อนุสนธิมติคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต. เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา เห็นชอบร่างระเบียบ กกต.ว่าด้วยการหาเสียง ข้อควรปฏิบัติและข้อห้ามมิให้ปฏิบัติ ซึ่งมีประเด็นเพิ่มเติมว่ามิควรนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการหาเสียงเลือกตั้ง โดยการนี้ได้มีการหารือกับหัวหน้าพรรคการเมืองเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเห็นชอบตามนี้และได้ลงนามเป็นพันธะสัญญา
เรื่องนี้หากพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้วเป็นดาบสองคม เพราะหากถือว่าความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ตามประเพณีปฏิบัติของประชาชนชาวไทยมานับร้อยๆ ปี มาแล้ว หรือจะเป็นห้วงเฉพาะระยะเวลาของการครองสิริราชสมบัติ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช องค์ปัจจุบันกว่า 60 พรรษา เป็นนโยบายและหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของพรรคการเมือง แล้วก็เป็นเรื่องประเสริฐสุดของทุกพรรคการเมือง หัวหน้าพรรค และสมาชิกพรรค รวมทั้งคนที่นิยมในพรรคนั้นๆ
แต่จะเป็นความเลวร้ายสุดๆ หากพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งชนะการเลือกตั้ง และมีอำนาจในการจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ แต่กลับปล่อยปละละเลยให้มีการละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างรุนแรงเข้มข้นและโดยตรงมากขึ้นกว่าที่พบในปัจจุบัน โดยพรรคการเมืองนั้นนายกรัฐมนตรีจากพรรคนั้น ออกมาแถลงว่าไม่ได้บรรจุนโยบายความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ในการหาเสียง เพราะ กกต.ออกกฎห้ามไว้ และมติของคนในพรรคเห็นว่าเป็นเรื่องประชาธิปไตย เป็นเรื่องของการปฏิรูประบอบการปกครอง เป็นเรื่องของการแสดงความคิดเห็นตามสิทธิของปวงชน และนี่เป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อชาติบ้านเมือง
คนอย่างเราๆ จำเป็นจะต้องวิเคราะห์และวิพากษ์การกระทำของกลุ่มคน ที่สร้างกระแสชัดเจนต่อต้านสถาบันทั้งเชิงวิชาการและตั้งใจในห้วงการหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2554 ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีกลุ่มนักวิชาการเรียกตัวเองว่านิติราษฎร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวละครหลักๆ เช่น นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นายธีระ สุธีวรางกูร นายปิยบุตร แสงกนกกุล และนางสาวสาวตรี สุขศรี จัดงานเสวนาเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
จากการเกริ่นอภิปรายนำในลักษณะต่างๆ เช่น ความเสมอภาค สิทธิมนุษยชน และเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในห้วง 3 ปีที่ผ่านมา ว่าด้วยการล่วงเกินพระบรมเดชานุภาพ การต่อต้านกลุ่มต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ และการจับกุมบุคคลที่ละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกลุ่มเสวนานี้สรุปตามด้วยข้อเสนอให้แก้กฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์
สาระน่าสนใจตรงที่ว่าผู้เสวนานั้น นางสาวสาวิตรี สำแดงความในจิตสำนึกว่าความผิดเรื่องดูหมิ่น ถือเป็นสิทธิแสดงความเห็นโดยไม่มีข้อเท็จจริงประกอบ จะเป็นความผิดตามประมวลมาตรา 326 และยังได้แสดงงานวิจัยของคนต่างชาติชื่อ นายเดวิด สตราเคฟัส (Mr. David Strakefuss) ที่ทำสถิติระหว่าง พ.ศ. 2548 – 2552 มีคดีเช่นนี้ 547 คดี หรือเฉลี่ยปีละ 109 คดี หรือมีอัตรารุนแรงสูงขึ้นกว่า 10 ปีที่ผ่านมา 131 เท่าตัว
ประเด็นนี้ไม่ต้องพิจารณาเลย เพราะนับตั้งแต่ทักษิณถูกกระแสต่อต้านจากประชาชนชาวไทยผู้จงรักภักดี เพราะบังอาจกล่าวคำพูดบางคำที่ในใจทักษิณต้องการพูดพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งระบบอันหมายถึงองค์พระมหากษัตริย์และกลุ่มองคมนตรี
ความชัดเจนในเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ทักษิณปาฐกถาต่อหัวหน้าส่วนราชการระดับ 10 และมีประโยคชั่วร้ายนำสู่ความกำเริบเสิบสานของพวกอนาธิปไตยนิยม ที่ว่า “วันนี้องค์กรนอกรัฐธรรมนูญไม่ใช้รัฐธรรมนูญ คือ บุคคลซึ่งดูเหมือนมีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ เข้ามาวุ่นวายองค์กรที่มีในระบบรัฐธรรมนูญมากไป มีการไม่เคารพกติกา” ซึ่งวลีอุบาทว์คือ ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีผู้ตีความไว้ง่ายๆ ว่าเป็นการกระทบต่อสถาบัน เพราะพระมหากษัตริย์ทรงทำหน้าที่ลงพระปรมาภิไธยโดยมีคณะองคมนตรีไตร่ตรองให้รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายมีผลใช้บังคับและทักษิณถูกขัดใจกรณี พ.ร.บ.ครูหรือมีนักวิชาการได้วิเคราะห์คำพูดและความคิดของทักษิณไว้มากมาย
นายเดวิด ทำวิจัยในห้วงที่พวกเสื้อแดงอนาธิปไตยนิยมผู้เป็นสาวกทักษิณ ออกมาต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ และโจมตีประธานองคมนตรีด้วยกิริยา ถ้อยคำ และการกระทำที่รุนแรง หยาบคาย และไร้การศึกษา แกนนำเหล่านั้นพบได้ในบัญชีรายชื่อ ส.ส.สัดส่วนของพรรคเพื่อไทย
ทำไมจะไม่เกิดวิกฤตสังคมอนาธิปไตยต่อต้านสถาบัน ในเมื่อมีแรงใจ แรงเงิน และหลักการเชิงประวัติปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นแรงหนุน การถูกอุปโลกน์ให้เป็นผู้ท้าทาย เป็นวีรบุรุษในกลุ่มอนาธิปไตยนิยม
ทำไมนายเดวิด ไม่ลองทำสถิติการฟ้องหมิ่นประมาทของบุคคลทั่วไปบ้างว่า มีมากมายก่ายกองหลายร้อยเท่านัก และมีกี่คดีที่ทักษิณฟ้องหมิ่นประมาทคนอื่น นายเดวิด น่าจะลองทำสถิติและวิเคราะห์สาเหตุการถูกหมิ่นประมาทของทักษิณ และรูปคดีเป็นอย่างไร
ดังนั้น จึงขออย่าได้นำเอาการวิจัยของต่างชาติ ซึ่งอาจจะเข้าใจเรื่องวิถีชีวิตและจิตสำนึกของคนไทยน้อยเกินไป ที่จะมาวิเคราะห์การเคารพกราบไหว้ การหมอบกราบ หรือการแสดงความเคารพนบนอบของคนไทยต่อพระมหากษัตริย์นั้นเป็นความต้องการของบุคคล ไม่มีใครหรือการบังคับให้กระทำสิ่งเหล่านี้ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศยกเลิกการหมอบกราบ หรือคลานเข้าเฝ้า ปัจจุบันเป็นเพียงสัญลักษณ์ของความจงรักภักดีและมิได้สร้างความลำบากใจให้กับใคร
เมื่อ นายประมวล รุจนเสรี อดีตข้าราชการกระทรวงมหาดไทย มีประสบการณ์สูงในเชิงการปกครองรัฐ มีอิทธิพลเหนือข้าราชการกรมการปกครอง นายอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้านระหว่างประมาณปี พ.ศ. 2524 – 2542 ทำให้เป็นที่ต้องการของทักษิณ จึงเชิญให้เป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เป็นฐานกำเนิดอำนาจทักษิณและทำให้ชนะการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2544 ได้เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรียุคทักษิณ แต่วิเคราะห์ได้ว่า นายประมวล ต้องรู้เห็นหรืออ่านความคิดบางประการของทักษิณ และสาวกกลุ่มอนาธิปไตยนิยมที่มาจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจึงเขียนหนังสือเชิงวิชาการเรื่องพระราชอำนาจ และต่อมานายประมวลถูกรังเกียจจากบรรดาพวกต่อต้านสถาบันในพรรคไทยรักไทย จึงออกมาคู่กับ นายเสนาะ เทียนทอง ที่ถูกขจัดอำนาจจากพรรคไทยรักไทย
งานออกตัวหนังสือพระราชอำนาจของนายประมวล ถูกต่อต้านจากกลุ่มอิทธิพลในพรรคไทยรักไทย และไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เพราะนายทุนสโมสรราชพฤกษ์สั่งให้ล้มงาน โดยอ้างว่าเป็นความเห็นของนักกอล์ฟทั้งๆ ที่ผู้รับเชิญล่วงหน้าเป็นทั้งองคมนตรี ข้าราชการชันผู้ใหญ่ ส.ว., ส.ส. และประชาชนที่สนใจทั่วไป
มีคนวิเคราะห์ว่าหนังสือเล่มนี้มีรายละเอียดเตือนสติทักษิณ และพลพรรคอนาธิปไตยนิยมในอดีตพรรคไทยรักไทย ที่เปลี่ยนเป็นพรรคพลังประชาชน และปัจจุบันคือพรรคเพื่อไทยบางส่วน
ในการเสวนาในวันนั้น ยังมีการกล่าวอ้างถึงคำพูดของ โรเบสปิแอร์ (Robespier) เกิดในช่วงปี ค.ศ. 1758 – 1794 แกนนำกลุ่มจาโคแบงในการปฏิวัติฝรั่งเศส ว่า “การขัดขวางมิให้ประชาชนได้ก่อตั้งทางเลือกของพวกเขาเอง ถือว่าเป็นอาชญากรรมมนุษยชาติ” เห็นได้ว่าโรเบสปิแอร์ มีอายุเพียง 36 ปี ก็ถูกประหารชีวิตเพราะกรรมที่ก่อไว้ด้วยกิโยตินในวัยวุฒิเพียง 36 ปีเท่านั้น จิตสำนึกและความชอบธรรมของเขา เราเรียนรู้ได้จากพฤติกรรมของเขา ซึ่งคนทั่วๆ ไปในยุคนั้นเรียกเขาว่า “เผด็จการกระหายเลือด” เพราะเขาเป็นหัวหน้าหน่วยพิทักษ์การปฏิวัติ
ยุคของโรเบสปิแอร์ในการปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นยุคมืดอำมหิตอุบาทว์ เรียกว่ายุคหฤโหด (Reign of Terror) ที่โรเบสปิแอร์กล่าวว่า “การลงโทษพวกต่อต้านมนุษยชาติ เป็นเรื่องสามัญของสังคม และการให้อภัยคนเหล่านั้นเป็นเรื่องความไร้มนุษยธรรม” โรเบสปิแอร์อ้างมนุษยชาติเพื่อฆ่าคนอย่างเสรี
คนที่กล่าวถึงโรเบสปิแอร์ในการเสวนาครั้งนี้ คือ นายปิยบุตร แสงกนกกุล แต่พฤติกรรมของริเบสปิแอร์ นำสู่ความตายด้วยกิโยตินของเขาเช่นกัน ในปี ค.ศ. 1794 นั้นนายปิยบุตรไม่ได้กล่าวถึงในรายละเอียด และโรเบสปิแอร์ เป็นตัวตั้งตัวตีคนหนึ่งในคณะลูกขุนพิพากษาปลงพระชนม์พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เพราะเขามีความคิดว่า “หากมีใครคนหนึ่งต้องตายเพื่อสละชีพสังเวยความอยู่รอดของการปฏิวัติแล้ว จะไม่มีทางเลือกอื่น และนั่นคือการสำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์ที่ 16”
นี่หรือคือสัญลักษณ์ประชาธิปไตยของอนาธิปไตย หรือความเหี้ยมโหดที่มองว่าความรุนแรง ความหฤโหด และความตาย เป็นหนทางสู่ความเป็นมนุษยชาติที่แท้จริง และนี่หรือคือความคิดของ นายปิยบุตร แสงกนกกุล ที่เรียกตัวเองว่านักประชาธิปไตย นักวิชาการนิติศาสตร์ และเป็นนิติราษฎร์
มาตรา 112 ของรัฐธรรมนูญ แท้จริงแล้วเป็นกลไกปกป้องลัทธิอนาธิปไตยนิยมที่เข้มแข็งที่สุดเชิงนิติธรรม ที่มิให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งกล่าวร้ายพระมหากษัตริย์ รัชทายาท และราชวงศ์ เพราะประเด็นไม่ได้อยู่ที่บุคคลวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ได้หรือไม่ แต่สัจธรรมอยู่ที่การวิจารณ์นั้นเป็นความจริงและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่เกิดความเสียหายใดๆ แต่ข้อสำคัญอยู่ที่การกล่าวหาใส่ร้ายสถาบันและโค่นล้มด้วยการสร้างกระแสจิตวิทยาให้มีการเกลียดชัง โดยไม่มีหลักฐานต่างหาก นั่นแหละที่ผิด เพราะกระบวนการยุติธรรมจะพิสูจน์ผิดถูกว่าเป็นการหมิ่นประมาทหรือไม่ เพราะการสร้างกระแสกระทำได้ง่าย และสามารถพูดกันได้พล่อยๆ
การใช้คำหยาบ หรือคำกล่าวเปรียบเปรยที่หยาบคาย ดังที่เกิดขึ้น เช่น ดา ตอร์ปิโด หรือนางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล แนวร่วม นปช. อายุ 18 ปี ปัจจุบันถูกจำคุก 6 ปี รวม 3 กระทง ซึ่งคำกล่าวส่วนใหญ่หยาบคายตามวัยวุฒิของเธอ และทั้ง นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายจตุพร พรหมพันธุ์ ต่างมีการใช้คำพูดที่กลั่นกรองเพื่อหลีกเลี่ยงการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยตรง แต่ก็มีสัญลักษณ์และการสร้างสัญญาณให้รับรู้กันในหมู่นิยมอนาธิปไตยต่อต้านสถาบัน
เรื่องเหล่านี้คงไม่ใช่เรื่องเท็จ เพราะ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ใช้ขบวนคิดของแกนนำพรรคเพื่อไทยที่มีท่าทีต่อต้านสถาบันเป็นตัวกระตุ้นในการลาออก โดยกล่าวว่า “ไม่สบายใจที่การเมืองกระทบสถาบันเบื้องสูง”
เรื่องนี้หากพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้วเป็นดาบสองคม เพราะหากถือว่าความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ตามประเพณีปฏิบัติของประชาชนชาวไทยมานับร้อยๆ ปี มาแล้ว หรือจะเป็นห้วงเฉพาะระยะเวลาของการครองสิริราชสมบัติ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช องค์ปัจจุบันกว่า 60 พรรษา เป็นนโยบายและหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของพรรคการเมือง แล้วก็เป็นเรื่องประเสริฐสุดของทุกพรรคการเมือง หัวหน้าพรรค และสมาชิกพรรค รวมทั้งคนที่นิยมในพรรคนั้นๆ
แต่จะเป็นความเลวร้ายสุดๆ หากพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งชนะการเลือกตั้ง และมีอำนาจในการจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ แต่กลับปล่อยปละละเลยให้มีการละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างรุนแรงเข้มข้นและโดยตรงมากขึ้นกว่าที่พบในปัจจุบัน โดยพรรคการเมืองนั้นนายกรัฐมนตรีจากพรรคนั้น ออกมาแถลงว่าไม่ได้บรรจุนโยบายความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ในการหาเสียง เพราะ กกต.ออกกฎห้ามไว้ และมติของคนในพรรคเห็นว่าเป็นเรื่องประชาธิปไตย เป็นเรื่องของการปฏิรูประบอบการปกครอง เป็นเรื่องของการแสดงความคิดเห็นตามสิทธิของปวงชน และนี่เป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อชาติบ้านเมือง
คนอย่างเราๆ จำเป็นจะต้องวิเคราะห์และวิพากษ์การกระทำของกลุ่มคน ที่สร้างกระแสชัดเจนต่อต้านสถาบันทั้งเชิงวิชาการและตั้งใจในห้วงการหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2554 ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีกลุ่มนักวิชาการเรียกตัวเองว่านิติราษฎร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวละครหลักๆ เช่น นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นายธีระ สุธีวรางกูร นายปิยบุตร แสงกนกกุล และนางสาวสาวตรี สุขศรี จัดงานเสวนาเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
จากการเกริ่นอภิปรายนำในลักษณะต่างๆ เช่น ความเสมอภาค สิทธิมนุษยชน และเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในห้วง 3 ปีที่ผ่านมา ว่าด้วยการล่วงเกินพระบรมเดชานุภาพ การต่อต้านกลุ่มต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ และการจับกุมบุคคลที่ละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกลุ่มเสวนานี้สรุปตามด้วยข้อเสนอให้แก้กฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์
สาระน่าสนใจตรงที่ว่าผู้เสวนานั้น นางสาวสาวิตรี สำแดงความในจิตสำนึกว่าความผิดเรื่องดูหมิ่น ถือเป็นสิทธิแสดงความเห็นโดยไม่มีข้อเท็จจริงประกอบ จะเป็นความผิดตามประมวลมาตรา 326 และยังได้แสดงงานวิจัยของคนต่างชาติชื่อ นายเดวิด สตราเคฟัส (Mr. David Strakefuss) ที่ทำสถิติระหว่าง พ.ศ. 2548 – 2552 มีคดีเช่นนี้ 547 คดี หรือเฉลี่ยปีละ 109 คดี หรือมีอัตรารุนแรงสูงขึ้นกว่า 10 ปีที่ผ่านมา 131 เท่าตัว
ประเด็นนี้ไม่ต้องพิจารณาเลย เพราะนับตั้งแต่ทักษิณถูกกระแสต่อต้านจากประชาชนชาวไทยผู้จงรักภักดี เพราะบังอาจกล่าวคำพูดบางคำที่ในใจทักษิณต้องการพูดพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งระบบอันหมายถึงองค์พระมหากษัตริย์และกลุ่มองคมนตรี
ความชัดเจนในเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ทักษิณปาฐกถาต่อหัวหน้าส่วนราชการระดับ 10 และมีประโยคชั่วร้ายนำสู่ความกำเริบเสิบสานของพวกอนาธิปไตยนิยม ที่ว่า “วันนี้องค์กรนอกรัฐธรรมนูญไม่ใช้รัฐธรรมนูญ คือ บุคคลซึ่งดูเหมือนมีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ เข้ามาวุ่นวายองค์กรที่มีในระบบรัฐธรรมนูญมากไป มีการไม่เคารพกติกา” ซึ่งวลีอุบาทว์คือ ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีผู้ตีความไว้ง่ายๆ ว่าเป็นการกระทบต่อสถาบัน เพราะพระมหากษัตริย์ทรงทำหน้าที่ลงพระปรมาภิไธยโดยมีคณะองคมนตรีไตร่ตรองให้รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายมีผลใช้บังคับและทักษิณถูกขัดใจกรณี พ.ร.บ.ครูหรือมีนักวิชาการได้วิเคราะห์คำพูดและความคิดของทักษิณไว้มากมาย
นายเดวิด ทำวิจัยในห้วงที่พวกเสื้อแดงอนาธิปไตยนิยมผู้เป็นสาวกทักษิณ ออกมาต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ และโจมตีประธานองคมนตรีด้วยกิริยา ถ้อยคำ และการกระทำที่รุนแรง หยาบคาย และไร้การศึกษา แกนนำเหล่านั้นพบได้ในบัญชีรายชื่อ ส.ส.สัดส่วนของพรรคเพื่อไทย
ทำไมจะไม่เกิดวิกฤตสังคมอนาธิปไตยต่อต้านสถาบัน ในเมื่อมีแรงใจ แรงเงิน และหลักการเชิงประวัติปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นแรงหนุน การถูกอุปโลกน์ให้เป็นผู้ท้าทาย เป็นวีรบุรุษในกลุ่มอนาธิปไตยนิยม
ทำไมนายเดวิด ไม่ลองทำสถิติการฟ้องหมิ่นประมาทของบุคคลทั่วไปบ้างว่า มีมากมายก่ายกองหลายร้อยเท่านัก และมีกี่คดีที่ทักษิณฟ้องหมิ่นประมาทคนอื่น นายเดวิด น่าจะลองทำสถิติและวิเคราะห์สาเหตุการถูกหมิ่นประมาทของทักษิณ และรูปคดีเป็นอย่างไร
ดังนั้น จึงขออย่าได้นำเอาการวิจัยของต่างชาติ ซึ่งอาจจะเข้าใจเรื่องวิถีชีวิตและจิตสำนึกของคนไทยน้อยเกินไป ที่จะมาวิเคราะห์การเคารพกราบไหว้ การหมอบกราบ หรือการแสดงความเคารพนบนอบของคนไทยต่อพระมหากษัตริย์นั้นเป็นความต้องการของบุคคล ไม่มีใครหรือการบังคับให้กระทำสิ่งเหล่านี้ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศยกเลิกการหมอบกราบ หรือคลานเข้าเฝ้า ปัจจุบันเป็นเพียงสัญลักษณ์ของความจงรักภักดีและมิได้สร้างความลำบากใจให้กับใคร
เมื่อ นายประมวล รุจนเสรี อดีตข้าราชการกระทรวงมหาดไทย มีประสบการณ์สูงในเชิงการปกครองรัฐ มีอิทธิพลเหนือข้าราชการกรมการปกครอง นายอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้านระหว่างประมาณปี พ.ศ. 2524 – 2542 ทำให้เป็นที่ต้องการของทักษิณ จึงเชิญให้เป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เป็นฐานกำเนิดอำนาจทักษิณและทำให้ชนะการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2544 ได้เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรียุคทักษิณ แต่วิเคราะห์ได้ว่า นายประมวล ต้องรู้เห็นหรืออ่านความคิดบางประการของทักษิณ และสาวกกลุ่มอนาธิปไตยนิยมที่มาจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจึงเขียนหนังสือเชิงวิชาการเรื่องพระราชอำนาจ และต่อมานายประมวลถูกรังเกียจจากบรรดาพวกต่อต้านสถาบันในพรรคไทยรักไทย จึงออกมาคู่กับ นายเสนาะ เทียนทอง ที่ถูกขจัดอำนาจจากพรรคไทยรักไทย
งานออกตัวหนังสือพระราชอำนาจของนายประมวล ถูกต่อต้านจากกลุ่มอิทธิพลในพรรคไทยรักไทย และไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เพราะนายทุนสโมสรราชพฤกษ์สั่งให้ล้มงาน โดยอ้างว่าเป็นความเห็นของนักกอล์ฟทั้งๆ ที่ผู้รับเชิญล่วงหน้าเป็นทั้งองคมนตรี ข้าราชการชันผู้ใหญ่ ส.ว., ส.ส. และประชาชนที่สนใจทั่วไป
มีคนวิเคราะห์ว่าหนังสือเล่มนี้มีรายละเอียดเตือนสติทักษิณ และพลพรรคอนาธิปไตยนิยมในอดีตพรรคไทยรักไทย ที่เปลี่ยนเป็นพรรคพลังประชาชน และปัจจุบันคือพรรคเพื่อไทยบางส่วน
ในการเสวนาในวันนั้น ยังมีการกล่าวอ้างถึงคำพูดของ โรเบสปิแอร์ (Robespier) เกิดในช่วงปี ค.ศ. 1758 – 1794 แกนนำกลุ่มจาโคแบงในการปฏิวัติฝรั่งเศส ว่า “การขัดขวางมิให้ประชาชนได้ก่อตั้งทางเลือกของพวกเขาเอง ถือว่าเป็นอาชญากรรมมนุษยชาติ” เห็นได้ว่าโรเบสปิแอร์ มีอายุเพียง 36 ปี ก็ถูกประหารชีวิตเพราะกรรมที่ก่อไว้ด้วยกิโยตินในวัยวุฒิเพียง 36 ปีเท่านั้น จิตสำนึกและความชอบธรรมของเขา เราเรียนรู้ได้จากพฤติกรรมของเขา ซึ่งคนทั่วๆ ไปในยุคนั้นเรียกเขาว่า “เผด็จการกระหายเลือด” เพราะเขาเป็นหัวหน้าหน่วยพิทักษ์การปฏิวัติ
ยุคของโรเบสปิแอร์ในการปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นยุคมืดอำมหิตอุบาทว์ เรียกว่ายุคหฤโหด (Reign of Terror) ที่โรเบสปิแอร์กล่าวว่า “การลงโทษพวกต่อต้านมนุษยชาติ เป็นเรื่องสามัญของสังคม และการให้อภัยคนเหล่านั้นเป็นเรื่องความไร้มนุษยธรรม” โรเบสปิแอร์อ้างมนุษยชาติเพื่อฆ่าคนอย่างเสรี
คนที่กล่าวถึงโรเบสปิแอร์ในการเสวนาครั้งนี้ คือ นายปิยบุตร แสงกนกกุล แต่พฤติกรรมของริเบสปิแอร์ นำสู่ความตายด้วยกิโยตินของเขาเช่นกัน ในปี ค.ศ. 1794 นั้นนายปิยบุตรไม่ได้กล่าวถึงในรายละเอียด และโรเบสปิแอร์ เป็นตัวตั้งตัวตีคนหนึ่งในคณะลูกขุนพิพากษาปลงพระชนม์พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เพราะเขามีความคิดว่า “หากมีใครคนหนึ่งต้องตายเพื่อสละชีพสังเวยความอยู่รอดของการปฏิวัติแล้ว จะไม่มีทางเลือกอื่น และนั่นคือการสำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์ที่ 16”
นี่หรือคือสัญลักษณ์ประชาธิปไตยของอนาธิปไตย หรือความเหี้ยมโหดที่มองว่าความรุนแรง ความหฤโหด และความตาย เป็นหนทางสู่ความเป็นมนุษยชาติที่แท้จริง และนี่หรือคือความคิดของ นายปิยบุตร แสงกนกกุล ที่เรียกตัวเองว่านักประชาธิปไตย นักวิชาการนิติศาสตร์ และเป็นนิติราษฎร์
มาตรา 112 ของรัฐธรรมนูญ แท้จริงแล้วเป็นกลไกปกป้องลัทธิอนาธิปไตยนิยมที่เข้มแข็งที่สุดเชิงนิติธรรม ที่มิให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งกล่าวร้ายพระมหากษัตริย์ รัชทายาท และราชวงศ์ เพราะประเด็นไม่ได้อยู่ที่บุคคลวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ได้หรือไม่ แต่สัจธรรมอยู่ที่การวิจารณ์นั้นเป็นความจริงและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่เกิดความเสียหายใดๆ แต่ข้อสำคัญอยู่ที่การกล่าวหาใส่ร้ายสถาบันและโค่นล้มด้วยการสร้างกระแสจิตวิทยาให้มีการเกลียดชัง โดยไม่มีหลักฐานต่างหาก นั่นแหละที่ผิด เพราะกระบวนการยุติธรรมจะพิสูจน์ผิดถูกว่าเป็นการหมิ่นประมาทหรือไม่ เพราะการสร้างกระแสกระทำได้ง่าย และสามารถพูดกันได้พล่อยๆ
การใช้คำหยาบ หรือคำกล่าวเปรียบเปรยที่หยาบคาย ดังที่เกิดขึ้น เช่น ดา ตอร์ปิโด หรือนางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล แนวร่วม นปช. อายุ 18 ปี ปัจจุบันถูกจำคุก 6 ปี รวม 3 กระทง ซึ่งคำกล่าวส่วนใหญ่หยาบคายตามวัยวุฒิของเธอ และทั้ง นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายจตุพร พรหมพันธุ์ ต่างมีการใช้คำพูดที่กลั่นกรองเพื่อหลีกเลี่ยงการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยตรง แต่ก็มีสัญลักษณ์และการสร้างสัญญาณให้รับรู้กันในหมู่นิยมอนาธิปไตยต่อต้านสถาบัน
เรื่องเหล่านี้คงไม่ใช่เรื่องเท็จ เพราะ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ใช้ขบวนคิดของแกนนำพรรคเพื่อไทยที่มีท่าทีต่อต้านสถาบันเป็นตัวกระตุ้นในการลาออก โดยกล่าวว่า “ไม่สบายใจที่การเมืองกระทบสถาบันเบื้องสูง”