อีกประมาณ 30 กว่าวันเท่านั้น “การเลือกตั้ง” จะบังเกิดขึ้น และคงไม่มีใครกล้าฟันธงเหมือน “คุณเนวิน” ที่กล้าฟันธงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า “คุณปูยิ่งลักษณ์-คุณอภิสิทธิ์ ไม่มีโอกาสนั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างแน่นอน!” ก็ต้องเรียกว่า “สร้างกระแส” มีการรับลูกวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างต่อเนื่อง ไม่ต่ำกว่า 4-5 วันกันเลยทีเดียว
ส่วนผลการเลือกตั้งกับผลสำรวจที่ทยอยกันออกมานั้น ก็ต้องเฝ้าติดตามกันต่อไปเสมือน “3 วันดี 4 วันไข้!” ที่ผลสำรวจพลิกไปพลิกมา ซึ่ง “แสงแดด” ขอดัดจริตฟันธงกับเขาเหมือนกันว่า “พรรคเพื่อไทย-พรรคประชาธิปัตย์” จะมีคะแนนสูสีกันมาก น่าจะบวกลบแตกต่างกัน 5-10 คะแนนเท่านั้น กล่าวคือ พรรคเพื่อไทยสูงสุดน่าจะไม่เกิน 220-230 คะแนน และพรรคประชาธิปัตย์น่าจะ 215-255 คะแนน ต้องว่ากันต่อสัปดาห์หน้า
สัปดาห์นี้มาว่ากันในกรณีของ “บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)” ที่นำเสนอการตั้งบริษัทลูกหลานให้ก่อกำเนิด “สายการบินต้นทุนต่ำ” หรือมักเรียกกันว่า “โลว์คอสต์ แอร์ไลน์ (Low Cost Airline)” อีกแล้วครับท่าน!
ความพยายามของการคิดผลิตสายการบินต้นทุนต่ำนี้น่าเชื่อว่า “นายปิยสัวสดิ์ อัมระนันทน์” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของการบินไทย ประดิษฐ์คิดค้นแนวคิดมาโดยตลอด ตั้งแต่มานั่งเป็น “ดีดี-กรรมการผู้อำนวยการใหญ่” ของสายการบินแห่งชาตินี้
เริ่มตั้งแต่เจรจาเข้าซื้อหุ้นสายการบินนกแอร์ เพื่อความต้องการให้ได้สิทธิในการบริหารจัดการมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ถืออยู่ร้อยละ 39 แต่ปรากฏว่าการเจรจาเป็นอันต้องพังพาบไป สาเหตุสำคัญเกิดจากการเจรจาซื้อขายหุ้นกับทางธนาคารกรุงไทยไม่สามารถตกลงกันได้
ต่อมาคุณปิยสวัสดิ์ ดีดีการบินไทย ได้พยายาม “ร่วมมือ-จับมือ” กับสายการบินสิงคโปร์ต่างชาติ “ไทเกอร์ แอร์” เพื่อเหตุผลสำคัญกับการตั้งสายการบิน “ไทเกอร์ แอร์เวย์ส” แต่ดำเนินการมาอย่างอึกทึกครึกโครม ดูเสมือนว่าคุณปิยสวัสดิ์ “มั่นอกมั่นใจ” อย่างมาก ด้วยการแถลงข่าวใหญ่โตถึงความสำเร็จที่อยู่ใกล้แค่เอื้อม แต่ในที่สุดแล้ว ระยะเวลายืดยาวไป ตลอดจนเสียงคัดค้านมากมาย กรณีไทเกอร์ แอร์เวยส์ จึงจบลงด้วยการอ้างเหตุผลว่า “ข้อตกลงยืดเยื้อนานไป”
สุดท้ายสุด คุณปิยสวัสดิ์ ก็ยังไม่ลดละความพยายามด้วยไอเดียกระฉูดอีก กับการตั้งหน่วยธุรกิจภายในบริษัทการบินไทยเสียเอง ด้วยการตั้งหน่วยธุรกิจขึ้นมาดูแลสายการบินต้นทุนต่ำเอง โดยจะเช่าทุกอย่างจากการบินไทย เริ่มตั้งแต่เช่าเครื่องบิน พนักงานต้อนรับ “แอร์โฮสเตส” ช่าง ตลอดจนกัปตัน และพร้อมจะถลาลมเดือนเมษายน 2555 ภายใต้สารพัดชื่อไม่ว่า “ไทยซิลค์-ไทยฟลาย-ไทยประหยัด” แต่ก็มาจบลงที่ชื่อ “ไทย วิงส์ (Thai Wings)” ฟังดูน่าจะเท่พิลึก!
แนวความคิดทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มเจรจาซื้อหุ้นเพิ่มจากนกแอร์ เรื่อยมาจนถึงไทเกอร์ แอร์เวย์ส และกำลังตั้งท่าว่าจะจบสิ้นกระบวนความกันที่ “ไทย วิงส์” นั้น ต้องขอเรียนว่า คุณปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ นั้น น่าจะ “คิด” และ “เพียงคิดเท่านั้น!” ว่าจะส่งผลดีกับผู้บริโภคและประชาชนทั่วไปให้มีทางเลือกในการใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ ที่นับวันต้องเรียนว่า “สายการบินแอร์เอเชีย (Air Asia)” น่าจะเป็นสายการบินโลว์คอสต์ที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
ไหนๆ ก็กล่าวถึง “แอร์เอเซีย” แล้ว ต้องเรียนว่า “แสงแดด” พร้อมคณะใช้บริการ “แอร์เอเซีย” บ่อยครั้งมาก ถึงบินภายในประเทศกับบินต่างประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 4-5 ครั้ง เหตุผลสำคัญที่ใช้แอร์เอเซียนั้น ต้องขอบอกว่า หนึ่ง ราคาถูกกว่าสายการบินไทย สอง การบริการของพนักงานเรียบร้อย สุภาพอ่อนโยน สาม เวลาในการบินนั้นต้องบอกได้เลยว่า ตรงต่อเวลามาก หรือผิดพลาดอย่างน้อยไม่เกิน 15-20 นาทีเท่านั้น สี่ ฝีไม้ลายมือของกัปตันและทีมงานบริการบนเครื่องล้วนมืออาชีพทั้งสิ้น และห้า แน่นอนที่สุด ที่สะอาดสะอ้าน ตั้งแต่ห้องน้ำไปจนถึงทางเดินที่สามารถไต่ระดับสู่สายการบินปกติธรรมดา
ท้ายสุดจริงๆ สำหรับ “แอร์เอเชีย” นั้น “ผู้บริหารสูงสุด (CEO)” ของสายการบินนั้น มีความเป็นกันเอง สุภาพนอบน้อมกับผู้โดยสารทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเรียนเสนอผู้ใช้บริการด้วยการแนะนำข้อดีข้อเสียได้โดยตรง ตลอดจนผู้บริหารทุกคนในแอร์เอเซีย ที่วันนี้ขอย้ำว่า มิควรเป็นสายการบินโลว์คอสต์ได้แล้ว น่าจะเข้าสู่ระบบสายการบินแห่งชาติเทียบชั้นการบินไทยได้เลย!
กลับมาคุยถึงกรณี “ไทย วิงส์” ที่คุณปิยสวัสดิ์ เร่งพยายามผลักดันให้เป็น “สายการบินลูก” ของการบินไทยนั้น ต้องเรียนตามตรงว่า “โอกาสเกิดยาก” เนื่องด้วย “การบินไทย” นั้น ไม่มีกฎหมายฉบับใดรองรับว่าให้มีความสามารถในการส่งผลให้คลอดสายการบินลูกได้
อย่างไรก็ตาม “ความละเอียดรอบคอบ” ของ “แสงแดด” นั้น น่าจะไม่สามารถอธิบายได้ว่า กฎหมายข้อใด มาตราใด ที่กำหนดไว้ว่า “การบินไทย” ไม่สามารถดำเนินการได้ แต่ขอย้ำว่า ในที่สุดแล้วคุณปิยสวัสดิ์จะ “อกหักอีก!”
ว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว “การบินไทย” ทุกวันนี้ ได้พัฒนามาอย่างมาก ทั้งการบริการ การซื้อเครื่องบิน A 380 เพิ่มฝูงบินให้แก่การบินไทย การบริหารจัดการน่าจะดีขึ้น คำถามสำคัญที่ต้องถามคุณปิยสวัสดิ์ ว่าทำไมไม่มุ่งเน้นพัฒนาการบินไทยให้เป็นสายการบินชั้นแนวหน้าเหมือนในอดีต ประกอบกับ การเป็นดีดีของการบินไทย ทำไมต้องซุกซนไปดำเนินการตั้งหน่วยธุรกิจใหม่ ซึ่งไม่มีทางจะเกิดได้เลย หรือว่า มี “วาระซ่อนเร้นบางประการ!”
ไม่ว่าจะเป็นประธานบอร์ดฯ คุณอำพน กิตติอำพน และ ดร.ประวิทย์ รัตนเพียร น่าจะไม่อยาก “ขัดคอ-ขัดใจ” คุณปิยสวัสดิ์มากกว่า เพราะถ้าให้ทายใจทั้งสองท่าน ตลอดจนพนักงานในบริษัท หรือแม้กระทั่งประธานแจ่มศรี ซึ่งทราบมาว่าเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกันกับคุณปิยสวัสดิ์ น่าอยากจะเบรกเรื่องดังกล่าว
แต่เอาเถอะ! ยังไงๆ ก็เชื่อว่า “เกิดยากส์!”
ส่วนผลการเลือกตั้งกับผลสำรวจที่ทยอยกันออกมานั้น ก็ต้องเฝ้าติดตามกันต่อไปเสมือน “3 วันดี 4 วันไข้!” ที่ผลสำรวจพลิกไปพลิกมา ซึ่ง “แสงแดด” ขอดัดจริตฟันธงกับเขาเหมือนกันว่า “พรรคเพื่อไทย-พรรคประชาธิปัตย์” จะมีคะแนนสูสีกันมาก น่าจะบวกลบแตกต่างกัน 5-10 คะแนนเท่านั้น กล่าวคือ พรรคเพื่อไทยสูงสุดน่าจะไม่เกิน 220-230 คะแนน และพรรคประชาธิปัตย์น่าจะ 215-255 คะแนน ต้องว่ากันต่อสัปดาห์หน้า
สัปดาห์นี้มาว่ากันในกรณีของ “บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)” ที่นำเสนอการตั้งบริษัทลูกหลานให้ก่อกำเนิด “สายการบินต้นทุนต่ำ” หรือมักเรียกกันว่า “โลว์คอสต์ แอร์ไลน์ (Low Cost Airline)” อีกแล้วครับท่าน!
ความพยายามของการคิดผลิตสายการบินต้นทุนต่ำนี้น่าเชื่อว่า “นายปิยสัวสดิ์ อัมระนันทน์” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของการบินไทย ประดิษฐ์คิดค้นแนวคิดมาโดยตลอด ตั้งแต่มานั่งเป็น “ดีดี-กรรมการผู้อำนวยการใหญ่” ของสายการบินแห่งชาตินี้
เริ่มตั้งแต่เจรจาเข้าซื้อหุ้นสายการบินนกแอร์ เพื่อความต้องการให้ได้สิทธิในการบริหารจัดการมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ถืออยู่ร้อยละ 39 แต่ปรากฏว่าการเจรจาเป็นอันต้องพังพาบไป สาเหตุสำคัญเกิดจากการเจรจาซื้อขายหุ้นกับทางธนาคารกรุงไทยไม่สามารถตกลงกันได้
ต่อมาคุณปิยสวัสดิ์ ดีดีการบินไทย ได้พยายาม “ร่วมมือ-จับมือ” กับสายการบินสิงคโปร์ต่างชาติ “ไทเกอร์ แอร์” เพื่อเหตุผลสำคัญกับการตั้งสายการบิน “ไทเกอร์ แอร์เวย์ส” แต่ดำเนินการมาอย่างอึกทึกครึกโครม ดูเสมือนว่าคุณปิยสวัสดิ์ “มั่นอกมั่นใจ” อย่างมาก ด้วยการแถลงข่าวใหญ่โตถึงความสำเร็จที่อยู่ใกล้แค่เอื้อม แต่ในที่สุดแล้ว ระยะเวลายืดยาวไป ตลอดจนเสียงคัดค้านมากมาย กรณีไทเกอร์ แอร์เวยส์ จึงจบลงด้วยการอ้างเหตุผลว่า “ข้อตกลงยืดเยื้อนานไป”
สุดท้ายสุด คุณปิยสวัสดิ์ ก็ยังไม่ลดละความพยายามด้วยไอเดียกระฉูดอีก กับการตั้งหน่วยธุรกิจภายในบริษัทการบินไทยเสียเอง ด้วยการตั้งหน่วยธุรกิจขึ้นมาดูแลสายการบินต้นทุนต่ำเอง โดยจะเช่าทุกอย่างจากการบินไทย เริ่มตั้งแต่เช่าเครื่องบิน พนักงานต้อนรับ “แอร์โฮสเตส” ช่าง ตลอดจนกัปตัน และพร้อมจะถลาลมเดือนเมษายน 2555 ภายใต้สารพัดชื่อไม่ว่า “ไทยซิลค์-ไทยฟลาย-ไทยประหยัด” แต่ก็มาจบลงที่ชื่อ “ไทย วิงส์ (Thai Wings)” ฟังดูน่าจะเท่พิลึก!
แนวความคิดทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มเจรจาซื้อหุ้นเพิ่มจากนกแอร์ เรื่อยมาจนถึงไทเกอร์ แอร์เวย์ส และกำลังตั้งท่าว่าจะจบสิ้นกระบวนความกันที่ “ไทย วิงส์” นั้น ต้องขอเรียนว่า คุณปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ นั้น น่าจะ “คิด” และ “เพียงคิดเท่านั้น!” ว่าจะส่งผลดีกับผู้บริโภคและประชาชนทั่วไปให้มีทางเลือกในการใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ ที่นับวันต้องเรียนว่า “สายการบินแอร์เอเชีย (Air Asia)” น่าจะเป็นสายการบินโลว์คอสต์ที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
ไหนๆ ก็กล่าวถึง “แอร์เอเซีย” แล้ว ต้องเรียนว่า “แสงแดด” พร้อมคณะใช้บริการ “แอร์เอเซีย” บ่อยครั้งมาก ถึงบินภายในประเทศกับบินต่างประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 4-5 ครั้ง เหตุผลสำคัญที่ใช้แอร์เอเซียนั้น ต้องขอบอกว่า หนึ่ง ราคาถูกกว่าสายการบินไทย สอง การบริการของพนักงานเรียบร้อย สุภาพอ่อนโยน สาม เวลาในการบินนั้นต้องบอกได้เลยว่า ตรงต่อเวลามาก หรือผิดพลาดอย่างน้อยไม่เกิน 15-20 นาทีเท่านั้น สี่ ฝีไม้ลายมือของกัปตันและทีมงานบริการบนเครื่องล้วนมืออาชีพทั้งสิ้น และห้า แน่นอนที่สุด ที่สะอาดสะอ้าน ตั้งแต่ห้องน้ำไปจนถึงทางเดินที่สามารถไต่ระดับสู่สายการบินปกติธรรมดา
ท้ายสุดจริงๆ สำหรับ “แอร์เอเชีย” นั้น “ผู้บริหารสูงสุด (CEO)” ของสายการบินนั้น มีความเป็นกันเอง สุภาพนอบน้อมกับผู้โดยสารทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเรียนเสนอผู้ใช้บริการด้วยการแนะนำข้อดีข้อเสียได้โดยตรง ตลอดจนผู้บริหารทุกคนในแอร์เอเซีย ที่วันนี้ขอย้ำว่า มิควรเป็นสายการบินโลว์คอสต์ได้แล้ว น่าจะเข้าสู่ระบบสายการบินแห่งชาติเทียบชั้นการบินไทยได้เลย!
กลับมาคุยถึงกรณี “ไทย วิงส์” ที่คุณปิยสวัสดิ์ เร่งพยายามผลักดันให้เป็น “สายการบินลูก” ของการบินไทยนั้น ต้องเรียนตามตรงว่า “โอกาสเกิดยาก” เนื่องด้วย “การบินไทย” นั้น ไม่มีกฎหมายฉบับใดรองรับว่าให้มีความสามารถในการส่งผลให้คลอดสายการบินลูกได้
อย่างไรก็ตาม “ความละเอียดรอบคอบ” ของ “แสงแดด” นั้น น่าจะไม่สามารถอธิบายได้ว่า กฎหมายข้อใด มาตราใด ที่กำหนดไว้ว่า “การบินไทย” ไม่สามารถดำเนินการได้ แต่ขอย้ำว่า ในที่สุดแล้วคุณปิยสวัสดิ์จะ “อกหักอีก!”
ว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว “การบินไทย” ทุกวันนี้ ได้พัฒนามาอย่างมาก ทั้งการบริการ การซื้อเครื่องบิน A 380 เพิ่มฝูงบินให้แก่การบินไทย การบริหารจัดการน่าจะดีขึ้น คำถามสำคัญที่ต้องถามคุณปิยสวัสดิ์ ว่าทำไมไม่มุ่งเน้นพัฒนาการบินไทยให้เป็นสายการบินชั้นแนวหน้าเหมือนในอดีต ประกอบกับ การเป็นดีดีของการบินไทย ทำไมต้องซุกซนไปดำเนินการตั้งหน่วยธุรกิจใหม่ ซึ่งไม่มีทางจะเกิดได้เลย หรือว่า มี “วาระซ่อนเร้นบางประการ!”
ไม่ว่าจะเป็นประธานบอร์ดฯ คุณอำพน กิตติอำพน และ ดร.ประวิทย์ รัตนเพียร น่าจะไม่อยาก “ขัดคอ-ขัดใจ” คุณปิยสวัสดิ์มากกว่า เพราะถ้าให้ทายใจทั้งสองท่าน ตลอดจนพนักงานในบริษัท หรือแม้กระทั่งประธานแจ่มศรี ซึ่งทราบมาว่าเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกันกับคุณปิยสวัสดิ์ น่าอยากจะเบรกเรื่องดังกล่าว
แต่เอาเถอะ! ยังไงๆ ก็เชื่อว่า “เกิดยากส์!”