เอเอฟพี – บรรดาผู้นำของสหภาพยุโรป (อียู) และญี่ปุ่น สามารถตกลงกันได้ในวันเสาร์(28) ที่จะเริ่มต้นการเจรจาหารือเพื่อไปสู่การทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) มูลค่านับแสนล้านยูโร ซึ่งจะเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 ของโลกอย่างแดนอาทิตย์อุทัย เข้ากับตลาดใหญ่ที่สุดในโลกอย่างอียู
การตัดสินใจที่จะเปิดการเจรจาเบื้องต้น เพื่อนำไปสู่ข้อตกลงการค้า ตลอดจนสำรวจหาลู่ทางในการทำสัญญาผูกพันทางการเมืองระหว่างกันฉบับใหม่คราวนี้ ได้รับการประกาศออกมา ณ การประชุมสุดยอดระหว่างเหล่าผู้นำของอียู กับนายกรัฐมนตรี นาโอโตะ คัง ของญี่ปุ่น
“เรายังจะต้องเดินกันไปอีกไกล แต่เวลานี้วัตถุประสงค์มีความชัดเจนแล้ว” เฮอร์มาน ฟาน รอมปุย ประธานอียู กล่าวภายหลังการเจรจาที่ปราสาทเก่าแก่ชานกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
“เมื่อคู่ค้าใหญ่ที่สุดในโลก 2 รายประกาศยืนยันร่วมกันถึงเจตนารมณ์ของพวกเขาที่จะทำงานเพื่อไปสู่ข้อตกลงการค้าเสรี เรื่องนี้ก็ต้องถือว่าเป็นการก้าวไปข้างหน้าก้าวใหญ่” เขากล่าวต่อ
ตามคำแถลงร่วมที่ออกมาภายหลังการประชุมระบุว่า ทั้งสองฝ่าย “เห็นพ้องกันให้เริ่มต้นกระบวนการของการเจรจาเพื่อก่อให้เกิดข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่มีความลึกซึ้งและรอบด้าน” พร้อมๆ ไปกับการหาทางทำ “ข้อตกลงผูกพันซึ่งครอบคลุมทั้งความร่วมมือทางการเมือง, ระดับโลก, และภาคส่วนอื่นๆ”
การเจรจาดังกล่าวเหล่านี้สามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่ปีหน้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสำเร็จของ “การหารือเกี่ยวกับขนาดขอบเขต” ที่จะต้องทำความเข้าใจกันให้ได้ก่อน อันได้แก่การทำความตกลงกันเกี่ยวกับเป้าหมายในด้านต่างๆ เพื่อให้เป็นที่แน่ใจว่าทั้งสองฝ่ายมีความเป็นห่วงและมีความมุ่งมาตรปรารถนาอย่างเดียวกัน การทำความเข้าใจกันนี้สามารถเริ่มต้นได้ทันที
ภายหลังที่ญี่ปุ่นประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหว-คลื่นยักษ์สึนามิ-วิกฤตนิวเคลียร์ 3 ด้านซ้อนๆ ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ยุโรปก็มีการขยับตัวเพื่อสนองตอบเสียงเรียกร้องของญี่ปุ่นที่ขอให้ผ่อนคลายคำสั่งห้ามนำเข้าอาหารจากแดนอาทิตย์อุทัย ขณะเดียวกันก็ให้สัญญาที่จะร่วมมือกันในการส่งเสริมมาตรฐานระหว่างประเทศที่มีความเข้มงวดยิ่งขึ้นในเรื่องความปลอดภัยทางนิวเคลียร์
ส่วนทางญี่ปุ่นซึ่งเผชิญกับผลกระทบกระเทือนทางเศรษฐกิจจากภัยพิบัติ 3 ด้าน จึงเกิดเป็นแรงขับดันที่มุ่งมั่นจะให้ได้ข้อตกลงการค้าที่ดีขึ้นกว่าเดิมกับทางประชาคมที่ประกอบด้วย 27 สมาชิกและจำนวนประชากรราว 500 ล้านคนแห่งนี้ ทั้งนี้ในปีที่แล้ว อียูก็เพิ่งทำข้อตกลงเอฟทีเอกับทางเอเชียเป็นฉบับแรก ซึ่งก็คือกับเกาหลีใต้ ที่ถือเป็นคู่แข่งสำคัญของโตเกียว
ภายหลังการประชุมหารือคราวนี้ นายกรัฐมนตรีคังได้กล่าวแสดงความยินดีที่จะมีการเจรจาทำเอฟทีเอกับอียู อันเป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นเรียกร้องมานานแล้ว พร้อมกับวาดหวังว่า จะต้องสามารถทำข้อตกลงที่เป็นการสถาปนาหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่มีความใหญ่โตกว้างขวางได้อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายอียูย้ำว่ายังจำเป็นต้องทำอะไรอีกมาก เพื่อเอาชนะเสียงร้องทุกข์ของพวกธุรกิจยุโรปที่ว่า ยังคงมีอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น
เป็นต้นว่า ยุโรปร้องเรียนว่าได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยที่ตามตัวเลขในปี 2007 อียูเปิดให้บริษัทญี่ปุ่นเข้าไปหางานจากการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของยุโรปได้ในปริมาณเท่ากับ 2.5% ของจีดีพีของอียู ทว่าในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นเปิดตลาดนี้ให้แก่พวกบริษัทของอียูเพียง 0.5% ของจีดีพีของญี่ปุ่นเท่านั้น
นอกจากนั้นพวกเจ้าหน้าที่อียูแจกแจงว่า ขณะที่การลงทุนต่างประเทศของทั่วทั้งอียู มีตัวเลขเท่ากับประมาณ 30% ของจีดีพีอียู ทว่าตัวเลขการลงทุนต่างประเทศในญี่ปุ่นมีมูลค่าเท่ากับเพียง 3% ของจีดีพีแดนอาทิตย์อุทัย
ในอีกด้านหนึ่ง ญี่ปุ่นก็ตั้งท่าจะเรียกร้องให้อียูลดภาษีสำหรับสินค้าพวกรถยนต์และทีวีจอแบนของตน
โจเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู มองในแง่ดีว่า เนื่องจากการค้าทวิภาคีระหว่างอียูกับญี่ปุ่นมีมูลค่าปีละ 110,000 ล้านยูโร (ประมาณ 160,000 ล้านดอลลาร์) อยู่แล้ว ดังนั้นถ้าหากสามารถแก้ไขคลี่คลายอุปสรรค์ต่างๆ จนนำไปสู่การค้าเสรีได้แล้ว ก็จะเป็นการปลดปล่อย “ศักยภาพอันใหญ่โต” ให้แก่ธุรกิจของทั้งสองฝ่าย
การตัดสินใจที่จะเปิดการเจรจาเบื้องต้น เพื่อนำไปสู่ข้อตกลงการค้า ตลอดจนสำรวจหาลู่ทางในการทำสัญญาผูกพันทางการเมืองระหว่างกันฉบับใหม่คราวนี้ ได้รับการประกาศออกมา ณ การประชุมสุดยอดระหว่างเหล่าผู้นำของอียู กับนายกรัฐมนตรี นาโอโตะ คัง ของญี่ปุ่น
“เรายังจะต้องเดินกันไปอีกไกล แต่เวลานี้วัตถุประสงค์มีความชัดเจนแล้ว” เฮอร์มาน ฟาน รอมปุย ประธานอียู กล่าวภายหลังการเจรจาที่ปราสาทเก่าแก่ชานกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
“เมื่อคู่ค้าใหญ่ที่สุดในโลก 2 รายประกาศยืนยันร่วมกันถึงเจตนารมณ์ของพวกเขาที่จะทำงานเพื่อไปสู่ข้อตกลงการค้าเสรี เรื่องนี้ก็ต้องถือว่าเป็นการก้าวไปข้างหน้าก้าวใหญ่” เขากล่าวต่อ
ตามคำแถลงร่วมที่ออกมาภายหลังการประชุมระบุว่า ทั้งสองฝ่าย “เห็นพ้องกันให้เริ่มต้นกระบวนการของการเจรจาเพื่อก่อให้เกิดข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่มีความลึกซึ้งและรอบด้าน” พร้อมๆ ไปกับการหาทางทำ “ข้อตกลงผูกพันซึ่งครอบคลุมทั้งความร่วมมือทางการเมือง, ระดับโลก, และภาคส่วนอื่นๆ”
การเจรจาดังกล่าวเหล่านี้สามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่ปีหน้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสำเร็จของ “การหารือเกี่ยวกับขนาดขอบเขต” ที่จะต้องทำความเข้าใจกันให้ได้ก่อน อันได้แก่การทำความตกลงกันเกี่ยวกับเป้าหมายในด้านต่างๆ เพื่อให้เป็นที่แน่ใจว่าทั้งสองฝ่ายมีความเป็นห่วงและมีความมุ่งมาตรปรารถนาอย่างเดียวกัน การทำความเข้าใจกันนี้สามารถเริ่มต้นได้ทันที
ภายหลังที่ญี่ปุ่นประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหว-คลื่นยักษ์สึนามิ-วิกฤตนิวเคลียร์ 3 ด้านซ้อนๆ ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ยุโรปก็มีการขยับตัวเพื่อสนองตอบเสียงเรียกร้องของญี่ปุ่นที่ขอให้ผ่อนคลายคำสั่งห้ามนำเข้าอาหารจากแดนอาทิตย์อุทัย ขณะเดียวกันก็ให้สัญญาที่จะร่วมมือกันในการส่งเสริมมาตรฐานระหว่างประเทศที่มีความเข้มงวดยิ่งขึ้นในเรื่องความปลอดภัยทางนิวเคลียร์
ส่วนทางญี่ปุ่นซึ่งเผชิญกับผลกระทบกระเทือนทางเศรษฐกิจจากภัยพิบัติ 3 ด้าน จึงเกิดเป็นแรงขับดันที่มุ่งมั่นจะให้ได้ข้อตกลงการค้าที่ดีขึ้นกว่าเดิมกับทางประชาคมที่ประกอบด้วย 27 สมาชิกและจำนวนประชากรราว 500 ล้านคนแห่งนี้ ทั้งนี้ในปีที่แล้ว อียูก็เพิ่งทำข้อตกลงเอฟทีเอกับทางเอเชียเป็นฉบับแรก ซึ่งก็คือกับเกาหลีใต้ ที่ถือเป็นคู่แข่งสำคัญของโตเกียว
ภายหลังการประชุมหารือคราวนี้ นายกรัฐมนตรีคังได้กล่าวแสดงความยินดีที่จะมีการเจรจาทำเอฟทีเอกับอียู อันเป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นเรียกร้องมานานแล้ว พร้อมกับวาดหวังว่า จะต้องสามารถทำข้อตกลงที่เป็นการสถาปนาหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่มีความใหญ่โตกว้างขวางได้อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายอียูย้ำว่ายังจำเป็นต้องทำอะไรอีกมาก เพื่อเอาชนะเสียงร้องทุกข์ของพวกธุรกิจยุโรปที่ว่า ยังคงมีอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น
เป็นต้นว่า ยุโรปร้องเรียนว่าได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยที่ตามตัวเลขในปี 2007 อียูเปิดให้บริษัทญี่ปุ่นเข้าไปหางานจากการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของยุโรปได้ในปริมาณเท่ากับ 2.5% ของจีดีพีของอียู ทว่าในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นเปิดตลาดนี้ให้แก่พวกบริษัทของอียูเพียง 0.5% ของจีดีพีของญี่ปุ่นเท่านั้น
นอกจากนั้นพวกเจ้าหน้าที่อียูแจกแจงว่า ขณะที่การลงทุนต่างประเทศของทั่วทั้งอียู มีตัวเลขเท่ากับประมาณ 30% ของจีดีพีอียู ทว่าตัวเลขการลงทุนต่างประเทศในญี่ปุ่นมีมูลค่าเท่ากับเพียง 3% ของจีดีพีแดนอาทิตย์อุทัย
ในอีกด้านหนึ่ง ญี่ปุ่นก็ตั้งท่าจะเรียกร้องให้อียูลดภาษีสำหรับสินค้าพวกรถยนต์และทีวีจอแบนของตน
โจเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู มองในแง่ดีว่า เนื่องจากการค้าทวิภาคีระหว่างอียูกับญี่ปุ่นมีมูลค่าปีละ 110,000 ล้านยูโร (ประมาณ 160,000 ล้านดอลลาร์) อยู่แล้ว ดังนั้นถ้าหากสามารถแก้ไขคลี่คลายอุปสรรค์ต่างๆ จนนำไปสู่การค้าเสรีได้แล้ว ก็จะเป็นการปลดปล่อย “ศักยภาพอันใหญ่โต” ให้แก่ธุรกิจของทั้งสองฝ่าย