วานนี้(13 มิ.ย.) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดการประชุมผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด (ผอ.กต.จว.) ทั่วประเทศเพื่อหารือรับฟังปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้งในแต่ละพื้นที่ โดยนายวิสุทธิ์ โพธิแท่น กกต. ด้านกิจการการมีส่วนร่วม กล่าวว่าขอให้ ผอ.กต.จว.มีความเป็นกลาง รู้จักรักษาความลับ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว เร่งรัดและรอบคอบ ต้องยึดมั่นในหลักการเหล่านี้จะวอกแวกและหวั่นไหวไม่ได้ เพราะหากกรรมการทำผิดโทษก็จะหนักกว่าคนอื่น
ทั้งนี้ นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ ได้สอบถามปัญหากับ ผอ.กต.จังหวัด โดยได้สอบถามจ.อุบลราชธานี ถึงการตั้งหน่วยเลือกตั้งกลางที่มีระยะห่างกันเพียง 50 เมตร เพราะถูกวิจารณ์ว่าใกล้กันเกินหรือไม่ ซึ่งทาง ผอ.กต.จว.อุบลฯได้ชี้แจงว่า ในเขตเลือกตั้งที่ 1 ห่างกัน 50 เมตรจริง แต่ทั้งนี้ก็จะมีการกั้นแผงและป้ายประชาสัมพันธ์รอบบริเวณ เนื่องจากสถานที่คับแคบ
ส่วนของจ.บุรีรัมย์ ที่ถูกมองว่าเป็น 1ใน 10 จังหวัดที่ถูกจับตามเรื่องความรุนแรงนั้น ผอ.กต.จว.บุรีรัมย์ ชี้แจงว่าเรื่องการเตรียมการเลือกตั้ง ในส่วนของบุคคลกรมีความพร้อมหมดแล้ว ทั้งกรรมการประจำหน่วยก็ไม่มีปัญหา ส่วนการป้องปรามเรื่องเหตุรุนแรงก็ได้มีชุดหาข่าว ชุดป้องปรามฯ ชุดสืบสวนสอบสวนเคลื่อนที่เร็วปฏิบัติหน้าที่อยู่แล้ว
ขณะที่ ผอ.กต.จว.เชียงใหม่ แจ้งความเป็นห่วงในพื้นที่เขตเลือกตั้ง 5 ประกอบด้วย อ.ฝาง อ.แม่อาย และเขต 10 ประกอบด้วยอ.ฮอด และอ.อมก๋อย ซึ่งไม่ใช่ฐานเสียงของพรรคการเมืองใหญ่อาจจะมีการแข่งขันต่อสู้กันมาก อีกทั้งกระแสเรื่องการแสดงออกเชิงสัญญาลักษณ์ที่มีธงแดงติดอยู่ตามบ้าน ถนน เสาไฟฟ้า และยานพาหนะ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่านายบุญเกียรติ รักชาติเจริญ รองเลขาธิการ กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง ได้ชี้แจงเพิ่มเติมกับ ผอ.กต.จว.เชียงใหม่ว่า กรณีธงแดงหากติดใกล้กับหน่วยเลือกตั้งเป็นอำนาจหน้าที่ของกรรมการประจำหน่วยที่จะพิจารณาว่า ธงดังกล่าวบ่งบอกถึงการหาเสียงหรือไม่ หากเป็นคุณเป็นโทษให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แม้จะไม่ใช่ป้ายหาเสียง ก็ให้เป็นดุลยพินิจของกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งนำเอาออก
ผอ.กต.จว.ปัตตานี รายงานว่า มีเหตุยิงเอ็ม 79 ในพื้นที่โดยได้ขอกำลังจากหน่วยงานความมั่นคงมาดูแลความปลอดภัย แต่ทั้งนี้ยังไม่ได้รับงบประมาณจากกกต. ขณะที่นางสดศรี ได้กล่าวเสริมว่าขอร้องผู้ก่อการร้ายว่าอย่าก่อเหตุในช่วงเลือกตั้ง เพื่อให้บ้านเมืองเกิดความสงบเรียบร้อย โดยเฉพาะพื้นที่ทางภาคใต้ ขออย่างให้มีปัญหาเกี่ยวกับความร้ายแรง ทำลายทรัพย์สิน และทำร้ายร่างกายผู้มาใช้สิทธิ์และเจ้าหน้าที่ที่จัดการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามจะเร่งดำเนินการส่งงบฯไปให้จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากต้องใช้กำลังของเจ้าหน้าที่ทหารดูแลเป็นพิเศษ
ส่วนผอ.กต.จว.กทม. แจ้งว่าใน 6,506 หน่วยเลือกตั้งของ 33 เขต พบปัญหามากที่สุดคือเรื่องกรรมการประจำหน่วย ที่ กกต.กทม.ได้รับแจ้งว่าขาดกรรมการประจำหน่วย 20 เขต และมี 3 เขตขาดกรรมการประจำหน่วย 500-1,000 คน และยังมีอีก 5 เขตที่ยังขาดกรรมการประจำหน่วยตั้งแต่ 400 คนขึ้นไป ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนางสดศรี กล่าวว่าจะระดมคนของ กกต.กลางไปช่วยในจุดที่ กกต. กทม.ขาดแคลน แต่หากไม่พอจริงๆ กกต.ทั้ง 5 คนก็จะลงไปช่วยด้วยตัวเอง
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้มีร้องเรียนคัดค้านการเลือกตั้งเข้ามาทั้งหมด 26 เรื่อง และการแจ้งเบาะแส 140 เรื่อง ซึ่งอยู่ระหว่างเร่งการดำเนินการสืบสวนสอบสวน
ด้าน นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีที่ สหภาพยุโรป หรือ อียู จะเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งในประเทศไทย ว่า ทางกกต.พร้อมที่จะให้อียูมาสังเกตการณ์ เนื่องจากสมาชิกอียูก็มีสถานทูต อยู่ในประเทศไทย และเขาก็ได้เชิญตนไปหารือแล้ว ซึ่งก็บอกว่าไม่ขัดข้องเพราะเรามั่นใจว่า กกต.เราจัดการเลือกตั้งได้มาตรฐานสากล อย่างไรก็ตามการเข้ามาของอียูเป็นลักษณะประสานงานเข้ามาไม่ใช่การทำบันทึกข้อตกลง(เอ็มโอยู) ร่วมกัน ทั้งนี้ยังเชื่อว่าอียูจะรับรองผลการเลือกตั้งของไทย เพราะเราจัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสากล
**พีเน็ตจี้พรรคแยกนิรโทษ – นโยบาย ให้ชัด
ที่บ้านมนังคศิลา มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย ออกแถลงการณ์ร่วม 16 องค์กรประชาธิปไตย เพื่อแสดงจุดยืนในการเลือกตั้งได้แก่ 1. บรรยากาศการเลือกตั้ง ควรมีความปรองดองอย่างแท้จริง2.การนำเสนอข่าว ควรนำเสนอในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เป็นกลาง และตรงกับข้อเท็จจริง 3.พรรคการเมือง หรือผู้นำพรรคการเมือง ต้องมีความกล้าหาญในการนำเสนอตนเอง วิสัยทัศน์ และนโยบายต่อประชาชน มากกว่า การมุ่งได้พื้นที่จากสื่อเป็นรายวัน โดยปราศจากเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ
4.ขอเรียกร้องให้ประชาชนร่วมต่อต้านการซื้อเสียงและการทุจริตการเลือกตั้ง และเรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งปฎิบัติหน้าที่อย่างเที่ยงตรงและเข้มงวด 5.ขอเรียกร้องให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ตัดสินใจเลือกบุคคลหรือพรรคการเมืองที่จะเข้ามาบริหารประเทศ บนพื้นฐานของข้อมูล ข้อเท็จจริง6.ขอเรียกร้องให้ประชาชนไปใช้สิทธิ์มากที่สุดและ 7.หลังการเลือกตั้ง ขอให้ทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้ง
ส่วนจุดยืนเรื่องนิรโทษกรรม นั้นขอเรียกร้องให้พรรคการเมืองที่ต้องการจะชูเรื่องนิรโทษกรรม เอานโยบายอื่นๆ ออกให้หมด ให้เหลือแค่เรื่องการชูนโยบายเรื่องนิรโทษกรรมอย่างเดียว จะได้ชัด
**พีเน็ตจัดดีเบต 23 มิ.ย. “ปู”ยังเงียบ
ทั้งนี้ มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย จะจัดให้มีการดีเบตในวันที่ 23 มิ.ย. 2554 เวลา 09.00 -12.00 น.ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน โดยในขณะนี้มี พรรคการเมืองที่ตกลงมาร่วมดีเบตอย่างเป็นทางการดังนี้ คือ พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พรรคชาติไทยพัฒนา นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร พรรคมาตุภูมิ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน พรรคภูมิใจไทย นายศุภชัย ใจสมุทร และขณะนี้กำลังรอการตอบรับจากพรรคเพื่อไทย คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าจะมาร่วมดีเบตหรือไม่ จนถึงวันที่ 17 มิ.ย. 2554 โดยจะมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์กรมประชาสัมพันธ์
ทั้งนี้ นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ ได้สอบถามปัญหากับ ผอ.กต.จังหวัด โดยได้สอบถามจ.อุบลราชธานี ถึงการตั้งหน่วยเลือกตั้งกลางที่มีระยะห่างกันเพียง 50 เมตร เพราะถูกวิจารณ์ว่าใกล้กันเกินหรือไม่ ซึ่งทาง ผอ.กต.จว.อุบลฯได้ชี้แจงว่า ในเขตเลือกตั้งที่ 1 ห่างกัน 50 เมตรจริง แต่ทั้งนี้ก็จะมีการกั้นแผงและป้ายประชาสัมพันธ์รอบบริเวณ เนื่องจากสถานที่คับแคบ
ส่วนของจ.บุรีรัมย์ ที่ถูกมองว่าเป็น 1ใน 10 จังหวัดที่ถูกจับตามเรื่องความรุนแรงนั้น ผอ.กต.จว.บุรีรัมย์ ชี้แจงว่าเรื่องการเตรียมการเลือกตั้ง ในส่วนของบุคคลกรมีความพร้อมหมดแล้ว ทั้งกรรมการประจำหน่วยก็ไม่มีปัญหา ส่วนการป้องปรามเรื่องเหตุรุนแรงก็ได้มีชุดหาข่าว ชุดป้องปรามฯ ชุดสืบสวนสอบสวนเคลื่อนที่เร็วปฏิบัติหน้าที่อยู่แล้ว
ขณะที่ ผอ.กต.จว.เชียงใหม่ แจ้งความเป็นห่วงในพื้นที่เขตเลือกตั้ง 5 ประกอบด้วย อ.ฝาง อ.แม่อาย และเขต 10 ประกอบด้วยอ.ฮอด และอ.อมก๋อย ซึ่งไม่ใช่ฐานเสียงของพรรคการเมืองใหญ่อาจจะมีการแข่งขันต่อสู้กันมาก อีกทั้งกระแสเรื่องการแสดงออกเชิงสัญญาลักษณ์ที่มีธงแดงติดอยู่ตามบ้าน ถนน เสาไฟฟ้า และยานพาหนะ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่านายบุญเกียรติ รักชาติเจริญ รองเลขาธิการ กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง ได้ชี้แจงเพิ่มเติมกับ ผอ.กต.จว.เชียงใหม่ว่า กรณีธงแดงหากติดใกล้กับหน่วยเลือกตั้งเป็นอำนาจหน้าที่ของกรรมการประจำหน่วยที่จะพิจารณาว่า ธงดังกล่าวบ่งบอกถึงการหาเสียงหรือไม่ หากเป็นคุณเป็นโทษให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แม้จะไม่ใช่ป้ายหาเสียง ก็ให้เป็นดุลยพินิจของกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งนำเอาออก
ผอ.กต.จว.ปัตตานี รายงานว่า มีเหตุยิงเอ็ม 79 ในพื้นที่โดยได้ขอกำลังจากหน่วยงานความมั่นคงมาดูแลความปลอดภัย แต่ทั้งนี้ยังไม่ได้รับงบประมาณจากกกต. ขณะที่นางสดศรี ได้กล่าวเสริมว่าขอร้องผู้ก่อการร้ายว่าอย่าก่อเหตุในช่วงเลือกตั้ง เพื่อให้บ้านเมืองเกิดความสงบเรียบร้อย โดยเฉพาะพื้นที่ทางภาคใต้ ขออย่างให้มีปัญหาเกี่ยวกับความร้ายแรง ทำลายทรัพย์สิน และทำร้ายร่างกายผู้มาใช้สิทธิ์และเจ้าหน้าที่ที่จัดการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามจะเร่งดำเนินการส่งงบฯไปให้จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากต้องใช้กำลังของเจ้าหน้าที่ทหารดูแลเป็นพิเศษ
ส่วนผอ.กต.จว.กทม. แจ้งว่าใน 6,506 หน่วยเลือกตั้งของ 33 เขต พบปัญหามากที่สุดคือเรื่องกรรมการประจำหน่วย ที่ กกต.กทม.ได้รับแจ้งว่าขาดกรรมการประจำหน่วย 20 เขต และมี 3 เขตขาดกรรมการประจำหน่วย 500-1,000 คน และยังมีอีก 5 เขตที่ยังขาดกรรมการประจำหน่วยตั้งแต่ 400 คนขึ้นไป ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนางสดศรี กล่าวว่าจะระดมคนของ กกต.กลางไปช่วยในจุดที่ กกต. กทม.ขาดแคลน แต่หากไม่พอจริงๆ กกต.ทั้ง 5 คนก็จะลงไปช่วยด้วยตัวเอง
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้มีร้องเรียนคัดค้านการเลือกตั้งเข้ามาทั้งหมด 26 เรื่อง และการแจ้งเบาะแส 140 เรื่อง ซึ่งอยู่ระหว่างเร่งการดำเนินการสืบสวนสอบสวน
ด้าน นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีที่ สหภาพยุโรป หรือ อียู จะเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งในประเทศไทย ว่า ทางกกต.พร้อมที่จะให้อียูมาสังเกตการณ์ เนื่องจากสมาชิกอียูก็มีสถานทูต อยู่ในประเทศไทย และเขาก็ได้เชิญตนไปหารือแล้ว ซึ่งก็บอกว่าไม่ขัดข้องเพราะเรามั่นใจว่า กกต.เราจัดการเลือกตั้งได้มาตรฐานสากล อย่างไรก็ตามการเข้ามาของอียูเป็นลักษณะประสานงานเข้ามาไม่ใช่การทำบันทึกข้อตกลง(เอ็มโอยู) ร่วมกัน ทั้งนี้ยังเชื่อว่าอียูจะรับรองผลการเลือกตั้งของไทย เพราะเราจัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสากล
**พีเน็ตจี้พรรคแยกนิรโทษ – นโยบาย ให้ชัด
ที่บ้านมนังคศิลา มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย ออกแถลงการณ์ร่วม 16 องค์กรประชาธิปไตย เพื่อแสดงจุดยืนในการเลือกตั้งได้แก่ 1. บรรยากาศการเลือกตั้ง ควรมีความปรองดองอย่างแท้จริง2.การนำเสนอข่าว ควรนำเสนอในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เป็นกลาง และตรงกับข้อเท็จจริง 3.พรรคการเมือง หรือผู้นำพรรคการเมือง ต้องมีความกล้าหาญในการนำเสนอตนเอง วิสัยทัศน์ และนโยบายต่อประชาชน มากกว่า การมุ่งได้พื้นที่จากสื่อเป็นรายวัน โดยปราศจากเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ
4.ขอเรียกร้องให้ประชาชนร่วมต่อต้านการซื้อเสียงและการทุจริตการเลือกตั้ง และเรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งปฎิบัติหน้าที่อย่างเที่ยงตรงและเข้มงวด 5.ขอเรียกร้องให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ตัดสินใจเลือกบุคคลหรือพรรคการเมืองที่จะเข้ามาบริหารประเทศ บนพื้นฐานของข้อมูล ข้อเท็จจริง6.ขอเรียกร้องให้ประชาชนไปใช้สิทธิ์มากที่สุดและ 7.หลังการเลือกตั้ง ขอให้ทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้ง
ส่วนจุดยืนเรื่องนิรโทษกรรม นั้นขอเรียกร้องให้พรรคการเมืองที่ต้องการจะชูเรื่องนิรโทษกรรม เอานโยบายอื่นๆ ออกให้หมด ให้เหลือแค่เรื่องการชูนโยบายเรื่องนิรโทษกรรมอย่างเดียว จะได้ชัด
**พีเน็ตจัดดีเบต 23 มิ.ย. “ปู”ยังเงียบ
ทั้งนี้ มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย จะจัดให้มีการดีเบตในวันที่ 23 มิ.ย. 2554 เวลา 09.00 -12.00 น.ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน โดยในขณะนี้มี พรรคการเมืองที่ตกลงมาร่วมดีเบตอย่างเป็นทางการดังนี้ คือ พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พรรคชาติไทยพัฒนา นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร พรรคมาตุภูมิ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน พรรคภูมิใจไทย นายศุภชัย ใจสมุทร และขณะนี้กำลังรอการตอบรับจากพรรคเพื่อไทย คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าจะมาร่วมดีเบตหรือไม่ จนถึงวันที่ 17 มิ.ย. 2554 โดยจะมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์กรมประชาสัมพันธ์