เอเอฟพี - ราคาอาหารและราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่พุ่งสูง กำลังส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้าลงในปีนี้ ทั้งนี้เวิลด์แบงก์ยืนยันในรายงานคาดการณ์ฉบับล่าสุดที่นำออกเผยแพร่เมื่อวันอังคาร(7) โดยที่ได้ลดตัวเลขทำนายอัตราเติบโตของเศรษฐกิจโลกปี 2011 ลงเหลือ 3.2% ต่ำลงมา 0.1% จากที่เคยให้ได้ในเดือนมกราคม อีกทั้งถอยอย่างแรงจากระดับ 3.8% ที่สามารถทำได้ในปี 2010
ในฉบับล่าสุดของรายงาน “คาดการณ์เศรษฐกิจโลก” (Global Economic Prospects) ที่ธนาคารโลกจัดทำปีละ 2 ฉบับ มองว่าเมื่อถึงปีหน้าเศรษฐกิจของพื้นพิภพจะสามารถกลับกระเตื้องฟื้นตัวได้ดีขึ้น ทว่า จัสติน หลิน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเวิลด์แบงก์ก็กล่าวเตือนเอาไว้ด้วยว่า “ถ้าหากราคาน้ำมันและอาหารที่สูงอยู่แล้วยังคงขยับขึ้นไปอีก ก็อาจจะส่งผลบั่นทอนอย่างสำคัญต่ออัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ และสร้างความเดือดร้อนให้แก่คนยากคนจน
รายงานล่าสุดของเวิลด์แบงก์ฉบับนี้คาดการณ์ว่า พวกประเทศรายได้สูงที่เป็นตัวการสำคัญของวิกฤตภาคการเงินโลกปี 2008-09 จะยังคงอยู่ในสภาพต้องดิ้นรนหนักเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยที่อัตราเติบโตของพวกเขาจะชะลอลงจากระดับ 2.7% ในปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 2.2% ในปีนี้ ซึ่งต่ำลงกว่าอัตรา 2.4% ที่ธนาคารโลกเคยให้ไว้ในรายงานคาดการณ์ฉบับก่อนที่เผยแพร่เมื่อเดือนมกราคม
ในระหว่างการแถลงข่าวที่สำนักงานใหญ่ของเวิลด์แบงก์ในกรุงวอชิงตัน แอนดริว เบิร์นส์ ผู้เขียนหลักของรายงานฉบับล่าสุดนี้ ได้พูดสำทับว่า พวกประเทศร่ำรวยเหล่านี้ “มีงานในด้านการปรับโครงสร้างที่จะต้องกระทำคิดเป็นสัดส่วนมากที่สุด”
เบิร์นส์ระบุว่า สหรัฐฯกำลังอยู่ในภาวะ “อัตราเติบโตหยุดพัก” ทว่า “ไม่น่า” ที่จะย่ำแย่ถึงขนาดถลำลงสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างแรงอีกรอบหนึ่ง (double-dip recession) ทัศนะเช่นนี้ก็เป็นไปในทำนองเดียวกับคำแถลงของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯที่ออกมาก่อนหน้านี้ในวันอังคารเช่นกัน โดยที่โอบามาบอกว่า เขา “ไม่เป็นห่วงว่าจะถึงขั้นเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ดับเบิล-ดีป”
ทั้งนี้เวิลด์แบงก์คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯปีนี้จะเติบโตเพียง 2.6% แต่จะเร่งตัวขึ้นเป็น 2.9% ในปี 2012
รายงานของธนาคารโลกบอกด้วยว่า ภัยพิบัติแผ่นดินไหว-สึนามิที่ถล่มญี่ปุ่นในวันที่ 11 มีนาคม รวมทั้งความไม่สงบในโลกอาหรับ ถึงแม้กำลังส่งผลกระทบกระเทือนอย่างแรงต่ออัตราเติบโตภายในประเทศเหล่านี้เอง แต่จะเป็นตัวบั่นทอนการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกโดยรวมไม่มากนัก
ทั้งนี้ภัยพิบัติในญี่ปุ่นทำให้เกิดภาวะชะงักงันในหลายอุตสาหกรรมของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากแดนอาทิตย์อุทัยเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนสำคัญหลายๆ อย่างของอุตสาหกรรมเหล่านี้ ส่วนความผันผวนทางการเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ก็ทำให้เศรษฐกิจของชาติเหล่านี้ประสบปัญหา ตลอดจนเป็นปัจจัยผลักดันราคาน้ำมันให้พุ่งลิ่ว
เบิร์นส์ระบุว่า จากการที่ราคาน้ำมันโลกกระโจนพรวดขึ้นถึงราวๆ 30 ดอลลาร์นับตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้วไปจนถึงระยะขึ้นสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้นั้น การที่ผลผลิตน้ำมันของลิเบียได้ลดต่ำลงอย่างฮวบฮาบตั้งแต่เกิดการลุกฮือเรียกร้องประชาธิปไตย เป็นสาเหตุอยู่ประมาณ 15 ถึง 20 ดอลลาร์ทีเดียว
ทางด้านยุโรป รายงานของเวิลด์แบงก์มองว่า การฟื้นตัวของทวีปนี้ยังคงต้องเผชิญกับอุปสรรคอันหนักหนาสาหัส ซึ่งก็คือ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับวิกฤตหนี้สินในหลายชาติยูโรโซน พร้อมกับคาดการณ์ว่ากลุ่ม 17 ชาติยูโรโซนจะเติบโตในปีนี้ด้วยอัตรา 1.7% เท่ากับปีที่แล้ว ขณะที่ในปีหน้าก็ยังจะขยับขึ้นนิดเดียวเป็น 1.8%
ตรงกันข้ามกับพวกประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งสามารถผ่านพ้นภาวะตกต่ำของเศรษฐกิจโลกรอบนี้ได้อย่างค่อนข้างสบาย และกำลังกลายเป็นแรงกระตุ้นสำหรับการฟื้นตัวของทั่วโลกด้วยซ้ำ อย่างไรก็ดี รายงานของธนาคารโลกเตือนว่า การเติบโตอย่างสูงลิ่วของพวกประเทศกำลังพัฒนา ก่อให้เกิดความต้องการอย่างมากในสินค้าโภคภัณพ์ ดังนั้นจึงกระตุ้นให้ราคากระโจนขึ้นแรง
“ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ได้หวนคืนสู่ระดับการผลิตในช่วงก่อนวิกฤตของพวกตนได้สำเร็จแล้ว” หลินระบุในที่ประชุมแถลงข่าว และชี้ว่า “เวลานี้พวกเขาจะต้องปรับเปลี่ยนนโยบายด้านเศรษฐกิจมหภาคของพวกเขา จากนโยบายการเงินและการคลังแบบเงินเฟ้อเพื่อต่อสู้กับวัฏจักร (ขาลง) ทางเศรษฐกิจ มาสู่จุดยืนทางนโยบายที่มีความเป็นกลางมากขึ้น”
เนื่องจากพวกประเทศกำลังพัฒนามีการใช้ความสามารถผลิตกันจนเกือบเต็มที่แล้ว ดังนั้นรายงานของเวิลด์แบงก์จึงคาดการณ์ว่า อัตราเติบโตโดยรวมของพวกเขาจะช้าลงจาก 7.3% ในปี 2010 มาอยู่ในอัตรา 6.3% ต่อปีตั้งแต่ปี 2011 ถึง 2013
ในกรณีของจีน ธนาคารโลกพยากรณ์ว่าอัตราเติบโตจะชะลอลงจาก 10.3%ในปีที่แล้ว มาเป็น 9.3%ในปีนี้ และอยู่ที่ราว 8.7% ในปี 2012 และ 2013
สำหรับราคาน้ำมันดิบนั้น ภายหลังระดับเฉลี่ยในปีที่แล้วอยู่ที่ราวๆ 79 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เวิลด์แบงก์คาดการณ์ว่าในปีนี้จะขึ้นไปถึง 107.20 ดอลลาร์ ก่อนที่จะถอยลงมาเล็กน้อย
ในฉบับล่าสุดของรายงาน “คาดการณ์เศรษฐกิจโลก” (Global Economic Prospects) ที่ธนาคารโลกจัดทำปีละ 2 ฉบับ มองว่าเมื่อถึงปีหน้าเศรษฐกิจของพื้นพิภพจะสามารถกลับกระเตื้องฟื้นตัวได้ดีขึ้น ทว่า จัสติน หลิน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเวิลด์แบงก์ก็กล่าวเตือนเอาไว้ด้วยว่า “ถ้าหากราคาน้ำมันและอาหารที่สูงอยู่แล้วยังคงขยับขึ้นไปอีก ก็อาจจะส่งผลบั่นทอนอย่างสำคัญต่ออัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ และสร้างความเดือดร้อนให้แก่คนยากคนจน
รายงานล่าสุดของเวิลด์แบงก์ฉบับนี้คาดการณ์ว่า พวกประเทศรายได้สูงที่เป็นตัวการสำคัญของวิกฤตภาคการเงินโลกปี 2008-09 จะยังคงอยู่ในสภาพต้องดิ้นรนหนักเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยที่อัตราเติบโตของพวกเขาจะชะลอลงจากระดับ 2.7% ในปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 2.2% ในปีนี้ ซึ่งต่ำลงกว่าอัตรา 2.4% ที่ธนาคารโลกเคยให้ไว้ในรายงานคาดการณ์ฉบับก่อนที่เผยแพร่เมื่อเดือนมกราคม
ในระหว่างการแถลงข่าวที่สำนักงานใหญ่ของเวิลด์แบงก์ในกรุงวอชิงตัน แอนดริว เบิร์นส์ ผู้เขียนหลักของรายงานฉบับล่าสุดนี้ ได้พูดสำทับว่า พวกประเทศร่ำรวยเหล่านี้ “มีงานในด้านการปรับโครงสร้างที่จะต้องกระทำคิดเป็นสัดส่วนมากที่สุด”
เบิร์นส์ระบุว่า สหรัฐฯกำลังอยู่ในภาวะ “อัตราเติบโตหยุดพัก” ทว่า “ไม่น่า” ที่จะย่ำแย่ถึงขนาดถลำลงสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างแรงอีกรอบหนึ่ง (double-dip recession) ทัศนะเช่นนี้ก็เป็นไปในทำนองเดียวกับคำแถลงของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯที่ออกมาก่อนหน้านี้ในวันอังคารเช่นกัน โดยที่โอบามาบอกว่า เขา “ไม่เป็นห่วงว่าจะถึงขั้นเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ดับเบิล-ดีป”
ทั้งนี้เวิลด์แบงก์คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯปีนี้จะเติบโตเพียง 2.6% แต่จะเร่งตัวขึ้นเป็น 2.9% ในปี 2012
รายงานของธนาคารโลกบอกด้วยว่า ภัยพิบัติแผ่นดินไหว-สึนามิที่ถล่มญี่ปุ่นในวันที่ 11 มีนาคม รวมทั้งความไม่สงบในโลกอาหรับ ถึงแม้กำลังส่งผลกระทบกระเทือนอย่างแรงต่ออัตราเติบโตภายในประเทศเหล่านี้เอง แต่จะเป็นตัวบั่นทอนการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกโดยรวมไม่มากนัก
ทั้งนี้ภัยพิบัติในญี่ปุ่นทำให้เกิดภาวะชะงักงันในหลายอุตสาหกรรมของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากแดนอาทิตย์อุทัยเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนสำคัญหลายๆ อย่างของอุตสาหกรรมเหล่านี้ ส่วนความผันผวนทางการเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ก็ทำให้เศรษฐกิจของชาติเหล่านี้ประสบปัญหา ตลอดจนเป็นปัจจัยผลักดันราคาน้ำมันให้พุ่งลิ่ว
เบิร์นส์ระบุว่า จากการที่ราคาน้ำมันโลกกระโจนพรวดขึ้นถึงราวๆ 30 ดอลลาร์นับตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้วไปจนถึงระยะขึ้นสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้นั้น การที่ผลผลิตน้ำมันของลิเบียได้ลดต่ำลงอย่างฮวบฮาบตั้งแต่เกิดการลุกฮือเรียกร้องประชาธิปไตย เป็นสาเหตุอยู่ประมาณ 15 ถึง 20 ดอลลาร์ทีเดียว
ทางด้านยุโรป รายงานของเวิลด์แบงก์มองว่า การฟื้นตัวของทวีปนี้ยังคงต้องเผชิญกับอุปสรรคอันหนักหนาสาหัส ซึ่งก็คือ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับวิกฤตหนี้สินในหลายชาติยูโรโซน พร้อมกับคาดการณ์ว่ากลุ่ม 17 ชาติยูโรโซนจะเติบโตในปีนี้ด้วยอัตรา 1.7% เท่ากับปีที่แล้ว ขณะที่ในปีหน้าก็ยังจะขยับขึ้นนิดเดียวเป็น 1.8%
ตรงกันข้ามกับพวกประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งสามารถผ่านพ้นภาวะตกต่ำของเศรษฐกิจโลกรอบนี้ได้อย่างค่อนข้างสบาย และกำลังกลายเป็นแรงกระตุ้นสำหรับการฟื้นตัวของทั่วโลกด้วยซ้ำ อย่างไรก็ดี รายงานของธนาคารโลกเตือนว่า การเติบโตอย่างสูงลิ่วของพวกประเทศกำลังพัฒนา ก่อให้เกิดความต้องการอย่างมากในสินค้าโภคภัณพ์ ดังนั้นจึงกระตุ้นให้ราคากระโจนขึ้นแรง
“ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ได้หวนคืนสู่ระดับการผลิตในช่วงก่อนวิกฤตของพวกตนได้สำเร็จแล้ว” หลินระบุในที่ประชุมแถลงข่าว และชี้ว่า “เวลานี้พวกเขาจะต้องปรับเปลี่ยนนโยบายด้านเศรษฐกิจมหภาคของพวกเขา จากนโยบายการเงินและการคลังแบบเงินเฟ้อเพื่อต่อสู้กับวัฏจักร (ขาลง) ทางเศรษฐกิจ มาสู่จุดยืนทางนโยบายที่มีความเป็นกลางมากขึ้น”
เนื่องจากพวกประเทศกำลังพัฒนามีการใช้ความสามารถผลิตกันจนเกือบเต็มที่แล้ว ดังนั้นรายงานของเวิลด์แบงก์จึงคาดการณ์ว่า อัตราเติบโตโดยรวมของพวกเขาจะช้าลงจาก 7.3% ในปี 2010 มาอยู่ในอัตรา 6.3% ต่อปีตั้งแต่ปี 2011 ถึง 2013
ในกรณีของจีน ธนาคารโลกพยากรณ์ว่าอัตราเติบโตจะชะลอลงจาก 10.3%ในปีที่แล้ว มาเป็น 9.3%ในปีนี้ และอยู่ที่ราว 8.7% ในปี 2012 และ 2013
สำหรับราคาน้ำมันดิบนั้น ภายหลังระดับเฉลี่ยในปีที่แล้วอยู่ที่ราวๆ 79 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เวิลด์แบงก์คาดการณ์ว่าในปีนี้จะขึ้นไปถึง 107.20 ดอลลาร์ ก่อนที่จะถอยลงมาเล็กน้อย