ASTVผู้จัดการรายวัน-“คมนาคม”ตีกลับแผนย้ายหมอชิตใหม่ ชี้ที่เดิมทำเลเหมาะสมศูนย์กลางขนส่งเชื่อมทั้งรถไฟ,รถไฟฟ้าและรถเมล์ สั่งบขส.เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียระหว่างย้ายกับปรับปรุงที่เดิม พร้อมตั้งข้อสังเกตอนาคต ประชาชนมีทางเลือกเพิ่มทั้งรถไฟความเร็วสูงและโลว์คอสต์ ไม่เชื่อผู้โดยสารบขส.เพิ่มเป็น 2 แสนคนต่อวัน
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังการประชุมโครงการก่อสร้างสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือและสายเหนือแห่งใหม่ แทนที่สถานีขนส่งกรุงเทพ (หมอชิต) ของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) วานนี้(13 มิ.ย.) ว่า บขส.เสนอแผนย้ายสถานีขนส่งไปที่แห่งใหม่ เนื่องจากพื้นที่ปัจจุบันมีความแออัด โดยขณะนี้มีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 1.1 แสนคน และคาดว่าจะเพิ่มเป็นวันละ 2 แสนคนในอีก 20 ปีข้างหน้า แต่แผนที่เสนอมานั้นยังมีข้อมูลไม่ครบถ้วน จึงให้กลับไปทำรายละเอียดเพิ่มเติม โดยต้องเปรียบเทียบระหว่างการย้ายไปที่ใหม่ว่า จะต้องใช้พื้นที่และลงทุนเท่าไร โดยเฉพาะจะมีผลกระทบกับผู้โดยสารอย่างไร จะเชื่อมต่อการเดินทางอย่างไร ผู้โดยสารจะได้รับผลกระทบหรือไม่ กับการพัฒนาพื้นที่ปัจจุบัน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทั้งรถไฟ,รถไฟฟ้า
ทั้งนี้ หลักการของสถานีขนส่งคือ จะต้องสามารถเชื่อมโยงการเดินทางทั้งรถไฟ รถไฟฟ้าและรถเมล์ ซึ่งพื้นที่ปัจจุบันมีความเหมาะสม เพราะในอนาคตการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะพัฒนาสถานีบางซื่อเป็นจุดศูนย์กลางรถไฟทางไกลแทนหัวลำโพง มีรถไฟฟ้าสายสีแดงและอู่จอดรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) สามารถกระจายผู้โดยสารไปยังระบบขนส่งแต่ละโหมดและแต่ละเส้นทางได้สะดวก นอกจากนี้บขส.จะต้องประเมินผลกระทบจากโครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน) 5 เส้นทางและสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์ แอร์ไลน์) ซึ่งจะเป็นทางเลือกการเดินทางในอนาคตกับตำนวนผู้โดยสารของบขส.อย่างไร
“บขส.ต้องไปดูว่า ในอนาคตรูปแบบการเดินทางของประชาชนจะเปลี่ยนไปอย่างไร เพราะจะมีทั้งรถไฟความเร็วสูง สายการบินต้นทุนต่ำก็จะมีมากขึ้น ที่คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 2 แสนคนต่อวันใน 20 ปีจะเป็นไปตามที่คาดไว้หรือไม่ กรณีใช้พื้นที่เดิมก็ต้องทำแผนว่าจะพัฒนาปรับปรุงพื้นที่และอาคารอย่างไร ให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวก โดยมีพื้นที่รวมประมาณ 100 ไร่ เป็นส่วนของบขส.ที่เช่าจาก ร.ฟ.ท.ประมาณ 70 ไร่ และเป็นพื้นที่ของ ขสมก.อีกกว่า 10 ไร่ และต้องปรับปรุงถนนเข้า-ออกสถานีอย่างไร ส่วนการย้ายไปที่ใหม่ ตามแผนเบื้องต้นจะใช้เงินลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม บขส.จะต้องจัดทำรายละเอียดและเสนอเป็นภาพรวมเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าควรจะย้ายหรือพัฒนาปรับปรุงพื้นที่เดิม ซึ่งตามขั้นตอนและต้องนำเสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาในเรื่องของงบลงทุนและต้องรอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ เป็นผู้พิจารณา
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังการประชุมโครงการก่อสร้างสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือและสายเหนือแห่งใหม่ แทนที่สถานีขนส่งกรุงเทพ (หมอชิต) ของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) วานนี้(13 มิ.ย.) ว่า บขส.เสนอแผนย้ายสถานีขนส่งไปที่แห่งใหม่ เนื่องจากพื้นที่ปัจจุบันมีความแออัด โดยขณะนี้มีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 1.1 แสนคน และคาดว่าจะเพิ่มเป็นวันละ 2 แสนคนในอีก 20 ปีข้างหน้า แต่แผนที่เสนอมานั้นยังมีข้อมูลไม่ครบถ้วน จึงให้กลับไปทำรายละเอียดเพิ่มเติม โดยต้องเปรียบเทียบระหว่างการย้ายไปที่ใหม่ว่า จะต้องใช้พื้นที่และลงทุนเท่าไร โดยเฉพาะจะมีผลกระทบกับผู้โดยสารอย่างไร จะเชื่อมต่อการเดินทางอย่างไร ผู้โดยสารจะได้รับผลกระทบหรือไม่ กับการพัฒนาพื้นที่ปัจจุบัน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทั้งรถไฟ,รถไฟฟ้า
ทั้งนี้ หลักการของสถานีขนส่งคือ จะต้องสามารถเชื่อมโยงการเดินทางทั้งรถไฟ รถไฟฟ้าและรถเมล์ ซึ่งพื้นที่ปัจจุบันมีความเหมาะสม เพราะในอนาคตการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะพัฒนาสถานีบางซื่อเป็นจุดศูนย์กลางรถไฟทางไกลแทนหัวลำโพง มีรถไฟฟ้าสายสีแดงและอู่จอดรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) สามารถกระจายผู้โดยสารไปยังระบบขนส่งแต่ละโหมดและแต่ละเส้นทางได้สะดวก นอกจากนี้บขส.จะต้องประเมินผลกระทบจากโครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน) 5 เส้นทางและสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์ แอร์ไลน์) ซึ่งจะเป็นทางเลือกการเดินทางในอนาคตกับตำนวนผู้โดยสารของบขส.อย่างไร
“บขส.ต้องไปดูว่า ในอนาคตรูปแบบการเดินทางของประชาชนจะเปลี่ยนไปอย่างไร เพราะจะมีทั้งรถไฟความเร็วสูง สายการบินต้นทุนต่ำก็จะมีมากขึ้น ที่คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 2 แสนคนต่อวันใน 20 ปีจะเป็นไปตามที่คาดไว้หรือไม่ กรณีใช้พื้นที่เดิมก็ต้องทำแผนว่าจะพัฒนาปรับปรุงพื้นที่และอาคารอย่างไร ให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวก โดยมีพื้นที่รวมประมาณ 100 ไร่ เป็นส่วนของบขส.ที่เช่าจาก ร.ฟ.ท.ประมาณ 70 ไร่ และเป็นพื้นที่ของ ขสมก.อีกกว่า 10 ไร่ และต้องปรับปรุงถนนเข้า-ออกสถานีอย่างไร ส่วนการย้ายไปที่ใหม่ ตามแผนเบื้องต้นจะใช้เงินลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม บขส.จะต้องจัดทำรายละเอียดและเสนอเป็นภาพรวมเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าควรจะย้ายหรือพัฒนาปรับปรุงพื้นที่เดิม ซึ่งตามขั้นตอนและต้องนำเสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาในเรื่องของงบลงทุนและต้องรอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ เป็นผู้พิจารณา