็นจำนวนมากให้เข้ามาในระบบการซื้อขายข้าว จากเดิมที่การซื้อขายข้าวไทยจะเน้นการจำหน่ายผ่านตัวบุคคลต่อบุคคล หรือระหว่างบริษัทกับผู้ซื้อ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจากการเปิดให้มีการประมูลข้าวสาร จะทำให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวโลก และราคาที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นราคาอ้างอิงราคาข้าวในตลาดโลกได้ด้วย
ทั้งนี้ ตลาดกลางประมูลข้าวสารที่จะเปิดประมูลซื้อขายข้าวเดือนละ 1ครั้ง จะมีการจำหน่ายไม่ต่ำกว่าครั้งละ 2หมื่นตัน หรือมูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท และในอนาคต หากมีการประมูลข้าวในปริมาณและมูลค่าที่มากขึ้นเรื่อยๆ ตลาดกลางประมูลข้าวสารจะสามารถดึงดูดผู้ซื้อและผู้ขายจากต่างประเทศมาเปิดประมูลกันในตลาดกลางแห่งนี้ จนทำให้เป็นศูนย์กลางในการค้าข้าวของโลกได้ในอนาคต
"ช่วงแรงอาจเริ่มจากการเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวในภูมิภาคอาเซียนที่ในอนาคตอาจจะมีข้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน หรือ
ผู้นำเข้าจากประเทศในภูมิภาคอาเซียนเข้ามาซื้อขายข้าวในตลาดกลางมากขึ้น ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะเพิ่มกิจกรรมหรือดึงผู้ผลิตข้าวหลากหลายชนิดเข้ามาตลาดให้มากขึ้น"
สำหรับการเปิดตลาดกลางการประมูลข้าวสารที่จังหวัดนครสวรรค์ ถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางในการซื้อขายข้าวที่สำคัญ และจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวโลกได้อย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นพื้นที่ติดภาคกลางและภาคเหนือที่มีผลผลิตข้าวมากที่สุดถึง30% ของผลผลิตในประเทศ และเป็นจุดเชื่อมโยงการคมนาคมที่ขนส่งสำคัญทั้งทางบก ทางน้ำ และระบบราง
ส่วนผลการประมูลข้าวในตลาดกลางข้าวสาร เมื่อวันที่ 21มิ.ย.ที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ขาย 42ราย 74ตัวอย่าง ปริมาณ 24,100 ตัน โดยจำนวนผู้ซื้อ 16 ราย ปริมาณที่ซื้อขาย 12,362 ตัน รวม 11ตัวอย่าง คิดเป็นมูลค่า 195.88ล้านบาท ชนิดของข้าว มีข้าวขาว ข้าวนึ่ง ข้าวท่อน ข้าวหอมปทุม ข้าวขาว 5% และปลายข้าวหอมมะลิ เป็นต้น
นายคมกฤชช์ ธรรมรัตนกุล ประธานหอการค้าจังหวัดนครสวรรค์ กล่าวว่า การดำเนินการตลาดกลางประมูลข้าวสารอยู่ในขั้นเริ่มต้นมีทิศทางดำเนินการที่ดี โดยในการประมูลครั้งแรกมีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ย 1 ล้านบาท ครั้งที่ 2 มูลค่า 20-30 ล้านบาท และครั้งที่ 3มูลค่า 50 ล้านบาท ส่วนครั้งที่ 4 มูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท ทำให้เชื่อมั่นว่าในอนาคตราคาที่ซื้อขายกันในตลาดกลางฯ แห่งนี้ จะสามารถใช้อ้างอิงการซื้อขายข้าวในตลาดทั่วไปได้
"ได้ตั้งเป้าว่าไทยมีศักยภาพที่จะกำหนดราคาข้าวตลาดโลกเหมือนการนำตลาดข้าวที่ตลาดชิคาโกมาเป็นราคาอ้างอิงซื้อขายข้าวของโลกได้ เพราะไทยเป็นผู้ขายรายใหญ่ ขณะที่ตลาดชิคาโกเป็นตลาดซื้อขายสัญญาสินค้าล่วงหน้า ไม่ได้มีการส่งมอบสินค่าจริงซึ่งต่างกับรูปแบบของตลาดข้าวที่ไทยนครสวรรค์ที่มีการซื้อขายข้าวจริง มีการนำตัวอย่างและคุณภาพเข้ามานำเสนอให้ผู้ซื้อและผู้ขายจริง และไม่ต้องการให้มองว่าตลาดกลางเป็นการตัดตอนขั้นตอนการซื้อขายข้าวผ่านหยง หรือผู้จัดหาข้าวออกไป แต่เป็นเพียงการกำหนดสถานที่ให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้นำเสนอสินค้าและเสนอราค่าโดยตรงผ่านชนิดและคุณภาพข้าวที่หลากหลายและเป็นช่องทางเลือกอีกทางของการซื้อขายข้าวในตลาด"นายคมกฤชช์กล่าว
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานเปิดป้ายตลาดกลางประมูลข้าวสารจังหวัดนครสวรรค์ วานนี้ (21 มิ.ย.) ว่า การเปิดตลาดกลางในการประมูลข้าวสารเป็นการดึงดูดให้ผู้ซื้อและผู้ขายอีกเป็นจำนวนมากให้เข้ามาในระบบการซื้อขายข้าว จากเดิมที่การซื้อขายข้าวไทยจะเน้นการจำหน่ายผ่านตัวบุคคลต่อบุคคล หรือระหว่างบริษัทกับผู้ซื้อ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจากการเปิดให้มีการประมูลข้าวสาร จะทำให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวโลก และราคาที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นราคาอ้างอิงราคาข้าวในตลาดโลกได้ด้วย
ทั้งนี้ ตลาดกลางประมูลข้าวสารที่จะเปิดประมูลซื้อขายข้าวเดือนละ 1ครั้ง จะมีการจำหน่ายไม่ต่ำกว่าครั้งละ 2หมื่นตัน หรือมูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท และในอนาคต หากมีการประมูลข้าวในปริมาณและมูลค่าที่มากขึ้นเรื่อยๆ ตลาดกลางประมูลข้าวสารจะสามารถดึงดูดผู้ซื้อและผู้ขายจากต่างประเทศมาเปิดประมูลกันในตลาดกลางแห่งนี้ จนทำให้เป็นศูนย์กลางในการค้าข้าวของโลกได้ในอนาคต
"ช่วงแรงอาจเริ่มจากการเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวในภูมิภาคอาเซียนที่ในอนาคตอาจจะมีข้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน หรือ
ผู้นำเข้าจากประเทศในภูมิภาคอาเซียนเข้ามาซื้อขายข้าวในตลาดกลางมากขึ้น ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะเพิ่มกิจกรรมหรือดึงผู้ผลิตข้าวหลากหลายชนิดเข้ามาตลาดให้มากขึ้น"
สำหรับการเปิดตลาดกลางการประมูลข้าวสารที่จังหวัดนครสวรรค์ ถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางในการซื้อขายข้าวที่สำคัญ และจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวโลกได้อย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นพื้นที่ติดภาคกลางและภาคเหนือที่มีผลผลิตข้าวมากที่สุดถึง30% ของผลผลิตในประเทศ และเป็นจุดเชื่อมโยงการคมนาคมที่ขนส่งสำคัญทั้งทางบก ทางน้ำ และระบบราง
ส่วนผลการประมูลข้าวในตลาดกลางข้าวสาร เมื่อวันที่ 21มิ.ย.ที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ขาย 42ราย 74ตัวอย่าง ปริมาณ 24,100 ตัน โดยจำนวนผู้ซื้อ 16 ราย ปริมาณที่ซื้อขาย 12,362 ตัน รวม 11ตัวอย่าง คิดเป็นมูลค่า 195.88ล้านบาท ชนิดของข้าว มีข้าวขาว ข้าวนึ่ง ข้าวท่อน ข้าวหอมปทุม ข้าวขาว 5% และปลายข้าวหอมมะลิ เป็นต้น
นายคมกฤชช์ ธรรมรัตนกุล ประธานหอการค้าจังหวัดนครสวรรค์ กล่าวว่า การดำเนินการตลาดกลางประมูลข้าวสารอยู่ในขั้นเริ่มต้นมีทิศทางดำเนินการที่ดี โดยในการประมูลครั้งแรกมีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ย 1 ล้านบาท ครั้งที่ 2 มูลค่า 20-30 ล้านบาท และครั้งที่ 3มูลค่า 50 ล้านบาท ส่วนครั้งที่ 4 มูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท ทำให้เชื่อมั่นว่าในอนาคตราคาที่ซื้อขายกันในตลาดกลางฯ แห่งนี้ จะสามารถใช้อ้างอิงการซื้อขายข้าวในตลาดทั่วไปได้
"ได้ตั้งเป้าว่าไทยมีศักยภาพที่จะกำหนดราคาข้าวตลาดโลกเหมือนการนำตลาดข้าวที่ตลาดชิคาโกมาเป็นราคาอ้างอิงซื้อขายข้าวของโลกได้ เพราะไทยเป็นผู้ขายรายใหญ่ ขณะที่ตลาดชิคาโกเป็นตลาดซื้อขายสัญญาสินค้าล่วงหน้า ไม่ได้มีการส่งมอบสินค่าจริงซึ่งต่างกับรูปแบบของตลาดข้าวที่ไทยนครสวรรค์ที่มีการซื้อขายข้าวจริง มีการนำตัวอย่างและคุณภาพเข้ามานำเสนอให้ผู้ซื้อและผู้ขายจริง และไม่ต้องการให้มองว่าตลาดกลางเป็นการตัดตอนขั้นตอนการซื้อขายข้าวผ่านหยง หรือผู้จัดหาข้าวออกไป แต่เป็นเพียงการกำหนดสถานที่ให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้นำเสนอสินค้าและเสนอราค่าโดยตรงผ่านชนิดและคุณภาพข้าวที่หลากหลายและเป็นช่องทางเลือกอีกทางของการซื้อขายข้าวในตลาด"นายคมกฤชช์กล่าว