บีบีซีนิวส์ – สงครามปราบปรามกวาดล้างยาเสพติดในทั่วโลก กำลังประสบ “ความเพลี่ยงพล้ำล้มเหลว” ทั้งนี้ตามรายงานฉบับใหม่ที่จัดทำโดยกลุ่มนักการเมืองและอดีตผู้นำโลกหลายๆ ท่าน
รายงานของ “คณะกรรมาธิการระดับโลกว่าด้วยนโยบายยาเสพติด” (Global Commission on Drug Policy) ฉบับนี้ เสนอแนะให้ออกกฎหมายยอมรับยาเสพติดบางชนิด เช่น กัญชา ตลอดจนให้ยุติการปฏิบัติต่อผู้ใช้ยาเสพติดเสมือนเป็นอาชญากร
คณะกรรมาธิการ 19 คนที่จัดทำรายงานชุดนี้ มีอาทิเช่น อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ โคฟี อันนัน, อดีตประธานาธิบดี เอร์เนสโต เซดีโย แห่งเม็กซิโก, อดีตประธานาธิบดี เฟร์นันโด เอนริเก การ์โดโซ แห่งบราซิล, อดีตประธานาธิบดี เซซาร์ กาบิเรีย แห่งโคลอมเบีย, อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ พอล โวลค์เกอร์, ตลอดจน จอร์จ ปาปันเดรอู ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของกรีซ, และ เซอร์ริชาร์ด แบรนสัน นักธุรกิจชื่อดังชาวอังกฤษ
นอกจากนั้น สมาชิกในคณะกรรมาธิการยังมีนักเขียนคนสำคัญมากของละตินอเมริกา อย่าง การ์โลส ฟูเอนเตส, และ มาริโอ บาร์กัส โยซา, รวมทั้ง ฆาเบียร์ โซลานา อดีตประธานด้านนโยบายการต่างประเทศของสหภาพยุโรป(อียู), และ จอร์จ ชูลซ์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ
รายงานของคณะกรรมาธิการชุดนี้โต้แย้งว่า นโยบายต่อต้านยาเสพติดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ต้องถือว่าล้มเหลว เนื่องจากกำลังกลายเป็นการเติมเชื้อเพลิงให้แก่พวกแก๊งอาชญากรรม, สิ้นเปลืองเงินทองของผู้เสียภาษีเป็นจำนวนมหาศาล, และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเป็นเรือนพันเรือนหมื่น
ขณะที่ตามการประมาณการของสหประชาชาตินั้น ในช่วงระหว่างปี 1998 จนถึงปี 2008 ทั่วโลกกลับมีการใช้ยาเสพติดจำพวกฝิ่นเพิ่มขึ้น 35%, โคเคนเพิ่มขึ้น 27%, และกัญชา 8.5%
รายงานฉบับนี้วิพากษ์วิจารณ์บรรดารัฐบาลที่อ้างว่า สงครามปราบปรามกวาดล้างยาเสพติดที่ทำกันอยู่ในเวลานี้ ได้ผลดีมีประสิทธิภาพ โดยกล่าวว่า “ผู้นำทางการเมืองและบุคคลสาธารณะทั้งหลายควรมีความกล้าหาญที่จะออกมาประกาศอย่างชัดเจนต่อสาธารณชน ในสิ่งที่พวกเขาจำนวนมากยอมรับอยู่แล้วในการสนทนากันเป็นการส่วนตัว นั่นก็คือ มีหลักฐานอันมากมายท่วมท้นที่สาธิตให้เห็นว่า พวกยุทธศาสตร์ในการปราบปรามทั้งหลายนั้นจะไม่สามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดได้ และสงครามปราบปรามกวาดล้างยาเสพติดก็เป็นการทำสงครามที่ยังไม่ชนะ และไม่สามารถที่จะชนะได้เลย”
แทนที่จะมุ่งลงโทษผู้เสพที่ “ไม่ได้เป็นอันตรายต่อคนอื่นๆ” รายงานฉบับนี้โต้แย้งว่ารัฐบาลทั้งหลายควรที่จะยุติการประกาศให้การใช้ยาเสพติดเป็นความผิดอาญา, ทำการทดลองโมเดลทางกฎหมายต่างๆ ที่จะเป็นการทำลายแก๊งอาชญากรรม, ตลอดจนเสนอบริการด้านสาธารณสุขและด้านการบำบัดรักษาให้แก่ผู้เสพยา
รายงานของคณะกรรมาธิการชุดนี้ยังเรียกร้องให้จัดทำนโยบายเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งอิงอยู่กับวิธีการอันมีหลักฐานอันปราศจากอคติมาพิสูจน์ยืนยันให้เห็นจริงว่า สามารถที่จะลดอาชญากรรมลงได้ และส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและทางสังคม
ในรายงานฉบับนี้ คณะกรรมาธิการชุดนี้ได้แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์สหรัฐฯมากเป็นพิเศษ โดยระบุว่าสหรัฐฯควรต้องเลิกนำเอาวิธีแก้ปัญหาแบบต่อต้านอาชญากรรมมาใช้ในการจัดทำนโยบายยาเสพติด รวมทั้งควรต้องใช้ยุทธศาสตร์ต่างๆ ซึ่งมีรากเหง้าในทางด้านการดูแลสุขภาพและการเคารพสิทธิมนุษยชน
“เราหวังว่า อย่างน้อยที่สุด ประเทศนี้ (สหรัฐฯ) จะเริ่มต้นคิดกันเสียทีว่า ยังมีทางเลือกอื่นๆ อีก” อดีตประธานาธิบดีเซซาร์ กาบิเรีย แห่งโคลอมเบีย กล่าว “เรายังมองไม่เห็นว่าสหรัฐฯกำลังวิวัฒนาการไปในเส้นทางที่จะสอดรับเข้ากันได้กับผลประโยชน์ในระยะยาวของ (ประเทศ) เรา”
อย่างไรก็ตาม สำนักงานของ กิล เคอร์ลิโควสเก “ซาร์ยาเสพติด” แห่งทำเนียบขาว ได้ออกมาแถลงปฏิเสธข้อเสนอต่างๆ ของคณะกรรมาธิการชุดนี้อย่างทันทีทันควัน
“การติดยาเสพติดคือโรคที่สามารถทำการป้องกันและให้การบำบัดรักษาอย่างประสบความสำเร็จได้” เป็นคำแถลงของผู้ทำหน้าที่เป็นโฆษกให้สำนักงานของเอค์ลิโควสเก ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “สำนักงานนโยบายควบคุมยาเสพติดแห่งชาติ”
“การทำให้ยาเสพติดกลายเป็นสิ่งที่หามาเสพได้สะดวกง่ายดายยิ่งขึ้น ดังที่รายงานฉบับนี้เสนอแนะเอาไว้นั้น มีแต่จะทำให้เป็นเรื่องยากลำบากมากขึ้นอีก ในการทำให้ประชาคมของเรามีสุขภาพดีและปลอดภัย”
รายงานของ “คณะกรรมาธิการระดับโลกว่าด้วยนโยบายยาเสพติด” (Global Commission on Drug Policy) ฉบับนี้ เสนอแนะให้ออกกฎหมายยอมรับยาเสพติดบางชนิด เช่น กัญชา ตลอดจนให้ยุติการปฏิบัติต่อผู้ใช้ยาเสพติดเสมือนเป็นอาชญากร
คณะกรรมาธิการ 19 คนที่จัดทำรายงานชุดนี้ มีอาทิเช่น อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ โคฟี อันนัน, อดีตประธานาธิบดี เอร์เนสโต เซดีโย แห่งเม็กซิโก, อดีตประธานาธิบดี เฟร์นันโด เอนริเก การ์โดโซ แห่งบราซิล, อดีตประธานาธิบดี เซซาร์ กาบิเรีย แห่งโคลอมเบีย, อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ พอล โวลค์เกอร์, ตลอดจน จอร์จ ปาปันเดรอู ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของกรีซ, และ เซอร์ริชาร์ด แบรนสัน นักธุรกิจชื่อดังชาวอังกฤษ
นอกจากนั้น สมาชิกในคณะกรรมาธิการยังมีนักเขียนคนสำคัญมากของละตินอเมริกา อย่าง การ์โลส ฟูเอนเตส, และ มาริโอ บาร์กัส โยซา, รวมทั้ง ฆาเบียร์ โซลานา อดีตประธานด้านนโยบายการต่างประเทศของสหภาพยุโรป(อียู), และ จอร์จ ชูลซ์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ
รายงานของคณะกรรมาธิการชุดนี้โต้แย้งว่า นโยบายต่อต้านยาเสพติดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ต้องถือว่าล้มเหลว เนื่องจากกำลังกลายเป็นการเติมเชื้อเพลิงให้แก่พวกแก๊งอาชญากรรม, สิ้นเปลืองเงินทองของผู้เสียภาษีเป็นจำนวนมหาศาล, และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเป็นเรือนพันเรือนหมื่น
ขณะที่ตามการประมาณการของสหประชาชาตินั้น ในช่วงระหว่างปี 1998 จนถึงปี 2008 ทั่วโลกกลับมีการใช้ยาเสพติดจำพวกฝิ่นเพิ่มขึ้น 35%, โคเคนเพิ่มขึ้น 27%, และกัญชา 8.5%
รายงานฉบับนี้วิพากษ์วิจารณ์บรรดารัฐบาลที่อ้างว่า สงครามปราบปรามกวาดล้างยาเสพติดที่ทำกันอยู่ในเวลานี้ ได้ผลดีมีประสิทธิภาพ โดยกล่าวว่า “ผู้นำทางการเมืองและบุคคลสาธารณะทั้งหลายควรมีความกล้าหาญที่จะออกมาประกาศอย่างชัดเจนต่อสาธารณชน ในสิ่งที่พวกเขาจำนวนมากยอมรับอยู่แล้วในการสนทนากันเป็นการส่วนตัว นั่นก็คือ มีหลักฐานอันมากมายท่วมท้นที่สาธิตให้เห็นว่า พวกยุทธศาสตร์ในการปราบปรามทั้งหลายนั้นจะไม่สามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดได้ และสงครามปราบปรามกวาดล้างยาเสพติดก็เป็นการทำสงครามที่ยังไม่ชนะ และไม่สามารถที่จะชนะได้เลย”
แทนที่จะมุ่งลงโทษผู้เสพที่ “ไม่ได้เป็นอันตรายต่อคนอื่นๆ” รายงานฉบับนี้โต้แย้งว่ารัฐบาลทั้งหลายควรที่จะยุติการประกาศให้การใช้ยาเสพติดเป็นความผิดอาญา, ทำการทดลองโมเดลทางกฎหมายต่างๆ ที่จะเป็นการทำลายแก๊งอาชญากรรม, ตลอดจนเสนอบริการด้านสาธารณสุขและด้านการบำบัดรักษาให้แก่ผู้เสพยา
รายงานของคณะกรรมาธิการชุดนี้ยังเรียกร้องให้จัดทำนโยบายเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งอิงอยู่กับวิธีการอันมีหลักฐานอันปราศจากอคติมาพิสูจน์ยืนยันให้เห็นจริงว่า สามารถที่จะลดอาชญากรรมลงได้ และส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและทางสังคม
ในรายงานฉบับนี้ คณะกรรมาธิการชุดนี้ได้แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์สหรัฐฯมากเป็นพิเศษ โดยระบุว่าสหรัฐฯควรต้องเลิกนำเอาวิธีแก้ปัญหาแบบต่อต้านอาชญากรรมมาใช้ในการจัดทำนโยบายยาเสพติด รวมทั้งควรต้องใช้ยุทธศาสตร์ต่างๆ ซึ่งมีรากเหง้าในทางด้านการดูแลสุขภาพและการเคารพสิทธิมนุษยชน
“เราหวังว่า อย่างน้อยที่สุด ประเทศนี้ (สหรัฐฯ) จะเริ่มต้นคิดกันเสียทีว่า ยังมีทางเลือกอื่นๆ อีก” อดีตประธานาธิบดีเซซาร์ กาบิเรีย แห่งโคลอมเบีย กล่าว “เรายังมองไม่เห็นว่าสหรัฐฯกำลังวิวัฒนาการไปในเส้นทางที่จะสอดรับเข้ากันได้กับผลประโยชน์ในระยะยาวของ (ประเทศ) เรา”
อย่างไรก็ตาม สำนักงานของ กิล เคอร์ลิโควสเก “ซาร์ยาเสพติด” แห่งทำเนียบขาว ได้ออกมาแถลงปฏิเสธข้อเสนอต่างๆ ของคณะกรรมาธิการชุดนี้อย่างทันทีทันควัน
“การติดยาเสพติดคือโรคที่สามารถทำการป้องกันและให้การบำบัดรักษาอย่างประสบความสำเร็จได้” เป็นคำแถลงของผู้ทำหน้าที่เป็นโฆษกให้สำนักงานของเอค์ลิโควสเก ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “สำนักงานนโยบายควบคุมยาเสพติดแห่งชาติ”
“การทำให้ยาเสพติดกลายเป็นสิ่งที่หามาเสพได้สะดวกง่ายดายยิ่งขึ้น ดังที่รายงานฉบับนี้เสนอแนะเอาไว้นั้น มีแต่จะทำให้เป็นเรื่องยากลำบากมากขึ้นอีก ในการทำให้ประชาคมของเรามีสุขภาพดีและปลอดภัย”